ASTVผู้จัดการรายวัน-"พาณิชย์"เชิญห้างค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ตลาดสด ห้ามซิกแซกขายหมูเกินราคา และต้องปิดป้ายแสดงราคาให้ชัดเจน ส่วนหมูตัดแต่งพิเศษ หรือหมูปลอดสาร ก็ต้องระบุให้ชัด ลั่นเริ่มวันนี้จับจริง ปรับจริง ติดคุกจริง พร้อมขอความร่วมมือผู้ว่า 76 จังหวัดช่วยดูแลอีกทาง จับตาราคาผักสด หลังน้ำท่วมทำราคาพุ่ง ส่วนดอกมะลิวันแม่ราคากระฉูดเกิน 100% ทะลุลิตรละ 350 บาท
นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อ และผู้บริหารตลาดสด เพื่อขอความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาหมูแพง วานนี้ (9 ส.ค.) ว่า เป็นการทำความเข้าใจในการจำหน่ายเนื้อหมู ต้องติดป้ายราคาให้ชัดเจน โดยประเภทหมูแพ็คใส่ถาด จะต้องติดป้ายราคาแยกว่าเป็นค่าแพ็คเกจเท่าไร ค่าเนื้อหมูเท่าไร ซึ่งต้องเป็นราคาไม่เกินเพดานที่กรมฯ กำหนด ส่วนตามตลาดสดให้ทุกร้านติดป้ายราคาเนื้อสัน เนื้อสะโพก เนื้อไหล่ แยกแต่ละชนิดให้ชัดเจน โดยเฉพาะเนื้อไหล่ และสะโพก ต้องขายในราคาที่กำหนด ห้ามอ้างเป็นเนื้อแต่ง หรือเนื้อตัดมันและคิดราคาเกินเด็ดขาด แต่หากมีการตัดแต่งหรือคิดราคาสูง จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ซื้อก่อนทุกครั้ง
ทั้งนี้ กรณีที่ร้านค้าในตลาด หรือห้างค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อ มีการจำหน่ายเนื้อหมูอนามัย หรือหมูที่เลี้ยงพิเศษปลอดสาร ซึ่งมีต้นทุนสูงกว่าการเลี้ยงหมูปกติ และไม่ได้อยู่ในการกำหนดเพดานราคาควบคุม ซึ่งราคาเฉลี่ยหมูอนามัยจะจำหน่ายกิโลกรัม (กก.) ละ 180-200 บาท ให้ผู้ที่จำหน่ายนำใบรับรองจากกรมปศุสัตว์มาแสดงและปิดป้ายแสดงราคาให้ลูกค้ารับทราบ เพื่อให้ผู้บริโภคแยกออกระหว่างหมูที่เลี้ยงปกติกับหมูปลอดสาร
ส่วนการตรวจสอบสถานการณ์จำหน่ายหมูทั่วประเทศในช่วงที่ผ่านมา ได้รับรายงานว่า ผู้ค้าและฟาร์มหมูกว่า 90% ได้ขายตามราคาที่กำหนดแล้ว เหลือไม่ถึง 10% ที่ยังขายเกินราคา โดยเฉพาะตามร้านค้าปลีกและพื้นที่ห่างไกลตัวเมือง ซึ่งนับจากวันนี้เป็นต้นไป จะมีการดำเนินการจับกุมผู้ที่จำหน่ายเกินราคา โดยหมูเนื้อแดง (ไหล่และสะโพก) ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก กำหนดให้ขายกก. ละ 152 บาท ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กก.ละ 157 บาท และภาคใต้ กก.ละ 162 บาท โดยได้ขอความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด ให้ช่วยในการตรวจสอบและดูแลการจำหน่ายเนื้อหมูอย่างเข้มงวดด้วย ทั้งนี้ ผู้ที่ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนโทษกรณีไม่ปิดป้ายแสดงราคามีโทษปรับ 1 หมื่นบาท
นางวัชรีกล่าวว่า สำหรับสถานการณ์ราคาผักสด ขณะนี้หลายรายการเริ่มขึ้นราคาแล้ว แต่ยังไม่สูงมากนัก โดยมีสาเหตุจากผลกระทบจากน้ำท่วมจนผลผลิตได้รับความเสียหาย โดยได้มอบหมายให้ค้าภายในจังหวัดติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อนในช่วงเทศกาลสารทจีนที่มีความต้องการใช้ปริมาณมาก และหากพบราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือขาดแคลน กรมฯ จะเชื่อมโยงผักสดราคาถูกเข้าไปช่วยแก้ปัญหา โดยขายผ่านแหล่งชุมชนและห้างค้าปลีกสมัยใหม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคาผักสดในตลาดกทม. และปริมณฑลสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา เนื่องจากผักส่วนใหญ่ได้รับความเสียหายจากสภาพอากาศที่มีฝนตกชุก เกษตรกรไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ ผลผลิตมีออกสู่ตลาดน้อยลงราคาจึงปรับตัวสูงขึ้น โดยผักบุ้งจีนเพิ่มจากกก. 18-20 บาท เป็น 22-25 บาท ผักกวางตุ้งจาก 12-15 บาท เป็น 20-22 บาท ผักกาดขาวปลี จาก 20-22 บาท เป็น 22-25 บาท ผักชีขีดละ 5-6 บาท เป็น 9-10 บาท และพริกขี้หนูจินดาจากขีดละ 4-5 บาท เป็น 5-6 บาท
ส่วนราคาดอกมะลิในช่วงวันแม่แห่งชาติ 12 ส.ค.นี้ ในตลาดค้าส่งดอกไม้สดย่านปากคลองตลาด มีราคาเพิ่มขึ้นกว่า 100% เมื่อเทียบกับช่วงปกติ เนื่องจากมีความต้องการใช้เพื่อไปร้อยมาลัยมะลิในวันแม่เพิ่มขึ้น ประกอบกับช่วงนี้ดอกมะลิ เริ่มออกไม่ทัน และมีโรคเชื้อราระบาด ทำให้ดอกมะลิแพงขึ้น โดยราคา ณ วันที่ 9 ส.ค. อยู่ลิตรละ 350 บาท เพิ่มจากปกติ 150 บาท ส่วนพวงมาลัยดอกมะลิ ก็ปรับเพิ่มเช่นกัน ขนาดเล็ก 5 แฉก เพิ่มจากพวงละ 20-30 บาท เป็น 70 บาท พวงใหญ่ 8 แฉก จากเดิม 100 บาท เป็น 150-200 บาท
สำหรับบรรยากาศการซื้อขาย ค่อนข้างคึกคักมีประชาชน นักเรียน นักศึกษาเลือกซื้อหาอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าในช่วงใกล้วันแม่ จะคึกคักขึ้นอีก และอาจทำให้ราคาดอกมะลิและพวงมาลัยปรับขึ้นอีก 20-30%
นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อ และผู้บริหารตลาดสด เพื่อขอความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาหมูแพง วานนี้ (9 ส.ค.) ว่า เป็นการทำความเข้าใจในการจำหน่ายเนื้อหมู ต้องติดป้ายราคาให้ชัดเจน โดยประเภทหมูแพ็คใส่ถาด จะต้องติดป้ายราคาแยกว่าเป็นค่าแพ็คเกจเท่าไร ค่าเนื้อหมูเท่าไร ซึ่งต้องเป็นราคาไม่เกินเพดานที่กรมฯ กำหนด ส่วนตามตลาดสดให้ทุกร้านติดป้ายราคาเนื้อสัน เนื้อสะโพก เนื้อไหล่ แยกแต่ละชนิดให้ชัดเจน โดยเฉพาะเนื้อไหล่ และสะโพก ต้องขายในราคาที่กำหนด ห้ามอ้างเป็นเนื้อแต่ง หรือเนื้อตัดมันและคิดราคาเกินเด็ดขาด แต่หากมีการตัดแต่งหรือคิดราคาสูง จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ซื้อก่อนทุกครั้ง
ทั้งนี้ กรณีที่ร้านค้าในตลาด หรือห้างค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อ มีการจำหน่ายเนื้อหมูอนามัย หรือหมูที่เลี้ยงพิเศษปลอดสาร ซึ่งมีต้นทุนสูงกว่าการเลี้ยงหมูปกติ และไม่ได้อยู่ในการกำหนดเพดานราคาควบคุม ซึ่งราคาเฉลี่ยหมูอนามัยจะจำหน่ายกิโลกรัม (กก.) ละ 180-200 บาท ให้ผู้ที่จำหน่ายนำใบรับรองจากกรมปศุสัตว์มาแสดงและปิดป้ายแสดงราคาให้ลูกค้ารับทราบ เพื่อให้ผู้บริโภคแยกออกระหว่างหมูที่เลี้ยงปกติกับหมูปลอดสาร
ส่วนการตรวจสอบสถานการณ์จำหน่ายหมูทั่วประเทศในช่วงที่ผ่านมา ได้รับรายงานว่า ผู้ค้าและฟาร์มหมูกว่า 90% ได้ขายตามราคาที่กำหนดแล้ว เหลือไม่ถึง 10% ที่ยังขายเกินราคา โดยเฉพาะตามร้านค้าปลีกและพื้นที่ห่างไกลตัวเมือง ซึ่งนับจากวันนี้เป็นต้นไป จะมีการดำเนินการจับกุมผู้ที่จำหน่ายเกินราคา โดยหมูเนื้อแดง (ไหล่และสะโพก) ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก กำหนดให้ขายกก. ละ 152 บาท ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กก.ละ 157 บาท และภาคใต้ กก.ละ 162 บาท โดยได้ขอความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด ให้ช่วยในการตรวจสอบและดูแลการจำหน่ายเนื้อหมูอย่างเข้มงวดด้วย ทั้งนี้ ผู้ที่ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนโทษกรณีไม่ปิดป้ายแสดงราคามีโทษปรับ 1 หมื่นบาท
นางวัชรีกล่าวว่า สำหรับสถานการณ์ราคาผักสด ขณะนี้หลายรายการเริ่มขึ้นราคาแล้ว แต่ยังไม่สูงมากนัก โดยมีสาเหตุจากผลกระทบจากน้ำท่วมจนผลผลิตได้รับความเสียหาย โดยได้มอบหมายให้ค้าภายในจังหวัดติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อนในช่วงเทศกาลสารทจีนที่มีความต้องการใช้ปริมาณมาก และหากพบราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือขาดแคลน กรมฯ จะเชื่อมโยงผักสดราคาถูกเข้าไปช่วยแก้ปัญหา โดยขายผ่านแหล่งชุมชนและห้างค้าปลีกสมัยใหม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคาผักสดในตลาดกทม. และปริมณฑลสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา เนื่องจากผักส่วนใหญ่ได้รับความเสียหายจากสภาพอากาศที่มีฝนตกชุก เกษตรกรไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ ผลผลิตมีออกสู่ตลาดน้อยลงราคาจึงปรับตัวสูงขึ้น โดยผักบุ้งจีนเพิ่มจากกก. 18-20 บาท เป็น 22-25 บาท ผักกวางตุ้งจาก 12-15 บาท เป็น 20-22 บาท ผักกาดขาวปลี จาก 20-22 บาท เป็น 22-25 บาท ผักชีขีดละ 5-6 บาท เป็น 9-10 บาท และพริกขี้หนูจินดาจากขีดละ 4-5 บาท เป็น 5-6 บาท
ส่วนราคาดอกมะลิในช่วงวันแม่แห่งชาติ 12 ส.ค.นี้ ในตลาดค้าส่งดอกไม้สดย่านปากคลองตลาด มีราคาเพิ่มขึ้นกว่า 100% เมื่อเทียบกับช่วงปกติ เนื่องจากมีความต้องการใช้เพื่อไปร้อยมาลัยมะลิในวันแม่เพิ่มขึ้น ประกอบกับช่วงนี้ดอกมะลิ เริ่มออกไม่ทัน และมีโรคเชื้อราระบาด ทำให้ดอกมะลิแพงขึ้น โดยราคา ณ วันที่ 9 ส.ค. อยู่ลิตรละ 350 บาท เพิ่มจากปกติ 150 บาท ส่วนพวงมาลัยดอกมะลิ ก็ปรับเพิ่มเช่นกัน ขนาดเล็ก 5 แฉก เพิ่มจากพวงละ 20-30 บาท เป็น 70 บาท พวงใหญ่ 8 แฉก จากเดิม 100 บาท เป็น 150-200 บาท
สำหรับบรรยากาศการซื้อขาย ค่อนข้างคึกคักมีประชาชน นักเรียน นักศึกษาเลือกซื้อหาอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าในช่วงใกล้วันแม่ จะคึกคักขึ้นอีก และอาจทำให้ราคาดอกมะลิและพวงมาลัยปรับขึ้นอีก 20-30%