ASTVผู้จัดการรายวัน - "องค์โสม"ห่วงใยราษฎรที่ประสบภัยน้ำท่วม พระราชทานถุงยังชีพช่วยชาวสุโขทัย ด้านสถานการณ์น้ำท่วมหลายอำเภอในสุโขทัยยังจมบาดาล จทบ.พิษณุโลก ลุยน้ำช่วยเหยื่อ ส่วน"ตาก" ยังอ่วม 2 อำเภอจมใต้น้ำ พืชผลทางการเกษตรเสียหายกว่า 1 หมื่นไร่ วัวขาดหญ้าต้องแก้ปัญหาด้วยการนำผลฝรั่งจมน้ำให้กินแทน ส่วนภาคอีสานน้ำโขงเลยจุดวิกฤตทะลักท่วมมุกดาหารแล้ว ปภ.เตือนซ้ำ 7 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยารับมือ 8-10 ส.ค.
หลังจากเกิดพายุฝนถล่มในหลายจังหวัดของภาคเหนือ เช่น น่าน สุโขทัย ทำให้บ้านเรือน ไร่นา สิ่งสาธารณะประโยชน์ได้รับความเสียหาย และประชาชนได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้กำลังพลของกองทัพเรือ ลำเลียงถุงยังชีพพระราชทานฯ เข้าให้ความช่วยเหลือประชาชน และพระภิกษุสงฆ์ ที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ จังหวัดสุโขทัยในโอกาสเดียวกันนี้ด้วย
เมื่อเวลา 06.00 น.วานนี้ (8 ส.ค.)พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงพระกรุณาโปรดให้นางสมถวิล ยังอยู่ ผู้ช่วยเลขานุการในพระองค์ เป็นผู้แทนฯนำกำลังพลของกองทัพเรือ ลำเลียงถุงยังชีพพระราชทานมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทย สำหรับช่วยเหลือประชาชน 600 ชุดและพระภิกษุสงฆ์ 80 ชุดขึ้นรถบรรทุกชานต่ำของกองทัพเรือ ณ โรงเก็บเครื่องบิน ฝูงบิน 201 กองบิน 2 กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ สนามบินอู่ตะเภา ต.พลา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง เพื่อนำเข้าให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ อ.เมือง จ.สุโขทัย และทรงมอบหมายให้นายอภัย จุลกะ ผู้แทนพระองค์ฯนำเข้าให้ความช่วยเหลือราษฎรที่ประสบอุทกภัย ณ บริเวณดังกล่าวในเวลา 13.00 น.ของวันที่ 9 ส.ค.นี้
นางสมถวิล ยังอยู่ ผู้ช่วยเลขานุการในพระองค์ กล่าวว่า สืบเนื่องจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงมีความห่วงใยราษฎรที่ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ประกอบกับฤดูนี้เริ่มที่จะมีพายุต่างๆ พัดเข้ามาในประเทศ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม จะได้นำสิ่งของพระราชทานมูลนิธิ อาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทยเข้าให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันท่วงที เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว ยังป็นการแบ่งเบาพระราชภาระในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในการดูแลผู้ประสบภัยในเบื้องต้นอีกด้วย
**สุโขทัยยังอ่วม-ปชช.เดือดร้อนหนัก
ด้านสถานการณ์น้ำท่วมใน จ.สุโขทัยวานนี้หลายพื้นที่ยังวิกฤตหนัก โดยเฉพาะชาวบ้านหมู่ 14 บ้านเนินทอง ต.บ้านกล้วย อ.เมืองสุโขทัย ต้องประสบภาวะน้ำท่วมเข้าตัวบ้านต้องยกข้าวของหนีน้ำไว้ในที่สูง รวมทั้งระดับน้ำที่ไหลบ่าเข้าท่วมตัวบ้านยังทำให้โดยรอบเตียงนอนและทั่วพื้นบ้านเจิ่งนองด้วยน้ำในระดับที่เริ่มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เหตุดังกล่าวเกิดจากผลกระทบระดับน้ำที่ไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ อ.สวรรคโลก, อ.ศรีสำโรง ซึ่งเป็นอำเภอตอนเหนือของ จ.สุโขทัย ได้เริ่มคลี่คลายลงระดับน้ำที่ท่วมพื้นที่เริ่มลดระดับลงอย่างต่อเนื่องและระดับน้ำที่ลดลงได้ไหลบ่าเข้าสู่พื้นที่ อ.เมืองสุโขทัย ฝั่งตะวันตกจนทำให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ ต.บ้านกล้วย โดยล่าสุด 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 5, 12 และ หมู่ที่ 16 โดยระดับน้ำที่เข้าท่วมในชุมชนของหมู่บ้านพื้นที่ลุ่มสูงถึงเกือบ 2 เมตร โดยมีชาวบ้านได้รับผลกระทบกว่า 100 ครัวเรือน
เช่นเดียวกันในพื้นที่ 3 ชุมชนของเขตเทศบาลเมืองสุโขทัยฝั่งตะวันตกต้องประสบปัญหาน้ำไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่สูงเกือบ 1 เมตร คือ ชุมชนคลองโพธิ, ชุมชนคูหาสุวรรณ์และ บางส่วนของชุมชนร่วมใจพัฒนา ซึ่งเจ้าหน้าที่จากสำนักงาน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และตชด ค่ายรามคำแหง สุโขทัยได้จัดส่งเรือท้องแบนเข้าช่วยเหลือในการเดินทางเข้าออกของชาวบ้านและอำนวยความสะดวกในการขนย้ายข้าวของด้วยแล้ว โดยมีชาวบ้านได้รับผลกระทบกว่า 300 ครัวเรือน
**จทบ.พิษณุโลกลุยน้ำช่วยเหยื่อสุโขทัย
ขณะที่ พล.ต.สุมงคล ดิษบรรจง ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกพิษณุโลก พร้อมด้วยนายเสกสรรค์ ฉัตรตระกูล นายอำเภอกงไกรลาศ ได้นำถุงยังชีพและน้ำดื่ม 200 ชุดมามอบช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่หมู่ 6 ต.บ้านใหม่สุขเกษม อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ที่ถูกน้ำท่วมขังหมู่บ้านสูงเกือบ 2 เมตร หนักสุดในรอบหลายสิบปี
พร้อมกันนี้ได้ลงเรือเยี่ยมเยียนและมอบถุงยังชีพให้กับนายเวช แจ่มใส อายุ 70 ปีที่ป่วยเป็นอัมพาต อาศัยอยู่กับภรรยา และบ้านถูกน้ำท่วมสูงกว่า 2 เมตร จนเกือบถึงพื้นบ้าน โดยคณะทหารและนายอำเภอกงไกรลาศได้ขอร้องให้สองตายาย ย้ายไปอยู่อาศัยกับลูกหลานชั่วคราวก่อน เพราะเป็นห่วงความปลอดภัย แต่ทว่าทั้งสองตายายปฏิเสธ เพราะเป็นห่วงบ้าน จึงได้ฝากให้ผู้ใหญ่บ้านดูแลอย่างใกล้ชิด
**ตากอ่วม2อำเภอจมใต้น้ำทั้งคนทั้งสัตว์
รายงานข่าวจาก จ.ตากแจ้งถึงสถานการณ์น้ำท่วม โดยเฉพาะพื้นที่ อ.สามเงา และ อ.บ้านตากว่า น้ำระลอกใหญ่ได้ทะลักเข้าพื้นที่เมื่อกลางดึกวันที่ 7 ส.ค.แม่น้ำวังที่สามารถรับน้ำได้วินาทีละ 316 ลูกบาศก์เมตร แต่ได้เพิ่มเป็น 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือมากกว่า 3 เท่าตัว ทำให้น้ำทะลักเข้าพื้นที่ตำบลยกกระบัตร ต.วังหมัน และ ต.วังจันทร์ อ.สามเงา น้ำล้นเข้าพื้นที่การเกษตร อาทิ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าว ฝรั่ง และกล้วยไข่ นับหมื่นไร่จมใต้น้ำบางจุดท่วมมิดต้นกล้วย นอกจากนี้ลำไยที่กำลังใกล้เก็บผลผลิตหลายร้อยไร่ถูกน้ำท่วมเกษตรกรต้องรีบเก็บผลผลิตนำมาขายตามสองข้างทางบนถนนพหลโยธิน
ส่วนบ้านเรือนราษฎรที่อยู่ตามริมน้ำได้อพยพไปอาศัยตามบ้านญาติในตัวเมือง นายสามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก นำถุงยังชีพกว่า 1,000 ชุดไปมอบให้กับราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนที่วัดแม่เชียงราย และวัดสองแคว ต.ยกกระบัตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแล้ว
ส่านที่ อ.บ้านตาก น้ำที่ท่วม 3 หมู่บ้านของ ต.แม่สลิด คือบ้านยางโอง ขณะนี้รับน้ำที่ล้นมาจาก อ.สามเงา ขณะนี้ชาวบ้านกว่า 1,000 ครอบครัว ต้องอาศัยอยู่แต่ชั้นบน เนื่องจากน้ำท่วมชั้นล่างเกือบมิด ต้องใช้การเดินทางทางเรือหรือว่ายน้ำออกมา ขณะนี้กำลังขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม นอกจากนี้สัตว์เลี้ยงเช่นวัวกำลังขาดแคลนหญ้าและฟางข้าวอย่างหนัก เนื่องจากที่เก็บกักตุนไว้ถูกน้ำพัดพาไปหมด บางจุดเกษตรกรต้องตัดยอดต้นข้าวโพด และนำผลฝรั่งที่ถูกน้ำท่วมเสียหายมาให้กินแทนหญ้า
ด้าน พ.อ.สุภโชค ธวัชพีระชัย ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 4 แม่สอดร่วมกับฝ่ายปกครอง อ.แม่ระมาด อบต.แม่ระมาด เข้าตรวจสอบและนำกำลังทหาร อาสา และเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ เข้าทำการเร่งชักลากซุง โดยใช้รถแบคโฮของบริษัททำเหมืองในพื้นที่ใช้สริงลากซุงออกมาจากบริเวณใต้ตอหม้อสะพานอย่างทุลักทุเล อย่างยากลำบาก ซึ่งต้องใช้คนลงไปโรยตัวมัดซุงด้วยสลิง แล้วดึงออกทีละชิ้นและยังทำการทุบปูนสะพานตรงกลางออก ทั้งหมดเพื่อง่ายต่อการวางชิ้นส่วนสะพานเหล็กโดยคาดว่าจะใช้เวลานานกว่า 2-3 วันจึงจะสามารถก่อสร้างสะพานแบริ่งได้
ชาวบ้านหลายคนที่อาศัยในพื้นที่หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 4 บ้านโบเก่ บ้านคอนหวั่น บ้านนำหอม และบ้านคำหวั่น ต.แม่ตื่น ต่างออกมาโวยวายว่า ขณะนี้อาหารเริ่มขาดแคลนแล้ว ยังไม่มีหน่วยงานไหนเข้ามาช่วยเหลือ ทั้งน้ำดื่มสะอาด และอาหารแห้ง เนื่องจากชาวบ้านไม่สามารถไปไหนได้เพราะเส้นทางถูกตัดขาดหลายจุดระหว่างกัน บางหมู่บ้านเริ่มมีการต้มหน่อไม้กินเเทนข้าว
**น้ำในแม่น้ำโขงมุกดาหารเลยจุดวิกฤต
ส่วนระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่บริเวณ จ.มุกดาหาร ได้เพิ่มระดับสูงขึ้นจนเลยจุดวิกฤตแล้ว ทำให้มีน้ำเอ่อออกไปท่วมพื้นที่ทำการเกษตรและที่พักอาศัยของประชาชนเป็น ในพื้นที่ จ.มุกดาหาร ขณะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องมาร่วมสัปดาห์แล้ว จึงทำให้มีน้ำไหลลงสู่ลำห้วยสาขาของแม่น้ำโขงเป็นจำนวนมาก ประกอบกับระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่รับน้ำมาจากทางตอนเหนืออย่างต่อเนื่อง ทำให้ระดับน้ำที่วัดได้สูงถึง 12.57 เมตร เป็นระดับที่สูงเลยจุดวิกฤติแล้ว โดยจุดวิกฤติอยู่ที่ 12.50 เมตร โดยระดับน้ำยังคงเพิ่มระดับสูงขึ้นทุกระยะ เฉลี่ยชั่วโมงละ 2-4 ซม.
ลักษณะเช่นนี้จึงทำให้เกิดน้ำหนุนสูง เอ่อล้นลำห้วยสาขาออกไปท่วมสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ทั้งที่เป็นของประชาชน และสิ่งสาธารณประโยชน์ เป็นบริเวณกว้าง ที่สำคัญน้ำได้เอ่อเข้าท่วมบ้านพักอาศัยของประชาชน ที่ตั้งใกล้ลำห้วยสาขาภายในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร แล้ว โดยเฉพาะในชุมชนศรีดอนมุกดา-ชุมชน ประเสริฐ ซึ่งเป็นพื้นที่ค่อนข้างต่ำ มีระดับน้ำท่วมขังสูงมากว่า 1 เมตร ต้องใช้เรือเป็นพาหนะสัญจร น้ำยังได้เอ่อขึ้นไปท่วมอาคารเรียนชั้นเดียวของโรงเรียนท่านพระสารีบุตร ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับอนุบาล-ชั้นประถมศึกษาของเอกชน จนต้องหยุดการเรียนการสอนกระทันหัน อย่างไม่มีกำหนด
ด้านการช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบเหตุน้ำเอ่อท่วมในครั้งนี้ มีทั้งหลายหน่วยงานเข้าไปช่วยเหลือเช่นเจ้าหน้าที่ อาสาสมัครป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของเทศบาลเมืองมุกดาหาร ที่นำเรือท้องแบนเข้าไปให้บริการประชาชน พร้อมกับช่วยเก็บสิ่งของของประชาชนขึ้นที่สูง นอกจากนั้นยังมีตำรวจน้ำ ฝ่ายปกครอง และอื่น ๆ อีกหลายหน่วยงาน ในขณะที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.มุกดาหารได้ตัดระบบไฟที่จ่ายเข้าไปในชุมชนแล้ว เพื่อความปลอดภัย
**เตือน7จว.ลุ่มเจ้าพระยารับมือ8-10ส.ค.
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่ภาคกลางตอนล่างรวม 7 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ให้เตรียมรับมือน้ำล้นตลิ่งจากภาวะน้ำเหนือไหลบ่าในช่วงวันที่ 8-10 ส.ค.โดยขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง รวมถึงติดตามและปฏิบัติตามประกาศแจ้งเตือนภัยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
นายวิบูลย์ กล่าวว่า เบื้องต้นกรม ปภ.ได้สั่งการให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 1 ปทุมธานี เขต 16 ชัยนาท และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันท่วงที ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำล้นตลิ่งสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้ความช่วยเหลือโดยเร่งด่วน
**ผู้ว่าฯกทม.ยันสถานการณ์ไม่น่าห่วง
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม.และผู้บริหาร กทม.ได้เดินทางมายังริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณบริษัท ไทยอมฤตบริวเวอรี่ จำกัด เขตบางซื่อ เพื่อตรวจงานเรียงกระสอบทรายป้องกันน้ำทะเลหนุน และน้ำเหนือไหลบ่า ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในการรับปริมาณน้ำเหนือที่คาดว่าจะเข้ากทม.วันที่ 10 ส.ค.จากผลกระทบพายุโซนร้อนนกเตนที่ผ่านมา
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า กทม.พร้อมป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาน้ำท่วม แต่สถานการณ์ในขณะนี้ยังไม่น่าเป็นห่วง เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่ประมาณ 1.66-1.8 เมตร จากน้ำทะเลปานกลาง โดยวันที่ 10 ส.ค.นี้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำเหนือเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2 เมตร ซึ่ง กทม.ยังสามารถรองรับปริมาณน้ำได้ 2.5-3 เมตร ส่วนพื้นที่เสี่ยงบริเวณ กทม.ด้านตะวันตกและตะวันออก ระดับน้ำยังต่ำกว่าขีดวิกฤตทุกแห่ง ทั้งนี้ กทม.จะเฝ้าระวังต่อไป พร้อมทั้งสั่งการให้หน่วยงานพร้อมเข้าช่วยเหลือประชาชน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ตนยังห่วงคือ 2 เดือนข้างหน้า น้ำในเขื่อนสำคัญ เช่น เขื่อนสิริกิติ์ อาจจะมีปริมาณน้ำเต็มเขื่อน รัฐบาลต้องติดตามดูแลให้ดี เพราะเรื่องดังกล่าวอยู่นอกอำนาจหน้าที่ของกทม.
หลังจากเกิดพายุฝนถล่มในหลายจังหวัดของภาคเหนือ เช่น น่าน สุโขทัย ทำให้บ้านเรือน ไร่นา สิ่งสาธารณะประโยชน์ได้รับความเสียหาย และประชาชนได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้กำลังพลของกองทัพเรือ ลำเลียงถุงยังชีพพระราชทานฯ เข้าให้ความช่วยเหลือประชาชน และพระภิกษุสงฆ์ ที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ จังหวัดสุโขทัยในโอกาสเดียวกันนี้ด้วย
เมื่อเวลา 06.00 น.วานนี้ (8 ส.ค.)พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงพระกรุณาโปรดให้นางสมถวิล ยังอยู่ ผู้ช่วยเลขานุการในพระองค์ เป็นผู้แทนฯนำกำลังพลของกองทัพเรือ ลำเลียงถุงยังชีพพระราชทานมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทย สำหรับช่วยเหลือประชาชน 600 ชุดและพระภิกษุสงฆ์ 80 ชุดขึ้นรถบรรทุกชานต่ำของกองทัพเรือ ณ โรงเก็บเครื่องบิน ฝูงบิน 201 กองบิน 2 กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ สนามบินอู่ตะเภา ต.พลา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง เพื่อนำเข้าให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ อ.เมือง จ.สุโขทัย และทรงมอบหมายให้นายอภัย จุลกะ ผู้แทนพระองค์ฯนำเข้าให้ความช่วยเหลือราษฎรที่ประสบอุทกภัย ณ บริเวณดังกล่าวในเวลา 13.00 น.ของวันที่ 9 ส.ค.นี้
นางสมถวิล ยังอยู่ ผู้ช่วยเลขานุการในพระองค์ กล่าวว่า สืบเนื่องจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงมีความห่วงใยราษฎรที่ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ประกอบกับฤดูนี้เริ่มที่จะมีพายุต่างๆ พัดเข้ามาในประเทศ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม จะได้นำสิ่งของพระราชทานมูลนิธิ อาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทยเข้าให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันท่วงที เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว ยังป็นการแบ่งเบาพระราชภาระในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในการดูแลผู้ประสบภัยในเบื้องต้นอีกด้วย
**สุโขทัยยังอ่วม-ปชช.เดือดร้อนหนัก
ด้านสถานการณ์น้ำท่วมใน จ.สุโขทัยวานนี้หลายพื้นที่ยังวิกฤตหนัก โดยเฉพาะชาวบ้านหมู่ 14 บ้านเนินทอง ต.บ้านกล้วย อ.เมืองสุโขทัย ต้องประสบภาวะน้ำท่วมเข้าตัวบ้านต้องยกข้าวของหนีน้ำไว้ในที่สูง รวมทั้งระดับน้ำที่ไหลบ่าเข้าท่วมตัวบ้านยังทำให้โดยรอบเตียงนอนและทั่วพื้นบ้านเจิ่งนองด้วยน้ำในระดับที่เริ่มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เหตุดังกล่าวเกิดจากผลกระทบระดับน้ำที่ไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ อ.สวรรคโลก, อ.ศรีสำโรง ซึ่งเป็นอำเภอตอนเหนือของ จ.สุโขทัย ได้เริ่มคลี่คลายลงระดับน้ำที่ท่วมพื้นที่เริ่มลดระดับลงอย่างต่อเนื่องและระดับน้ำที่ลดลงได้ไหลบ่าเข้าสู่พื้นที่ อ.เมืองสุโขทัย ฝั่งตะวันตกจนทำให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ ต.บ้านกล้วย โดยล่าสุด 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 5, 12 และ หมู่ที่ 16 โดยระดับน้ำที่เข้าท่วมในชุมชนของหมู่บ้านพื้นที่ลุ่มสูงถึงเกือบ 2 เมตร โดยมีชาวบ้านได้รับผลกระทบกว่า 100 ครัวเรือน
เช่นเดียวกันในพื้นที่ 3 ชุมชนของเขตเทศบาลเมืองสุโขทัยฝั่งตะวันตกต้องประสบปัญหาน้ำไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่สูงเกือบ 1 เมตร คือ ชุมชนคลองโพธิ, ชุมชนคูหาสุวรรณ์และ บางส่วนของชุมชนร่วมใจพัฒนา ซึ่งเจ้าหน้าที่จากสำนักงาน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และตชด ค่ายรามคำแหง สุโขทัยได้จัดส่งเรือท้องแบนเข้าช่วยเหลือในการเดินทางเข้าออกของชาวบ้านและอำนวยความสะดวกในการขนย้ายข้าวของด้วยแล้ว โดยมีชาวบ้านได้รับผลกระทบกว่า 300 ครัวเรือน
**จทบ.พิษณุโลกลุยน้ำช่วยเหยื่อสุโขทัย
ขณะที่ พล.ต.สุมงคล ดิษบรรจง ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกพิษณุโลก พร้อมด้วยนายเสกสรรค์ ฉัตรตระกูล นายอำเภอกงไกรลาศ ได้นำถุงยังชีพและน้ำดื่ม 200 ชุดมามอบช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่หมู่ 6 ต.บ้านใหม่สุขเกษม อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ที่ถูกน้ำท่วมขังหมู่บ้านสูงเกือบ 2 เมตร หนักสุดในรอบหลายสิบปี
พร้อมกันนี้ได้ลงเรือเยี่ยมเยียนและมอบถุงยังชีพให้กับนายเวช แจ่มใส อายุ 70 ปีที่ป่วยเป็นอัมพาต อาศัยอยู่กับภรรยา และบ้านถูกน้ำท่วมสูงกว่า 2 เมตร จนเกือบถึงพื้นบ้าน โดยคณะทหารและนายอำเภอกงไกรลาศได้ขอร้องให้สองตายาย ย้ายไปอยู่อาศัยกับลูกหลานชั่วคราวก่อน เพราะเป็นห่วงความปลอดภัย แต่ทว่าทั้งสองตายายปฏิเสธ เพราะเป็นห่วงบ้าน จึงได้ฝากให้ผู้ใหญ่บ้านดูแลอย่างใกล้ชิด
**ตากอ่วม2อำเภอจมใต้น้ำทั้งคนทั้งสัตว์
รายงานข่าวจาก จ.ตากแจ้งถึงสถานการณ์น้ำท่วม โดยเฉพาะพื้นที่ อ.สามเงา และ อ.บ้านตากว่า น้ำระลอกใหญ่ได้ทะลักเข้าพื้นที่เมื่อกลางดึกวันที่ 7 ส.ค.แม่น้ำวังที่สามารถรับน้ำได้วินาทีละ 316 ลูกบาศก์เมตร แต่ได้เพิ่มเป็น 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือมากกว่า 3 เท่าตัว ทำให้น้ำทะลักเข้าพื้นที่ตำบลยกกระบัตร ต.วังหมัน และ ต.วังจันทร์ อ.สามเงา น้ำล้นเข้าพื้นที่การเกษตร อาทิ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าว ฝรั่ง และกล้วยไข่ นับหมื่นไร่จมใต้น้ำบางจุดท่วมมิดต้นกล้วย นอกจากนี้ลำไยที่กำลังใกล้เก็บผลผลิตหลายร้อยไร่ถูกน้ำท่วมเกษตรกรต้องรีบเก็บผลผลิตนำมาขายตามสองข้างทางบนถนนพหลโยธิน
ส่วนบ้านเรือนราษฎรที่อยู่ตามริมน้ำได้อพยพไปอาศัยตามบ้านญาติในตัวเมือง นายสามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก นำถุงยังชีพกว่า 1,000 ชุดไปมอบให้กับราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนที่วัดแม่เชียงราย และวัดสองแคว ต.ยกกระบัตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแล้ว
ส่านที่ อ.บ้านตาก น้ำที่ท่วม 3 หมู่บ้านของ ต.แม่สลิด คือบ้านยางโอง ขณะนี้รับน้ำที่ล้นมาจาก อ.สามเงา ขณะนี้ชาวบ้านกว่า 1,000 ครอบครัว ต้องอาศัยอยู่แต่ชั้นบน เนื่องจากน้ำท่วมชั้นล่างเกือบมิด ต้องใช้การเดินทางทางเรือหรือว่ายน้ำออกมา ขณะนี้กำลังขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม นอกจากนี้สัตว์เลี้ยงเช่นวัวกำลังขาดแคลนหญ้าและฟางข้าวอย่างหนัก เนื่องจากที่เก็บกักตุนไว้ถูกน้ำพัดพาไปหมด บางจุดเกษตรกรต้องตัดยอดต้นข้าวโพด และนำผลฝรั่งที่ถูกน้ำท่วมเสียหายมาให้กินแทนหญ้า
ด้าน พ.อ.สุภโชค ธวัชพีระชัย ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 4 แม่สอดร่วมกับฝ่ายปกครอง อ.แม่ระมาด อบต.แม่ระมาด เข้าตรวจสอบและนำกำลังทหาร อาสา และเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ เข้าทำการเร่งชักลากซุง โดยใช้รถแบคโฮของบริษัททำเหมืองในพื้นที่ใช้สริงลากซุงออกมาจากบริเวณใต้ตอหม้อสะพานอย่างทุลักทุเล อย่างยากลำบาก ซึ่งต้องใช้คนลงไปโรยตัวมัดซุงด้วยสลิง แล้วดึงออกทีละชิ้นและยังทำการทุบปูนสะพานตรงกลางออก ทั้งหมดเพื่อง่ายต่อการวางชิ้นส่วนสะพานเหล็กโดยคาดว่าจะใช้เวลานานกว่า 2-3 วันจึงจะสามารถก่อสร้างสะพานแบริ่งได้
ชาวบ้านหลายคนที่อาศัยในพื้นที่หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 4 บ้านโบเก่ บ้านคอนหวั่น บ้านนำหอม และบ้านคำหวั่น ต.แม่ตื่น ต่างออกมาโวยวายว่า ขณะนี้อาหารเริ่มขาดแคลนแล้ว ยังไม่มีหน่วยงานไหนเข้ามาช่วยเหลือ ทั้งน้ำดื่มสะอาด และอาหารแห้ง เนื่องจากชาวบ้านไม่สามารถไปไหนได้เพราะเส้นทางถูกตัดขาดหลายจุดระหว่างกัน บางหมู่บ้านเริ่มมีการต้มหน่อไม้กินเเทนข้าว
**น้ำในแม่น้ำโขงมุกดาหารเลยจุดวิกฤต
ส่วนระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่บริเวณ จ.มุกดาหาร ได้เพิ่มระดับสูงขึ้นจนเลยจุดวิกฤตแล้ว ทำให้มีน้ำเอ่อออกไปท่วมพื้นที่ทำการเกษตรและที่พักอาศัยของประชาชนเป็น ในพื้นที่ จ.มุกดาหาร ขณะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องมาร่วมสัปดาห์แล้ว จึงทำให้มีน้ำไหลลงสู่ลำห้วยสาขาของแม่น้ำโขงเป็นจำนวนมาก ประกอบกับระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่รับน้ำมาจากทางตอนเหนืออย่างต่อเนื่อง ทำให้ระดับน้ำที่วัดได้สูงถึง 12.57 เมตร เป็นระดับที่สูงเลยจุดวิกฤติแล้ว โดยจุดวิกฤติอยู่ที่ 12.50 เมตร โดยระดับน้ำยังคงเพิ่มระดับสูงขึ้นทุกระยะ เฉลี่ยชั่วโมงละ 2-4 ซม.
ลักษณะเช่นนี้จึงทำให้เกิดน้ำหนุนสูง เอ่อล้นลำห้วยสาขาออกไปท่วมสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ทั้งที่เป็นของประชาชน และสิ่งสาธารณประโยชน์ เป็นบริเวณกว้าง ที่สำคัญน้ำได้เอ่อเข้าท่วมบ้านพักอาศัยของประชาชน ที่ตั้งใกล้ลำห้วยสาขาภายในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร แล้ว โดยเฉพาะในชุมชนศรีดอนมุกดา-ชุมชน ประเสริฐ ซึ่งเป็นพื้นที่ค่อนข้างต่ำ มีระดับน้ำท่วมขังสูงมากว่า 1 เมตร ต้องใช้เรือเป็นพาหนะสัญจร น้ำยังได้เอ่อขึ้นไปท่วมอาคารเรียนชั้นเดียวของโรงเรียนท่านพระสารีบุตร ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับอนุบาล-ชั้นประถมศึกษาของเอกชน จนต้องหยุดการเรียนการสอนกระทันหัน อย่างไม่มีกำหนด
ด้านการช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบเหตุน้ำเอ่อท่วมในครั้งนี้ มีทั้งหลายหน่วยงานเข้าไปช่วยเหลือเช่นเจ้าหน้าที่ อาสาสมัครป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของเทศบาลเมืองมุกดาหาร ที่นำเรือท้องแบนเข้าไปให้บริการประชาชน พร้อมกับช่วยเก็บสิ่งของของประชาชนขึ้นที่สูง นอกจากนั้นยังมีตำรวจน้ำ ฝ่ายปกครอง และอื่น ๆ อีกหลายหน่วยงาน ในขณะที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.มุกดาหารได้ตัดระบบไฟที่จ่ายเข้าไปในชุมชนแล้ว เพื่อความปลอดภัย
**เตือน7จว.ลุ่มเจ้าพระยารับมือ8-10ส.ค.
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่ภาคกลางตอนล่างรวม 7 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ให้เตรียมรับมือน้ำล้นตลิ่งจากภาวะน้ำเหนือไหลบ่าในช่วงวันที่ 8-10 ส.ค.โดยขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง รวมถึงติดตามและปฏิบัติตามประกาศแจ้งเตือนภัยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
นายวิบูลย์ กล่าวว่า เบื้องต้นกรม ปภ.ได้สั่งการให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 1 ปทุมธานี เขต 16 ชัยนาท และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันท่วงที ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำล้นตลิ่งสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้ความช่วยเหลือโดยเร่งด่วน
**ผู้ว่าฯกทม.ยันสถานการณ์ไม่น่าห่วง
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม.และผู้บริหาร กทม.ได้เดินทางมายังริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณบริษัท ไทยอมฤตบริวเวอรี่ จำกัด เขตบางซื่อ เพื่อตรวจงานเรียงกระสอบทรายป้องกันน้ำทะเลหนุน และน้ำเหนือไหลบ่า ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในการรับปริมาณน้ำเหนือที่คาดว่าจะเข้ากทม.วันที่ 10 ส.ค.จากผลกระทบพายุโซนร้อนนกเตนที่ผ่านมา
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า กทม.พร้อมป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาน้ำท่วม แต่สถานการณ์ในขณะนี้ยังไม่น่าเป็นห่วง เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่ประมาณ 1.66-1.8 เมตร จากน้ำทะเลปานกลาง โดยวันที่ 10 ส.ค.นี้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำเหนือเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2 เมตร ซึ่ง กทม.ยังสามารถรองรับปริมาณน้ำได้ 2.5-3 เมตร ส่วนพื้นที่เสี่ยงบริเวณ กทม.ด้านตะวันตกและตะวันออก ระดับน้ำยังต่ำกว่าขีดวิกฤตทุกแห่ง ทั้งนี้ กทม.จะเฝ้าระวังต่อไป พร้อมทั้งสั่งการให้หน่วยงานพร้อมเข้าช่วยเหลือประชาชน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ตนยังห่วงคือ 2 เดือนข้างหน้า น้ำในเขื่อนสำคัญ เช่น เขื่อนสิริกิติ์ อาจจะมีปริมาณน้ำเต็มเขื่อน รัฐบาลต้องติดตามดูแลให้ดี เพราะเรื่องดังกล่าวอยู่นอกอำนาจหน้าที่ของกทม.