ผ่านเวลา 3 ปีมาหลายเดือนแล้ว นายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ยังทำไม่รู้ไม่ชี้กับคำมั่นสัญญาที่เคยพูดกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วยกันว่า จะอยู่ในตำแหน่งเพียง 3 ปีก็จะลาออก นอกจากทำไม่รู้ไม่ชี้แล้ว ยังบอกว่า ที่เคยบอกว่าจะลาออกนั้น ไม่มีผลทางกฎหมายแต่อย่างใด และตนก็อายุมากแล้ว ถ้าหากลาออกก็ไม่รู้จะไปทำอะไร
ดูเหมือนว่าตั้งแต่วันที่นายชัช ชลวร ชี้แจงต่อตุลาการคนอื่นๆ ว่าคำพูดของเขาไม่มีผลทางกฎหมายใดๆ นั้น งานของศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่มีอันใดคืบหน้า เพราะไม่สามารถประชุมได้เนื่องจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่ร่วมสังฆกรรมกับนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่รักษาสัจจะ
นายชัช ชลวร ไม่ได้บอกที่ประชุมถึงเรื่องที่เขาจะอยู่ในตำแหน่ง 3 ปีเพียงหนเดียว ก่อนที่จะมีการลงคะแนนเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญเมื่อ 3 ปีก่อนนี้เท่านั้น หากเมื่อเกิดปัญหาขึ้นในศาลรัฐธรรมนูญก่อนที่จะมีการตัดสินคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ มีคลิปวิดีโอแพร่ออกมาหลายชุด และเป็นที่เชื่อกันว่า อดีตเลขานุการของนายชัช ชลวร คือ นายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ มีส่วนเกี่ยวข้อง นายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ก็ยังย้ำอีกครั้งหลังการตัดสินคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ว่า เขาไม่ลืมคำสัญญาที่ให้ไว้กับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วยกันเรื่อง ลาออกเมื่ออยู่ในตำแหน่งครบ 3 ปี
ตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นตำแหน่งที่สำคัญ ยิ่งตำแหน่งประธานยิ่งมีความสำคัญเพิ่มขึ้นไปอีก เป็นเรื่องปกติที่นายชัช ชลวร จะต้องมีความอาลัยอาวรณ์กับตำแหน่งดังกล่าว แต่แม้จะอาลัยอาวรณ์แค่ไหน สัจจะย่อมสำคัญกว่า เพราะถ้าหากไม่รักษาสัจจะแล้ว อย่าว่าแต่เป็นตุลาการ (ศาลไหนก็ตามเถอะ) เลย เป็นลูกเสือ ก็ยังเป็นไม่ได้
ที่สำคัญแม้จะอาลัยอาวรณ์ตำแหน่งที่สำคัญนี้แค่ไหนก็อยู่ไม่ได้ เพราะศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้เคยพิจารณาคดีนายเกียรติกร พากเพียรศิลป์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปราจีนบุรี ให้พ้นจากสมาชิกภาพมาแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่าเมื่อนายเกียรติกร พากเพียรศิลป์ บอกว่าขอลาออก นั่นก็เป็นการแสดงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนแล้ว
การบอกว่าจะอยู่ในตำแหน่งเพียง 3 ปีก็จะลาออกก่อนรับตำแหน่งประธาน และอีกครั้งมื่อใกล้จะครบ 3 ปีของนายชัช ชลวร ต่างอะไรกันเล่ากับที่นายเกียรติกร พากเพียรศิลป์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปราจีนบุรี ลั่นวาจาจนกระทั่งศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาปัญหาการพ้น หรือไม่พ้นจากสมาชิกภาพการเป็นผู้แทนราษฎรของเขา
หรือนายชัช ชลวร ต้องการให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาปัญหาการพ้นจากตำแหน่งหรือยังไม่พ้นของตน อย่างที่เคยพิจารณานายเกียรติกร พากเพียรศิลป์
ปัญหาที่นายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญควรที่จะลาออกไม่เพียงแต่ที่จะต้องรักษาสัจจะของลูกผู้ชาย ต้องดำรงชีวิตอยู่อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรีเท่านั้น หากควรที่จะแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นกับองค์กรแห่งนี้ที่เขาในฐานะประธานศาลรัฐธรรมนูญปล่อยให้เลขานุการของเขากระทำปู้ยี่ปู้ยำต่อศาลรัฐธรรมนูญด้วยการสร้างปล่อยคลิปต่างๆ ออกมาซึ่งกระทบกระเทือนต่อชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือ และเกียรติยศของศาลรัฐธรรมนูญ
แม้เมื่อพ้นจากหน้าที่ในศาลรัฐธรรมนูญแล้วก็ยังมีความพยายามที่จะทำลายความน่าเชื่อถือขององค์กรแห่งนี้อยู่ โดยการเปิดเผยของหญิงสาวที่ใกล้ชิดสนิทสนมกับนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ (นางชุติมา) ด้วยการเขียนจดหมายส่งไปเปิดเผยในเวทีเสื้อแดงเมื่อเดือนมีนาคม และตัวนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ ก็ขึ้นเวทีพูดกำๆ กวมๆ ให้กระทบกระเทือนต่อองค์กรศาลรัฐธรรมนูญ
แต่นายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญกลับเงียบเฉย ประหนึ่งจะห่วงตำแหน่งแห่งที่ที่ตนดำรงอยู่มากกว่าอย่างอื่น ทั้งที่การนิ่งและเฉยนั้นจะสร้างความเสียหายให้แก่องค์กรแห่งนี้มากกว่าเสียด้วยซ้ำ
ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรหนึ่งในขณะนี้ที่ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่หนีคุกอยู่ขณะนี้ไม่สามารถครอบงำได้ ด้วยเหตุนี้เองที่พรรคเพื่อไทยเมื่อชนะเลือกตั้งและจะได้เป็นรัฐบาลอย่างแน่นอนจึงออกมาเคลื่อนไหวที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยนำรัฐธรรมนูญปี 2540 มาใช้ นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ อดีตตุลาการที่ไปซุกอยู่กับเสื้อแดง เปิดเผยด้วยเหตุผลที่ว่า หาไม่แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ก็จะยุบพรรคเพื่อไทย (เพราะฉะนั้นต้องเล่นงานศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ก่อน) ถ้าหากประธานศาลรัฐธรรมนูญที่นายชัช ชลวร ดำรงอยู่ขณะนี้ไม่รักษาสัจจะ ไม่รักษาเกียรติยศ ก็ยิ่งจะเป็นการส่งเสริม หรือทำให้การทำลายล้างองค์กรอิสระแห่งนี้ง่ายขึ้น
ผู้คนอาจจะไม่พูดถึงองค์กรศาลรัฐธรรมนูญแห่งนี้มากนักในขณะนี้ เพราะกำลังให้ความสนใจกับรัฐบาลใหม่ แต่เมื่อรัฐบาลจัดตั้งเรียบร้อยแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญก็จะเป็นที่จับตามอง หนึ่ง คดีที่ยังค้างคาอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญยังมีอยู่จำนวนไม่น้อย ผู้คนทั้งหลายรอฟัง รอดูการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญอยู่ สอง จะต้องมีคดีใหม่ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นกรณียุบพรรค ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขกฎหมายเพื่อคนคนเดียว ทำได้หรือไม่ ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ฯลฯ
แต่ศาลรัฐธรรมนูญจะเดินหน้าไปได้อย่างไร เมื่อผู้ที่เป็นประธานไม่สามารถเรียกประชุมได้ด้วยเหตุผลที่ว่า เสียงส่วนหนึ่งของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่เอาด้วยกับประธาน ไม่ร่วมประชุมกับประธาน ทำให้องค์ประชุมไม่ครบ
ท่านผู้เป็นประธานจะอยู่ได้อย่างไร?
ดูเหมือนว่าตั้งแต่วันที่นายชัช ชลวร ชี้แจงต่อตุลาการคนอื่นๆ ว่าคำพูดของเขาไม่มีผลทางกฎหมายใดๆ นั้น งานของศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่มีอันใดคืบหน้า เพราะไม่สามารถประชุมได้เนื่องจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่ร่วมสังฆกรรมกับนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่รักษาสัจจะ
นายชัช ชลวร ไม่ได้บอกที่ประชุมถึงเรื่องที่เขาจะอยู่ในตำแหน่ง 3 ปีเพียงหนเดียว ก่อนที่จะมีการลงคะแนนเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญเมื่อ 3 ปีก่อนนี้เท่านั้น หากเมื่อเกิดปัญหาขึ้นในศาลรัฐธรรมนูญก่อนที่จะมีการตัดสินคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ มีคลิปวิดีโอแพร่ออกมาหลายชุด และเป็นที่เชื่อกันว่า อดีตเลขานุการของนายชัช ชลวร คือ นายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ มีส่วนเกี่ยวข้อง นายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ก็ยังย้ำอีกครั้งหลังการตัดสินคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ว่า เขาไม่ลืมคำสัญญาที่ให้ไว้กับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วยกันเรื่อง ลาออกเมื่ออยู่ในตำแหน่งครบ 3 ปี
ตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นตำแหน่งที่สำคัญ ยิ่งตำแหน่งประธานยิ่งมีความสำคัญเพิ่มขึ้นไปอีก เป็นเรื่องปกติที่นายชัช ชลวร จะต้องมีความอาลัยอาวรณ์กับตำแหน่งดังกล่าว แต่แม้จะอาลัยอาวรณ์แค่ไหน สัจจะย่อมสำคัญกว่า เพราะถ้าหากไม่รักษาสัจจะแล้ว อย่าว่าแต่เป็นตุลาการ (ศาลไหนก็ตามเถอะ) เลย เป็นลูกเสือ ก็ยังเป็นไม่ได้
ที่สำคัญแม้จะอาลัยอาวรณ์ตำแหน่งที่สำคัญนี้แค่ไหนก็อยู่ไม่ได้ เพราะศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้เคยพิจารณาคดีนายเกียรติกร พากเพียรศิลป์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปราจีนบุรี ให้พ้นจากสมาชิกภาพมาแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่าเมื่อนายเกียรติกร พากเพียรศิลป์ บอกว่าขอลาออก นั่นก็เป็นการแสดงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนแล้ว
การบอกว่าจะอยู่ในตำแหน่งเพียง 3 ปีก็จะลาออกก่อนรับตำแหน่งประธาน และอีกครั้งมื่อใกล้จะครบ 3 ปีของนายชัช ชลวร ต่างอะไรกันเล่ากับที่นายเกียรติกร พากเพียรศิลป์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปราจีนบุรี ลั่นวาจาจนกระทั่งศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาปัญหาการพ้น หรือไม่พ้นจากสมาชิกภาพการเป็นผู้แทนราษฎรของเขา
หรือนายชัช ชลวร ต้องการให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาปัญหาการพ้นจากตำแหน่งหรือยังไม่พ้นของตน อย่างที่เคยพิจารณานายเกียรติกร พากเพียรศิลป์
ปัญหาที่นายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญควรที่จะลาออกไม่เพียงแต่ที่จะต้องรักษาสัจจะของลูกผู้ชาย ต้องดำรงชีวิตอยู่อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรีเท่านั้น หากควรที่จะแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นกับองค์กรแห่งนี้ที่เขาในฐานะประธานศาลรัฐธรรมนูญปล่อยให้เลขานุการของเขากระทำปู้ยี่ปู้ยำต่อศาลรัฐธรรมนูญด้วยการสร้างปล่อยคลิปต่างๆ ออกมาซึ่งกระทบกระเทือนต่อชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือ และเกียรติยศของศาลรัฐธรรมนูญ
แม้เมื่อพ้นจากหน้าที่ในศาลรัฐธรรมนูญแล้วก็ยังมีความพยายามที่จะทำลายความน่าเชื่อถือขององค์กรแห่งนี้อยู่ โดยการเปิดเผยของหญิงสาวที่ใกล้ชิดสนิทสนมกับนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ (นางชุติมา) ด้วยการเขียนจดหมายส่งไปเปิดเผยในเวทีเสื้อแดงเมื่อเดือนมีนาคม และตัวนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ ก็ขึ้นเวทีพูดกำๆ กวมๆ ให้กระทบกระเทือนต่อองค์กรศาลรัฐธรรมนูญ
แต่นายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญกลับเงียบเฉย ประหนึ่งจะห่วงตำแหน่งแห่งที่ที่ตนดำรงอยู่มากกว่าอย่างอื่น ทั้งที่การนิ่งและเฉยนั้นจะสร้างความเสียหายให้แก่องค์กรแห่งนี้มากกว่าเสียด้วยซ้ำ
ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรหนึ่งในขณะนี้ที่ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่หนีคุกอยู่ขณะนี้ไม่สามารถครอบงำได้ ด้วยเหตุนี้เองที่พรรคเพื่อไทยเมื่อชนะเลือกตั้งและจะได้เป็นรัฐบาลอย่างแน่นอนจึงออกมาเคลื่อนไหวที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยนำรัฐธรรมนูญปี 2540 มาใช้ นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ อดีตตุลาการที่ไปซุกอยู่กับเสื้อแดง เปิดเผยด้วยเหตุผลที่ว่า หาไม่แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ก็จะยุบพรรคเพื่อไทย (เพราะฉะนั้นต้องเล่นงานศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ก่อน) ถ้าหากประธานศาลรัฐธรรมนูญที่นายชัช ชลวร ดำรงอยู่ขณะนี้ไม่รักษาสัจจะ ไม่รักษาเกียรติยศ ก็ยิ่งจะเป็นการส่งเสริม หรือทำให้การทำลายล้างองค์กรอิสระแห่งนี้ง่ายขึ้น
ผู้คนอาจจะไม่พูดถึงองค์กรศาลรัฐธรรมนูญแห่งนี้มากนักในขณะนี้ เพราะกำลังให้ความสนใจกับรัฐบาลใหม่ แต่เมื่อรัฐบาลจัดตั้งเรียบร้อยแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญก็จะเป็นที่จับตามอง หนึ่ง คดีที่ยังค้างคาอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญยังมีอยู่จำนวนไม่น้อย ผู้คนทั้งหลายรอฟัง รอดูการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญอยู่ สอง จะต้องมีคดีใหม่ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นกรณียุบพรรค ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขกฎหมายเพื่อคนคนเดียว ทำได้หรือไม่ ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ฯลฯ
แต่ศาลรัฐธรรมนูญจะเดินหน้าไปได้อย่างไร เมื่อผู้ที่เป็นประธานไม่สามารถเรียกประชุมได้ด้วยเหตุผลที่ว่า เสียงส่วนหนึ่งของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่เอาด้วยกับประธาน ไม่ร่วมประชุมกับประธาน ทำให้องค์ประชุมไม่ครบ
ท่านผู้เป็นประธานจะอยู่ได้อย่างไร?