ศูนย์ข่าวภูมิภาค - เมืองแพร่ยังจมหลายพื้นที่ ขณะที่ชาว“วังชิ้น”ยังต้องผจญกับสารพัดปัญหาต่อ ขาดแคลนหนักทั้งอาหาร น้ำดื่ม ยา การจราจรใช้ไม่ได้ อบจ.แพร่ตั้งหน่วยผลิตน้ำดื่มช่วย "ปู"ประเดิมงานแรกลงดูน้ำท่วมวังชิ้น 7 ส.ค.นี้ ผู้ว่าฯแม่ฮ่องสอนเผยนกเตนคร่าแล้ว 7 ศพหาย 1 จากโคลนถล่มทับหมู่บ้านที่สบเมย ปภ.เผย 14 จังหวัดยังจมยอดพุ่ง 13 ศพ
ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดแพร่ถึงสถานการณ์น้ำท่วมว่า ปริมาณน้ำในแม่น้ำยมที่ อ.เมืองแพร่ และ อ.สูงเม่นลดลงกว่า 1 เมตร ระดับน้ำที่สถานีอุทกบ้านน้ำโค้งวัดได้ 9.5 เมตร เมื่อวันที่ 4 ส.ค.ที่ผ่านมา ชาวบ้านและหน่วยงานต่างๆ ที่ถูกน้ำท่วมพากันเก็บข้าวของทำความสะอาดกันบ้างแล้ว แต่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ยังคงต้องแช่น้ำต่อไป
โดยที่ อ.วังชิ้น น้ำยมยังคงมีระดับน้ำทรงตัวลดลงเพียง 10 เซนติเมตรเท่านั้น ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงไม่สามารถเดินทางออกจากบ้านได้ เนื่องจากถนนหลายสายยังถูกตัดขาด ที่หน้าที่ว่าการอำเภอวังชิ้น ตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ที่ 32 จังหวัดพะเยา ยังต้องใช้เรือบริการให้กับประชาชนที่เดินทางในบริเวณดังกล่าวตลอดทั้งวัน เนื่องจากถนนถูกตัดขาดทำให้ประชาชนในพื้นที่ต่างขาดแคลนน้ำดื่มและอาหารอย่างหนัก
นอกจากนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลในพื้นที่ต้องเตรียมอาหารและน้ำดื่มไปแจกจ่ายให้กับประชาชนที่ติดน้ำท่วมอยู่ แต่ก็ไม่เพียงพอและไม่ทั่วถึง กลุ่มแม่บ้านในอ.วังชิ้น นำโดยนางบัวคลี่ ส่างกันจันทร์ รวมตัวทำอาหารส่งให้กับผู้ประสบภัยในหลายพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำยม และนายอนุวัธ วงศ์วรรณนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ที่ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน ติดตั้งเครื่องผลิตน้ำประปาพร้อมดื่มโดยใช้น้ำในแม่น้ำยมมาผลิต ออกบริการให้กับผู้ประสบภัยที่ขาดแคลนน้ำ
นางบัวคลี่ ส่างกันจันทร์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ต.บ้านใหม่ กล่าวว่า กลุ่มแม่บ้านมารวมตัวกันทั้งแรงและทุนทรัพย์พร้อมทั้งผู้ที่เห็นการทำงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้บริจาคมาให้ ทำอาหารเลี้ยงต่อเนื่องสบทบกับทางราชการ และเข้าไปในจุดที่ทางราชการไม่ได้ไป ซึ่งจุดที่ไปส่งข้าวส่งน้ำ พบว่าชาวบ้านลำบากมาก ขาดแสงสว่างในยามค่ำคืน นอกจากนั้นชาวบ้านเริ่มเป็นโรคเท้าเปื่อย และโรคอื่นๆ กันแล้วทำให้ต้องเร่งเข้าไปช่วยเหลือโดยเร่งด่วนในเรื่องยารักษาโรคสามัญประจำบ้าน
ขณะที่ชุดประดาน้ำ จากกรมประมง และอาสาสมัครกู้ภัยที่ควานหาศพนายเพ็ชร ทองนาค อายุ 16 ปี พบแล้วเมื่อวันที่ 4 ส.ค.โดยอยู่ห่างจากจุดพลัดตกน้ำเพียง 10 เมตรเท่านั้นสภาพศพนอนอยู่ใต้น้ำ เจ้าหน้าที่นำศพไปทำความสะอาดและตรวจพิสูจน์ที่โรงพยาบาลวังชิ้น โดยมีมารดามารับศพ ส่วนบิดาที่ประสบอุบัติเหตุด้วยกันรอดชีวิต ถูกส่งเข้ารักษาที่โรงพยาบาลแพร่ตั้งแต่วันที่ 3 ส.ค.ที่ผ่านมา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากเหตุน้ำท่วมใหญ่ปีนี้ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่เริ่มเห็นว่าต้องแก้ปัญหาน้ำท่วมกันอย่างจริงจัง โดยมุ่งไปที่การแก้ปัญหาด้วยการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ซึ่งสอดคล้องกับกรมชลประทานที่เตรียมเสนอโครงการออกเป็นสองแนวทาง คือ แนวทางแรก สร้างเขื่อนขนาดใหญ่โครงการเดิม แนวทางที่ 2 คือการสร้างเขื่อนขนาดเล็กลงมา สร้างเป็นสองช่วง คือตอนบนสร้างเหนือหมู่บ้านแม่เต้น ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ และเขื่อนตอนล่างสร้างที่สถานีอุทกห้วยสัก ซึ่งทั้งสองแนวทางยังต้องฟังกระแสหลายฝ่ายก่อน
**เหยื่อโคลนถล่มสบเมยดับแล้ว7หาย1
นายกำธร ถาวรสถิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เผยถึงสถานการณ์น้ำท่วม-โคลนถล่มในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอนว่า เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการจากกรมทหารพรานที่ 36 แม่สะเรียง หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 7 แม่ฮ่องสอน กองกำลังนเรศวร หน่วยเฉพาะกิจที่ 35 อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ได้เข้าเคลียร์พื้นที่บ้านปู่ทา หมู่ที่ 6 ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน เพื่อเข้าไปช่วยเหลือผู้สบประสบภัยดินถล่มแล้ว
"ล่าสุดพบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 3 คนเมื่อค่ำวันที่ 4 ส.ค.ที่ผ่านมาคือนายประวิทย์ หมื่นตุ้ม อายุ 34 ปี นายทาการิ หมื่นตุ้ม อายุ 48 ปี นายหล้า หมื่นตุ้ม อายุ 74 ปี และนางจิโน วงศ์เชื้อไทย ผู้บาดเจ็บซึ่งได้เสียชีวิตแล้วเช่นกัน โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังค้นหาผู้สูญหายอีก 1 คนคือนางกำบือ สายชลวิมาน สรุปผู้เสียชีวิตจากดินถล่มทับบ้านเรือนราษฎรบ้านปู่ทา หมู่ที่ 6 ต.สบเมย อ.สมเมย จ.แม่ฮ่องสอนเสียชีวิต 7 คน สูญหาย 1 คน"
**"ปู"ประเดิมงานแรกลงวังชิ้น7ส.ค.นี้
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงภารกิจแรกที่จะดำเนินการในฐานะนายกรัฐมนตรีว่า ต้องขอรอรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ และเข้าถวายสัตย์ปฏิญาณเสียก่อน ซึ่งหลังจากนั้นสิ่งแรกที่จะทำคือ การลงพื้นที่เยี่ยมเยียนพี่น้องประชาชนที่ประสบเพราะวันนี้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนกันมาก
ทั้งนี้ ทางอำเภอวังชิ้น ได้รับการประสานมาว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเดินทางนำสิ่งของมาแจกให้กับชาวบ้าน 1,000 ชุด ในวันที่ 7 ส.ค.นี้
**กำแพงเมืองน่าน-ศรีสัชนาลัยน่าห่วง
นายเอนก สีหามาตย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กรมศิลปากรได้รับรายงานสถานการณ์น้ำท่วมโบราณสถานในหลายพื้นที่แล้ว พบว่า ใน จ.แพร่มีน้ำท่วมโบราณสถานบางส่วนไม่ได้รับความเสียหาย แต่ใน จ.น่าน มีกำแพงเมืองเก่าอายุประมาณ 400 ปี ได้รับความเสียหายจากน้ำกัดเซาะเล็กน้อย ส่วนที่น่ากังวลคือที่ จ.สุโขทัย แหล่งมรดกโลกศรีสัชนาลัย ได้จมอยู่ในน้ำมา 2 วันแล้ว ซึ่งมีลักษณะเป็นน้ำขัง
"โดยสภาพความแข็งแรงของโบราณสถานถือว่าสามารถทนกับสภาพน้ำขังได้ แต่เมื่อน้ำลดลงแล้วจะประสบปัญหาทางด้านความชื่นส่งผลให้เนื้ออิฐเปี่อยยุ่ยได้ ขณะที่แหล่งโบราณสถานเมืองสุโขทัย ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เพราะอยู่บนเนินสูง นอกจากนี้ ในส่วนของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โดยเฉพาะที่วัดไชยวัฒนาราม ยังเหลืออีก 50 เซนติเมตรที่ระดับน้ำท่วมถึง ซึ่งไม่น่ากังวล เนื่องจากขณะนี้กรมศิลปากรได้เตรียมพร้อมรับมือไว้แล้ว อย่างไรก็ตาม หลังจากน้ำลด กรมศิลปากร จะเร่งประเมินความเสียหาย เพื่อรายงานให้กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.)รับทราบ ในการรายงานต่อรัฐบาลต่อไป"
**เผย14จังหวัดยังถูกน้ำท่วม-ตาย13ราย
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า อิทธิพของพายุ "นกเตน"ได้คลี่คลายแล้วแต่ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 14 จังหวัด ได้แก่ แพร่ เชียงใหม่ สุโขทัย ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก นครพนม อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร และประจวบคีรีขันธ์ รวม 92 อำเภอ 491 ตำบล 600 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 125,513 ครัวเรือน 441,316 คน ทั้งนี้ มีผู้เสียชีวิต 13 ราย โดย จังหวัดอุดรธานีเสียชีวิต 1 ราย เชียงใหม่ 2 ราย แม่ฮ่องสอน 7 ราย แพร่ 2 ราย สุโขทัย 1 ราย สูญหาย 1 ราย บาดเจ็บ 11 คน
นายวิบูลย์ กล่าวต่อว่า เบื้องต้น ปภ.ได้สั่งการให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่ประสบอุทกภัยร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจัดสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคไปแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน รวมถึงสนับสนุนเครื่องจักรกล เรือท้องแบน รถผลิตน้ำดื่ม รถบรรทุกน้ำออกให้บริการในพื้นที่ประสบภัย พร้อมจัดส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยดินโคลนถล่มสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง
ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดแพร่ถึงสถานการณ์น้ำท่วมว่า ปริมาณน้ำในแม่น้ำยมที่ อ.เมืองแพร่ และ อ.สูงเม่นลดลงกว่า 1 เมตร ระดับน้ำที่สถานีอุทกบ้านน้ำโค้งวัดได้ 9.5 เมตร เมื่อวันที่ 4 ส.ค.ที่ผ่านมา ชาวบ้านและหน่วยงานต่างๆ ที่ถูกน้ำท่วมพากันเก็บข้าวของทำความสะอาดกันบ้างแล้ว แต่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ยังคงต้องแช่น้ำต่อไป
โดยที่ อ.วังชิ้น น้ำยมยังคงมีระดับน้ำทรงตัวลดลงเพียง 10 เซนติเมตรเท่านั้น ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงไม่สามารถเดินทางออกจากบ้านได้ เนื่องจากถนนหลายสายยังถูกตัดขาด ที่หน้าที่ว่าการอำเภอวังชิ้น ตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ที่ 32 จังหวัดพะเยา ยังต้องใช้เรือบริการให้กับประชาชนที่เดินทางในบริเวณดังกล่าวตลอดทั้งวัน เนื่องจากถนนถูกตัดขาดทำให้ประชาชนในพื้นที่ต่างขาดแคลนน้ำดื่มและอาหารอย่างหนัก
นอกจากนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลในพื้นที่ต้องเตรียมอาหารและน้ำดื่มไปแจกจ่ายให้กับประชาชนที่ติดน้ำท่วมอยู่ แต่ก็ไม่เพียงพอและไม่ทั่วถึง กลุ่มแม่บ้านในอ.วังชิ้น นำโดยนางบัวคลี่ ส่างกันจันทร์ รวมตัวทำอาหารส่งให้กับผู้ประสบภัยในหลายพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำยม และนายอนุวัธ วงศ์วรรณนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ที่ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน ติดตั้งเครื่องผลิตน้ำประปาพร้อมดื่มโดยใช้น้ำในแม่น้ำยมมาผลิต ออกบริการให้กับผู้ประสบภัยที่ขาดแคลนน้ำ
นางบัวคลี่ ส่างกันจันทร์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ต.บ้านใหม่ กล่าวว่า กลุ่มแม่บ้านมารวมตัวกันทั้งแรงและทุนทรัพย์พร้อมทั้งผู้ที่เห็นการทำงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้บริจาคมาให้ ทำอาหารเลี้ยงต่อเนื่องสบทบกับทางราชการ และเข้าไปในจุดที่ทางราชการไม่ได้ไป ซึ่งจุดที่ไปส่งข้าวส่งน้ำ พบว่าชาวบ้านลำบากมาก ขาดแสงสว่างในยามค่ำคืน นอกจากนั้นชาวบ้านเริ่มเป็นโรคเท้าเปื่อย และโรคอื่นๆ กันแล้วทำให้ต้องเร่งเข้าไปช่วยเหลือโดยเร่งด่วนในเรื่องยารักษาโรคสามัญประจำบ้าน
ขณะที่ชุดประดาน้ำ จากกรมประมง และอาสาสมัครกู้ภัยที่ควานหาศพนายเพ็ชร ทองนาค อายุ 16 ปี พบแล้วเมื่อวันที่ 4 ส.ค.โดยอยู่ห่างจากจุดพลัดตกน้ำเพียง 10 เมตรเท่านั้นสภาพศพนอนอยู่ใต้น้ำ เจ้าหน้าที่นำศพไปทำความสะอาดและตรวจพิสูจน์ที่โรงพยาบาลวังชิ้น โดยมีมารดามารับศพ ส่วนบิดาที่ประสบอุบัติเหตุด้วยกันรอดชีวิต ถูกส่งเข้ารักษาที่โรงพยาบาลแพร่ตั้งแต่วันที่ 3 ส.ค.ที่ผ่านมา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากเหตุน้ำท่วมใหญ่ปีนี้ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่เริ่มเห็นว่าต้องแก้ปัญหาน้ำท่วมกันอย่างจริงจัง โดยมุ่งไปที่การแก้ปัญหาด้วยการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ซึ่งสอดคล้องกับกรมชลประทานที่เตรียมเสนอโครงการออกเป็นสองแนวทาง คือ แนวทางแรก สร้างเขื่อนขนาดใหญ่โครงการเดิม แนวทางที่ 2 คือการสร้างเขื่อนขนาดเล็กลงมา สร้างเป็นสองช่วง คือตอนบนสร้างเหนือหมู่บ้านแม่เต้น ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ และเขื่อนตอนล่างสร้างที่สถานีอุทกห้วยสัก ซึ่งทั้งสองแนวทางยังต้องฟังกระแสหลายฝ่ายก่อน
**เหยื่อโคลนถล่มสบเมยดับแล้ว7หาย1
นายกำธร ถาวรสถิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เผยถึงสถานการณ์น้ำท่วม-โคลนถล่มในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอนว่า เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการจากกรมทหารพรานที่ 36 แม่สะเรียง หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 7 แม่ฮ่องสอน กองกำลังนเรศวร หน่วยเฉพาะกิจที่ 35 อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ได้เข้าเคลียร์พื้นที่บ้านปู่ทา หมู่ที่ 6 ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน เพื่อเข้าไปช่วยเหลือผู้สบประสบภัยดินถล่มแล้ว
"ล่าสุดพบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 3 คนเมื่อค่ำวันที่ 4 ส.ค.ที่ผ่านมาคือนายประวิทย์ หมื่นตุ้ม อายุ 34 ปี นายทาการิ หมื่นตุ้ม อายุ 48 ปี นายหล้า หมื่นตุ้ม อายุ 74 ปี และนางจิโน วงศ์เชื้อไทย ผู้บาดเจ็บซึ่งได้เสียชีวิตแล้วเช่นกัน โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังค้นหาผู้สูญหายอีก 1 คนคือนางกำบือ สายชลวิมาน สรุปผู้เสียชีวิตจากดินถล่มทับบ้านเรือนราษฎรบ้านปู่ทา หมู่ที่ 6 ต.สบเมย อ.สมเมย จ.แม่ฮ่องสอนเสียชีวิต 7 คน สูญหาย 1 คน"
**"ปู"ประเดิมงานแรกลงวังชิ้น7ส.ค.นี้
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงภารกิจแรกที่จะดำเนินการในฐานะนายกรัฐมนตรีว่า ต้องขอรอรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ และเข้าถวายสัตย์ปฏิญาณเสียก่อน ซึ่งหลังจากนั้นสิ่งแรกที่จะทำคือ การลงพื้นที่เยี่ยมเยียนพี่น้องประชาชนที่ประสบเพราะวันนี้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนกันมาก
ทั้งนี้ ทางอำเภอวังชิ้น ได้รับการประสานมาว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเดินทางนำสิ่งของมาแจกให้กับชาวบ้าน 1,000 ชุด ในวันที่ 7 ส.ค.นี้
**กำแพงเมืองน่าน-ศรีสัชนาลัยน่าห่วง
นายเอนก สีหามาตย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กรมศิลปากรได้รับรายงานสถานการณ์น้ำท่วมโบราณสถานในหลายพื้นที่แล้ว พบว่า ใน จ.แพร่มีน้ำท่วมโบราณสถานบางส่วนไม่ได้รับความเสียหาย แต่ใน จ.น่าน มีกำแพงเมืองเก่าอายุประมาณ 400 ปี ได้รับความเสียหายจากน้ำกัดเซาะเล็กน้อย ส่วนที่น่ากังวลคือที่ จ.สุโขทัย แหล่งมรดกโลกศรีสัชนาลัย ได้จมอยู่ในน้ำมา 2 วันแล้ว ซึ่งมีลักษณะเป็นน้ำขัง
"โดยสภาพความแข็งแรงของโบราณสถานถือว่าสามารถทนกับสภาพน้ำขังได้ แต่เมื่อน้ำลดลงแล้วจะประสบปัญหาทางด้านความชื่นส่งผลให้เนื้ออิฐเปี่อยยุ่ยได้ ขณะที่แหล่งโบราณสถานเมืองสุโขทัย ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เพราะอยู่บนเนินสูง นอกจากนี้ ในส่วนของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โดยเฉพาะที่วัดไชยวัฒนาราม ยังเหลืออีก 50 เซนติเมตรที่ระดับน้ำท่วมถึง ซึ่งไม่น่ากังวล เนื่องจากขณะนี้กรมศิลปากรได้เตรียมพร้อมรับมือไว้แล้ว อย่างไรก็ตาม หลังจากน้ำลด กรมศิลปากร จะเร่งประเมินความเสียหาย เพื่อรายงานให้กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.)รับทราบ ในการรายงานต่อรัฐบาลต่อไป"
**เผย14จังหวัดยังถูกน้ำท่วม-ตาย13ราย
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า อิทธิพของพายุ "นกเตน"ได้คลี่คลายแล้วแต่ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 14 จังหวัด ได้แก่ แพร่ เชียงใหม่ สุโขทัย ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก นครพนม อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร และประจวบคีรีขันธ์ รวม 92 อำเภอ 491 ตำบล 600 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 125,513 ครัวเรือน 441,316 คน ทั้งนี้ มีผู้เสียชีวิต 13 ราย โดย จังหวัดอุดรธานีเสียชีวิต 1 ราย เชียงใหม่ 2 ราย แม่ฮ่องสอน 7 ราย แพร่ 2 ราย สุโขทัย 1 ราย สูญหาย 1 ราย บาดเจ็บ 11 คน
นายวิบูลย์ กล่าวต่อว่า เบื้องต้น ปภ.ได้สั่งการให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่ประสบอุทกภัยร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจัดสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคไปแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน รวมถึงสนับสนุนเครื่องจักรกล เรือท้องแบน รถผลิตน้ำดื่ม รถบรรทุกน้ำออกให้บริการในพื้นที่ประสบภัย พร้อมจัดส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยดินโคลนถล่มสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง