แบงก์ชาติพอใจการแก้หนี้สหรัฐฯ ที่เบื้องต้นได้ข้อสรุปเพิ่มเพดาน ส่วนนักลงทุนยังลุ้นผลโหวตอีกครั้ง เผยเงินทุนเข้า-ออกไทยเริ่มสมดุล ค่าบาทแข็งเร็วยังไม่ถึงขั้นต้องออกมาตรการพิเศษ ยกเว้นดอกเบี้ยขาขึ้นที่พ่นพิษใส่สินเชื่อเอสเอ็มอีไตรมาส 2 หดตัว
หลังจากประธานาธิบดีบารัก โอบามา แถลงความคืบหน้าเรื่องการปรับเพดานหนี้ของสหรัฐฯ สามารถบรรลุข้อตกลงเบื้องต้นในการปรับเพิ่มเพดานหนี้ทั้ง 2 พรรค นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ตลาดการเงินโลกมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น เพราะมีความชัดเจนมากขึ้นเหมือนได้เดินมาครึ่งทางแล้ว อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ตลาดการเงินไทยยังไม่ได้เห็นผลชัดเจน โดยนักลงทุนส่วนหนึ่ง ยังคงรอผลโหวตผ่านวุฒิสภาสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการในคืนวันที่ 1 ส.ค.
โดยค่าเงินบาทไม่ได้มีการเคลื่อนไหวมากนัก ล่าสุดเงินบาทอยู่ที่ระดับ 29.72-29.73 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ การที่เคลื่อนไหวค่อนข้างน้อยในช่วงนี้เกิดจากผู้นำเข้าและนักลงทุนไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศมีการซื้อเงินดอลลาร์ ทำให้มีเงินทุนไหลออกไป ขณะที่นักลงทุนต่างชาติเองก็เข้ามาลงทุนไทยเพิ่มขึ้นเช่นกัน ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นในบางวันจากเงินทุนไหลเข้าและบางวันเงินบาทค่อนข้างนิ่งจากเงินทุนไหลเข้าออกที่สมดุลมากขึ้น ซึ่งในระยะหลังเริ่มเห็นแนวทางนี้มากขึ้น
นางผ่องเพ็ญยังกล่าวถึงการเคลื่อนไหวของเงินบาทเมื่อสัปดาห์ก่อนที่แข็งค่าค่อนข้างเร็วว่า ยังไม่มีเสียงบ่นเนื่องจากผู้ประกอบการยังพอรับได้” นางผ่องเพ็ญกล่าวและยืนยันว่า ในขณะนี้ ธปท.ยังไม่จำเป็นต้องหยิบแผนรับมือค่าเงินบาทอะไรพิเศษมาใช้ เพราะมองว่ายังไม่มีอะไรที่แตกต่างไปจากเดิม
ต่อข้อซักถามที่ว่า เมื่อปัญหาเพิ่มเพดานหนี้ของสหรัฐมีความชัดเจนมากขึ้น บางฝ่ายมองว่านักลงทุนต่างชาติจะเปลี่ยนแปลงมุมมองของปัญหาไปยังสหภาพยุโรปหรือไม่นั้น ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ปัญหาไม่ได้เกิดขึ้นที่เดียว แต่เกิดขึ้นในหลายที่และสถานการณ์เชิงเปรียบเทียบมากขึ้น โดยขณะนี้ลดอันดับความน่าเชื่อถือของสเปน ทำให้นักลงทุนบางคนมองว่าเกิดปัญหาใหม่เพิ่มขึ้น ขณะที่ในส่วนของภูมิภาคเอเชียยังไม่ได้มีปัญหาอะไรเพิ่มเติม ฉะนั้นปัญหาต่างๆ ต้องติดตามต่อไป
***ดอกเบี้ยขาขึ้นฉุดสินเชื่อSME
รายงานข่าวจาก ธปท.ระบุว่า สายนโยบายสถาบันการเงิน ได้ออกรายงานสถานการณ์สินเชื่อในไตรมาสที่ 2 ปี 2554 และแนวโน้มไตรมาสที่ 3 ว่า ความต้องการสินเชื่อภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1ของปีนี้ เนื่องจากความต้องการสินเชื่อเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เพื่อการสะสมสินค้าคงคลัง และเพื่อการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรมีมากขึ้น นอกจากนั้น ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กยังมีความต้องการสินเชื่อเพื่อใช้รีไฟแนนซ์สินเชื่อเก่าเพิ่มขึ้น
"สถาบันการเงินเริ่มเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นเริ่มเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อความต้องการสินเชื่อของภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กให้ลดลงบ้าง โดยอัตราลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ( MLR ) เฉลี่ยสำหรับ 4ธนาคารพาณิชย์ใหญ่อยู่ที่ 6.87 %ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 เทียบกับ 6.62 %ณ สิ้น ไตรมาสที่ 1"
สำหรับสินเชื่อภาคครัวเรือน ความต้องการสินเชื่อทุกประเภทเพิ่มขึ้น โดยความต้องการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับดีขึ้น มุมมองแนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ดีขึ้น และเงื่อนไขการกู้ยืมที่ผ่อนคลายลง ส่วนความต้องการสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อครัวเรือนอื่นๆ เพิ่มขึ้น จากความเชื่อมั่นที่ปรับดีขึ้น และความต้องการจับจ่ายใช้สอยสินค้าจำเป็นทั่วไป
ขณะที่มาตรฐานการให้สินเชื่อโดยรวมใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน เนื่องจากสถาบันการเงินคำนึงถึงการรักษาฐานลูกค้าจึงไม่ได้เพิ่มความเข้มงวด หรือเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการให้สินเชื่อ แม้จะมีความกังวลต่อความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจทั่วไป ภาวะอุตสาหกรรม และสภาพคล่องที่มีสัญญาณตึงตัวบ้าง
หลังจากประธานาธิบดีบารัก โอบามา แถลงความคืบหน้าเรื่องการปรับเพดานหนี้ของสหรัฐฯ สามารถบรรลุข้อตกลงเบื้องต้นในการปรับเพิ่มเพดานหนี้ทั้ง 2 พรรค นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ตลาดการเงินโลกมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น เพราะมีความชัดเจนมากขึ้นเหมือนได้เดินมาครึ่งทางแล้ว อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ตลาดการเงินไทยยังไม่ได้เห็นผลชัดเจน โดยนักลงทุนส่วนหนึ่ง ยังคงรอผลโหวตผ่านวุฒิสภาสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการในคืนวันที่ 1 ส.ค.
โดยค่าเงินบาทไม่ได้มีการเคลื่อนไหวมากนัก ล่าสุดเงินบาทอยู่ที่ระดับ 29.72-29.73 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ การที่เคลื่อนไหวค่อนข้างน้อยในช่วงนี้เกิดจากผู้นำเข้าและนักลงทุนไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศมีการซื้อเงินดอลลาร์ ทำให้มีเงินทุนไหลออกไป ขณะที่นักลงทุนต่างชาติเองก็เข้ามาลงทุนไทยเพิ่มขึ้นเช่นกัน ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นในบางวันจากเงินทุนไหลเข้าและบางวันเงินบาทค่อนข้างนิ่งจากเงินทุนไหลเข้าออกที่สมดุลมากขึ้น ซึ่งในระยะหลังเริ่มเห็นแนวทางนี้มากขึ้น
นางผ่องเพ็ญยังกล่าวถึงการเคลื่อนไหวของเงินบาทเมื่อสัปดาห์ก่อนที่แข็งค่าค่อนข้างเร็วว่า ยังไม่มีเสียงบ่นเนื่องจากผู้ประกอบการยังพอรับได้” นางผ่องเพ็ญกล่าวและยืนยันว่า ในขณะนี้ ธปท.ยังไม่จำเป็นต้องหยิบแผนรับมือค่าเงินบาทอะไรพิเศษมาใช้ เพราะมองว่ายังไม่มีอะไรที่แตกต่างไปจากเดิม
ต่อข้อซักถามที่ว่า เมื่อปัญหาเพิ่มเพดานหนี้ของสหรัฐมีความชัดเจนมากขึ้น บางฝ่ายมองว่านักลงทุนต่างชาติจะเปลี่ยนแปลงมุมมองของปัญหาไปยังสหภาพยุโรปหรือไม่นั้น ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ปัญหาไม่ได้เกิดขึ้นที่เดียว แต่เกิดขึ้นในหลายที่และสถานการณ์เชิงเปรียบเทียบมากขึ้น โดยขณะนี้ลดอันดับความน่าเชื่อถือของสเปน ทำให้นักลงทุนบางคนมองว่าเกิดปัญหาใหม่เพิ่มขึ้น ขณะที่ในส่วนของภูมิภาคเอเชียยังไม่ได้มีปัญหาอะไรเพิ่มเติม ฉะนั้นปัญหาต่างๆ ต้องติดตามต่อไป
***ดอกเบี้ยขาขึ้นฉุดสินเชื่อSME
รายงานข่าวจาก ธปท.ระบุว่า สายนโยบายสถาบันการเงิน ได้ออกรายงานสถานการณ์สินเชื่อในไตรมาสที่ 2 ปี 2554 และแนวโน้มไตรมาสที่ 3 ว่า ความต้องการสินเชื่อภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1ของปีนี้ เนื่องจากความต้องการสินเชื่อเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เพื่อการสะสมสินค้าคงคลัง และเพื่อการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรมีมากขึ้น นอกจากนั้น ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กยังมีความต้องการสินเชื่อเพื่อใช้รีไฟแนนซ์สินเชื่อเก่าเพิ่มขึ้น
"สถาบันการเงินเริ่มเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นเริ่มเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อความต้องการสินเชื่อของภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กให้ลดลงบ้าง โดยอัตราลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ( MLR ) เฉลี่ยสำหรับ 4ธนาคารพาณิชย์ใหญ่อยู่ที่ 6.87 %ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 เทียบกับ 6.62 %ณ สิ้น ไตรมาสที่ 1"
สำหรับสินเชื่อภาคครัวเรือน ความต้องการสินเชื่อทุกประเภทเพิ่มขึ้น โดยความต้องการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับดีขึ้น มุมมองแนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ดีขึ้น และเงื่อนไขการกู้ยืมที่ผ่อนคลายลง ส่วนความต้องการสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อครัวเรือนอื่นๆ เพิ่มขึ้น จากความเชื่อมั่นที่ปรับดีขึ้น และความต้องการจับจ่ายใช้สอยสินค้าจำเป็นทั่วไป
ขณะที่มาตรฐานการให้สินเชื่อโดยรวมใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน เนื่องจากสถาบันการเงินคำนึงถึงการรักษาฐานลูกค้าจึงไม่ได้เพิ่มความเข้มงวด หรือเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการให้สินเชื่อ แม้จะมีความกังวลต่อความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจทั่วไป ภาวะอุตสาหกรรม และสภาพคล่องที่มีสัญญาณตึงตัวบ้าง