นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร)เปิดเผยว่า ขณะนี้เครดิตบูโรได้พัฒนาระบบเครดิตสกอริ่ง(Credit Scoring)บุคคลเสร็จสิ้นแล้ว อยู่ระหว่างการส่งต่อให้ทางการพิจารณา และอนุมัติใช้ต่อไป ส่วนเครดิตสกอริ่งของผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี)นั้น คาดว่าจะเสร็จในเดือนกันยายนปีนี้ และจะนำเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาเช่นเดียวกัน ซึ่งการจะใช้ระบบเครดิตสกอริ่งต้องมีประกาศออกมารองรับ เพื่อให้มีความชัดเจนในการนำมาประโยชน์
อย่างรไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมาก็มีสถาบันการเงินที่เป็นผู้นำตลาดสินเชื่อผู้บริโภค ทั้งในและต่างประเทศประมาณ 10 แห่งมาทดสอบความแม่นยำของข้อมูลที่เครดิตบูโรจัดทำ ซึ่งหากกระบวนการต่างๆเสร็จสิ้น ก็จะสามารถทดลองใช้และดูผลภายใน 6 เดือน
"การใช้เครดิตสกอริ่งจะมีประโยชน์ทั้งกับผู้ให้และผู้ขอสินเชื่อ แม้ว่าทางสถาบันการเงินจะมีสกอริ่งของตัวเองอยู่แล้ว แต่เครดิตสกอริ่งของสถาบันการเงินจะใช้วัดความสามารถในการชำระหนี้ ส่วนของเครดิตบูโรจะใช้ดูพฤติกรรม วัดความตั้งใจในการชำระหนี้ ส่วนผู้ขอสินเชื่อก็จะได้ประโยชน์ในแง่สิทธิพิเศษต่างๆที่จะได้หากเป็นผู้ที่มีสกอริ่งที่ดี"
ส่วนความคืบหน้าในการเข้าระบบเครดิตบูโรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)นั้น ในเบื้องต้นคณะกรรมการธ.ก.ส.ได้อนุมัติแล้ว แต่คงต้องมีการหารือเรื่องการจัดทำข้อมูล เนื่องจากรูปแบบการชำระสินเชื่อของเกษตรกรจะมีความแตกต่างจากสินเชื่อโดยทั่วไป ขึ้นอยู่กับฤดูกาลผลิต การเก็บเกี่ยว และการขายผลผลิต จึงต้องมีการตกลงในเรื่องการจัดส่งข้อมูลและงวดการชำระหนี้ที่แตกต่างจากสินเชื่อชนิดอื่น เพื่อเกิดความถูกต้องเหมาะสมในการจัดเก็บข้อมูล
นายสุรพลกล่าวอีกว่า กรณีรัฐบาลมีนโยบายจะทำบัตรเครดิตเกษตรกรนั้น คงต้องตีความในหลักเกณฑ์ก่อนว่า คุณลักษณะที่ออกมาถือเป็นการให้สินเชื่อหรือไม่ หากไม่ใช่เครดิตบูโรก็ไม่มีหน้าที่จะไปเก็บข้อมูลในส่วนนี้
อย่างรไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมาก็มีสถาบันการเงินที่เป็นผู้นำตลาดสินเชื่อผู้บริโภค ทั้งในและต่างประเทศประมาณ 10 แห่งมาทดสอบความแม่นยำของข้อมูลที่เครดิตบูโรจัดทำ ซึ่งหากกระบวนการต่างๆเสร็จสิ้น ก็จะสามารถทดลองใช้และดูผลภายใน 6 เดือน
"การใช้เครดิตสกอริ่งจะมีประโยชน์ทั้งกับผู้ให้และผู้ขอสินเชื่อ แม้ว่าทางสถาบันการเงินจะมีสกอริ่งของตัวเองอยู่แล้ว แต่เครดิตสกอริ่งของสถาบันการเงินจะใช้วัดความสามารถในการชำระหนี้ ส่วนของเครดิตบูโรจะใช้ดูพฤติกรรม วัดความตั้งใจในการชำระหนี้ ส่วนผู้ขอสินเชื่อก็จะได้ประโยชน์ในแง่สิทธิพิเศษต่างๆที่จะได้หากเป็นผู้ที่มีสกอริ่งที่ดี"
ส่วนความคืบหน้าในการเข้าระบบเครดิตบูโรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)นั้น ในเบื้องต้นคณะกรรมการธ.ก.ส.ได้อนุมัติแล้ว แต่คงต้องมีการหารือเรื่องการจัดทำข้อมูล เนื่องจากรูปแบบการชำระสินเชื่อของเกษตรกรจะมีความแตกต่างจากสินเชื่อโดยทั่วไป ขึ้นอยู่กับฤดูกาลผลิต การเก็บเกี่ยว และการขายผลผลิต จึงต้องมีการตกลงในเรื่องการจัดส่งข้อมูลและงวดการชำระหนี้ที่แตกต่างจากสินเชื่อชนิดอื่น เพื่อเกิดความถูกต้องเหมาะสมในการจัดเก็บข้อมูล
นายสุรพลกล่าวอีกว่า กรณีรัฐบาลมีนโยบายจะทำบัตรเครดิตเกษตรกรนั้น คงต้องตีความในหลักเกณฑ์ก่อนว่า คุณลักษณะที่ออกมาถือเป็นการให้สินเชื่อหรือไม่ หากไม่ใช่เครดิตบูโรก็ไม่มีหน้าที่จะไปเก็บข้อมูลในส่วนนี้