ASTVผู้จัดการรายวัน - กรมบัญชีกลางประเมินนโยบายรัฐบาลพรรคเพื่อไทยเบื้องต้นงบปี 55 พุ่งพรวด 1.6 แสนล้านบาทจาก 3 มาตรการหลัก เบี้ยยังชีพ - เงินเดือนป.ตรี 1.5 หมื่นบาท - จำนำข้าว เผยธ.ก.ส.แห้วเคลียร์หนี้เดิม 1.5 แสนล้านเหตุรัฐบาลมีงบประมาณจำกัด
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมบัญชีกลางอยู่ระหว่างรวมรวมตัวเลขรายจ่ายที่จะเพิ่มเข้ามาในปีงบประมาณถัดๆ ไป เริ่มจากปีงบประมาณรายจ่าย 2555 ที่ยังไม่ผ่านสภาและน่าจะมีการปรับเปลี่ยนใหม่ไส้ในใหม่หลังจากมีรัฐบาล โดยเฉพาะในส่วนของรายจ่ายประจำที่เป็นไปตามนโยบายการหาเสียงของพรรคเพื่อไทย ทั้งการเพิ่มเบี้ยยังชีพคนชรา ที่จะจ่ายเพิ่มขึ้นเป็นขั้นบันไดตามอายุแต่สูงสุดไม่เกดิน 1,000 บาทต่อรายจากปัจจุบันได้รับรายละ 500 บาทเท่ากันหมด เท่าที่ประเมินพบว่าจะทำให้มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพิ่มขึ้นอีก 1.3 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่ใช้อยู่ที่ 3.7 หมื่นล้านบาทต่อปี
ส่วนการปรับเพิ่มรายได้ให้ข้าราชการขั้นต่ำ 1.5 หมื่นบาทต่อเดือนนั้นส่วนที่กรมบัญชีเตรียมศึกษาแนวทางการปรับเพิ่มค่าครองชีพ เพื่อให้รายได้เพิ่มเป็น 1.5 หมื่นบาทต่อเดือนนั้น จะส่งผลให้ภาครัฐมีรายจ่ายด้านงบประมาณเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมข้าราชการที่รับเข้ามาทดแทนผู้ที่เกษียณอายุราชการในปีนี้ แต่หากรัฐบาลต้องการให้เป็นการปรับฐานเงินเดือนกลุ่มที่ยังได้รับเงินเดือนต่ำกว่า 1.5 หมื่นบาทสำหรับวุฒิปริญญาตรีจากที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) ศึกษาข้อมูลไว้น่าจะใช้งบเพิ่มขึ้นกว่า 3 หมื่นล้านบาทต่อปี
นอกจากนี้ยังมีรายจ่ายในส่วนของโครงการจำนำข้าวที่จะมาแทนการประกันรายได้ ซึ่งทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ได้ประเมินเบื้องต้นจะใช้เงินประมาณ 1.2 แสนล้านบาท ซึ่งมากกว่าที่เคยใช้ในโครงการประกันรายได้ที่อยู่ในวงเงิน 4 หมื่นกว่าล้านบาท
“ขณะนี้มีตัวเลขรายจ่ายประจำที่กรมบัญชีกลางรวบรวมเบื้องต้น 3 ส่วน ซึ่งอาจจะมีส่วนอื่นๆ อีกต้องรอดูความชัดเจนในนโยบายของรัฐบาลก่อนว่าจะทำให้รายจ่ายรวมพุ่งเกินกรอบวงเงินงบประมาณ 2555 ที่ตั้งไว้ 2.3 ล้านล้านบาทหรือไม่ ซึ่งอาจมีส่วนของงบลงทุนที่เพิ่มขึ้นด้วย โดยส่วนของโครงการจำนำนั้นอาจเป็นการให้ธ.ก.ส.จ่ายไปก่อนรัฐบาลจึงจัดสรรงบคืนให้ในภายหลังเหมือนโครงการจำนำที่เคยทำมาก่อนหน้านี้ เพราะรัฐบาลคงไม่มีเงินก้อนจัดสรรให้ในคราวเดียว รวมถึงการชำระหนี้ที่ค้างอยู่เดิม 1.5 แสนล้านบาทนั้นก็ต้องทยอยตั้งงบชำระคืนหลายปี ซึ่งสูงสุดเคยคืนให้ปีละ 2 หมื่นล้านบาทสมัยที่ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เป็นรวม.คลัง” นายรังสรรค์ กล่าว
ทั้งนี้ หากรวมงบประมาณรายจ่ายที่จะเพิ่มเข้ามาจาก 3 นโยบายของรัฐบาลใหม่ เบื้องต้นจะทำให้ต้องมีภาระของงบประจำอีก 1.45-1.63 แสนล้านบาท ยังไม่รวมงบส่วนอื่นๆ ที่อาจจะเพิ่มเข้ามาอีก.
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมบัญชีกลางอยู่ระหว่างรวมรวมตัวเลขรายจ่ายที่จะเพิ่มเข้ามาในปีงบประมาณถัดๆ ไป เริ่มจากปีงบประมาณรายจ่าย 2555 ที่ยังไม่ผ่านสภาและน่าจะมีการปรับเปลี่ยนใหม่ไส้ในใหม่หลังจากมีรัฐบาล โดยเฉพาะในส่วนของรายจ่ายประจำที่เป็นไปตามนโยบายการหาเสียงของพรรคเพื่อไทย ทั้งการเพิ่มเบี้ยยังชีพคนชรา ที่จะจ่ายเพิ่มขึ้นเป็นขั้นบันไดตามอายุแต่สูงสุดไม่เกดิน 1,000 บาทต่อรายจากปัจจุบันได้รับรายละ 500 บาทเท่ากันหมด เท่าที่ประเมินพบว่าจะทำให้มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพิ่มขึ้นอีก 1.3 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่ใช้อยู่ที่ 3.7 หมื่นล้านบาทต่อปี
ส่วนการปรับเพิ่มรายได้ให้ข้าราชการขั้นต่ำ 1.5 หมื่นบาทต่อเดือนนั้นส่วนที่กรมบัญชีเตรียมศึกษาแนวทางการปรับเพิ่มค่าครองชีพ เพื่อให้รายได้เพิ่มเป็น 1.5 หมื่นบาทต่อเดือนนั้น จะส่งผลให้ภาครัฐมีรายจ่ายด้านงบประมาณเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมข้าราชการที่รับเข้ามาทดแทนผู้ที่เกษียณอายุราชการในปีนี้ แต่หากรัฐบาลต้องการให้เป็นการปรับฐานเงินเดือนกลุ่มที่ยังได้รับเงินเดือนต่ำกว่า 1.5 หมื่นบาทสำหรับวุฒิปริญญาตรีจากที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) ศึกษาข้อมูลไว้น่าจะใช้งบเพิ่มขึ้นกว่า 3 หมื่นล้านบาทต่อปี
นอกจากนี้ยังมีรายจ่ายในส่วนของโครงการจำนำข้าวที่จะมาแทนการประกันรายได้ ซึ่งทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ได้ประเมินเบื้องต้นจะใช้เงินประมาณ 1.2 แสนล้านบาท ซึ่งมากกว่าที่เคยใช้ในโครงการประกันรายได้ที่อยู่ในวงเงิน 4 หมื่นกว่าล้านบาท
“ขณะนี้มีตัวเลขรายจ่ายประจำที่กรมบัญชีกลางรวบรวมเบื้องต้น 3 ส่วน ซึ่งอาจจะมีส่วนอื่นๆ อีกต้องรอดูความชัดเจนในนโยบายของรัฐบาลก่อนว่าจะทำให้รายจ่ายรวมพุ่งเกินกรอบวงเงินงบประมาณ 2555 ที่ตั้งไว้ 2.3 ล้านล้านบาทหรือไม่ ซึ่งอาจมีส่วนของงบลงทุนที่เพิ่มขึ้นด้วย โดยส่วนของโครงการจำนำนั้นอาจเป็นการให้ธ.ก.ส.จ่ายไปก่อนรัฐบาลจึงจัดสรรงบคืนให้ในภายหลังเหมือนโครงการจำนำที่เคยทำมาก่อนหน้านี้ เพราะรัฐบาลคงไม่มีเงินก้อนจัดสรรให้ในคราวเดียว รวมถึงการชำระหนี้ที่ค้างอยู่เดิม 1.5 แสนล้านบาทนั้นก็ต้องทยอยตั้งงบชำระคืนหลายปี ซึ่งสูงสุดเคยคืนให้ปีละ 2 หมื่นล้านบาทสมัยที่ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เป็นรวม.คลัง” นายรังสรรค์ กล่าว
ทั้งนี้ หากรวมงบประมาณรายจ่ายที่จะเพิ่มเข้ามาจาก 3 นโยบายของรัฐบาลใหม่ เบื้องต้นจะทำให้ต้องมีภาระของงบประจำอีก 1.45-1.63 แสนล้านบาท ยังไม่รวมงบส่วนอื่นๆ ที่อาจจะเพิ่มเข้ามาอีก.