วานนี้ (26 ก.ค.54) ตัวแทนคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ นำโดย ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล เพื่อรายงานความก้าวหน้าผลการวิจัยรอบปีระหว่างเดือนพฤษภาคม 2553 - กรกฎาคม 2554
ทั้งนี้ ได้รายงานความคืบหน้าการปฏิรูประบบวิจัยที่มีความก้าวหน้าคือ 1).มิตินโยบายด้านการวิจัย พ.ศ.2555 - 2559 ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วประกอบด้วย นโยบายและยุทธศาสตร์รวม นโยบายและยุทธศาสตร์รายภูมิภาค และนโยบายยุทธศาสตร์การวิจัยราย sector เพื่อการกระจายงานไปทั่วประเทศมุ่งเป้าได้อย่างแท้จริง 2).มิติองค์กรสนับสนุนการวิจัย โดยจะมุ่งเน้นการจัดสรรการบริหารทุนวิจัยให้เป็นไปตามแผนและยุทธศาสตร์ 3).มิติด้านองค์กรวิจัย มุ่งเน้นผลผลิตที่ใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยในภูมิภาคได้พัฒนาการวิจัยเพื่อประโยชน์แก่ท้องถิ่นมากขึ้น
4).มิติด้านงบประมาณเพื่อการวิจัยโดยร่วมมือกับสำนักงบประมาณจัดทำโครงการ "บูรณาการงบประมาณด้านการวิจัย" เพื่อบ่งชี้งบประมาณเพื่อการวิจัยด้านต่างๆ ได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น 5).มิติด้านการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ซึ่งขณะนี้ได้มีการจัดทำสรุปข้อเสนอเพื่อร่างเป็นกฎหมายการวิจัยสู่พาณิชย์ ประกอบด้วย ด้านแรงจูงใจในการสร้างความรู้ การปกป้องคุ้มครอง และการใช้ประโยชน์
ส่วนการนำผลงานวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ 1).การใช้ประโยชน์ต่อชุมชนและประชาสังคม ซึ่งในรอบปีที่ผ่านมาได้มีการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เกิดจากการวิจัยในหลายเรื่อง อาทิ การใช้ศัตรูธรรมชาติเพื่อแก้ปัญหาแมลงศัตรูพืช ได้แก่ มันปะหลัง มะพร้าว การวิจัยและพัฒนาปาล์มน้ำมัน การกำจัดขยะโดยการแปลงสภาพ การขยายผลงานวิจัยตามพระราชดำริ การเกษตรเพื่อทดแทนรายได้จากปัญหาน้ำท่วมที่ไร่นา เป็นต้น 2).การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ อาทิ การพัฒนาเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร
3.การกำกับดูแลงบประมาณเพื่อการวิจัย ในงบประมาณปี 2554 ได้รับงบอุดหนุนพิเศษตามโครงการไทยเข็มแข็งจำนวน 2,000 ล้านบาท สำหรับงบประมาณปี 2555 ได้มีการจัดสรรงบประมาณในระยะแรกจำนวน 1,000 ล้านบาท เพื่อการวิจัยในรูปแบบที่มีการมุ่งเป้าและทำงานบูรณาการ โดยเน้นประเด็นวิจัยเร่งด่วนมุ่งเป้าไปที่การวิจัยข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ท่องเที่ยวและโลจิสติกส์
ทั้งนี้ ได้รายงานความคืบหน้าการปฏิรูประบบวิจัยที่มีความก้าวหน้าคือ 1).มิตินโยบายด้านการวิจัย พ.ศ.2555 - 2559 ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วประกอบด้วย นโยบายและยุทธศาสตร์รวม นโยบายและยุทธศาสตร์รายภูมิภาค และนโยบายยุทธศาสตร์การวิจัยราย sector เพื่อการกระจายงานไปทั่วประเทศมุ่งเป้าได้อย่างแท้จริง 2).มิติองค์กรสนับสนุนการวิจัย โดยจะมุ่งเน้นการจัดสรรการบริหารทุนวิจัยให้เป็นไปตามแผนและยุทธศาสตร์ 3).มิติด้านองค์กรวิจัย มุ่งเน้นผลผลิตที่ใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยในภูมิภาคได้พัฒนาการวิจัยเพื่อประโยชน์แก่ท้องถิ่นมากขึ้น
4).มิติด้านงบประมาณเพื่อการวิจัยโดยร่วมมือกับสำนักงบประมาณจัดทำโครงการ "บูรณาการงบประมาณด้านการวิจัย" เพื่อบ่งชี้งบประมาณเพื่อการวิจัยด้านต่างๆ ได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น 5).มิติด้านการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ซึ่งขณะนี้ได้มีการจัดทำสรุปข้อเสนอเพื่อร่างเป็นกฎหมายการวิจัยสู่พาณิชย์ ประกอบด้วย ด้านแรงจูงใจในการสร้างความรู้ การปกป้องคุ้มครอง และการใช้ประโยชน์
ส่วนการนำผลงานวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ 1).การใช้ประโยชน์ต่อชุมชนและประชาสังคม ซึ่งในรอบปีที่ผ่านมาได้มีการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เกิดจากการวิจัยในหลายเรื่อง อาทิ การใช้ศัตรูธรรมชาติเพื่อแก้ปัญหาแมลงศัตรูพืช ได้แก่ มันปะหลัง มะพร้าว การวิจัยและพัฒนาปาล์มน้ำมัน การกำจัดขยะโดยการแปลงสภาพ การขยายผลงานวิจัยตามพระราชดำริ การเกษตรเพื่อทดแทนรายได้จากปัญหาน้ำท่วมที่ไร่นา เป็นต้น 2).การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ อาทิ การพัฒนาเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร
3.การกำกับดูแลงบประมาณเพื่อการวิจัย ในงบประมาณปี 2554 ได้รับงบอุดหนุนพิเศษตามโครงการไทยเข็มแข็งจำนวน 2,000 ล้านบาท สำหรับงบประมาณปี 2555 ได้มีการจัดสรรงบประมาณในระยะแรกจำนวน 1,000 ล้านบาท เพื่อการวิจัยในรูปแบบที่มีการมุ่งเป้าและทำงานบูรณาการ โดยเน้นประเด็นวิจัยเร่งด่วนมุ่งเป้าไปที่การวิจัยข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ท่องเที่ยวและโลจิสติกส์