อำนาจและหน้าที่ กกต.ในการวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาการสมัครโดยไม่มีสิทธิของผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อซึ่งอยู่ในลำดับได้รับการเลือกตั้ง หรือแบบแบ่งเขตซึ่งได้รับคะแนนมากที่สุด ภายหลังวันเลือกตั้ง
ตามที่ปรากฏตามข่าวว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งยังไม่ประกาศผลการเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อตามผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เนื่องจากผู้สมัครดังกล่าวได้ถูกยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งค้างอยู่ โดยผู้สมัครบางคนมีปัญหาว่าความเป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้สิ้นสุดลงก่อนการสมัครเป็นเหตุให้ผู้นั้นเป็นบุคคลซึ่งไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๕๐ หรือไม่ จึงจำเป็นที่คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องดำเนินการตรวจสอบหรือดำเนินการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดเสียก่อน นั้น ซึ่งผู้เขียนเห็นว่า อำนาจการวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาดังกล่าวก่อนการประกาศผลการเลือกตั้งนั้น เป็นปัญหาที่สำคัญส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ แม้แต่นักวิชาการเองก็ยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ โดยเป็นผลอันเนื่องมาจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งยังไม่มีความชัดเจนที่เพียงพอต่อการรองรับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในฐานะที่เป็นองค์กรสูงสุดตามรัฐธรรมนูญ ในการตรวจสอบกลั่นกรองบุคคลเข้าสู่อำนาจรัฐโดยการประกาศผลการเลือกตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งที่กำหนดไว้สำหรับช่วงระหว่างหลังวันเลือกตั้งจนถึงวันประกาศผลการเลือกตั้ง (ช่วงแขวน)ตลอดจนคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยของ กกต.ที่ผ่านมา ตลอดจนการตรารัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ฉบับปัจจุบัน ทำให้เกิดปัญหาว่าหลังจากวันเลือกตั้งไปแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้ง ในฐานะองค์กรที่มีอำนาจกึ่งตุลาการรวมอยู่ด้วยนั้นมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดปัญหาการสมัครรับเลือกตั้งได้เพียงใด ระหว่าง แนวทางแรก การมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่า บุคคลนั้นไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งแล้วประกาศผลการเลือกตั้งให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรหรือสั่งให้มีการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ แล้วแต่กรณี ตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามมาตรา ๒๓๖ ของรัฐธรรมนูญ กับแนวทางที่สอง การไม่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาดังกล่าวโดยต้องประกาศผลการเลือกตั้งให้ผู้นั้นเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรแล้วจึงส่งเรื่องไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อส่งเรื่องต่อไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา ๙๑ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญ ผู้เขียนเห็นด้วยกับแนวทางแรกจึงขอแสดงความคิดเห็นตามมาตรา ๔๕ ของรัฐธรรมนูญ โดยมีเหตุผลดังนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบเดิมก่อนตรารัฐธรรม นูญ พุทธศักราช ๒๕๔๐ การประกาศผลการเลือกตั้งจะกระทำลงในวันเลือกตั้งตามผลการนับคะแนน โดยผู้ว่าราชการจังหวัด(ฝ่ายบริหาร) เมื่อประกาศผลการเลือกตั้งไปแล้ว ต่อมาหากผู้มีสิทธิคัดค้านการ
เลือกตั้ง ไม่เห็นด้วยกับการประกาศผลการเลือกตั้งและได้ยื่นคำร้องคัดค้านตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๒๒ ว่า การเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบ เนื่องจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ถูกร้อง เป็นผู้ซึ่งรู้อยู่แล้ว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งแต่ได้เข้าสมัครรับเลือกตั้ง(ซึ่งเป็นเหตุที่เกิดก่อนการเข้าดำรงตำแหน่ง) อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๖(ซึ่งกฎหมายเลือกตั้งให้นำคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามในการสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญมาประกอบการวินิจฉัยว่า ผู้ถูกร้องซึ่งจะมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามกฎหมายเลือกตั้ง หรือไม่) เพื่อขอให้มีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งการวินิจฉัยชี้ขาดคดีเป็นอำนาจของศาลฎีกา เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๕๐ ผู้เขียนขอเรียกคดีความแพ่งประเภทนี้ว่า “คดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง” และหากศาลฎีกาสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ตามมาตรา ๗๙ (ซึ่งเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาที่เกิดขึ้นตามกฎหมายเลือกตั้ง แต่มิใช่การวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาที่เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญโดยตรง เทียบเคียงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๓/๔๓ วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ ) ผู้ถูกร้อง ต้องออกจากตำแหน่ง จากนั้นฝ่ายบริหารก็จะมีหน้าที่ดำเนินการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างนั้นต่อไป ซึ่งในขณะนั้นรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๓๔(มาตรา ๙๓)และรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๕) พุทธศักราช ๒๕๓๘ (มาตรา ๙๙) มิได้บัญญัติให้ผู้ออกจากตำแหน่งต้องคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น แต่ต่อมารัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๔๐ (บทยกเว้นของมาตรา ๙๗) ได้บัญญัติให้การออกจากตำแหน่งของผู้นั้นเป็นการออกจากตำแหน่งเพราะเหตุที่ผู้นั้นได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง มีผลให้ต้องคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่ได้รับมาจากการดำรงตำแหน่ง(เนื่องจากการเข้าสู่ตำแหน่งไม่ชอบด้วยกฎหมายเลือกตั้งมาตั้งแต่ต้น)
ส่วนคดีอีกประเภทหนึ่งซึ่งมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยมีความใกล้เคียงกับคดีประเภทแรกเป็นอย่างมาก ซึ่งผู้เขียนขอเรียกว่า “คดีรัฐธรรมนูญ” โดยเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญโดยตรง อยู่ในอำนาจขององค์กรที่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาตามรัฐธรรมนูญ เดิมคือคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เป็นกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เข้าชื่อร้องต่อประธานสภาแห่งตนให้ส่งคำร้องไปยังคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ใดสิ้นสุดลงหรือไม่ ในกรณีนี้คือ ด้วยมีเหตุจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นขาดคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ตามมาตรา ๙๑ ประกอบมาตรา ๑๑๔(๔)และ(๕) ของรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๓๔ (โดยเหตุนั้นอาจเกิดก่อนหรือภายหลังจากเข้าดำรงตำแหน่งก็ได้ โดยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีเขตอำนาจกว้างกว่าศาลฎีกาในคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง และไม่อาจมีคำขอให้มีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ เพราะคำขอดังกล่าวเป็นอำนาจของศาลยุติธรรม) ซึ่งมีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นต้องออกจากตำแหน่งภายหลังวันที่มีคำ
วินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญว่าสมาชิกภาพของผู้นั้นสิ้นสุดลง ต่อมารัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๕) พุทธศักราช ๒๕๓๘ (มาตรา ๙๗ )ได้เพิ่มจำนวนผู้มีสิทธิเข้าชื่อเป็นไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา และต่อมารัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๔๐(มาตรา ๙๖)ได้บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว พร้อมกับได้จัดตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งขึ้นมาให้เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีอำนาจหน้าที่เป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้ง โดยให้มีอำนาจหน้าที่อย่างกว้างขวางและเบ็ดเสร็จ ในการตรวจสอบกลั่นกรองการเลือกตั้ง เพื่อการได้มาซึ่งสมาชิกรัฐสภา ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม(มาตรา ๑๔๔ มาตรา ๑๔๕ และมาตรา ๑๔๗) ส่วนการวินิจฉัยปัญหาที่เกิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๔๑ ตามหมวด ๓ การคัดค้านการเลือกตั้ง(มาตรา ๙๔)ซึ่งแต่เดิมเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลฎีกานั้น ก็ได้เปลี่ยนให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(และเพิ่มเหตุแห่งการคัดค้านการเลือกตั้งให้มากกว่ากฎหมายเดิมที่กำหนดไว้เพียง ๕ เหตุ เท่านั้น ) ซึ่งสามารถเปรียบเทียบคดีทั้งสองประเภท เพื่อให้เห็นความแตกต่างและผลของคำวินิจฉัยชี้ขาดตามกฎหมายปัจจุบัน ได้ดังนี้
๑.คดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง
กฎหมายที่ให้สิทธิร้อง - พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๑๑๖ ประกอบมาตรา ๑๑๑
ผู้ร้อง - คณะกรรมการการเลือกตั้ง(ตามกฎหมายเดิมคือผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้สมัคร หรือพรรคการเมืองซึ่งมีสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง)
ผู้ถูกร้อง -สมาชิกรัฐสภา (หรือผู้สมัครซึ่งไม่ได้รับการเลือกตั้ง)
ข้ออ้างที่อาศัยเป็นฐานแห่งคำร้อง - การเลือกตั้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากผู้ถูกร้องสมัครรับเลือกตั้งโดยไม่มีสิทธิสมัคร
คำขอ -ให้มีการเลือกตั้งใหม่และหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
องค์กรที่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาด -ศาลฎีกา(ตามกฎหมายเดิมคือคณะกรรมการการเลือกตั้ง)
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัย -การเลือกตั้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
คำสั่งตามคำขอ - สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่และหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
ผลของคำสั่ง - ผู้ถูกร้องต้องออกจากตำแหน่ง และต้องดำเนินการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง และต้องคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นตามรัฐธรรมนูญ
๒.คดีรัฐธรรมนูญ
กฎหมายที่ให้สิทธิร้อง--รัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๑
ผู้ร้อง-สมาชิกรัฐสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา(คณะกรรมการการเลือกตั้งส่งเรื่องได้ด้วย แต่ต้องมิใช่คดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง)
ผู้ถูกร้อง -สมาชิกรัฐสภา
ข้ออ้างที่อาศัยเป็นฐานแห่งคำร้อง - สมาชิกภาพของสมาชิกแห่งสภานั้นมีเหตุสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญด้วยเหตุขาดคุณสมบัติการดำรงตำแหน่ง
คำขอ -ขอให้วินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงด้วยเหตุตามคำร้อง
องค์กรที่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาด—ศาลรัฐธรรมนูญ
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัย -สมาชิกภาพของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงด้วยเหตุตามคำร้องหรือไม่
คำสั่ง---ไม่มี
ผลของคำวินิจฉัยในกรณีเป็นไปตามคำร้อง—สมาชิกภาพของผู้ถูกร้องต้องสิ้นสุดลง ต้องออกจากตำแหน่ง ซึ่งโดยปกติไม่ต้องคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น
ตามการเปรียบเทียบคดีข้างต้น ซึ่งหากจำแนกประเภทของคดีได้อย่างชัดเจนแล้วจะเห็นได้ว่า คดีตามคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งย่อมเป็นคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและหากประกาศผลการเลือกตั้งแล้วคดีดังกล่าวจะตกอยู่ในอำนาจของศาลฎีกา ตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๓๙ ที่ได้จำกัดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งลงจากเดิมตามที่เคยมีอยู่ตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๔๐ โดยในกรณีที่ประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่า การดำเนินการเลือกตั้งมานั้นมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมควรให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ดั่งที่เคยเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลฎีกาก่อนรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๔๐ แต่หากเป็นในกรณีที่ยังไม่ประกาศผลการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งย่อมมีอำนาจหน้าที่ในฐานะองค์กรตรวจสอบการเลือกตั้งสูงสุดตามรัฐธรรมนูญ เพื่อดำเนินการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาที่เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๕๐ ซึ่งในกรณีนี้คือปัญหาตามมาตรา ๓๔ ที่ว่า “บุคคลเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ หรือไม่”(โดยไม่เรียกว่า “ปัญหาการขาดคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง” ซึ่งเป็นปัญหารอง ตามที่มักมีการกล่าวกัน) และถึงแม้ว่ามาตรา ๔๕ ได้บัญญัติเพิ่มเติมให้ศาลฎีกาเข้ามามีอำนาจหน้าที่เพิกถอนการสมัครแบบบัญชีรายชื่อตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศตามมาตรา ๔๓ ไปแล้ว ซึ่งแตกต่างจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๔๑(มาตรา๓๗) ก็ตาม แต่อำนาจหน้าที่
ของศาลฎีกาดังกล่าวก็มีอยู่เพียงนับแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรายชื่อพรรคการเมืองและรายชื่อผู้สมัครไปจนถึงวันเลือกตั้งคือวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เท่านั้น ซึ่งเป็นการวินิจฉัยในชั้นการสมัครรับเลือกตั้ง โดยเมื่อพ้นจากวันเลือกตั้งแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้งย่อมมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๕๐มาตรา ๒๓๖(๕) โดยสืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาดังกล่าวซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๕๐ ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญให้ไว้แก่คณะกรรมการการเลือกตั้งดั่งเช่นอำนาจหน้าที่ของศาลยุติธรรมที่เคยมีอย่างกว้างขวางในการวินิจฉัยปัญหาหรือข้อพิพาทในทางแพ่งที่เกิดขึ้นตามกฎหมายเลือกตั้งเดิม ทั้งนี้ เพื่ออุดช่องว่างและเสริมการใช้อำนาจหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ตามรัฐธรรมนูญ
ดังนั้น ในกรณีที่ปรากฏตามข่าวหรือมีผู้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งว่า ก่อนสมัครรับเลือกตั้ง ผู้สมัครคนใดอาจเป็นบุคคลซึ่งไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือในระหว่างที่คณะกรรมการการเลือกตั้งยังไม่ได้ประกาศผลการเลือกตั้ง นั้น ได้เกิดเหตุขึ้นกับผู้สมัคร จนเป็นเหตุให้ผู้สมัครนั้นขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งจึงชอบที่จะใช้อำนาจดั่งตุลาการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๓๖(๕) สืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดว่า มีกรณีเป็นไปตามปัญหาที่ต้องวินิจฉัยที่ว่า “ผู้นั้นเป็นบุคคลซึ่งไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๕๐หรือไม่” กล่าวคือ ผู้นั้นเป็นบุคคลซึ่งขาดคุณสมบัติของผู้สมัครเนื่องจากมิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองตามมาตรา ๑๐๑(๓)ของรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ความเป็นสมาชิกพรรคการเมืองของผู้นั้นได้สิ้นสุดลงตามมาตรา ๒๐(๓) หรือ(๗) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๕๐ ประกอบกับมาตรา ๑๐๐(๓) ของรัฐธรรมนูญและข้อบังคับพรรคการเมือง ด้วยเหตุที่ผู้นั้นต้องหรือเคยต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ (เป็นเหตุเดียวกับการเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่ได้ ดังนั้นสมาชิกภาพย่อมสิ้นสุดทันทีเมื่อมีเหตุ) และเมื่อได้ใช้อำนาจตามมาตรา ๒๓๖(๕) แล้ว คำวินิจฉัยชี้ขาดเป็นประการใด(โดยมติเสียงข้างมาก)จึงใช้อำนาจบริหารดำเนินการพิจารณาเพื่อประกาศผลการเลือกตั้งให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรืองดการประกาศผลการเลือกตั้งของผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ แล้วแต่กรณี โดยในกรณีเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าบุคคลใดซึ่งรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งได้สมัครรับเลือกตั้งโดยฝ่าฝืนมาตรา ๓๔ ประกอบกับมาตรา ๑๓๙ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๕๐ จึงเป็นกรณีที่การเลือกตั้งในส่วนที่เกี่ยวกับผู้สมัครนั้น มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นการใช้อำนาจตามมาตรา ๒๓๖(๗) เป็นลำดับถัดไป โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งมีระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ก่อนประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๔๓ ข้อ ๕ (ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ตามมาตรา ๔๗ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.๒๕๕๐ ) รองรับการดำเนินการดังกล่าวไว้ในกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเรื่องสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ (เป็นวิธีการสำหรับแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ส่วนแบบบัญชีรายชื่อนั้นคณะกรรมการการเลือกตั้งมิได้ปรับปรุงระเบียบไว้ แต่ย่อมดำเนินการได้ในแนวทางเดียวกัน ซึ่งเป็นไปตามแนวคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๕/๒๕๔๓ ลงวันที่ ๑๔ ก.พ.๔๓ และที่ ๑๓/๒๕๔๓ ลงวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๓ คำวินิจฉัยสั่งการของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ ๓๗/๒๕๔๓ ลงวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๔๓ ที่ ๔๐/๒๕๔๓ ลงวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๔๓ และที่ ๔๘๙/๒๕๔๘ เรื่อง การสั่งให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกาญจนบุรี เขตเลือกตั้งที่ ๓ ใหม่ ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ ซึ่งป็นกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยว่าผู้สมัครขาดคุณสมบัติในการสมัครรับเลือกตั้ง ภายหลังวันเลือกตั้ง และตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร เรื่องให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง ลงวันที่ ๒๘ พฤษจิกายน ๒๕๕๑ ทั้งนี้ หากคณะกรรมการการเลือกตั้งสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดไม่แล้วเสร็จ คณะกรรมการการเลือกตั้งควรชะลอการประกาศผลการเลือกตั้งของผู้สมัครที่มีปัญหาดังกล่าวไว้ก่อน(ซึ่งสามารถชะลอได้ถึง ๒๕ คน) และหากคณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยโดยยึดตามอำนาจและหน้าที่ของตนตามรัฐธรรมนูญเป็นหลัก โดยสุจริต ย่อมไม่มีองค์กรใดมาวินิจฉัย “การกระทำ”ของคณะกรรมการการเลือกตั้งได้
ทองอินทร์ สาระคาม
นักวิชาการอิสระ(น้อย)
ตามที่ปรากฏตามข่าวว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งยังไม่ประกาศผลการเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อตามผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เนื่องจากผู้สมัครดังกล่าวได้ถูกยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งค้างอยู่ โดยผู้สมัครบางคนมีปัญหาว่าความเป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้สิ้นสุดลงก่อนการสมัครเป็นเหตุให้ผู้นั้นเป็นบุคคลซึ่งไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๕๐ หรือไม่ จึงจำเป็นที่คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องดำเนินการตรวจสอบหรือดำเนินการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดเสียก่อน นั้น ซึ่งผู้เขียนเห็นว่า อำนาจการวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาดังกล่าวก่อนการประกาศผลการเลือกตั้งนั้น เป็นปัญหาที่สำคัญส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ แม้แต่นักวิชาการเองก็ยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ โดยเป็นผลอันเนื่องมาจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งยังไม่มีความชัดเจนที่เพียงพอต่อการรองรับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในฐานะที่เป็นองค์กรสูงสุดตามรัฐธรรมนูญ ในการตรวจสอบกลั่นกรองบุคคลเข้าสู่อำนาจรัฐโดยการประกาศผลการเลือกตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งที่กำหนดไว้สำหรับช่วงระหว่างหลังวันเลือกตั้งจนถึงวันประกาศผลการเลือกตั้ง (ช่วงแขวน)ตลอดจนคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยของ กกต.ที่ผ่านมา ตลอดจนการตรารัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ฉบับปัจจุบัน ทำให้เกิดปัญหาว่าหลังจากวันเลือกตั้งไปแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้ง ในฐานะองค์กรที่มีอำนาจกึ่งตุลาการรวมอยู่ด้วยนั้นมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดปัญหาการสมัครรับเลือกตั้งได้เพียงใด ระหว่าง แนวทางแรก การมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่า บุคคลนั้นไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งแล้วประกาศผลการเลือกตั้งให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรหรือสั่งให้มีการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ แล้วแต่กรณี ตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามมาตรา ๒๓๖ ของรัฐธรรมนูญ กับแนวทางที่สอง การไม่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาดังกล่าวโดยต้องประกาศผลการเลือกตั้งให้ผู้นั้นเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรแล้วจึงส่งเรื่องไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อส่งเรื่องต่อไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา ๙๑ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญ ผู้เขียนเห็นด้วยกับแนวทางแรกจึงขอแสดงความคิดเห็นตามมาตรา ๔๕ ของรัฐธรรมนูญ โดยมีเหตุผลดังนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบเดิมก่อนตรารัฐธรรม นูญ พุทธศักราช ๒๕๔๐ การประกาศผลการเลือกตั้งจะกระทำลงในวันเลือกตั้งตามผลการนับคะแนน โดยผู้ว่าราชการจังหวัด(ฝ่ายบริหาร) เมื่อประกาศผลการเลือกตั้งไปแล้ว ต่อมาหากผู้มีสิทธิคัดค้านการ
เลือกตั้ง ไม่เห็นด้วยกับการประกาศผลการเลือกตั้งและได้ยื่นคำร้องคัดค้านตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๒๒ ว่า การเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบ เนื่องจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ถูกร้อง เป็นผู้ซึ่งรู้อยู่แล้ว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งแต่ได้เข้าสมัครรับเลือกตั้ง(ซึ่งเป็นเหตุที่เกิดก่อนการเข้าดำรงตำแหน่ง) อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๖(ซึ่งกฎหมายเลือกตั้งให้นำคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามในการสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญมาประกอบการวินิจฉัยว่า ผู้ถูกร้องซึ่งจะมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามกฎหมายเลือกตั้ง หรือไม่) เพื่อขอให้มีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งการวินิจฉัยชี้ขาดคดีเป็นอำนาจของศาลฎีกา เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๕๐ ผู้เขียนขอเรียกคดีความแพ่งประเภทนี้ว่า “คดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง” และหากศาลฎีกาสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ตามมาตรา ๗๙ (ซึ่งเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาที่เกิดขึ้นตามกฎหมายเลือกตั้ง แต่มิใช่การวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาที่เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญโดยตรง เทียบเคียงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๓/๔๓ วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ ) ผู้ถูกร้อง ต้องออกจากตำแหน่ง จากนั้นฝ่ายบริหารก็จะมีหน้าที่ดำเนินการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างนั้นต่อไป ซึ่งในขณะนั้นรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๓๔(มาตรา ๙๓)และรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๕) พุทธศักราช ๒๕๓๘ (มาตรา ๙๙) มิได้บัญญัติให้ผู้ออกจากตำแหน่งต้องคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น แต่ต่อมารัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๔๐ (บทยกเว้นของมาตรา ๙๗) ได้บัญญัติให้การออกจากตำแหน่งของผู้นั้นเป็นการออกจากตำแหน่งเพราะเหตุที่ผู้นั้นได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง มีผลให้ต้องคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่ได้รับมาจากการดำรงตำแหน่ง(เนื่องจากการเข้าสู่ตำแหน่งไม่ชอบด้วยกฎหมายเลือกตั้งมาตั้งแต่ต้น)
ส่วนคดีอีกประเภทหนึ่งซึ่งมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยมีความใกล้เคียงกับคดีประเภทแรกเป็นอย่างมาก ซึ่งผู้เขียนขอเรียกว่า “คดีรัฐธรรมนูญ” โดยเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญโดยตรง อยู่ในอำนาจขององค์กรที่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาตามรัฐธรรมนูญ เดิมคือคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เป็นกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เข้าชื่อร้องต่อประธานสภาแห่งตนให้ส่งคำร้องไปยังคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ใดสิ้นสุดลงหรือไม่ ในกรณีนี้คือ ด้วยมีเหตุจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นขาดคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ตามมาตรา ๙๑ ประกอบมาตรา ๑๑๔(๔)และ(๕) ของรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๓๔ (โดยเหตุนั้นอาจเกิดก่อนหรือภายหลังจากเข้าดำรงตำแหน่งก็ได้ โดยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีเขตอำนาจกว้างกว่าศาลฎีกาในคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง และไม่อาจมีคำขอให้มีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ เพราะคำขอดังกล่าวเป็นอำนาจของศาลยุติธรรม) ซึ่งมีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นต้องออกจากตำแหน่งภายหลังวันที่มีคำ
วินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญว่าสมาชิกภาพของผู้นั้นสิ้นสุดลง ต่อมารัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๕) พุทธศักราช ๒๕๓๘ (มาตรา ๙๗ )ได้เพิ่มจำนวนผู้มีสิทธิเข้าชื่อเป็นไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา และต่อมารัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๔๐(มาตรา ๙๖)ได้บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว พร้อมกับได้จัดตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งขึ้นมาให้เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีอำนาจหน้าที่เป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้ง โดยให้มีอำนาจหน้าที่อย่างกว้างขวางและเบ็ดเสร็จ ในการตรวจสอบกลั่นกรองการเลือกตั้ง เพื่อการได้มาซึ่งสมาชิกรัฐสภา ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม(มาตรา ๑๔๔ มาตรา ๑๔๕ และมาตรา ๑๔๗) ส่วนการวินิจฉัยปัญหาที่เกิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๔๑ ตามหมวด ๓ การคัดค้านการเลือกตั้ง(มาตรา ๙๔)ซึ่งแต่เดิมเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลฎีกานั้น ก็ได้เปลี่ยนให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(และเพิ่มเหตุแห่งการคัดค้านการเลือกตั้งให้มากกว่ากฎหมายเดิมที่กำหนดไว้เพียง ๕ เหตุ เท่านั้น ) ซึ่งสามารถเปรียบเทียบคดีทั้งสองประเภท เพื่อให้เห็นความแตกต่างและผลของคำวินิจฉัยชี้ขาดตามกฎหมายปัจจุบัน ได้ดังนี้
๑.คดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง
กฎหมายที่ให้สิทธิร้อง - พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๑๑๖ ประกอบมาตรา ๑๑๑
ผู้ร้อง - คณะกรรมการการเลือกตั้ง(ตามกฎหมายเดิมคือผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้สมัคร หรือพรรคการเมืองซึ่งมีสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง)
ผู้ถูกร้อง -สมาชิกรัฐสภา (หรือผู้สมัครซึ่งไม่ได้รับการเลือกตั้ง)
ข้ออ้างที่อาศัยเป็นฐานแห่งคำร้อง - การเลือกตั้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากผู้ถูกร้องสมัครรับเลือกตั้งโดยไม่มีสิทธิสมัคร
คำขอ -ให้มีการเลือกตั้งใหม่และหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
องค์กรที่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาด -ศาลฎีกา(ตามกฎหมายเดิมคือคณะกรรมการการเลือกตั้ง)
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัย -การเลือกตั้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
คำสั่งตามคำขอ - สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่และหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
ผลของคำสั่ง - ผู้ถูกร้องต้องออกจากตำแหน่ง และต้องดำเนินการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง และต้องคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นตามรัฐธรรมนูญ
๒.คดีรัฐธรรมนูญ
กฎหมายที่ให้สิทธิร้อง--รัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๑
ผู้ร้อง-สมาชิกรัฐสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา(คณะกรรมการการเลือกตั้งส่งเรื่องได้ด้วย แต่ต้องมิใช่คดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง)
ผู้ถูกร้อง -สมาชิกรัฐสภา
ข้ออ้างที่อาศัยเป็นฐานแห่งคำร้อง - สมาชิกภาพของสมาชิกแห่งสภานั้นมีเหตุสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญด้วยเหตุขาดคุณสมบัติการดำรงตำแหน่ง
คำขอ -ขอให้วินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงด้วยเหตุตามคำร้อง
องค์กรที่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาด—ศาลรัฐธรรมนูญ
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัย -สมาชิกภาพของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงด้วยเหตุตามคำร้องหรือไม่
คำสั่ง---ไม่มี
ผลของคำวินิจฉัยในกรณีเป็นไปตามคำร้อง—สมาชิกภาพของผู้ถูกร้องต้องสิ้นสุดลง ต้องออกจากตำแหน่ง ซึ่งโดยปกติไม่ต้องคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น
ตามการเปรียบเทียบคดีข้างต้น ซึ่งหากจำแนกประเภทของคดีได้อย่างชัดเจนแล้วจะเห็นได้ว่า คดีตามคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งย่อมเป็นคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและหากประกาศผลการเลือกตั้งแล้วคดีดังกล่าวจะตกอยู่ในอำนาจของศาลฎีกา ตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๓๙ ที่ได้จำกัดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งลงจากเดิมตามที่เคยมีอยู่ตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๔๐ โดยในกรณีที่ประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่า การดำเนินการเลือกตั้งมานั้นมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมควรให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ดั่งที่เคยเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลฎีกาก่อนรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๔๐ แต่หากเป็นในกรณีที่ยังไม่ประกาศผลการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งย่อมมีอำนาจหน้าที่ในฐานะองค์กรตรวจสอบการเลือกตั้งสูงสุดตามรัฐธรรมนูญ เพื่อดำเนินการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาที่เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๕๐ ซึ่งในกรณีนี้คือปัญหาตามมาตรา ๓๔ ที่ว่า “บุคคลเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ หรือไม่”(โดยไม่เรียกว่า “ปัญหาการขาดคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง” ซึ่งเป็นปัญหารอง ตามที่มักมีการกล่าวกัน) และถึงแม้ว่ามาตรา ๔๕ ได้บัญญัติเพิ่มเติมให้ศาลฎีกาเข้ามามีอำนาจหน้าที่เพิกถอนการสมัครแบบบัญชีรายชื่อตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศตามมาตรา ๔๓ ไปแล้ว ซึ่งแตกต่างจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๔๑(มาตรา๓๗) ก็ตาม แต่อำนาจหน้าที่
ของศาลฎีกาดังกล่าวก็มีอยู่เพียงนับแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรายชื่อพรรคการเมืองและรายชื่อผู้สมัครไปจนถึงวันเลือกตั้งคือวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เท่านั้น ซึ่งเป็นการวินิจฉัยในชั้นการสมัครรับเลือกตั้ง โดยเมื่อพ้นจากวันเลือกตั้งแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้งย่อมมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๕๐มาตรา ๒๓๖(๕) โดยสืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาดังกล่าวซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๕๐ ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญให้ไว้แก่คณะกรรมการการเลือกตั้งดั่งเช่นอำนาจหน้าที่ของศาลยุติธรรมที่เคยมีอย่างกว้างขวางในการวินิจฉัยปัญหาหรือข้อพิพาทในทางแพ่งที่เกิดขึ้นตามกฎหมายเลือกตั้งเดิม ทั้งนี้ เพื่ออุดช่องว่างและเสริมการใช้อำนาจหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ตามรัฐธรรมนูญ
ดังนั้น ในกรณีที่ปรากฏตามข่าวหรือมีผู้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งว่า ก่อนสมัครรับเลือกตั้ง ผู้สมัครคนใดอาจเป็นบุคคลซึ่งไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือในระหว่างที่คณะกรรมการการเลือกตั้งยังไม่ได้ประกาศผลการเลือกตั้ง นั้น ได้เกิดเหตุขึ้นกับผู้สมัคร จนเป็นเหตุให้ผู้สมัครนั้นขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งจึงชอบที่จะใช้อำนาจดั่งตุลาการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๓๖(๕) สืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดว่า มีกรณีเป็นไปตามปัญหาที่ต้องวินิจฉัยที่ว่า “ผู้นั้นเป็นบุคคลซึ่งไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๕๐หรือไม่” กล่าวคือ ผู้นั้นเป็นบุคคลซึ่งขาดคุณสมบัติของผู้สมัครเนื่องจากมิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองตามมาตรา ๑๐๑(๓)ของรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ความเป็นสมาชิกพรรคการเมืองของผู้นั้นได้สิ้นสุดลงตามมาตรา ๒๐(๓) หรือ(๗) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๕๐ ประกอบกับมาตรา ๑๐๐(๓) ของรัฐธรรมนูญและข้อบังคับพรรคการเมือง ด้วยเหตุที่ผู้นั้นต้องหรือเคยต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ (เป็นเหตุเดียวกับการเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่ได้ ดังนั้นสมาชิกภาพย่อมสิ้นสุดทันทีเมื่อมีเหตุ) และเมื่อได้ใช้อำนาจตามมาตรา ๒๓๖(๕) แล้ว คำวินิจฉัยชี้ขาดเป็นประการใด(โดยมติเสียงข้างมาก)จึงใช้อำนาจบริหารดำเนินการพิจารณาเพื่อประกาศผลการเลือกตั้งให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรืองดการประกาศผลการเลือกตั้งของผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ แล้วแต่กรณี โดยในกรณีเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าบุคคลใดซึ่งรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งได้สมัครรับเลือกตั้งโดยฝ่าฝืนมาตรา ๓๔ ประกอบกับมาตรา ๑๓๙ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๕๐ จึงเป็นกรณีที่การเลือกตั้งในส่วนที่เกี่ยวกับผู้สมัครนั้น มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นการใช้อำนาจตามมาตรา ๒๓๖(๗) เป็นลำดับถัดไป โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งมีระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ก่อนประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๔๓ ข้อ ๕ (ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ตามมาตรา ๔๗ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.๒๕๕๐ ) รองรับการดำเนินการดังกล่าวไว้ในกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเรื่องสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ (เป็นวิธีการสำหรับแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ส่วนแบบบัญชีรายชื่อนั้นคณะกรรมการการเลือกตั้งมิได้ปรับปรุงระเบียบไว้ แต่ย่อมดำเนินการได้ในแนวทางเดียวกัน ซึ่งเป็นไปตามแนวคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๕/๒๕๔๓ ลงวันที่ ๑๔ ก.พ.๔๓ และที่ ๑๓/๒๕๔๓ ลงวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๓ คำวินิจฉัยสั่งการของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ ๓๗/๒๕๔๓ ลงวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๔๓ ที่ ๔๐/๒๕๔๓ ลงวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๔๓ และที่ ๔๘๙/๒๕๔๘ เรื่อง การสั่งให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกาญจนบุรี เขตเลือกตั้งที่ ๓ ใหม่ ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ ซึ่งป็นกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยว่าผู้สมัครขาดคุณสมบัติในการสมัครรับเลือกตั้ง ภายหลังวันเลือกตั้ง และตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร เรื่องให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง ลงวันที่ ๒๘ พฤษจิกายน ๒๕๕๑ ทั้งนี้ หากคณะกรรมการการเลือกตั้งสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดไม่แล้วเสร็จ คณะกรรมการการเลือกตั้งควรชะลอการประกาศผลการเลือกตั้งของผู้สมัครที่มีปัญหาดังกล่าวไว้ก่อน(ซึ่งสามารถชะลอได้ถึง ๒๕ คน) และหากคณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยโดยยึดตามอำนาจและหน้าที่ของตนตามรัฐธรรมนูญเป็นหลัก โดยสุจริต ย่อมไม่มีองค์กรใดมาวินิจฉัย “การกระทำ”ของคณะกรรมการการเลือกตั้งได้
ทองอินทร์ สาระคาม
นักวิชาการอิสระ(น้อย)