ASTVผู้จัดการรายวัน- ก.ล.ต.ปรับเพิ่มการลงโทษมาร์เกตติ้ง ตามระดับความร้ายแรงของการกระทำผิด พร้อมเปิดผลลงโทษชื่อบล.ต้นสังกัดต่อสาธารณชน หลังพบการกระทำผิดไม่มีแนวโน้มลดลง แม้จะมีการลงโทษต่อเนื่อง “ประเวช” หวังเกณฑ์ใหม่ หวังลดการกระทำผิด-ขจัดผู้กระทำไม่ดีออกไป เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ดีขึ้น สร้างความมั่นใจแก่นักลงทุน
นายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ได้มีการส่งหนังสือเวียนไปยังบริษัทหลักทรัพย์ทุกแห่ง เรื่องแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณาลงโทษผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน เนื่องจาก ที่ผ่านมาก.ล.ต.พบว่ายังคงมีปริมาณเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน (มาร์เกตติ้ง) และ กรณีที่มาร์เกตติ้งปฏิบัติไม่เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัตงานค่อนข้างสูง และไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง แม้จะมีการลงโทษผู้ติดต่อที่กระทำผิดมาอย่างต่อเนื่อง
โดยที่ ก.ล.ต.มีนโยบายที่จะยกระดับมาตรฐานการประกอบวิชาชีพของผู้ติดต่อให้สูงขึ้นและได้ดำเนินการปรับปรุงประกาศว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการวินัยบุคลากรในตลาดทุน ทำหน้าที่พิจารณาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน รวมทั้งเสนอความเห็นต่อ ก.ล.ต.เกี่ยวกับการพิจารณาลงโทษบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์การลงโทษเพื่อให้ก.ล.ต.ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ทั้งนี้ก.ล.ต.และคณะกรรมการวินัยบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนได้ร่วมกันพิจารณาหลักเกณฑ์การลงโทษผู้ติดต่อ และปรับเพิ่มระดับโทษ ให้เหมาะสมกับระดับความร้ายแรงของพฤติกรรมการกระทำผิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการกระทำผิดที่ตรวจพบอย่างต่อเนื่อง และจะนำมาใช้กับการพิจารณาลงโทษผู้ติดต่อซึ่งมีการกระทำผิดตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2554 โดยจำแนกระดับโทษตามกลุ่มพฤติกรรม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่มีพฤติกรรมส่อไปในทางไม่ซื้อสัตย์สุจริต คือ กรณีกระทำการทุจริต มีระดับโทษเริ่มต้นที่เพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นระยะเวลา 5 ปี กรณีเอาเปรียบผู้ลงทุนหรือแสวงหาประโยชน์ให้ตนเองมีระดับโทษเริ่มต้นที่พักการปฏิบัติหน้าที่เป็นระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งระดับโทษเดิมของกลุ่มพฤติกรรมนี้เริ่มต้นที่พักการปฏิบัตหน้าที่เป็นระยะเวลา 6 เดือน
สำหรับกลุ่มที่2 กลุ่มที่มีการปฏิบัติฝ่าฝืนหรือมีส่วนร่วมให้บุคคลอื่นปฏิบัติฝ่าฝืนกฎหมายหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดและหลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์ จรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพที่สมาคมเกี่ยวเนื่องกำหนด กรณีฝ่าฝืนกฎหมายหลักทรัพยืหรือกฎหมายอื่น เช่น ปปง.เป็นต้นมีระดับโทษเริ่มต้นเพิกถินการให้ความเห็นชอบเป็นระยะเวลา 2 ปี ซึ่งเดิมระดับโทษเริ่มต้นที่พักการปฏิบัติหน้าที่เป็นระยะเวลา 1 ปี กรณีฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯและสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกำหนดมีระดับโทษเริ่มต้นที่พักการปฏิบัติหน้าที่เป็นระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งระดับโทษเดิมเริ่มต้นที่ภาคทัณฑ์การปฏิบัติหน้าที่เป็นระยะเวลา 1 ปี
กลุ่มที่3 กลุ่มที่มีการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน คือกรณีที่มีนัยสำตัญ เช่น ตัดสินใจซื้อขายแทนลูกค้า เป็นต้นมีระดับโทษเริ่มต้นพักการปฏิบัติหน้ที่เป็นระยะเวลา 3 เดือน กรณีพฤติกรรมที่ขาดความระมัดระวังหรือความรอบคอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพหรือ กรณีอื่น มีระดับโทษเริ่มต้นที่พักการปฏิบัตหน้าที่ เป็นระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งระดับโทษเดิมของกลุ่มพฤติกรรมนี้เริ่มต้นที่ภาคทัณฑ์การปฏิบัตหน้าที่ เป็นระยะเวลา 1 ปี อย่างไรก็ตามการลงโทษทุกกรณี สำนักงานจะเปิดเผยผลการดำเนินการให้สาธารณชนทราบสำหรับระดับโทษพักการปฏิบัติหน้าที่และเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ ก.ล.ต.จะเปิดเผยชื่อบริษัทหลักทรัพย์ที่ผู้ติดต่อสังกัดขณะทำความผิดด้วย
นายประเวช กล่าวว่า การปรับเพิ่มการลงโทษมาร์เกตติ้งตามระดับความผิดนั้น เพื่อต้องการที่จะยกระดับวิชาชีพมาร์เกตติ้งให้ดีขึ้น และเพื่อที่จะทำให้คนที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมเป็นความผิดที่ยอมรับไม่ได้นั้นออกจากอุตสาหกรรมไป ซึ่งจะทำให้ภาพรวมอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ดีขึ้น และสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุน และหวังว่าพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของมาร์เกตติ้งจะน้อยลง
“เราชื่อว่าพฤติกรรมไม่เหมาะสมของมาร์เกตติ้งจะน้อยลง โดยการเพิ่มโทษจากเดิมที่สั่งพักงานสั้นก็พักให้ยาวขึ้น และหากเป็นความผิดที่ยอมรับไม่ได้ เราก็จะเพิกถอนออกไป เพื่อที่จะให้อุตสาหรรมหลักทรัพย์ดีขึ้นสร้างความมั่นใจ ซึ่งการลงโทษนั้นเป็นด้านสุดท้าย แต่ทางที่ดีที่สุดในการที่มาร์เกตติ้งจะไม่ทำผิดบล.ต้องมีการดูแล มีระบบควบคุมภายในที่ดี ”นายประเวช กล่าว
นายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ได้มีการส่งหนังสือเวียนไปยังบริษัทหลักทรัพย์ทุกแห่ง เรื่องแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณาลงโทษผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน เนื่องจาก ที่ผ่านมาก.ล.ต.พบว่ายังคงมีปริมาณเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน (มาร์เกตติ้ง) และ กรณีที่มาร์เกตติ้งปฏิบัติไม่เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัตงานค่อนข้างสูง และไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง แม้จะมีการลงโทษผู้ติดต่อที่กระทำผิดมาอย่างต่อเนื่อง
โดยที่ ก.ล.ต.มีนโยบายที่จะยกระดับมาตรฐานการประกอบวิชาชีพของผู้ติดต่อให้สูงขึ้นและได้ดำเนินการปรับปรุงประกาศว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการวินัยบุคลากรในตลาดทุน ทำหน้าที่พิจารณาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน รวมทั้งเสนอความเห็นต่อ ก.ล.ต.เกี่ยวกับการพิจารณาลงโทษบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์การลงโทษเพื่อให้ก.ล.ต.ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ทั้งนี้ก.ล.ต.และคณะกรรมการวินัยบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนได้ร่วมกันพิจารณาหลักเกณฑ์การลงโทษผู้ติดต่อ และปรับเพิ่มระดับโทษ ให้เหมาะสมกับระดับความร้ายแรงของพฤติกรรมการกระทำผิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการกระทำผิดที่ตรวจพบอย่างต่อเนื่อง และจะนำมาใช้กับการพิจารณาลงโทษผู้ติดต่อซึ่งมีการกระทำผิดตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2554 โดยจำแนกระดับโทษตามกลุ่มพฤติกรรม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่มีพฤติกรรมส่อไปในทางไม่ซื้อสัตย์สุจริต คือ กรณีกระทำการทุจริต มีระดับโทษเริ่มต้นที่เพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นระยะเวลา 5 ปี กรณีเอาเปรียบผู้ลงทุนหรือแสวงหาประโยชน์ให้ตนเองมีระดับโทษเริ่มต้นที่พักการปฏิบัติหน้าที่เป็นระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งระดับโทษเดิมของกลุ่มพฤติกรรมนี้เริ่มต้นที่พักการปฏิบัตหน้าที่เป็นระยะเวลา 6 เดือน
สำหรับกลุ่มที่2 กลุ่มที่มีการปฏิบัติฝ่าฝืนหรือมีส่วนร่วมให้บุคคลอื่นปฏิบัติฝ่าฝืนกฎหมายหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดและหลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์ จรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพที่สมาคมเกี่ยวเนื่องกำหนด กรณีฝ่าฝืนกฎหมายหลักทรัพยืหรือกฎหมายอื่น เช่น ปปง.เป็นต้นมีระดับโทษเริ่มต้นเพิกถินการให้ความเห็นชอบเป็นระยะเวลา 2 ปี ซึ่งเดิมระดับโทษเริ่มต้นที่พักการปฏิบัติหน้าที่เป็นระยะเวลา 1 ปี กรณีฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯและสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกำหนดมีระดับโทษเริ่มต้นที่พักการปฏิบัติหน้าที่เป็นระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งระดับโทษเดิมเริ่มต้นที่ภาคทัณฑ์การปฏิบัติหน้าที่เป็นระยะเวลา 1 ปี
กลุ่มที่3 กลุ่มที่มีการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน คือกรณีที่มีนัยสำตัญ เช่น ตัดสินใจซื้อขายแทนลูกค้า เป็นต้นมีระดับโทษเริ่มต้นพักการปฏิบัติหน้ที่เป็นระยะเวลา 3 เดือน กรณีพฤติกรรมที่ขาดความระมัดระวังหรือความรอบคอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพหรือ กรณีอื่น มีระดับโทษเริ่มต้นที่พักการปฏิบัตหน้าที่ เป็นระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งระดับโทษเดิมของกลุ่มพฤติกรรมนี้เริ่มต้นที่ภาคทัณฑ์การปฏิบัตหน้าที่ เป็นระยะเวลา 1 ปี อย่างไรก็ตามการลงโทษทุกกรณี สำนักงานจะเปิดเผยผลการดำเนินการให้สาธารณชนทราบสำหรับระดับโทษพักการปฏิบัติหน้าที่และเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ ก.ล.ต.จะเปิดเผยชื่อบริษัทหลักทรัพย์ที่ผู้ติดต่อสังกัดขณะทำความผิดด้วย
นายประเวช กล่าวว่า การปรับเพิ่มการลงโทษมาร์เกตติ้งตามระดับความผิดนั้น เพื่อต้องการที่จะยกระดับวิชาชีพมาร์เกตติ้งให้ดีขึ้น และเพื่อที่จะทำให้คนที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมเป็นความผิดที่ยอมรับไม่ได้นั้นออกจากอุตสาหกรรมไป ซึ่งจะทำให้ภาพรวมอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ดีขึ้น และสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุน และหวังว่าพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของมาร์เกตติ้งจะน้อยลง
“เราชื่อว่าพฤติกรรมไม่เหมาะสมของมาร์เกตติ้งจะน้อยลง โดยการเพิ่มโทษจากเดิมที่สั่งพักงานสั้นก็พักให้ยาวขึ้น และหากเป็นความผิดที่ยอมรับไม่ได้ เราก็จะเพิกถอนออกไป เพื่อที่จะให้อุตสาหรรมหลักทรัพย์ดีขึ้นสร้างความมั่นใจ ซึ่งการลงโทษนั้นเป็นด้านสุดท้าย แต่ทางที่ดีที่สุดในการที่มาร์เกตติ้งจะไม่ทำผิดบล.ต้องมีการดูแล มีระบบควบคุมภายในที่ดี ”นายประเวช กล่าว