ASTVผู้จัดการรายวัน – เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตทฯ ชี้ปัญหาความไม่สงบภาคใต้กดมูลค่าอสังหา 3จังหวัดชายแดนหดตัวกว่า20% คาดปีนี้หดตัวอีก15% ส่งผลมูลค่ารวมอสังหาฯ3จังหวัดลดลงมาแตะระดับ 420,000ล้านบาท ระบุประชาชนในพื้นที่ย้ายที่อยู่อาศัยหนีปัญหา ด้านอสังหาฯหาดใหญ่รับอานิสงส์เต็มๆ โครงการบ้านจัดสรรเปิดตัวอื้อ รับการย้ายถิ่นฐานประชาชน3จังหวัดใต้
นายโสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (AREA) กล่าวว่า เหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้ปรับตัวลดลงกว่า 20% แต่ในอีกมุมหนึ่งกลับส่งผลให้อสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่อื่นเฟื่องฟู ไปด้วย ทั้งนี้ปรากฎการณ์ดังกล่าว ได้เกิดขึ้นในศรีลังกาและเนปาลที่เคยมีความไม่สงบในชนบทเช่นกัน หากรัฐบาลสามารถลดความเหลื่อมล้ำกับมาเลเซียได้ เชื่อว่าปัญหาจะสงบลงได้
“นับตั้งแต่เหตุการณ์ความไม่สงบได้เกิดขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2547 จนถึงปัจจุบัน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้อันประกอบด้วยยะลา ปัตตานีและนราธิวาส ยังไม่สงบ และดูจะคุกรุ่นอยู่เช่นเดิม ทั้งที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนรัฐบาลมาแล้วหลายรัฐบาล ปัญหาสามจังหวัดชายแดนใต้ส่งผลอย่างลึกซึ้งต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์”
จากผลการวิจัย โดยศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย พบว่า ในระหว่างปี 2548 – 2550 ที่อยู่อาศัย และที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมทั้งหมดในเขตสามจังหวัดชายแดนใต้ มีราคาลดลง โดย ณ ปี 2550 ราคาที่อยู่อาศัยและที่ดินเพื่อการเกษตรมีมูลค่ารวมกัน 492,266 ล้านบาท ซึ่งคาดว่ามูลค่าลดลงกว่าที่ควรจะเป็นประมาณ 52,178 ล้านบาท อย่างไรก็ตามคาดว่า ณ ปี 2554 ราคาจะปรับตัวคงลดลงต่ำกว่าปัจจุบันอีกประมาณ 72,000 ล้านบาท หรือทำให้มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ ณ ขณะนี้มีมูลค่าประมาณ 420,000 ล้านบาท หรือลดลงอีก 15% โดยประมาณ
นายโสภณ กล่าวว่า คาดว่าประชาชนผู้อยู่อาศัยในสามจังหวัดชายแดนใต้บางส่วน มีการขายที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม และได้ย้ายถิ่นไปอยู่ในจังหวัดอื่น โดยจังหวัดที่ได้อานิสงส์จากการนี้คือจังหวัดสงขลา โดยเฉพาะอำเภอหาดใหญ่ มีหมู่บ้านจัดสรรเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่น้ำไม่ท่วม ทั้งนี้หลังจากน้ำท่วมใหญ่เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 แล้ว โดยอสังหาริมทรัพย์ในหาดใหญ่กลับมามีความคึกคักมากเป็นพิเศษ
“การย้ายถิ่นของประชากรในสามจังหวัดชายแดนใต้ ยังส่งผลต่อการเติบโตของอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะประเภทหมู่บ้านจัดสรรในเขตอำเภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้ยังอาจมีการเคลื่อนย้ายไปยังอำเภออื่นอีกเช่นกัน แต่จากข้อมูลของศูนย์วิจัยฯ ในสาขาจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า การเติบโตของหมู่บ้านจัดสรรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่วนหนึ่งมาจากการย้ายถิ่นของประชากรในสามจังหวัดชายแดนใต้อย่างชัดเจน”
อย่างไรก็ตามในกรณีสามจังหวัดชายแดนใต้ ยังมีพื้นที่บางส่วนที่ยังมีความคึกคัก เช่น อำเภอเบตง ซึ่งเป็นอำเภอที่มีการค้าขายชายแดนเป็นสำคัญ นอกจากนี้ในอำเภอเบตง ยังมีผลผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะยางพาราที่ดี ประชาชนมีรายได้สูง มีคนมาเลเซียมาจับจ่ายใช้สอยในฝั่งไทยเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน จึงทำให้อำเภอเบตง และพื้นที่อื่นบางแห่งที่เป็นเมืองชายแดน ยังมีความคึกคักสวนกระแสกับภาวะโดยรวมของสามจังหวัดชายแดนใต้
นายโสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (AREA) กล่าวว่า เหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้ปรับตัวลดลงกว่า 20% แต่ในอีกมุมหนึ่งกลับส่งผลให้อสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่อื่นเฟื่องฟู ไปด้วย ทั้งนี้ปรากฎการณ์ดังกล่าว ได้เกิดขึ้นในศรีลังกาและเนปาลที่เคยมีความไม่สงบในชนบทเช่นกัน หากรัฐบาลสามารถลดความเหลื่อมล้ำกับมาเลเซียได้ เชื่อว่าปัญหาจะสงบลงได้
“นับตั้งแต่เหตุการณ์ความไม่สงบได้เกิดขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2547 จนถึงปัจจุบัน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้อันประกอบด้วยยะลา ปัตตานีและนราธิวาส ยังไม่สงบ และดูจะคุกรุ่นอยู่เช่นเดิม ทั้งที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนรัฐบาลมาแล้วหลายรัฐบาล ปัญหาสามจังหวัดชายแดนใต้ส่งผลอย่างลึกซึ้งต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์”
จากผลการวิจัย โดยศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย พบว่า ในระหว่างปี 2548 – 2550 ที่อยู่อาศัย และที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมทั้งหมดในเขตสามจังหวัดชายแดนใต้ มีราคาลดลง โดย ณ ปี 2550 ราคาที่อยู่อาศัยและที่ดินเพื่อการเกษตรมีมูลค่ารวมกัน 492,266 ล้านบาท ซึ่งคาดว่ามูลค่าลดลงกว่าที่ควรจะเป็นประมาณ 52,178 ล้านบาท อย่างไรก็ตามคาดว่า ณ ปี 2554 ราคาจะปรับตัวคงลดลงต่ำกว่าปัจจุบันอีกประมาณ 72,000 ล้านบาท หรือทำให้มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ ณ ขณะนี้มีมูลค่าประมาณ 420,000 ล้านบาท หรือลดลงอีก 15% โดยประมาณ
นายโสภณ กล่าวว่า คาดว่าประชาชนผู้อยู่อาศัยในสามจังหวัดชายแดนใต้บางส่วน มีการขายที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม และได้ย้ายถิ่นไปอยู่ในจังหวัดอื่น โดยจังหวัดที่ได้อานิสงส์จากการนี้คือจังหวัดสงขลา โดยเฉพาะอำเภอหาดใหญ่ มีหมู่บ้านจัดสรรเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่น้ำไม่ท่วม ทั้งนี้หลังจากน้ำท่วมใหญ่เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 แล้ว โดยอสังหาริมทรัพย์ในหาดใหญ่กลับมามีความคึกคักมากเป็นพิเศษ
“การย้ายถิ่นของประชากรในสามจังหวัดชายแดนใต้ ยังส่งผลต่อการเติบโตของอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะประเภทหมู่บ้านจัดสรรในเขตอำเภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้ยังอาจมีการเคลื่อนย้ายไปยังอำเภออื่นอีกเช่นกัน แต่จากข้อมูลของศูนย์วิจัยฯ ในสาขาจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า การเติบโตของหมู่บ้านจัดสรรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่วนหนึ่งมาจากการย้ายถิ่นของประชากรในสามจังหวัดชายแดนใต้อย่างชัดเจน”
อย่างไรก็ตามในกรณีสามจังหวัดชายแดนใต้ ยังมีพื้นที่บางส่วนที่ยังมีความคึกคัก เช่น อำเภอเบตง ซึ่งเป็นอำเภอที่มีการค้าขายชายแดนเป็นสำคัญ นอกจากนี้ในอำเภอเบตง ยังมีผลผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะยางพาราที่ดี ประชาชนมีรายได้สูง มีคนมาเลเซียมาจับจ่ายใช้สอยในฝั่งไทยเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน จึงทำให้อำเภอเบตง และพื้นที่อื่นบางแห่งที่เป็นเมืองชายแดน ยังมีความคึกคักสวนกระแสกับภาวะโดยรวมของสามจังหวัดชายแดนใต้