ASTVผู้จัดการรายวัน - ทิ้งไพ่ถอนตัวจากมรดกโลก หลัง “สุวิทย์” เจรจาร่างข้อมติร่วม “ไทย-เขมร”เหลว “ปานเทพ” เบรก อย่าตกหลุมเขมร ปล่อยทีมบูรณะพระวิหารเข้ามา ชี้สร้างโล่ห์กำบังไม่ให้ผลักดันเพื่อนบ้านออกจากแดนไทย ด้าน “เขมร” อ้างได้รับเสียงสนับสนุนแผนบริหาร 14 ประเทศ ขณะที่ไทยได้รับเพียง 7 ประเทศ
เมื่อเวลา 18.11 น. วานนี้ ( 24 มิ.ย.) ตามเวลาประเทศไทย หรือประมาณ 13.00 น.ตามเวลาประเทศฝรั่งเศส นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนการเจรจามรดกโลกฝ่ายไทย ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ด้วยน้ำเสียงเคร่งเครียดถึงความคืบหน้าการประชุมคณะ กรรมการมรดกโลกครั้งที่ 35 ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส ว่า วันนี้ได้มีการเจรจาถึงการหารือร่างข้อมติร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชาอีกครั้ง โดยมี ผอ.ศูนย์มรดกโลกร่วมด้วย ซึ่งทั้งไทยและกัมพูชาเสนอร่างขอมติร่วมเข้าไปคนละฉบับ แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ยังหามติร่วมกันไม่ได้ โดยเราเห็นว่าร่างข้อมติร่วมของทางฝ่ายกัมพูชาสุ่มเสี่ยงต่อการทำให้ไทยเสีย ดินแดนและอธิปไตย ดังนั้นนาย คีชอร์ ราว (Kishore Rao) ผอ.ศูนย์มรดกโลก จึงเสนอว่าขอเสนอร่างข้อมติร่วมของศูนย์มรดกโลกเข้าพิจารณาก่อน ซึ่งเราก็ขอดูร่างดังกล่าวก่อนแล้วพบว่าร่างของศูนย์มรดกโลกนี้ก็สุ่มเสี่ยง ต่อการสูญเสียดินแดนและอำนาจอธิปไตย จึงยืนยันว่าเราจะไม่รับร่างดังกล่าวนี้เช่นกัน และขอแสดงความเสียใจหากศูนย์มรดกโลกยังดันทุรังจะพิจารณาร่างมตินี้ พร้อมทั้งแสดงความเสียใจที่อาจจะต้องขอประกาศถอนตัวจากการเป็นภาคีอนุสัญญา ว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกด้วย จะทราบความชัดเจนอีกประมาณ 2 ชั่วโมงนับจากนี้ คือเวลา 15.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นในประเทศฝรั่งเศส ตรงกับเวลา 21.00 น. ของวันที่ 24 มิ.ย. ตามเวลาในประเทศไทย
ต่อมา เวลา 20.00 น. นายสุวิทย์ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์เพิ่มเติมถึงความคืบหน้าว่า อีกประมาณ 30 นาทีที่จะถึงนี้ จะเข้าไปพูดคุยกับที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก คาดว่าจะใช้เวลาราวอีก 1 ชั่วโมงจะทราบถึงข้อสรุปว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป อย่างไรก็ตามเมื่อช่วง 18.00 น. ที่ผ่านมา ได้โทรศัพท์ไปรายงานนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีแล้ว ว่าบรรยากาศการประชุมหารือวันนี้เป็นอย่างไรบ้า ง รวมทั้งแจ้งเรื่องที่อาจจะต้องถอนตัวจากภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดก โลก ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็บอกว่าให้ดูตามสถานการณ์การเจรจาว่าเป็นอย่างไร ส่วนอำนาจการตัดสินใจนั้นเป็นอำนาจของตนเพราะที่ประชุม ครม. ได้มอบหมายหน้าที่ให้แล้ว
** เขมรอ้างเสียงหนุนแซงไทย 14ต่อ 7
เว็บไซต์ ฟิฟทีนมูฟ รายงานข่าวจากการรายงานของหนังสือพิมพ์กัมพูชาใหม่ ฉบับวันที่ 23 มิ.ย.2554 อ้างการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่รัฐบาลกัมพูชารายหนึ่ง ที่ไม่เปิดเผยชื่อ ระบุว่า ระเบียบวาระพิจารณาแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร ที่จะถูกนำขึ้นหารือในวันที่ 23 - 24 มิ.ย.นั้น กัมพูชาได้เปรียบกว่าไทย โดยกัมพูชาได้รับการแสดงความสนับสนุนจาก 14 ประเทศ ส่วนไทยได้รับการสนับสนุนเพียง 7 ประเทศ เท่านั้น ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่คนดังกล่าว ยังระบุว่า ฝ่ายไทยได้ขัดขวางอย่างหนักในการประชุม เพื่อขวางข้อเสนอของกัมพูชาที่ได้ยกขึ้น 8 ข้อ
สำหรับแผนบริหารจัดการ และกรณีการโจมตีจากไทย ที่นำไปสู่ความเสียหายของตัวปราสาทพระวิหาร เจ้าหน้าที่คนดังกล่าว ยังระบุอีกว่า ตามแหล่งข่าวอย่างไม่เป็นทางการ เปิดเผยว่า คณะกรรมการทั้ง 21 ประเทศ ได้สนับสนุนกัมพูชา 14 ประเทศ และอีก 7 ประเทศ สนับสนุนไทย ดังนั้น การแสดงความสนับสนุนนี้ได้ครอบคลุมเหนือกว่าการคัดค้านจากทางฝ่ายคณะตัวแทนไทย
**ไทยขอเสียงหนุนเป็นเจ้าภาพครั้งหน้า
นายสุวิทย์ กล่าวก่อนหน้าว่า ไทยจะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 36 ที่กรุงเทพมหานคร โดยขณะนี้ ต้องเดินหน้าขอเสียงสนับสนุนจากคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งขณะนี้มีประเทศที่เสนอตัวเป็นคู่แข่งกับไทย คือ กัมพูชา รัสเซีย และบาห์เรน ซึ่งเชื่อว่า วันที่ 27 มิ.ย.นี้ จะทราบผลการพิจารณา
**“ปานเทพ” เบรกสุวิทย์อย่าตกหลุมเขมร
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ฆากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึงความเคลื่อนไหวของนายสุวิทย์ คุณกิติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้เจรจาฝ่ายไทย ระบุว่าเตรียมแก้ไขร่างข้อตกลงระหว่างไทย-กัมพูชา โดยอาจยอมให้ฝ่ายกัมพูชาส่งทีมงานเข้ามาบูรณะปราสาทพระวิหาร ว่า เรื่องนี้เราทราบมาว่าฝ่ายไทยดูมีความลังเล เพราะว่าเป็นเรื่องที่น่าสงสัยว่ารัฐบาลไทยพยายามเจรจาให้กัพูชาเข้ามาบูรณะปฏิสังขรณ์ปราสาทพระวิหาร เพื่อแลกกับการเลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการให้พ้นรัฐบาลชุดนี้ไป หรือพ้นการเลือกตั้ง 3 ก.ค.นี้ไป เพียงแต่ปัดสวะให้พ้นปัญหา เพราะว่าเมื่อวันที่ 29 มิ.ย.53 นายสุวิทย์ไปงนามในร่างข้อตกลงยอมรับมติคณะกรรมการมรดกโลกย้อนหลังโดยไม่ฏิเสธ ทำให้มีการเดินหน้าในเรื่องแผนบริหารจัดการ ดังนั้นหากรัฐบาลไม่ถอนตัว ก็จะเป็นผลร้ายกับประเทศไทย และรัฐบาลกลัวว่าสิ่งที่ลงนามต่อเนื่องมามีผลให้ถูกอนุมัติแผนบริหารจัดการ จึงทำทุกวิถีทางขอให้เลื่อนไปด้ววิธีไหนก็ได้ หนึ่งในวิธีนั้นก็คือการยอมลงนามในข้อตกลงระหว่างไทยกับกัมพูชาที่ฝ่ายไทยยังไม่ยอมเปิดเผยในตอนนี้ โดยจะยอมให้มีผู้เข้ามาสังเกตการณ์และบูรณะปฏิสังขรณ์ปราสาทพระวิหาร
“สถานภาพของผู้ที่เข้าปฏิสังขรณ์นั้นเทียบชั้นกับผู้สังเกตการณ์จากต่างชาติ เข้ามาเมื่อไรฝ่ายไทยหมดสิ้นที่จะผลักดันกัมพูชาออกจากแผ่นดินไทยทันที โดยผู้ปฏิสังขรณ์จะอยู่ปะปนกับทหารและประชาชนกัมพูชาที่มาอยู่ในแผ่นดินไทยทั้งสิ้น เป็นเทคนิคในกทารสร้างโล่ห์กำบังของฝ่ายกัมพูชา เพื่อไม่ให้ทหารไทยผลักดันกัมพูชาออกจากดินแดนไทยเท่านั้น” นายปานเทพ ระบุ
**สมปอง"แนะไทยถอนตัว-ยูเนสโกอย่าจุ้น
นายสมปอง สุจริตกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต หนึ่งในทนายความผู้ทำคดีปราสาทพระวิหาร และอดีตที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญยูเนสโก เรื่องมรดกโลก กล่าวว่า ยูเนสโกในฐานะองค์กรระหว่างประเทศด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม ไม่ควรเข้ามาแทรกแซงปัญหาการปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา โดยเฉพาะการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่กรุงปารีส
ส่วนความคืบหน้าในการต่อสู้ในศาลโลกต่อกรณีข้อพิพาทไทย-กัมพูชานั้น ตนยืนยันว่ารัฐบาลต้องออกมาประกาศว่าไม่ยอมรับอำนาจศาลโลก ซึ่งจนถึงตอนนี้ก็ยังสามารถทำได้ ไม่ต้องรอให้มีคำวินิจฉัยออกมา และไม่ได้เป็นการเสียศักดิ์ศรีด้วย เพราะในความเป็นจริงเราปฏิเสธอำนาจของศาลโลกมาหลายสอบปีแล้ว รวมทั้งกรณีการช่วยเหลือนายวีระ สมความคิด และ น.ส.ราตรี พิพัฒาไพบูรณ์ ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำกัมพูชานั้น ตนไม่เข้าใจเหตุใดคนไทยไม่สามารถเดินในประเทศไทยได้ ที่สำคัญไปกว่านั้นรัฐบาลก็ไม่ทำหน้าที่คุ้มครองคนชาติไทย และไม่รู้แม้กระทั่งเขตแดนของชาติตัวเอง
คณะผู้แทนไทย ควรกล้าหาญพอที่จะถอนตัวออกจากคณะกรรมการมรดกโลก เพื่อแสดงท่าทีที่ไทยต้องการรักษาอธิปไตยบนผืนแผ่นดิน และไม่ยอมรับแผนที่อัตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ปราสาทพระวิหาร ที่ฝรั่งเศสเขียนไว้ ซึ่งศาลโลกพิพากษา เมื่อปี 2505
**มาร์คมั่นใจมรดกโลกเลื่อนเคาะแผนเขมร
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลยังไม่มีการพูดถึงเรื่องการถอนตัวออกจากการเป็นภาคีในคณะกรรมการมรดกโลก เพราะการประชุมถือว่าอยู่ในแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่คงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบในร่างมติข้ออื่นๆด้วย ซึ่งอาจจะมีผลในเรื่องของถ้อยคำว่าจะส่งผลกระทบอย่างไรหรือไม่ต่อประเทศไทย และในทางกลับกันเชื่อว่ากัมพูชาเองก็มีความกังวลในจุดนี้เช่นเดียวกันไทย
**เจอถามยังคิดจะช่วยวีระ-ราตรีหริอไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการลงพื้นที่หาเสียงที่สวนลุมพินีของนายอภิสิทธิ์ ได้พบกับหญิงวัยกลางคนหนึ่ง โดยหญิงวัยกลางคนดังกล่าวได้สอบถามถึงการให้ช่วยเหลือนายวีระ สมความคิด และนางสาวราตรี พิพัฒนาไพบูลย์ แกนนำเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ ที่ถูกจำคุกในเรือนจำประเทศกัมพูชา ว่ายังติดตามอยู่หรือไม่.
เมื่อเวลา 18.11 น. วานนี้ ( 24 มิ.ย.) ตามเวลาประเทศไทย หรือประมาณ 13.00 น.ตามเวลาประเทศฝรั่งเศส นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนการเจรจามรดกโลกฝ่ายไทย ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ด้วยน้ำเสียงเคร่งเครียดถึงความคืบหน้าการประชุมคณะ กรรมการมรดกโลกครั้งที่ 35 ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส ว่า วันนี้ได้มีการเจรจาถึงการหารือร่างข้อมติร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชาอีกครั้ง โดยมี ผอ.ศูนย์มรดกโลกร่วมด้วย ซึ่งทั้งไทยและกัมพูชาเสนอร่างขอมติร่วมเข้าไปคนละฉบับ แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ยังหามติร่วมกันไม่ได้ โดยเราเห็นว่าร่างข้อมติร่วมของทางฝ่ายกัมพูชาสุ่มเสี่ยงต่อการทำให้ไทยเสีย ดินแดนและอธิปไตย ดังนั้นนาย คีชอร์ ราว (Kishore Rao) ผอ.ศูนย์มรดกโลก จึงเสนอว่าขอเสนอร่างข้อมติร่วมของศูนย์มรดกโลกเข้าพิจารณาก่อน ซึ่งเราก็ขอดูร่างดังกล่าวก่อนแล้วพบว่าร่างของศูนย์มรดกโลกนี้ก็สุ่มเสี่ยง ต่อการสูญเสียดินแดนและอำนาจอธิปไตย จึงยืนยันว่าเราจะไม่รับร่างดังกล่าวนี้เช่นกัน และขอแสดงความเสียใจหากศูนย์มรดกโลกยังดันทุรังจะพิจารณาร่างมตินี้ พร้อมทั้งแสดงความเสียใจที่อาจจะต้องขอประกาศถอนตัวจากการเป็นภาคีอนุสัญญา ว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกด้วย จะทราบความชัดเจนอีกประมาณ 2 ชั่วโมงนับจากนี้ คือเวลา 15.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นในประเทศฝรั่งเศส ตรงกับเวลา 21.00 น. ของวันที่ 24 มิ.ย. ตามเวลาในประเทศไทย
ต่อมา เวลา 20.00 น. นายสุวิทย์ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์เพิ่มเติมถึงความคืบหน้าว่า อีกประมาณ 30 นาทีที่จะถึงนี้ จะเข้าไปพูดคุยกับที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก คาดว่าจะใช้เวลาราวอีก 1 ชั่วโมงจะทราบถึงข้อสรุปว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป อย่างไรก็ตามเมื่อช่วง 18.00 น. ที่ผ่านมา ได้โทรศัพท์ไปรายงานนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีแล้ว ว่าบรรยากาศการประชุมหารือวันนี้เป็นอย่างไรบ้า ง รวมทั้งแจ้งเรื่องที่อาจจะต้องถอนตัวจากภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดก โลก ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็บอกว่าให้ดูตามสถานการณ์การเจรจาว่าเป็นอย่างไร ส่วนอำนาจการตัดสินใจนั้นเป็นอำนาจของตนเพราะที่ประชุม ครม. ได้มอบหมายหน้าที่ให้แล้ว
** เขมรอ้างเสียงหนุนแซงไทย 14ต่อ 7
เว็บไซต์ ฟิฟทีนมูฟ รายงานข่าวจากการรายงานของหนังสือพิมพ์กัมพูชาใหม่ ฉบับวันที่ 23 มิ.ย.2554 อ้างการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่รัฐบาลกัมพูชารายหนึ่ง ที่ไม่เปิดเผยชื่อ ระบุว่า ระเบียบวาระพิจารณาแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร ที่จะถูกนำขึ้นหารือในวันที่ 23 - 24 มิ.ย.นั้น กัมพูชาได้เปรียบกว่าไทย โดยกัมพูชาได้รับการแสดงความสนับสนุนจาก 14 ประเทศ ส่วนไทยได้รับการสนับสนุนเพียง 7 ประเทศ เท่านั้น ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่คนดังกล่าว ยังระบุว่า ฝ่ายไทยได้ขัดขวางอย่างหนักในการประชุม เพื่อขวางข้อเสนอของกัมพูชาที่ได้ยกขึ้น 8 ข้อ
สำหรับแผนบริหารจัดการ และกรณีการโจมตีจากไทย ที่นำไปสู่ความเสียหายของตัวปราสาทพระวิหาร เจ้าหน้าที่คนดังกล่าว ยังระบุอีกว่า ตามแหล่งข่าวอย่างไม่เป็นทางการ เปิดเผยว่า คณะกรรมการทั้ง 21 ประเทศ ได้สนับสนุนกัมพูชา 14 ประเทศ และอีก 7 ประเทศ สนับสนุนไทย ดังนั้น การแสดงความสนับสนุนนี้ได้ครอบคลุมเหนือกว่าการคัดค้านจากทางฝ่ายคณะตัวแทนไทย
**ไทยขอเสียงหนุนเป็นเจ้าภาพครั้งหน้า
นายสุวิทย์ กล่าวก่อนหน้าว่า ไทยจะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 36 ที่กรุงเทพมหานคร โดยขณะนี้ ต้องเดินหน้าขอเสียงสนับสนุนจากคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งขณะนี้มีประเทศที่เสนอตัวเป็นคู่แข่งกับไทย คือ กัมพูชา รัสเซีย และบาห์เรน ซึ่งเชื่อว่า วันที่ 27 มิ.ย.นี้ จะทราบผลการพิจารณา
**“ปานเทพ” เบรกสุวิทย์อย่าตกหลุมเขมร
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ฆากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึงความเคลื่อนไหวของนายสุวิทย์ คุณกิติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้เจรจาฝ่ายไทย ระบุว่าเตรียมแก้ไขร่างข้อตกลงระหว่างไทย-กัมพูชา โดยอาจยอมให้ฝ่ายกัมพูชาส่งทีมงานเข้ามาบูรณะปราสาทพระวิหาร ว่า เรื่องนี้เราทราบมาว่าฝ่ายไทยดูมีความลังเล เพราะว่าเป็นเรื่องที่น่าสงสัยว่ารัฐบาลไทยพยายามเจรจาให้กัพูชาเข้ามาบูรณะปฏิสังขรณ์ปราสาทพระวิหาร เพื่อแลกกับการเลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการให้พ้นรัฐบาลชุดนี้ไป หรือพ้นการเลือกตั้ง 3 ก.ค.นี้ไป เพียงแต่ปัดสวะให้พ้นปัญหา เพราะว่าเมื่อวันที่ 29 มิ.ย.53 นายสุวิทย์ไปงนามในร่างข้อตกลงยอมรับมติคณะกรรมการมรดกโลกย้อนหลังโดยไม่ฏิเสธ ทำให้มีการเดินหน้าในเรื่องแผนบริหารจัดการ ดังนั้นหากรัฐบาลไม่ถอนตัว ก็จะเป็นผลร้ายกับประเทศไทย และรัฐบาลกลัวว่าสิ่งที่ลงนามต่อเนื่องมามีผลให้ถูกอนุมัติแผนบริหารจัดการ จึงทำทุกวิถีทางขอให้เลื่อนไปด้ววิธีไหนก็ได้ หนึ่งในวิธีนั้นก็คือการยอมลงนามในข้อตกลงระหว่างไทยกับกัมพูชาที่ฝ่ายไทยยังไม่ยอมเปิดเผยในตอนนี้ โดยจะยอมให้มีผู้เข้ามาสังเกตการณ์และบูรณะปฏิสังขรณ์ปราสาทพระวิหาร
“สถานภาพของผู้ที่เข้าปฏิสังขรณ์นั้นเทียบชั้นกับผู้สังเกตการณ์จากต่างชาติ เข้ามาเมื่อไรฝ่ายไทยหมดสิ้นที่จะผลักดันกัมพูชาออกจากแผ่นดินไทยทันที โดยผู้ปฏิสังขรณ์จะอยู่ปะปนกับทหารและประชาชนกัมพูชาที่มาอยู่ในแผ่นดินไทยทั้งสิ้น เป็นเทคนิคในกทารสร้างโล่ห์กำบังของฝ่ายกัมพูชา เพื่อไม่ให้ทหารไทยผลักดันกัมพูชาออกจากดินแดนไทยเท่านั้น” นายปานเทพ ระบุ
**สมปอง"แนะไทยถอนตัว-ยูเนสโกอย่าจุ้น
นายสมปอง สุจริตกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต หนึ่งในทนายความผู้ทำคดีปราสาทพระวิหาร และอดีตที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญยูเนสโก เรื่องมรดกโลก กล่าวว่า ยูเนสโกในฐานะองค์กรระหว่างประเทศด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม ไม่ควรเข้ามาแทรกแซงปัญหาการปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา โดยเฉพาะการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่กรุงปารีส
ส่วนความคืบหน้าในการต่อสู้ในศาลโลกต่อกรณีข้อพิพาทไทย-กัมพูชานั้น ตนยืนยันว่ารัฐบาลต้องออกมาประกาศว่าไม่ยอมรับอำนาจศาลโลก ซึ่งจนถึงตอนนี้ก็ยังสามารถทำได้ ไม่ต้องรอให้มีคำวินิจฉัยออกมา และไม่ได้เป็นการเสียศักดิ์ศรีด้วย เพราะในความเป็นจริงเราปฏิเสธอำนาจของศาลโลกมาหลายสอบปีแล้ว รวมทั้งกรณีการช่วยเหลือนายวีระ สมความคิด และ น.ส.ราตรี พิพัฒาไพบูรณ์ ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำกัมพูชานั้น ตนไม่เข้าใจเหตุใดคนไทยไม่สามารถเดินในประเทศไทยได้ ที่สำคัญไปกว่านั้นรัฐบาลก็ไม่ทำหน้าที่คุ้มครองคนชาติไทย และไม่รู้แม้กระทั่งเขตแดนของชาติตัวเอง
คณะผู้แทนไทย ควรกล้าหาญพอที่จะถอนตัวออกจากคณะกรรมการมรดกโลก เพื่อแสดงท่าทีที่ไทยต้องการรักษาอธิปไตยบนผืนแผ่นดิน และไม่ยอมรับแผนที่อัตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ปราสาทพระวิหาร ที่ฝรั่งเศสเขียนไว้ ซึ่งศาลโลกพิพากษา เมื่อปี 2505
**มาร์คมั่นใจมรดกโลกเลื่อนเคาะแผนเขมร
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลยังไม่มีการพูดถึงเรื่องการถอนตัวออกจากการเป็นภาคีในคณะกรรมการมรดกโลก เพราะการประชุมถือว่าอยู่ในแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่คงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบในร่างมติข้ออื่นๆด้วย ซึ่งอาจจะมีผลในเรื่องของถ้อยคำว่าจะส่งผลกระทบอย่างไรหรือไม่ต่อประเทศไทย และในทางกลับกันเชื่อว่ากัมพูชาเองก็มีความกังวลในจุดนี้เช่นเดียวกันไทย
**เจอถามยังคิดจะช่วยวีระ-ราตรีหริอไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการลงพื้นที่หาเสียงที่สวนลุมพินีของนายอภิสิทธิ์ ได้พบกับหญิงวัยกลางคนหนึ่ง โดยหญิงวัยกลางคนดังกล่าวได้สอบถามถึงการให้ช่วยเหลือนายวีระ สมความคิด และนางสาวราตรี พิพัฒนาไพบูลย์ แกนนำเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ ที่ถูกจำคุกในเรือนจำประเทศกัมพูชา ว่ายังติดตามอยู่หรือไม่.