ผมรู้สึกงงมากที่นักวิชาการ นักวิชาเกิน นักกฎหมายบางคนออกมาเขียนแสดงความคิดเห็นว่า โหวตโนเป็นคะแนนเสียเปล่า ไม่มีความหมายอะไร ถ้าไม่มีความหมายจริง แล้วกฎหมายจะกำหนดให้มีช่องนี้ไว้ทำไมในบัตรเลือกตั้ง เมื่อคราวที่พรรคไทยรักไทยถูกพรรคการเมืองอื่นบอยคอตไม่ลงเลือกตั้งนั้น เรารู้กันว่า ถ้าผู้สมัครคนเดียวได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 ของผู้สมัคร ก็จะถือว่าผู้นั้นไม่ได้รับเลือกตั้ง กกต.ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ แต่ก็ไม่มีใครพูดถึงคะแนนในช่องที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลย
แต่ใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิก พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติถึงเรื่องคะแนนในช่องที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนไว้ในมาตรา 88 โดยมีสาระว่า
ในเขตเลือกตั้งใด ถ้าในวันเลือกตั้งมีผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเท่ากันหรือน้อยกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่จะพึงมีในเขตเลือกตั้งนั้น (เลือกตั้งแบบพวง 3 คนหนึ่งเขต) ผู้สมัครจะได้รับเลือกตั้ง ต่อเมื่อได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น และมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์ลงคะแนนเลือกตั้ง ในกรณีที่ผู้สมัครผู้ใดได้รับคะแนนเลือกตั้งน้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในเขตเลือกตั้งนั้นหรือ ไม่มากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนน ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยให้รับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทนี้ใหม่
ในมาตรา 89 ก็ให้ใช้เกณฑ์เดียวกับมาตรา 88 โดยบัญญัติว่า “ภายใต้บังคับมาตรา 88”
ต่อมามีการยกเลิก 2 มาตราดังกล่าว โดย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อ 14 พฤษภาคม 2554 เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญที่แก้ไขใหม่ โดยรัฐบาลที่ผ่านมา แต่ข้อความที่แก้ไขใหม่ ในกรณีความสำคัญของจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนยังอยู่เหมือนเดิม
เมื่ออ่านรายละเอียดในข้อกฎหมาย 2 มาตรานี้ แปลได้ว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.เขตทุกคน ต้องอ่านเกณฑ์ได้คะแนนเลือกตั้งเกินกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้น และต้องได้คะแนนมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนด้วย จึงจะได้รับการประกาศให้เป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง แม้คะแนนของผู้นั้นจะเท่ากับจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนก็ตาม
เพราะฉะนั้น จำนวนของบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนน จึงมีความสำคัญที่จะสกัดกั้นผู้สมัครรับเลือกตั้งมิให้ได้รับเลือกเป็น ส.ส.ได้ เพราะในความเป็นจริงการกาในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง (หรือโหวตโน) เป็นประชามติของมหาชน ซึ่งกฎหมายก็ต้องให้ความสำคัญ เรื่องนี้ผู้เขียนอยากจะโทษ กกต.ที่ไม่ให้ความกระจ่างแก่ประชาชนในเรื่องนี้ ไม่รู้ว่าท่านมัวทำอะไรกันอยู่ จึงไม่เอาข้อกฎหมายดังกล่าวให้ความรู้กับประชาชนให้เข้าใจโดยทั่วกัน หรือสงสัยว่าท่านเหล่านั้น ได้อ่านกฎหมายทั่วถึงหรือเปล่า ทั้งๆ ที่ท่านเหล่านั้นมีหน้าที่ในการจัดการเลือกตั้ง อยากให้ กกต.ออกมาทำความกระจ่างในเรื่องนี้ด้วย
ต้องขอขอบคุณคุณอนุรักษ์ อย่างมากที่ได้จุดประกายในเรื่องนี้ จนทำให้ผู้เขียนต้องค้นหาความจริงมาเผยแพร่ และขอยืนยันว่า ความเห็นของคุณอนุรักษ์ถูกต้องที่มาตรา 89 ต้องใช้มาตรา 88 ด้วย ไม่จำเป็นต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความอีก เพราะความหมายชัดอยู่ในตัวแล้ว เพราะผู้เขียนเองก็ทำหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมายมาแล้วเป็นจำนวนมากในการเป็นกรรมการกฤษฎีกามากว่าสิบปีแล้ว
แต่ใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิก พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติถึงเรื่องคะแนนในช่องที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนไว้ในมาตรา 88 โดยมีสาระว่า
ในเขตเลือกตั้งใด ถ้าในวันเลือกตั้งมีผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเท่ากันหรือน้อยกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่จะพึงมีในเขตเลือกตั้งนั้น (เลือกตั้งแบบพวง 3 คนหนึ่งเขต) ผู้สมัครจะได้รับเลือกตั้ง ต่อเมื่อได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น และมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์ลงคะแนนเลือกตั้ง ในกรณีที่ผู้สมัครผู้ใดได้รับคะแนนเลือกตั้งน้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในเขตเลือกตั้งนั้นหรือ ไม่มากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนน ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยให้รับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทนี้ใหม่
ในมาตรา 89 ก็ให้ใช้เกณฑ์เดียวกับมาตรา 88 โดยบัญญัติว่า “ภายใต้บังคับมาตรา 88”
ต่อมามีการยกเลิก 2 มาตราดังกล่าว โดย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อ 14 พฤษภาคม 2554 เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญที่แก้ไขใหม่ โดยรัฐบาลที่ผ่านมา แต่ข้อความที่แก้ไขใหม่ ในกรณีความสำคัญของจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนยังอยู่เหมือนเดิม
เมื่ออ่านรายละเอียดในข้อกฎหมาย 2 มาตรานี้ แปลได้ว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.เขตทุกคน ต้องอ่านเกณฑ์ได้คะแนนเลือกตั้งเกินกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้น และต้องได้คะแนนมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนด้วย จึงจะได้รับการประกาศให้เป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง แม้คะแนนของผู้นั้นจะเท่ากับจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนก็ตาม
เพราะฉะนั้น จำนวนของบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนน จึงมีความสำคัญที่จะสกัดกั้นผู้สมัครรับเลือกตั้งมิให้ได้รับเลือกเป็น ส.ส.ได้ เพราะในความเป็นจริงการกาในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง (หรือโหวตโน) เป็นประชามติของมหาชน ซึ่งกฎหมายก็ต้องให้ความสำคัญ เรื่องนี้ผู้เขียนอยากจะโทษ กกต.ที่ไม่ให้ความกระจ่างแก่ประชาชนในเรื่องนี้ ไม่รู้ว่าท่านมัวทำอะไรกันอยู่ จึงไม่เอาข้อกฎหมายดังกล่าวให้ความรู้กับประชาชนให้เข้าใจโดยทั่วกัน หรือสงสัยว่าท่านเหล่านั้น ได้อ่านกฎหมายทั่วถึงหรือเปล่า ทั้งๆ ที่ท่านเหล่านั้นมีหน้าที่ในการจัดการเลือกตั้ง อยากให้ กกต.ออกมาทำความกระจ่างในเรื่องนี้ด้วย
ต้องขอขอบคุณคุณอนุรักษ์ อย่างมากที่ได้จุดประกายในเรื่องนี้ จนทำให้ผู้เขียนต้องค้นหาความจริงมาเผยแพร่ และขอยืนยันว่า ความเห็นของคุณอนุรักษ์ถูกต้องที่มาตรา 89 ต้องใช้มาตรา 88 ด้วย ไม่จำเป็นต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความอีก เพราะความหมายชัดอยู่ในตัวแล้ว เพราะผู้เขียนเองก็ทำหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมายมาแล้วเป็นจำนวนมากในการเป็นกรรมการกฤษฎีกามากว่าสิบปีแล้ว