วานนี้(13 มิ.ย.) ว่าที่ ร.ต.ดร.สุรชัย กังวล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดเผยว่า แม่โจ้โพล สำรวจความคิดเห็นของเกษตรกรทั่วประเทศ หัวข้อ “เลือกตั้งใหม่ความหวังเกษตรกรไทยจริงหรือ” ระหว่างวันที่ 9 พฤษภาคม - 9 มิถุนายน โดยผลโพลพบว่าเกษตรกรกว่าร้อยละ 96.4 ยันยืนจะออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งตามหน้าที่ของพลเมืองที่ดี แต่ร้อยละ 3.4 ยืนยันจะไม่ไปใช้สิทธิ์ เหตุเบื่อหน่ายการเมืองและไม่สะดวกในการเดินทางกลับไปเลือกตั้ง
สำหรับคุณสมบัติของผู้นำประเทศที่เกษตรกรต้องการนั้นร้อยละ 41.5 ระบุว่าต้องการคนดี มีคุณธรรม ซื่อสัตย์และโปร่งใส รองลงมาร้อยละ 19.6 ต้องการคนที่มีความรู้ ความสามารถ มองการณ์ไกล และร้อยละ 18.1 ต้องการคนที่มีความเข้าใจปัญหาของเกษตรกรอย่างแท้จริง มีความตั้งใจจริงในการช่วยพัฒนาการเกษตร ขณะที่ร้อยละ 17.0 ส่วนนโยบายทางการเกษตรที่ต้องการนั้นเกษตรกรร้อยละ 58.3 คิดว่าเป็นนโยบายการเกษตรนโยบายใดก็ได้ที่สามารถนำมาใช้ได้จริงรวมถึงก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรทุกกลุ่ม ขณะที่ร้อยละ 41.7 ไม่แสดงความเห็น
ขณะเดียวกันเกษตรกรร้อยละ 54.3 เห็นว่านโยบายที่ประกาศออกมาเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรเพียงบางกลุ่ม รองลงมาร้อยละ 16.4 เห็นว่าควรมีการปรับปรุง เพราะ ไม่มีนโยบายที่เน้นการช่วยเหลือเกษตรกรอย่างจริงจัง และร้อยละ 14.8 ไม่มีความพึงพอใจต่อนโยบายการเกษตรของพรรคการเมือง เพราะไม่สามารถนำมาใช้ได้จริง แต่ร้อยละ 14.5 ระบุว่าพอใจมาก เชื่อมั่นว่าพรรคการเมืองที่จะเลือกเข้ามามีความตั้งใจที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาของเกษตรกรอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ เมื่อสอบถามถึงความคาดหวังรัฐบาลใหม่จะเป็นที่พึ่งให้กับเกษตรกรนั้นพบว่าร้อยละ 51.8 ระบุว่ายังไม่แน่ใจ เนื่องจากยังไม่ทราบแน่ชัดว่าพรรคใดจะได้มาเป็นรัฐบาล ส่วนร้อยละ 39.4 ระบุว่าสามารถเป็นที่พึ่งได้ เชื่อมั่นว่ารัฐบาลใหม่จะมีความตั้งใจในการทำตามนโยบายที่เสนอไว้ มีเพียงร้อยละ 8.8 เท่านั้นที่เห็นว่าพึ่งไม่ได้ เพราะการเกษตรเป็นปัญหาที่สะสมมานาน ยากที่จะแก้ไขได้ และพรรคการเมืองไม่ให้ความสำคัญต่อนโยบายการพัฒนาทางการเกษตร
ว่าที่ ร.ต.ดร.สุรชัย กล่าวต่ออีกว่า เกษตรกรร้อยละ 63.6 เห็นว่าต้องการให้มีนโยบายที่พัฒนาการเกษตรที่จริงจังมากกว่านี้ มีการรับฟังปัญหาและเข้าใจความต้องการของเกษตรกร ร้อยละ 24.3 ต้องการให้มีการช่วยเหลือด้านราคาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร เพื่อช่วยลดต้นทุนให้กับเกษตรกร ขณะที่ร้อยละ 12.0 ต้องการให้ช่วยเหลือด้านการพัฒนาคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรให้ดียิ่งขึ้น พัฒนาแหล่งน้ำชลประทาน การจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรตลอดจนการช่วยเหลือเกษตรกร เมื่อประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ
สำหรับคุณสมบัติของผู้นำประเทศที่เกษตรกรต้องการนั้นร้อยละ 41.5 ระบุว่าต้องการคนดี มีคุณธรรม ซื่อสัตย์และโปร่งใส รองลงมาร้อยละ 19.6 ต้องการคนที่มีความรู้ ความสามารถ มองการณ์ไกล และร้อยละ 18.1 ต้องการคนที่มีความเข้าใจปัญหาของเกษตรกรอย่างแท้จริง มีความตั้งใจจริงในการช่วยพัฒนาการเกษตร ขณะที่ร้อยละ 17.0 ส่วนนโยบายทางการเกษตรที่ต้องการนั้นเกษตรกรร้อยละ 58.3 คิดว่าเป็นนโยบายการเกษตรนโยบายใดก็ได้ที่สามารถนำมาใช้ได้จริงรวมถึงก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรทุกกลุ่ม ขณะที่ร้อยละ 41.7 ไม่แสดงความเห็น
ขณะเดียวกันเกษตรกรร้อยละ 54.3 เห็นว่านโยบายที่ประกาศออกมาเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรเพียงบางกลุ่ม รองลงมาร้อยละ 16.4 เห็นว่าควรมีการปรับปรุง เพราะ ไม่มีนโยบายที่เน้นการช่วยเหลือเกษตรกรอย่างจริงจัง และร้อยละ 14.8 ไม่มีความพึงพอใจต่อนโยบายการเกษตรของพรรคการเมือง เพราะไม่สามารถนำมาใช้ได้จริง แต่ร้อยละ 14.5 ระบุว่าพอใจมาก เชื่อมั่นว่าพรรคการเมืองที่จะเลือกเข้ามามีความตั้งใจที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาของเกษตรกรอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ เมื่อสอบถามถึงความคาดหวังรัฐบาลใหม่จะเป็นที่พึ่งให้กับเกษตรกรนั้นพบว่าร้อยละ 51.8 ระบุว่ายังไม่แน่ใจ เนื่องจากยังไม่ทราบแน่ชัดว่าพรรคใดจะได้มาเป็นรัฐบาล ส่วนร้อยละ 39.4 ระบุว่าสามารถเป็นที่พึ่งได้ เชื่อมั่นว่ารัฐบาลใหม่จะมีความตั้งใจในการทำตามนโยบายที่เสนอไว้ มีเพียงร้อยละ 8.8 เท่านั้นที่เห็นว่าพึ่งไม่ได้ เพราะการเกษตรเป็นปัญหาที่สะสมมานาน ยากที่จะแก้ไขได้ และพรรคการเมืองไม่ให้ความสำคัญต่อนโยบายการพัฒนาทางการเกษตร
ว่าที่ ร.ต.ดร.สุรชัย กล่าวต่ออีกว่า เกษตรกรร้อยละ 63.6 เห็นว่าต้องการให้มีนโยบายที่พัฒนาการเกษตรที่จริงจังมากกว่านี้ มีการรับฟังปัญหาและเข้าใจความต้องการของเกษตรกร ร้อยละ 24.3 ต้องการให้มีการช่วยเหลือด้านราคาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร เพื่อช่วยลดต้นทุนให้กับเกษตรกร ขณะที่ร้อยละ 12.0 ต้องการให้ช่วยเหลือด้านการพัฒนาคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรให้ดียิ่งขึ้น พัฒนาแหล่งน้ำชลประทาน การจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรตลอดจนการช่วยเหลือเกษตรกร เมื่อประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ