ASTVผู้จัดการรายวัน – คลังเผยยอดหนี้สาธารณะสิ้นมี.ค.ลดลงกว่า 1.12 หมื่นล้านบาท คงเหลือ 41.28% ของจีดีพี
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง วันที่ 31 มี.ค.ที่ผ่านมา มีทั้งสิ้น 4.24 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 41.28% ของจีดีพี เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า ลดลงสุทธิ 1.12 หมื่นล้านบาท โดยเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2.98 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 673.22 ล้านบาท หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(FIDF) 3.10 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 474.38 ล้านบาท
ขณะที่หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1.065 ล้านล้านบาท ลดลง 1.21 หมื่นล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน 1.60 แสนล้านบาท ลดลง 308.81 ล้านบาท ส่วนหน่วยงานอื่นของรัฐนั้นไม่มีหนี้คงค้าง
สำหรับหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงในประเทศที่สำคัญ เพิ่มขึ้นจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 2.45 หมื่นล้านบาท ไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง 2.1 หมื่นล้านบาท ส่วนหนี้ที่กู้จากต่างประเทศลดลง 1,211.27 ล้านบาท เมื่อคิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐ ลดลง 21.30 ล้านเหรียญสหรัฐ จากผลจากอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินเหรียญสหรัฐลดลง 19.62 ล้านเหรียญสหรัฐ, สกุลเงินเหรียญแคนาดาได้มีการชำระคืน 0.42 ล้านเหรียญแคนาดา หรือ 0.44 ล้านเหรียญสหรัฐ, สกุลเงินเยนได้ชำระคืน 49.83 ล้านเยน หรือ 0.60 ล้านเหรียญสหรัฐ และสกุลเงินเหรียญสหรัฐได้ชำระคืน 0.64 ล้านเหรียญสหรัฐ
โดยหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินลดลงจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ไถ่ถอนพันธบัตร 5,000 ล้านบาท 2,000 ล้านบาท และ 1,000 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่การประปาส่วนภูมิภาคได้ออกพันธบัตร 800 ล้านบาท
ส่วนหนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันลดลงจากเดือนก่อน 1,464.99 ล้านบาท เมื่อคิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐ ลดลง 3 ล้านเหรียญสหรัฐ จากผลจากอัตราแลกเปลี่ยน.
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง วันที่ 31 มี.ค.ที่ผ่านมา มีทั้งสิ้น 4.24 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 41.28% ของจีดีพี เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า ลดลงสุทธิ 1.12 หมื่นล้านบาท โดยเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2.98 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 673.22 ล้านบาท หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(FIDF) 3.10 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 474.38 ล้านบาท
ขณะที่หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1.065 ล้านล้านบาท ลดลง 1.21 หมื่นล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน 1.60 แสนล้านบาท ลดลง 308.81 ล้านบาท ส่วนหน่วยงานอื่นของรัฐนั้นไม่มีหนี้คงค้าง
สำหรับหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงในประเทศที่สำคัญ เพิ่มขึ้นจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 2.45 หมื่นล้านบาท ไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง 2.1 หมื่นล้านบาท ส่วนหนี้ที่กู้จากต่างประเทศลดลง 1,211.27 ล้านบาท เมื่อคิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐ ลดลง 21.30 ล้านเหรียญสหรัฐ จากผลจากอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินเหรียญสหรัฐลดลง 19.62 ล้านเหรียญสหรัฐ, สกุลเงินเหรียญแคนาดาได้มีการชำระคืน 0.42 ล้านเหรียญแคนาดา หรือ 0.44 ล้านเหรียญสหรัฐ, สกุลเงินเยนได้ชำระคืน 49.83 ล้านเยน หรือ 0.60 ล้านเหรียญสหรัฐ และสกุลเงินเหรียญสหรัฐได้ชำระคืน 0.64 ล้านเหรียญสหรัฐ
โดยหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินลดลงจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ไถ่ถอนพันธบัตร 5,000 ล้านบาท 2,000 ล้านบาท และ 1,000 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่การประปาส่วนภูมิภาคได้ออกพันธบัตร 800 ล้านบาท
ส่วนหนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันลดลงจากเดือนก่อน 1,464.99 ล้านบาท เมื่อคิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐ ลดลง 3 ล้านเหรียญสหรัฐ จากผลจากอัตราแลกเปลี่ยน.