ASTVผู้จัดการรายวัน - เปิดความเห็นอัยการสูงสุด 6 สัญญาโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่ระหว่างกลุ่มทรูกับบริษัท กสท โทรคมนาคม ยันสัญญาทั้ง 6 ฉบับเป็นไปตามกฎหมาย ไม่ขัดพ.ร.บ. กสทช. มาตรา 46 และไม่ขัดต่อพ.ร.บ.ร่วมทุนฯปี 2535 รวมทั้งเป็นไปตามความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดทุกประการ
ประเด็นปัญหาการเซ็นสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่ระหว่างกลุ่มบริษัททรู กับบริษัท กสท โทรคมนาคม รวมสัญญา 6 ฉบับ กำลังเป็นที่ถกเถียงในวงกว้างและวิพากษ์วิจารณ์ จนเลยขอบเขตความถูกต้องในแง่ข้อกฎหมาย
ในขณะที่กลุ่มบริษัท ทรู และกสท รวมทั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) รวมทั้งอัยการสูงสุด ต่างเห็นตรงกันว่า สัญญาทั้งหมดถูกทำขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมายและพร้อมให้มีการตรวจสอบอย่างเต็มที่
สิ่งที่สังคมควรถามหาความจริงก่อนถูกชี้นำด้วยความเข้าใจที่ผิด คือ อัยการสูงสุดมีความเห็นเกี่ยวกับสัญญาทั้ง 6 ฉบับอย่างไร เพราะก่อนที่จะก้าวล่วงไปสู่ประเด็นอื่นๆ ต้องพิจารณาว่าทั้ง 6 สัญญาถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เพราะหากผิดกฎหมาย หรือ ไม่ถูกต้องจริงๆแล้ว ก็ป่วยการที่จะตามล้างตามเช็ดในประเด็นอื่นๆตามมา
*** 6 สัญญาไม่ขัดกับกฎหมาย
กสท ได้จัดส่งร่างสัญญาให้อัยการสูงสุดตรวจพิจารณา ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2553 และส่งร่างสัญญาฉบับปรับปรุงใหม่แทนฉบับที่ได้จัดส่งไปแล้วก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2554 เนื่องจากได้มีการเจรจาเพิ่มเติมกับกลุ่มบริษัท ทรูและเพื่อให้การตรวจพิจารณาร่างสัญญาของอัยการอยู่บนร่างฉบับล่าสุดซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดได้ตรวจพิจารณาร่างสัญญาและจัดส่งให้ กสท แล้วเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2554โดยไม่มีข้อทักท้วงหรือข้อสังเกตที่มีสาระสำคัญซึ่งรวมถึงไม่ได้มีข้อทักท้วงว่ามีการฝ่าฝืนกฎหมายใดๆ กสท. จึงได้พิจารณาลงนามในสัญญาโดยภายหลังการลงนามสัญญา กรรมการผู้จัดการใหญ่ได้แจ้งให้คณะกรรมการ กสท ทราบในการประชุมครั้งที่ 2/2554 วันที่ 28 มกราคม 2554 แล้ว
ทั้งนี้ สัญญาทั้ง 6 ฉบับที่สำนักงานอัยการสูงสุดได้พิจารณาประกอบด้วย
***สัญญาที่1 ไม่เข้าพ.ร.บ.ร่วมทุนฯปี35
สัญญาที่หนึ่ง สัญญาเช่าโครงข่ายโทรคมนาคมเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ HSPA ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายและตามความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว
เนื่องจาก 1.สัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมและเสาโทรคมนาคม (โดย กสท เป็นผู้เช่าและบริษัท BFKT เป็นผู้ให้เช่า) เป็นสัญญาให้เช่า เปลี่ยน ซ่อมแซม และ บำรุงรักษา อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคมทั่วประเทศและเสาโทรคมนาคมและระบบสื่อสัญญาณ ในส่วนกลาง 25 จังหวัด (ในระหว่างที่ กสท ยังไม่ได้ซื้อเสาโทรคมนาคมและระบบสื่อสัญญาณในส่วนกลางจากบริษัท BFKT) เพื่อให้โครงข่ายของ กสท มีความสามารถรองรับความต้องการใช้งานและมีคุณภาพการให้บริการเป็นไปตามที่กสทต้องการ
โดยกสท จะจ่ายค่าเช่าใช้อุปกรณ์เป็นการตอบแทน ซึ่งสัญญานี้มีลักษณะเป็นสัญญาเช่าที่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ระเบียบว่าด้วยการพัสดุของ กสท มิใช่เป็นการที่เอกชน เข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐกับ ตามบทนิยาม 'ร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ' และไม่อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯปี 2535)
2.สัญญารูปแบบใหม่เป็นไปตามระเบียบพัสดุของกสท แล้ว เนื่องจากในกรณีของการเช่า เครื่องหรืออุปกรณ์โทรคมนาคมทุกชนิดกสท สามารถดำเนินการได้โดยการตกลงราคา ตามระเบียบพัสดุ กสท ข้อ 85(4)(5) และข้อ 86 ซึ่งในกรณีนี้ กสท สามารถใช้วิธีตกลงราคาได้ตามระเบียบที่กล่าวถึง
*** สัญญาที่ 2 ไม่ขัดพ.ร.บ. กสทช. มาตรา 46
สัญญาที่ 2 สัญญาบริการขายส่งบริการบนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ HSPA เป็นไปตามกฎหมายและตามความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว
เนื่องจาก 1.สัญญาบริการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ลักษณะเป็นสัญญาขายส่งบริการโทรคมนาคม ตามประกาศ กทช. เรื่อง การประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทขายส่งบริการและบริการขายต่อบริการ พ.ศ. 2549 (ประกาศขายส่งและขายต่อบริการฯ) ซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา มีคำวินิจฉัยเรื่องเสร็จที่ 368/2551ว่าเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมในลักษณะที่เป็นผู้ให้บริการด้านกิจการโทรคมนาคมแก่บุคคลอื่นทั่วไป จึงมิใช่เป็นการที่เอกชน เข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ ตามบทนิยาม 'ร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ' และไม่อยู่ภายใต้บังคับพ.ร.บ.ร่วมทุนฯปี 2535
2.การดำเนินธุรกิจ HSPA ในรูปแบบใหม่นี้ กสท ในฐานะผู้ขายส่งบริการเป็นผู้ใช้คลื่นความถี่วิทยุคมนาคมด้วยตนเอง โดย กสท มิได้มอบให้เอกชนผู้ขายต่อบริการใช้คลื่นความถี่วิทยุคมนาคมแทน กสท หรือร่วมใช้คลื่นความถี่กับ กสท แต่อย่างใด เพราะเอกชนผู้ขายต่อบริการทำหน้าที่เพียงเป็นผู้รับซื้อปริมาณความจุในโครงข่าย HSPA เพื่อนำไปขายต่อในลักษณะบริการสำเร็จรูปต่อประชาชนผู้ใช้บริการเป็นการทั่วไปเท่านั้น
3.รูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่ เป็นกรณีที่ กสท ขายส่งความจุของระบบ (Capacity) ให้แก่ผู้ให้บริการขายต่อตามประกาศ กทช. เรื่อง การประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทการขายส่งบริการและบริการขายต่อบริการพ.ศ.2549 ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่โดยชอบด้วยกฎหมาย โดยอาศัยอำนาจของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 และอาศัยอำนาจของมาตรา 95 แห่ง พรบ.กสทช ที่กำหนดให้ประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2543ซึ่งชอบด้วยกฎหมายและมีผลใช้บังคับอยู่ยังคงใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ พรบ.กสทช นี้
ประกอบกับเป็นกรณีที่ กสท ใช้คลื่นความถี่เอง โดย กสท เป็นผู้ขออนุญาตตั้งใช้สถานีวิทยุคมนาคม จึงเป็นการประกอบกิจการด้วยตนเอง มิได้เป็นการมอบสิทธิให้ผู้อื่นบริหารจัดการบางส่วนหรือทั้งหมด หรือมอบให้ผู้อื่นประกอบกิจการแทนแต่ประการใด จึงไม่ขัดต่อ พ.ร.บ. กสทช. มาตรา 46
4.สัญญาขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีลักษณะเป็นสัญญาให้บริการโทรคมนาคมกับผู้ให้บริการทั่วไป จึงเป็นการดำเนินธุรกิจอันเป็นปกติธุระของ กสท ในการให้บริการโทรคมนาคม เช่นเดียวกับ กรณี กสท ขายส่งบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศให้แก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศซึ่งไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง หรือ กรณี ที่ กสท ขายส่งบริการชุมสายอินเทอร์เน็ต (International Internet Gateway : IIG ) ให้แก่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตซึ่งไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง
ดังนั้น การอนุมัติเงื่อนไขสัญญาจึงเป็นอำนาจของ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ตามคู่มือผู้บริหาร เรื่อง อำนาจอนุมัติเพื่อดำเนินการ หมวดที่ 4 เรื่องการให้บริการและการตลาด ลำดับที่ 19 การกำหนดเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขให้บริการ ทั้งนี้ การประกอบธุรกิจขายส่งของ กสท ในลักษณะนี้เป็นการดำเนินธุรกิจตามปกติของ กสท ให้แก่บุคคลทั่วไป จึงไม่ใช่การให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินกิจการของรัฐแต่อย่างใด
5.กสท ได้นำส่งสัญญาบริการขายส่งบริการฉบับที่ลงนามเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2554 ให้สำนักงาน กสทช.แล้วตามหนังสือลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามข้อ 15 ของประกาศขายส่งขายต่อฯ ที่กำหนดให้ผู้ขายส่งต้องจัดส่งสำเนาสัญญาขายส่งบริการให้สำนักงาน กสทช. ภายใน 10 วันนับแต่วันที่คู่สัญญาลงนามในสัญญา
6.การให้บริการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น ไม่ใช่กรณีที่ กสท ต้องเปิดประมูลเพื่อขายส่งบริการ เพราะเป็นการให้บริการโทรคมนาคมแก่ผู้ให้บริการที่ต้องการซื้อความจุโครงข่าย (Capacity)จาก กสท เป็นการทั่วไป
ดังนั้นหากมีผู้ประกอบการรายใดแจ้งความประสงค์และ กสท มี Capacity ที่สามารถให้บริการได้ ก็สามารถเข้าทำสัญญาให้บริการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ กับ กสท ได้ทุกรายตามประกาศ กทช. เรื่องการขายส่งขายต่อฯ
***สัญญาที่ 3 ตามระเบียบพัสดุของ กสท
สัญญาที่ 3 สัญญาเช่าโครงข่ายโทรคมนาคมเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ CDMA เป็นไปตามกฎหมายและตามความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว
เนื่องจาก 1.สัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมและเสาโทรคมนาคม (โดย กสท เป็นผู้เช่าและบริษัท BFKT เป็นผู้ให้เช่า) เป็นสัญญาให้เช่า เปลี่ยน ซ่อมแซม และ บำรุงรักษา อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคมทั่วประเทศและเสาโทรคมนาคมและระบบสื่อสัญญาณ ในส่วนกลาง 25 จังหวัด (ในระหว่างที่ กสท ยังไม่ได้ซื้อเสาโทรคมนาคมและระบบสื่อสัญญาณในส่วนกลางจากบริษัท BFKT) เพื่อให้โครงข่ายของ กสท มีความสามารถรองรับความต้องการใช้งานและมีคุณภาพการให้บริการเป็นไปตามที่กสทต้องการ
โดยกสท จะจ่ายค่าเช่าใช้อุปกรณ์เป็นการตอบแทน ซึ่งสัญญานี้มีลักษณะเป็นสัญญาเช่าที่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ระเบียบว่าด้วยการพัสดุของ กสท มิใช่เป็นการที่เอกชน เข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐกับ ตามบทนิยาม 'ร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ' และไม่อยู่ภายใต้บังคับ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯปี 2535
2.สัญญารูปแบบใหม่เป็นไปตามระเบียบพัสดุของ กสท แล้ว เนื่องจากในกรณีของการเช่า เครื่องหรืออุปกรณ์โทรคมนาคมทุกชนิดกสท สามารถดำเนินการได้โดยการตกลงราคา ตามระเบียบพัสดุ กสท ข้อ 85 (4)(5) และข้อ 86 ซึ่งในกรณีนี้ กสท สามารถใช้วิธีตกลงราคาได้ตามระเบียบที่กล่าวถึง
***สัญญาที่ 4 ไม่เข้าพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ
สัญญาที่ 4 สัญญาจ้างให้บริการหลังการขายเพื่อดูแลลูกค้าในระบบ CDMA เป็นไปตามกฎหมายและตามความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว
เนื่องจากสัญญาการดูแลผู้ใช้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่า CDMAมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างดำเนินการกิจกรรมทางการตลาดเพื่อดูแลผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ กสท ในส่วนกลาง เช่น การออกใบเรียกเก็บเงินค่าใช้บริการ การเรียกเก็บค่าใช้บริการ การนำส่งค่าบริการ และโดยผู้รับจ้างได้ค่าตอบแทนการดำเนินการ จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับพ.ร.บ.ร่วมทุนฯปี 2535
***สัญญาที่ 5 และ 6 เดินตามกฤษฎีกา
สัญญาที่ 5 สัญญายกเลิกสัญญาเช่าและว่าจ้างให้ปรับปรุง เปลี่ยน ซ่อมแซม บำรุงรักษาและดูแลเครื่องและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่า Digital AMPS 800 Band A เป็นไปตามกฎหมายและตามความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว
เนื่องจากการยกเลิกสัญญาเช่าและว่าจ้างฯ กับ BFKTนั้นกสท ได้ดำเนินการตามคำวินิจฉัยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องเสร็จที่ 663/2551โดยได้พิจารณาถึงผลประโยชน์และความเสียหายของรัฐและรายงานรมว.ไอซีที เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2553 ซึ่งกระทรวงไอซีทีได้นำเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว จึงเป็นการดำเนินการครบถ้วนตามขั้นตอนตามคำวินิจฉัยดังกล่าว
สัญญาที่ 6 สัญญายกเลิกสัญญาทำการตลาดบริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่า Digital AMPS 800 Band A
เป็นไปตามกฎหมายและตามความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว
เนื่องจากการยกเลิกสัญญาทำการตลาดนั้น กสท ได้ดำเนินการตามคำวินิจฉัยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องเสร็จที่ 663/2551โดยได้พิจารณาถึงผลประโยชน์และความเสียหายของรัฐและรายงานรมว.ไอซีที เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2553 ซึ่งกระทรวงไอซีทีได้นำเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว จึงเป็นการดำเนินการครบถ้วนตามขั้นตอนตามคำวินิจฉัยดังกล่าว
ประเด็นปัญหาการเซ็นสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่ระหว่างกลุ่มบริษัททรู กับบริษัท กสท โทรคมนาคม รวมสัญญา 6 ฉบับ กำลังเป็นที่ถกเถียงในวงกว้างและวิพากษ์วิจารณ์ จนเลยขอบเขตความถูกต้องในแง่ข้อกฎหมาย
ในขณะที่กลุ่มบริษัท ทรู และกสท รวมทั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) รวมทั้งอัยการสูงสุด ต่างเห็นตรงกันว่า สัญญาทั้งหมดถูกทำขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมายและพร้อมให้มีการตรวจสอบอย่างเต็มที่
สิ่งที่สังคมควรถามหาความจริงก่อนถูกชี้นำด้วยความเข้าใจที่ผิด คือ อัยการสูงสุดมีความเห็นเกี่ยวกับสัญญาทั้ง 6 ฉบับอย่างไร เพราะก่อนที่จะก้าวล่วงไปสู่ประเด็นอื่นๆ ต้องพิจารณาว่าทั้ง 6 สัญญาถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เพราะหากผิดกฎหมาย หรือ ไม่ถูกต้องจริงๆแล้ว ก็ป่วยการที่จะตามล้างตามเช็ดในประเด็นอื่นๆตามมา
*** 6 สัญญาไม่ขัดกับกฎหมาย
กสท ได้จัดส่งร่างสัญญาให้อัยการสูงสุดตรวจพิจารณา ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2553 และส่งร่างสัญญาฉบับปรับปรุงใหม่แทนฉบับที่ได้จัดส่งไปแล้วก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2554 เนื่องจากได้มีการเจรจาเพิ่มเติมกับกลุ่มบริษัท ทรูและเพื่อให้การตรวจพิจารณาร่างสัญญาของอัยการอยู่บนร่างฉบับล่าสุดซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดได้ตรวจพิจารณาร่างสัญญาและจัดส่งให้ กสท แล้วเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2554โดยไม่มีข้อทักท้วงหรือข้อสังเกตที่มีสาระสำคัญซึ่งรวมถึงไม่ได้มีข้อทักท้วงว่ามีการฝ่าฝืนกฎหมายใดๆ กสท. จึงได้พิจารณาลงนามในสัญญาโดยภายหลังการลงนามสัญญา กรรมการผู้จัดการใหญ่ได้แจ้งให้คณะกรรมการ กสท ทราบในการประชุมครั้งที่ 2/2554 วันที่ 28 มกราคม 2554 แล้ว
ทั้งนี้ สัญญาทั้ง 6 ฉบับที่สำนักงานอัยการสูงสุดได้พิจารณาประกอบด้วย
***สัญญาที่1 ไม่เข้าพ.ร.บ.ร่วมทุนฯปี35
สัญญาที่หนึ่ง สัญญาเช่าโครงข่ายโทรคมนาคมเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ HSPA ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายและตามความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว
เนื่องจาก 1.สัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมและเสาโทรคมนาคม (โดย กสท เป็นผู้เช่าและบริษัท BFKT เป็นผู้ให้เช่า) เป็นสัญญาให้เช่า เปลี่ยน ซ่อมแซม และ บำรุงรักษา อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคมทั่วประเทศและเสาโทรคมนาคมและระบบสื่อสัญญาณ ในส่วนกลาง 25 จังหวัด (ในระหว่างที่ กสท ยังไม่ได้ซื้อเสาโทรคมนาคมและระบบสื่อสัญญาณในส่วนกลางจากบริษัท BFKT) เพื่อให้โครงข่ายของ กสท มีความสามารถรองรับความต้องการใช้งานและมีคุณภาพการให้บริการเป็นไปตามที่กสทต้องการ
โดยกสท จะจ่ายค่าเช่าใช้อุปกรณ์เป็นการตอบแทน ซึ่งสัญญานี้มีลักษณะเป็นสัญญาเช่าที่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ระเบียบว่าด้วยการพัสดุของ กสท มิใช่เป็นการที่เอกชน เข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐกับ ตามบทนิยาม 'ร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ' และไม่อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯปี 2535)
2.สัญญารูปแบบใหม่เป็นไปตามระเบียบพัสดุของกสท แล้ว เนื่องจากในกรณีของการเช่า เครื่องหรืออุปกรณ์โทรคมนาคมทุกชนิดกสท สามารถดำเนินการได้โดยการตกลงราคา ตามระเบียบพัสดุ กสท ข้อ 85(4)(5) และข้อ 86 ซึ่งในกรณีนี้ กสท สามารถใช้วิธีตกลงราคาได้ตามระเบียบที่กล่าวถึง
*** สัญญาที่ 2 ไม่ขัดพ.ร.บ. กสทช. มาตรา 46
สัญญาที่ 2 สัญญาบริการขายส่งบริการบนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ HSPA เป็นไปตามกฎหมายและตามความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว
เนื่องจาก 1.สัญญาบริการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ลักษณะเป็นสัญญาขายส่งบริการโทรคมนาคม ตามประกาศ กทช. เรื่อง การประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทขายส่งบริการและบริการขายต่อบริการ พ.ศ. 2549 (ประกาศขายส่งและขายต่อบริการฯ) ซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา มีคำวินิจฉัยเรื่องเสร็จที่ 368/2551ว่าเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมในลักษณะที่เป็นผู้ให้บริการด้านกิจการโทรคมนาคมแก่บุคคลอื่นทั่วไป จึงมิใช่เป็นการที่เอกชน เข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ ตามบทนิยาม 'ร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ' และไม่อยู่ภายใต้บังคับพ.ร.บ.ร่วมทุนฯปี 2535
2.การดำเนินธุรกิจ HSPA ในรูปแบบใหม่นี้ กสท ในฐานะผู้ขายส่งบริการเป็นผู้ใช้คลื่นความถี่วิทยุคมนาคมด้วยตนเอง โดย กสท มิได้มอบให้เอกชนผู้ขายต่อบริการใช้คลื่นความถี่วิทยุคมนาคมแทน กสท หรือร่วมใช้คลื่นความถี่กับ กสท แต่อย่างใด เพราะเอกชนผู้ขายต่อบริการทำหน้าที่เพียงเป็นผู้รับซื้อปริมาณความจุในโครงข่าย HSPA เพื่อนำไปขายต่อในลักษณะบริการสำเร็จรูปต่อประชาชนผู้ใช้บริการเป็นการทั่วไปเท่านั้น
3.รูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่ เป็นกรณีที่ กสท ขายส่งความจุของระบบ (Capacity) ให้แก่ผู้ให้บริการขายต่อตามประกาศ กทช. เรื่อง การประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทการขายส่งบริการและบริการขายต่อบริการพ.ศ.2549 ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่โดยชอบด้วยกฎหมาย โดยอาศัยอำนาจของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 และอาศัยอำนาจของมาตรา 95 แห่ง พรบ.กสทช ที่กำหนดให้ประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2543ซึ่งชอบด้วยกฎหมายและมีผลใช้บังคับอยู่ยังคงใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ พรบ.กสทช นี้
ประกอบกับเป็นกรณีที่ กสท ใช้คลื่นความถี่เอง โดย กสท เป็นผู้ขออนุญาตตั้งใช้สถานีวิทยุคมนาคม จึงเป็นการประกอบกิจการด้วยตนเอง มิได้เป็นการมอบสิทธิให้ผู้อื่นบริหารจัดการบางส่วนหรือทั้งหมด หรือมอบให้ผู้อื่นประกอบกิจการแทนแต่ประการใด จึงไม่ขัดต่อ พ.ร.บ. กสทช. มาตรา 46
4.สัญญาขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีลักษณะเป็นสัญญาให้บริการโทรคมนาคมกับผู้ให้บริการทั่วไป จึงเป็นการดำเนินธุรกิจอันเป็นปกติธุระของ กสท ในการให้บริการโทรคมนาคม เช่นเดียวกับ กรณี กสท ขายส่งบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศให้แก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศซึ่งไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง หรือ กรณี ที่ กสท ขายส่งบริการชุมสายอินเทอร์เน็ต (International Internet Gateway : IIG ) ให้แก่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตซึ่งไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง
ดังนั้น การอนุมัติเงื่อนไขสัญญาจึงเป็นอำนาจของ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ตามคู่มือผู้บริหาร เรื่อง อำนาจอนุมัติเพื่อดำเนินการ หมวดที่ 4 เรื่องการให้บริการและการตลาด ลำดับที่ 19 การกำหนดเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขให้บริการ ทั้งนี้ การประกอบธุรกิจขายส่งของ กสท ในลักษณะนี้เป็นการดำเนินธุรกิจตามปกติของ กสท ให้แก่บุคคลทั่วไป จึงไม่ใช่การให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินกิจการของรัฐแต่อย่างใด
5.กสท ได้นำส่งสัญญาบริการขายส่งบริการฉบับที่ลงนามเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2554 ให้สำนักงาน กสทช.แล้วตามหนังสือลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามข้อ 15 ของประกาศขายส่งขายต่อฯ ที่กำหนดให้ผู้ขายส่งต้องจัดส่งสำเนาสัญญาขายส่งบริการให้สำนักงาน กสทช. ภายใน 10 วันนับแต่วันที่คู่สัญญาลงนามในสัญญา
6.การให้บริการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น ไม่ใช่กรณีที่ กสท ต้องเปิดประมูลเพื่อขายส่งบริการ เพราะเป็นการให้บริการโทรคมนาคมแก่ผู้ให้บริการที่ต้องการซื้อความจุโครงข่าย (Capacity)จาก กสท เป็นการทั่วไป
ดังนั้นหากมีผู้ประกอบการรายใดแจ้งความประสงค์และ กสท มี Capacity ที่สามารถให้บริการได้ ก็สามารถเข้าทำสัญญาให้บริการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ กับ กสท ได้ทุกรายตามประกาศ กทช. เรื่องการขายส่งขายต่อฯ
***สัญญาที่ 3 ตามระเบียบพัสดุของ กสท
สัญญาที่ 3 สัญญาเช่าโครงข่ายโทรคมนาคมเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ CDMA เป็นไปตามกฎหมายและตามความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว
เนื่องจาก 1.สัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมและเสาโทรคมนาคม (โดย กสท เป็นผู้เช่าและบริษัท BFKT เป็นผู้ให้เช่า) เป็นสัญญาให้เช่า เปลี่ยน ซ่อมแซม และ บำรุงรักษา อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคมทั่วประเทศและเสาโทรคมนาคมและระบบสื่อสัญญาณ ในส่วนกลาง 25 จังหวัด (ในระหว่างที่ กสท ยังไม่ได้ซื้อเสาโทรคมนาคมและระบบสื่อสัญญาณในส่วนกลางจากบริษัท BFKT) เพื่อให้โครงข่ายของ กสท มีความสามารถรองรับความต้องการใช้งานและมีคุณภาพการให้บริการเป็นไปตามที่กสทต้องการ
โดยกสท จะจ่ายค่าเช่าใช้อุปกรณ์เป็นการตอบแทน ซึ่งสัญญานี้มีลักษณะเป็นสัญญาเช่าที่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ระเบียบว่าด้วยการพัสดุของ กสท มิใช่เป็นการที่เอกชน เข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐกับ ตามบทนิยาม 'ร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ' และไม่อยู่ภายใต้บังคับ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯปี 2535
2.สัญญารูปแบบใหม่เป็นไปตามระเบียบพัสดุของ กสท แล้ว เนื่องจากในกรณีของการเช่า เครื่องหรืออุปกรณ์โทรคมนาคมทุกชนิดกสท สามารถดำเนินการได้โดยการตกลงราคา ตามระเบียบพัสดุ กสท ข้อ 85 (4)(5) และข้อ 86 ซึ่งในกรณีนี้ กสท สามารถใช้วิธีตกลงราคาได้ตามระเบียบที่กล่าวถึง
***สัญญาที่ 4 ไม่เข้าพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ
สัญญาที่ 4 สัญญาจ้างให้บริการหลังการขายเพื่อดูแลลูกค้าในระบบ CDMA เป็นไปตามกฎหมายและตามความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว
เนื่องจากสัญญาการดูแลผู้ใช้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่า CDMAมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างดำเนินการกิจกรรมทางการตลาดเพื่อดูแลผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ กสท ในส่วนกลาง เช่น การออกใบเรียกเก็บเงินค่าใช้บริการ การเรียกเก็บค่าใช้บริการ การนำส่งค่าบริการ และโดยผู้รับจ้างได้ค่าตอบแทนการดำเนินการ จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับพ.ร.บ.ร่วมทุนฯปี 2535
***สัญญาที่ 5 และ 6 เดินตามกฤษฎีกา
สัญญาที่ 5 สัญญายกเลิกสัญญาเช่าและว่าจ้างให้ปรับปรุง เปลี่ยน ซ่อมแซม บำรุงรักษาและดูแลเครื่องและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่า Digital AMPS 800 Band A เป็นไปตามกฎหมายและตามความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว
เนื่องจากการยกเลิกสัญญาเช่าและว่าจ้างฯ กับ BFKTนั้นกสท ได้ดำเนินการตามคำวินิจฉัยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องเสร็จที่ 663/2551โดยได้พิจารณาถึงผลประโยชน์และความเสียหายของรัฐและรายงานรมว.ไอซีที เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2553 ซึ่งกระทรวงไอซีทีได้นำเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว จึงเป็นการดำเนินการครบถ้วนตามขั้นตอนตามคำวินิจฉัยดังกล่าว
สัญญาที่ 6 สัญญายกเลิกสัญญาทำการตลาดบริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่า Digital AMPS 800 Band A
เป็นไปตามกฎหมายและตามความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว
เนื่องจากการยกเลิกสัญญาทำการตลาดนั้น กสท ได้ดำเนินการตามคำวินิจฉัยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องเสร็จที่ 663/2551โดยได้พิจารณาถึงผลประโยชน์และความเสียหายของรัฐและรายงานรมว.ไอซีที เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2553 ซึ่งกระทรวงไอซีทีได้นำเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว จึงเป็นการดำเนินการครบถ้วนตามขั้นตอนตามคำวินิจฉัยดังกล่าว