รอยเตอร์/เอเอฟพี - ทหารอิสราเอลระดมยิงใส่พวกผู้ประท้วงชาวปาเลสไตน์จำนวนมาก ที่พยายามหนุนเนื่องเคลื่อนเข้ามาที่พรมแดนของอิสราเอลทั้งด้านที่อยู่ติดกับซีเรีย, เลบานอน, และดินแดนฉนวนกาซา เมื่อวันอาทิตย์(15) ทำให้มีผู้เสียชีวิตไป 14 คน เนื่องในวันที่ชาวปาเลสไตน์คร่ำครวญไว้ทุกข์ต่อการสถาปนาประเทศอิสราเอลขึ้นมาในปี 1948 ต่อมาเมื่อวานนี้(16) ตำรวจอิสราเอลยังได้กระจายกำลังกันออกไปทั่วบริเวณที่ราบสูงโกลัน เพื่อพยายามค้นหาผู้ลี้ภัยที่แอบเล็ดรอดเข้ามาจากซีเรียได้สำเร็จในวันก่อน
วาระครบรอบปีของวันที่ชาวปาเลสไตน์เรียกชื่อในภาษาอาหรับว่า “นักบา” ซึ่งแปลว่า “ความวิบัติหายนะ”เช่นนี้ มักเกิดการปะทะกันเป็นประจำอยู่แล้ว ทว่าที่ผ่านมาจะจำกัดอยู่เฉพาะพื้นที่เขตเวสต์แบงก์ และฉนวนกาซา ครั้งนี้จึงถือเป็นการประจันหน้ากันครั้งนองเลือดที่สุดในรอบหลายๆ ปี โดยที่ทหารอิสราเอลเปิดฉากระดมยิงในบริเวณหลายๆ แห่งของชายแดนทั้ง 3 ด้าน เพื่อป้องกันไม่ให้ฝูงชนผู้ชุมนุมประท้วงข้ามเส้นพรมแดนเข้ามา
ชาวปาเลสไตน์ที่พยายามหนุนเนื่องเคลื่อนเข้ามาในปีนี้ มาจากชายแดนทั้งทางด้านเลบานอน, ซีเรีย, จอร์แดน, และกาซา ซึ่งทั้งหมดต่างก็เป็นถิ่นพำนักของชาวปาเลสไตน์หลายแสนคน ที่หลบหนีหรือไม่ก็ถูกขับไสให้ออกจากภูมิลำเนาของพวกตน จากการที่อิสราเอลเข้าไปยึดครองก่อตั้งเป็นประเทศขึ้นในปี 1948
นักวิเคราะห์มองว่า เมื่อรวมกับกรณีที่ถือเป็นความหายนะทางด้านการประชาสัมพันธ์ในปีที่แล้ว ตอนที่กองกำลังของรัฐยิวบุกขึ้นไปสังหารพวกนักเคลื่อนไหวนานาชาติที่เคลื่อนขบวนกันมาเป็นกองเรือลำเลียง ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะนำเอาความช่วยเหลือต่างๆ มาให้แก่ประชาชนในกาซาที่ถูกอิสราเอลปิดล้อมไว้ ตลอดจนการที่ปาเลสไตน์กำลังมุ่งมั่นผลักดันทางการทูตเพื่อให้สหประชาชาติลงมติรับรองความเป็นรัฐของปาเลสไตน์ในเดือนกันยายนปีนี้ด้วยแล้ว การประท้วงอย่างนองเลือดตรงชายแดนในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา จึงยิ่งทำให้อิสราเอลตกอยู่ในฐานะลำบากหนักขึ้นอีกบนเวทีโลก
ความรุนแรงคราวนี้ถือว่าเป็นครั้งเลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้นในดินแดนที่ราบสูงโกลานซึ่งอิสราเอลยึดครองไว้ นับตั้งแต่ที่มีการทำข้อตกลงหยุดยิงในปี 1974 ขณะที่การปะทะกันตามแนวพรมแดนอิสราเอล-เลบานอนคราวนี้ ก็ถือเป็นการประจันหน้าครั้งนองเลือดที่สุดตั้งแต่สงครามระหว่างประเทศเพื่อนบ้านทั้งสองในปี 2006
ผู้บาดเจ็บล้มตายส่วนใหญ่นั้นอยู่ที่เลบานอน โดยที่มีผู้ถูกฆ่าตายไป 10 คน และบาดเจ็บอีก 110 คน เมื่อทหารอิสราเอลระดมยิงใส่ประชาชนที่กำลังพยายามปีนข้ามรั่วกั้นชายแดนเข้ามา
วาระครบรอบปีของวันที่ชาวปาเลสไตน์เรียกชื่อในภาษาอาหรับว่า “นักบา” ซึ่งแปลว่า “ความวิบัติหายนะ”เช่นนี้ มักเกิดการปะทะกันเป็นประจำอยู่แล้ว ทว่าที่ผ่านมาจะจำกัดอยู่เฉพาะพื้นที่เขตเวสต์แบงก์ และฉนวนกาซา ครั้งนี้จึงถือเป็นการประจันหน้ากันครั้งนองเลือดที่สุดในรอบหลายๆ ปี โดยที่ทหารอิสราเอลเปิดฉากระดมยิงในบริเวณหลายๆ แห่งของชายแดนทั้ง 3 ด้าน เพื่อป้องกันไม่ให้ฝูงชนผู้ชุมนุมประท้วงข้ามเส้นพรมแดนเข้ามา
ชาวปาเลสไตน์ที่พยายามหนุนเนื่องเคลื่อนเข้ามาในปีนี้ มาจากชายแดนทั้งทางด้านเลบานอน, ซีเรีย, จอร์แดน, และกาซา ซึ่งทั้งหมดต่างก็เป็นถิ่นพำนักของชาวปาเลสไตน์หลายแสนคน ที่หลบหนีหรือไม่ก็ถูกขับไสให้ออกจากภูมิลำเนาของพวกตน จากการที่อิสราเอลเข้าไปยึดครองก่อตั้งเป็นประเทศขึ้นในปี 1948
นักวิเคราะห์มองว่า เมื่อรวมกับกรณีที่ถือเป็นความหายนะทางด้านการประชาสัมพันธ์ในปีที่แล้ว ตอนที่กองกำลังของรัฐยิวบุกขึ้นไปสังหารพวกนักเคลื่อนไหวนานาชาติที่เคลื่อนขบวนกันมาเป็นกองเรือลำเลียง ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะนำเอาความช่วยเหลือต่างๆ มาให้แก่ประชาชนในกาซาที่ถูกอิสราเอลปิดล้อมไว้ ตลอดจนการที่ปาเลสไตน์กำลังมุ่งมั่นผลักดันทางการทูตเพื่อให้สหประชาชาติลงมติรับรองความเป็นรัฐของปาเลสไตน์ในเดือนกันยายนปีนี้ด้วยแล้ว การประท้วงอย่างนองเลือดตรงชายแดนในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา จึงยิ่งทำให้อิสราเอลตกอยู่ในฐานะลำบากหนักขึ้นอีกบนเวทีโลก
ความรุนแรงคราวนี้ถือว่าเป็นครั้งเลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้นในดินแดนที่ราบสูงโกลานซึ่งอิสราเอลยึดครองไว้ นับตั้งแต่ที่มีการทำข้อตกลงหยุดยิงในปี 1974 ขณะที่การปะทะกันตามแนวพรมแดนอิสราเอล-เลบานอนคราวนี้ ก็ถือเป็นการประจันหน้าครั้งนองเลือดที่สุดตั้งแต่สงครามระหว่างประเทศเพื่อนบ้านทั้งสองในปี 2006
ผู้บาดเจ็บล้มตายส่วนใหญ่นั้นอยู่ที่เลบานอน โดยที่มีผู้ถูกฆ่าตายไป 10 คน และบาดเจ็บอีก 110 คน เมื่อทหารอิสราเอลระดมยิงใส่ประชาชนที่กำลังพยายามปีนข้ามรั่วกั้นชายแดนเข้ามา