รอยเตอร์ – ไมโครซอฟท์ ประกาศในวันอังคาร(10) ถึงแผนการที่จะเข้าซื้อ สไกป์ บริษัทให้บริการโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ตชื่อดัง ด้วยราคา 8,500 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นการทุ่มเงินเข้าเทคโอเวอร์ก้อนโตที่สุดเท่าที่บริษัทซอฟต์แวร์รายใหญ่ที่สุดของโลกรายนี้เคยกระทำมา ด้วยความหวังที่จะเพิ่มธุรกิจในตลาดมือถือและอินเทอร์เน็ต จะได้แข่งขันกับพวกคู่แข่งที่น่าเกรงขามอย่างเช่น กูเกิล อิงก์ ได้อย่างถนัดถนี่ยิ่งขึ้น
แหล่งข่าวหลายรายระบุว่า แผนการของไมโครซอฟท์ เป็นการเสนอราคา สไกป์ ที่สูงกว่าพวกคู่แข่งอย่าง กูเกิล และ เฟสบุ๊ก ซึ่งมีรายงานว่าเสนอที่จะเป็นหุ้นส่วนหรือไม่ก็จะซื้อ สไกป์ โดยที่ตีราคาบริษัทแห่งนี้ไว้ที่ประมาณ 3,000 – 4,000 ล้านดอลลาร์เท่านั้น
การที่บริษัทเหล่านี้สนใจ สไกป์ เนื่องจากหวังที่จะอาศัยบริการโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นตัวจูงใจเพิ่มเติม เพื่อให้พวกยูสเซอร์ติดหนึบอยู่ในชุมชนออนไลน์ของพวกตน
แต่จากการที่ไมโครซอฟท์พร้อมวางเดิมพันสูงเป็นพิเศษ เพื่อเข้าครอบครองบริษัทเจ้าของกิจการซึ่งแม้เป็นที่นิยมทว่ายังอยู่ในภาวะขาดทุนเรื่อยมาแห่งนี้ พวกนักวิเคราะห์มองว่าคือการเน้นย้ำให้เห็นว่า ไมโครซอฟท์รู้สึกตัวว่าจำเป็นที่จะต้องเร่งหาฐานลูกค้าใหม่ๆ สำหรับซอฟต์แวร์ปฏิบัติการ “วินโดส์” และซอฟต์แวร์ “ออฟฟิศ” ของตน ทั้งนี้ สไกป์มีฐานยูสเซอร์โดยเฉลี่ยเดือนละ 145 ล้านราย อีกทั้งยังเป็นที่นิยมชมชื่นในหมู่ยูสเซอร์ที่เป็นธุรกิจขนาดย่อม
กระนั้นก็ตามที พวกนักลงทุนต่างแสดงความข้องใจในข้อตกลงคราวนี้ จึงทำให้ราคาหุ้นของไมโครซอฟท์ตกลงมาประมาณ 1.4%
“ถ้าพิจารณากันในแง่การทำการลงทุนแล้ว มันไม่สมเหตุสมผลเอาเลย” แอนดริว บาร์เทลส์ นักวิเคราะห์ของค่ายฟอร์เรสเตอร์ รีเสิร์ช ให้ความเห็น “ไม่มีทางเลยที่ไมโครซอฟท์จะสามารถผลิตรายรับและกำไรออกมาจาก สไกป์ ได้เพียงพอที่จะชดเชยเงินที่ทุ่มลงไปคราวนี้”
ขณะที่ดีลคราวนี้ถือเป็นโชคก้อนโตสำหรับพวกเจ้าของ สไกป์ ซึ่งได้แก่ อีเบย์ อิงก์ เจ้าของเว็บไซต์ประมูลทางออนไลน์, ตลอดจนนักลงทุน อย่างเช่น ซิลเวอร์ เลค, แคนาดา เพนชั่น แพลน อินเวสต์เมนต์ บอร์ด, และ แอนดรีสเสน โฮโรวิตซ์
ปัจจุบัน ไมโครซอฟท์ กำลังพยายามทุ่มเทพลังงานและทรัพยากรเข้าไปในธุรกิจด้านโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์พีซีซึ่งเป็นฐานหลักของซอฟท์แวร์“วินโดส์” และ “ออฟฟิศ” ของบริษัท ดูจะหดแคบลงไปเรื่อยๆ
บริการของ สไกป์ เป็นที่นิยมมากเนื่องจากทำให้ยูสเซอร์สามารถติดต่อกันทางโทรศัพท์โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่บริษัทก็กำลังดำเนินการพัฒนาบริการพรีเมียมหลายๆ อย่างขึ้นมาด้วย ซึ่งจะช่วยทำให้ไมโครซอฟท์มีรากฐานในตลาดวิดีโอคอนเฟอเรนซ์แห่งอนาคต
นอกจากนั้น บริการของสไกป์ยังอาจนำมาผสมผสานเข้ากับซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์ เป็นต้นว่า “เอาต์ลุก” เพื่อเพิ่มเสน่ห์ดึงดูดใจพวกยูสเซอร์ที่เป็นองค์กรธุรกิจ ขณะที่การสื่อสารด้วยเสียงและวิดีโอ ก็อาจเชื่อมเข้ากับการเล่นเกมผ่านออนไลน์แบบสดๆ ของเครื่องเอ็กซ์บ็อกซ์ ของไมโครซอฟท์
อย่างไรก็ตาม ราคา 8,500 ล้านดอลลาร์ ยังคงถูกมองว่าแพงเกินไปอยู่ดี ถึงแม้เงินทองขนาดนี้ไม่ได้ทำให้ไมโครซอฟท์ที่มีเงินสดในมือจำนวนมากมายถึงขึ้น “ขนหน้าแข้งร่วง” แต่นักวิเคราะห์บางรายก็เห็นว่า มันสูงเกินไปสำหรับการซื้อบริษัทนี้ ซึ่งมีการเปลี่ยนมือเจ้าของมาแล้วหลายครั้งหลายคราวทั้งที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2003
แหล่งข่าวหลายรายระบุว่า แผนการของไมโครซอฟท์ เป็นการเสนอราคา สไกป์ ที่สูงกว่าพวกคู่แข่งอย่าง กูเกิล และ เฟสบุ๊ก ซึ่งมีรายงานว่าเสนอที่จะเป็นหุ้นส่วนหรือไม่ก็จะซื้อ สไกป์ โดยที่ตีราคาบริษัทแห่งนี้ไว้ที่ประมาณ 3,000 – 4,000 ล้านดอลลาร์เท่านั้น
การที่บริษัทเหล่านี้สนใจ สไกป์ เนื่องจากหวังที่จะอาศัยบริการโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นตัวจูงใจเพิ่มเติม เพื่อให้พวกยูสเซอร์ติดหนึบอยู่ในชุมชนออนไลน์ของพวกตน
แต่จากการที่ไมโครซอฟท์พร้อมวางเดิมพันสูงเป็นพิเศษ เพื่อเข้าครอบครองบริษัทเจ้าของกิจการซึ่งแม้เป็นที่นิยมทว่ายังอยู่ในภาวะขาดทุนเรื่อยมาแห่งนี้ พวกนักวิเคราะห์มองว่าคือการเน้นย้ำให้เห็นว่า ไมโครซอฟท์รู้สึกตัวว่าจำเป็นที่จะต้องเร่งหาฐานลูกค้าใหม่ๆ สำหรับซอฟต์แวร์ปฏิบัติการ “วินโดส์” และซอฟต์แวร์ “ออฟฟิศ” ของตน ทั้งนี้ สไกป์มีฐานยูสเซอร์โดยเฉลี่ยเดือนละ 145 ล้านราย อีกทั้งยังเป็นที่นิยมชมชื่นในหมู่ยูสเซอร์ที่เป็นธุรกิจขนาดย่อม
กระนั้นก็ตามที พวกนักลงทุนต่างแสดงความข้องใจในข้อตกลงคราวนี้ จึงทำให้ราคาหุ้นของไมโครซอฟท์ตกลงมาประมาณ 1.4%
“ถ้าพิจารณากันในแง่การทำการลงทุนแล้ว มันไม่สมเหตุสมผลเอาเลย” แอนดริว บาร์เทลส์ นักวิเคราะห์ของค่ายฟอร์เรสเตอร์ รีเสิร์ช ให้ความเห็น “ไม่มีทางเลยที่ไมโครซอฟท์จะสามารถผลิตรายรับและกำไรออกมาจาก สไกป์ ได้เพียงพอที่จะชดเชยเงินที่ทุ่มลงไปคราวนี้”
ขณะที่ดีลคราวนี้ถือเป็นโชคก้อนโตสำหรับพวกเจ้าของ สไกป์ ซึ่งได้แก่ อีเบย์ อิงก์ เจ้าของเว็บไซต์ประมูลทางออนไลน์, ตลอดจนนักลงทุน อย่างเช่น ซิลเวอร์ เลค, แคนาดา เพนชั่น แพลน อินเวสต์เมนต์ บอร์ด, และ แอนดรีสเสน โฮโรวิตซ์
ปัจจุบัน ไมโครซอฟท์ กำลังพยายามทุ่มเทพลังงานและทรัพยากรเข้าไปในธุรกิจด้านโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์พีซีซึ่งเป็นฐานหลักของซอฟท์แวร์“วินโดส์” และ “ออฟฟิศ” ของบริษัท ดูจะหดแคบลงไปเรื่อยๆ
บริการของ สไกป์ เป็นที่นิยมมากเนื่องจากทำให้ยูสเซอร์สามารถติดต่อกันทางโทรศัพท์โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่บริษัทก็กำลังดำเนินการพัฒนาบริการพรีเมียมหลายๆ อย่างขึ้นมาด้วย ซึ่งจะช่วยทำให้ไมโครซอฟท์มีรากฐานในตลาดวิดีโอคอนเฟอเรนซ์แห่งอนาคต
นอกจากนั้น บริการของสไกป์ยังอาจนำมาผสมผสานเข้ากับซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์ เป็นต้นว่า “เอาต์ลุก” เพื่อเพิ่มเสน่ห์ดึงดูดใจพวกยูสเซอร์ที่เป็นองค์กรธุรกิจ ขณะที่การสื่อสารด้วยเสียงและวิดีโอ ก็อาจเชื่อมเข้ากับการเล่นเกมผ่านออนไลน์แบบสดๆ ของเครื่องเอ็กซ์บ็อกซ์ ของไมโครซอฟท์
อย่างไรก็ตาม ราคา 8,500 ล้านดอลลาร์ ยังคงถูกมองว่าแพงเกินไปอยู่ดี ถึงแม้เงินทองขนาดนี้ไม่ได้ทำให้ไมโครซอฟท์ที่มีเงินสดในมือจำนวนมากมายถึงขึ้น “ขนหน้าแข้งร่วง” แต่นักวิเคราะห์บางรายก็เห็นว่า มันสูงเกินไปสำหรับการซื้อบริษัทนี้ ซึ่งมีการเปลี่ยนมือเจ้าของมาแล้วหลายครั้งหลายคราวทั้งที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2003