ASTVผู้จัดการรายวัน - ธ.ก.ส.ใจป้ำควัก 700 ล้านบาทประกันสินเชื่อลูกค้าคุณภาพดีกว่า 3 ล้านรายวงเงินสูงสุด 1 แสนบาทลดความเสี่ยงให้ทายาทลูกค้า พร้อมโชว์ผลดำเนินงานปี 53 กระตุ้นเศรษฐกิจในภาคชนบทกว่า 5.7 แสนล้าน บาท ครอบคลุมเกษตรกรกว่า 6.1 ล้านครัวเรือน
นายวินัย เครือตรีประดิษฐ์ รองผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส.ได้จัดโครงการประกันสินเชื่อสำหรับลูกค้าชั้นดีของธ.ก.ส.เป็นโครงการนำร่องจำนวน 3 ล้านรายจากจำนวนลูกค้าทั้งหมด 4.5 ล้านราย โดยคุ้มครองสินเชื่อวงเงินขั้นต่ำ 3 หมื่นบาทและสูงสุด 1 แสนบาทหากลูกค้ากลุ่มดังกล่าวเสียชีวิตบริษัทประกันจะรับผิดชอบหนี้สินตามวงเงินดังกล่าว
โดยในขณะนี้ธ.ก.ส.ได้ร่างเอกสารกำหนดการประกวดราคาเพื่อให้บริษัทประกันชีวิตเข้ามาประมูลเป็นที่เรียบร้อยแล้วและคาดว่าจะสามารถเริ่มโครงการได้ภายในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ ซึ่งหากโครงการประสบความสำเร็จในอนาคตธ.ก.ส.จะขยายการประกันสินเชื่อไปให้กับลูกค้าของธ.ก.ส.ทุกรายเพื่อลดความเสี่ยงให้กับทายาทของลูกค้าที่ต้องรับภาระหนี้หากลูกค้าเสียชีวิต
"ถือเป็นการเริ่มต้นทำประกันสินเชื่อของธ.ก.ส.เป็นครั้งแรกซึ่งเราถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการให้สวัสดิการกับลูกค้าธ.ก.ส.ที่มีวินัยและรักษาเครดิตของตนเองเป็นอย่างดี โดยหากลูกค้าธ.ก.ส.ปลอดหนี้ในวันที่เสียชีวิตทายาทก็จะได้รับเงินคุ้มครองขั้นต่ำ 3 หมื่นบาททันทีและหากมีหนี้ค้างชำระก็จะหักจากวงเงินประกันที่คุ้มครองเต็มจำนวน 1 แสนบาทก่อนแบ่งให้ทายาทภายหลัง"นายวินัยกล่าว
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า ผลการดำเนินงานของ ธ.ก.ส. ณ สิ้นปีบัญชี 2553 (1 เมษายน 2553 - 31 มีนาคม 2554) ว่าได้สนับสนุนสินเชื่อในระบบเศรษฐกิจฐานราก โดยมียอดจ่ายสินเชื่อรวมทั้งสิน 5.77 แสน ล้านบาท โดยมีเกษตรกรที่ได้รับบริการสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. จำนวนทั้งสิ้น 6.10 ล้านครัวเรือน จำแนกเป็นเกษตรกรลูกค้ารายคน 4.5 ล้านครัวเรือน สมาชิกสหกรณ์การเกษตรและสมาชิกกลุ่มเกษตรกรอีก 1.6 ล้านครัวเรือน ผ่านเครือข่ายสาขาที่ให้บริการ จำนวน 1,026 สาขา และหน่วยอำเภออีก 967 หน่วย
ด้านเงินฝากมียอดรวมทั้งสิ้น 7.26 แสนล้านบาท โดยเป็นเงินฝากจากประชาชนทั่วไปเพิ่มขึ้นถึง 6 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากโครงการออมทรัพย์ทวีโชค สลากออมทรัพย์ทวีสิน และเงินฝากเกษียณมั่งคั่ง ส่งผลให้อัตราเงินให้สินเชื่อต่อเงินรับฝากคิดเป็น 79.50% โดยมีหนี้ค้างชำระ (NPLs) จำนวน 3.7 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 6.6% ต่ำกว่าสิ้นปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ 7.66%
จากผลการดำเนินงานทำให้ฐานะทางการเงิน ธ.ก.ส. ณ 31 มีนาคม 2554 มีสินทรัพย์รวมจำนวน 8.99 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.34 แสนล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 8,022 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในปีบัญชี 2554 (1 เมษายน 2554 - 31 มีนาคม 255) ธ.ก.ส. กำหนดนโยบายสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินงานในภาพรวม ประกอบด้วย นโยบายสนับสนุนสินเชื่อเพื่อเติมเต็มเศรษฐกิจฐานราก เช่น สินเชื่อเพื่อการลงทุนทางการเกษตร สินเชื่อนอกภาคการเกษตร เป็นต้น จำนวน 35,000 ล้านบาท นโยบายสนับสนุนสินเชื่อเชิงรุก ได้แก่ การให้สินเชื่อเพื่อนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มในธุรกิจของลูกค้า (Value Chain Financing)
นอกจากนี้ยังมีนโยบายพัฒนาระบบกลุ่มลูกค้าและเครือข่าย โดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง ด้วยการสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ธ.ก.ส. การสนับสนุนสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินชุมชน โครงการอาสาสมัครที่ปรึกษาการเงินภาคครัวเรือน (หมอหนี้) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรรายย่อยไม่น้อยกว่า 60% ของเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. และนโยบายเร่งพัฒนาขีดความสามารถองค์กร โดยการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น โครงการ CBS โครงการ FMIS รวมถึงการขยายการติดตั้ง ATM ณ จุดบริการ ส่วนด้านเงินฝากตั้งเป้าหมายรับเงินฝากเพิ่มอีก 4 หมื่นล้านบาท พร้อมหารายได้เพิ่มจากค่าธรรมเนียมอีก 1,400 ล้านบาท
นายวินัย เครือตรีประดิษฐ์ รองผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส.ได้จัดโครงการประกันสินเชื่อสำหรับลูกค้าชั้นดีของธ.ก.ส.เป็นโครงการนำร่องจำนวน 3 ล้านรายจากจำนวนลูกค้าทั้งหมด 4.5 ล้านราย โดยคุ้มครองสินเชื่อวงเงินขั้นต่ำ 3 หมื่นบาทและสูงสุด 1 แสนบาทหากลูกค้ากลุ่มดังกล่าวเสียชีวิตบริษัทประกันจะรับผิดชอบหนี้สินตามวงเงินดังกล่าว
โดยในขณะนี้ธ.ก.ส.ได้ร่างเอกสารกำหนดการประกวดราคาเพื่อให้บริษัทประกันชีวิตเข้ามาประมูลเป็นที่เรียบร้อยแล้วและคาดว่าจะสามารถเริ่มโครงการได้ภายในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ ซึ่งหากโครงการประสบความสำเร็จในอนาคตธ.ก.ส.จะขยายการประกันสินเชื่อไปให้กับลูกค้าของธ.ก.ส.ทุกรายเพื่อลดความเสี่ยงให้กับทายาทของลูกค้าที่ต้องรับภาระหนี้หากลูกค้าเสียชีวิต
"ถือเป็นการเริ่มต้นทำประกันสินเชื่อของธ.ก.ส.เป็นครั้งแรกซึ่งเราถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการให้สวัสดิการกับลูกค้าธ.ก.ส.ที่มีวินัยและรักษาเครดิตของตนเองเป็นอย่างดี โดยหากลูกค้าธ.ก.ส.ปลอดหนี้ในวันที่เสียชีวิตทายาทก็จะได้รับเงินคุ้มครองขั้นต่ำ 3 หมื่นบาททันทีและหากมีหนี้ค้างชำระก็จะหักจากวงเงินประกันที่คุ้มครองเต็มจำนวน 1 แสนบาทก่อนแบ่งให้ทายาทภายหลัง"นายวินัยกล่าว
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า ผลการดำเนินงานของ ธ.ก.ส. ณ สิ้นปีบัญชี 2553 (1 เมษายน 2553 - 31 มีนาคม 2554) ว่าได้สนับสนุนสินเชื่อในระบบเศรษฐกิจฐานราก โดยมียอดจ่ายสินเชื่อรวมทั้งสิน 5.77 แสน ล้านบาท โดยมีเกษตรกรที่ได้รับบริการสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. จำนวนทั้งสิ้น 6.10 ล้านครัวเรือน จำแนกเป็นเกษตรกรลูกค้ารายคน 4.5 ล้านครัวเรือน สมาชิกสหกรณ์การเกษตรและสมาชิกกลุ่มเกษตรกรอีก 1.6 ล้านครัวเรือน ผ่านเครือข่ายสาขาที่ให้บริการ จำนวน 1,026 สาขา และหน่วยอำเภออีก 967 หน่วย
ด้านเงินฝากมียอดรวมทั้งสิ้น 7.26 แสนล้านบาท โดยเป็นเงินฝากจากประชาชนทั่วไปเพิ่มขึ้นถึง 6 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากโครงการออมทรัพย์ทวีโชค สลากออมทรัพย์ทวีสิน และเงินฝากเกษียณมั่งคั่ง ส่งผลให้อัตราเงินให้สินเชื่อต่อเงินรับฝากคิดเป็น 79.50% โดยมีหนี้ค้างชำระ (NPLs) จำนวน 3.7 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 6.6% ต่ำกว่าสิ้นปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ 7.66%
จากผลการดำเนินงานทำให้ฐานะทางการเงิน ธ.ก.ส. ณ 31 มีนาคม 2554 มีสินทรัพย์รวมจำนวน 8.99 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.34 แสนล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 8,022 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในปีบัญชี 2554 (1 เมษายน 2554 - 31 มีนาคม 255) ธ.ก.ส. กำหนดนโยบายสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินงานในภาพรวม ประกอบด้วย นโยบายสนับสนุนสินเชื่อเพื่อเติมเต็มเศรษฐกิจฐานราก เช่น สินเชื่อเพื่อการลงทุนทางการเกษตร สินเชื่อนอกภาคการเกษตร เป็นต้น จำนวน 35,000 ล้านบาท นโยบายสนับสนุนสินเชื่อเชิงรุก ได้แก่ การให้สินเชื่อเพื่อนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มในธุรกิจของลูกค้า (Value Chain Financing)
นอกจากนี้ยังมีนโยบายพัฒนาระบบกลุ่มลูกค้าและเครือข่าย โดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง ด้วยการสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ธ.ก.ส. การสนับสนุนสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินชุมชน โครงการอาสาสมัครที่ปรึกษาการเงินภาคครัวเรือน (หมอหนี้) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรรายย่อยไม่น้อยกว่า 60% ของเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. และนโยบายเร่งพัฒนาขีดความสามารถองค์กร โดยการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น โครงการ CBS โครงการ FMIS รวมถึงการขยายการติดตั้ง ATM ณ จุดบริการ ส่วนด้านเงินฝากตั้งเป้าหมายรับเงินฝากเพิ่มอีก 4 หมื่นล้านบาท พร้อมหารายได้เพิ่มจากค่าธรรมเนียมอีก 1,400 ล้านบาท