ASTVผู้จัดการรายวัน - บอร์ดทีโอทีอนุมัติเซ็นสัญญาจ้างกิจการร่วมค้าเอสแอลสร้างโครงข่ายโครงการ 3G TOT ทั่วประเทศ มูลค่า 17,440 ล้านบาท มั่นใจเคลียร์ได้ทุกปัญหาตอบข้อสงสัยได้ทุกเรื่อง
นายประพันธ์ บุณยเกียรติ กรรมการบริหาร บริษัท ทีโอที กล่าวหลังการประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 29 เม.ย. ว่า บอร์ดมีมติอนุมัติให้มีการลงนามในสัญญาจ้างผู้ชนะประมูลโครงการสร้างโครงข่ายมือถือ 3G TOT ทั่วประเทศมูลค่า 17,440 ล้านบาท ซึ่งมีการประมูลด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-ออกชัน) เมื่อวันที่ 28 ม.ค.54 โดยกลุ่มกิจการร่วมค้า (คอนซอร์เตียม) เอสแอล ซึ่งประกอบด้วย บริษัทสามารถ คอร์ปอเรชั่น บริษัท ล็อกซเล่ย์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี และบริษัท โนเกีย ซีเมนส์ ที่ชนะการประมูลด้วยราคาต่ำสุด 16,290 ล้านบาท จากนั้นคณะกรรมการดำเนินงานประมูลโครงการ 3G TOT ต่อรองราคาลงมาเหลือ 15,999 ล้านบาท
แต่หลังจากได้ผู้ชนะการประมูล ได้มีการร้องเรียนจากบริษัท แซดทีอี และบริษัท อีริคสัน ที่ถูกตีตกเรื่องคุณสมบัติไม่ตรงตามทีโออาร์ โดยฟ้องศาลปกครองแต่ศาลไม่คุ้มครองตามคำร้อง รวมถึงมีข้อสงสัยจากหลายหน่วยงาน จนทำให้บอร์ดทยอยกันลาออกจนเหลือไม่ครบองค์ประชุม ทำให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ต้องมีการตั้งบอร์ดใหม่ขึ้นมาเพื่อสานงานต่อ
สำหรับการประชุมครั้งนี้บอร์ดทีโอทีได้เข้าประชุมครบทุกคน โดยมีนายบุญมาก ศิริเนาวกุล รักษาการประธานบอร์ดเป็นประธาน และที่ประชุมมีมติบอร์ดในเรื่อง 3G เป็นเอกฉันท์ ส่วนการเซ็นสัญญาเป็นเรื่องกระบวนการของทีโอทีซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายจัดการ โดยผู้ที่จะลงนามในสัญญาคือ นายอานนท์ ทับเที่ยง กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์จะสามารถลงนามในสัญญาได้ หลังจากเซ็นสัญญาจ้างผู้ชนะประมูลเสร็จ เฟสแรกจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือนจึงจะสามารถเปิดให้บริการได้
นายประพันธ์กล่าวว่า ข้อสงสัยในทุกคำถามของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) คณะกรรมการดำเนินการประมูลโครงการ 3G สามารถตอบได้ทุกข้อสงสัย โดยการพิจารณาของบอร์ดชุดนี้มีความรอบคอบและใช้เวลาพอสมควร ทั้งนี้ กระบวนการดำเนินงานโครงการ 3G TOT ทั่วประทศทำกันมากว่า 3 ปี การอนุมัติของบอร์ดชุดนี้จึงไม่ใช่การเร่งทำ แต่เป็นช่วงเวลาที่เป็นจังหวะพอดี
“ที่บอร์ดชุดนี้อนุมัติให้เซ็นสัญญาไม่ใช่การเร่งทำอย่างรวดเร็ว ซึ่งทุกอย่างเป็นไปตามวิถีที่ต้องทำ เหมือนทีมฟุตบอลลูกบอลตกลงตรงหน้าก็ต้องเตะ เพราะเป็นไทม์มิ่งพอดี”
ส่วนกรณีที่จะมีการยุบสภาเลือกตั้งใหม่ หรือการมาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีคนใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นเจ้ากระทรวงที่ทีโอทีอยู่ภายใต้การกำกับดูแลนั้น จะไม่มีผลกระทบกับโครงการดังกล่าวแต่อย่างใด เพราะโครงการ 3G TOT ถือเป็นโอกาสทางธุรกิจของทีโอที หลังการประมูล 3G ความถี่ 2.1GHz ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ต้องล้มเลิกไป ทำให้ทีโอทีเป็นองค์กรเดียวขณะนี้ที่มีคลื่นความถี่ย่าน 1.9GHz ซึ่งเป็นความถี่ของระบบ 3G สากล
สำหรับบอร์ดทีโอทีชุดใหม่ที่มีนายสุชาติ บุญบรรเจิดศรี เป็นประธานบอร์ด เข้ามารับหน้าที่ได้ประมาณ 1 เดือน ก่อนลาออกด้วยปัญหาสุขภาพ และที่ประชุมได้มีมติให้นายบุญมาก ศิริเนาวกุล ทำหน้าที่รักษาการประธานบอร์ด โดยบอร์ดได้ตั้งคณะทำงานพิจารณาเรื่องโครงการ 3G TOT ทั่วประเทศและมีการประชุมกันรวม 4 ครั้ง ก่อนนำเข้าที่ประชุมบอร์ดเพื่อขออนุมัติในวันที่ 29 เม.ย.54
“ตอนแรกจะส่งหนังสือให้สตง. แต่มีความคิดว่าหากทีโอทีมั่นใจว่าทำตามหน้าที่ที่ถูกต้องก็ไม่จำเป็นต้องส่งหนังสือไป ซึ่งสตง.ก็มีหน้าที่ของสตง. หากสตง.มีข้อสงสัยคณะกรรมการประมูล 3G ก็สามารถตอบได้” นายประพันธ์ กล่าว
สำหรับโครงการจัดสร้างโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G TOT ทั่วประเทศ ทีโอทีจะใช้เงินกู้เพื่อดำเนินโครงการนี้ 80% ซึ่งประกอบด้วย การสร้างระบบโครงข่ายหลัก (คอร์ เน็ตเวิร์ก) 1 ระบบ ระบบสถานีฐาน (ยูทีอาร์เอเอ็น) 4,772 แห่ง ระบบสื่อสัญญาณ (ทรานสปอร์ต เน็ตเวิร์ก) ระบบบริการจัดการโครงข่าย (โอเอสเอส) ระบบบริการเสริมพื้นฐาน (วีเอเอส) ระบบสนับสนุนการให้บริการ (บิสิเนส ซัปพอร์ต ซิสเต็ม) และการติดตั้งอุปกรณ์และการจัดเตรียมสถานที่ อย่างละ 1 ระบบ รวมถึงอุปกรณ์สนับสนุนและบำรุงรักษาโครงข่ายด้วย.
นายประพันธ์ บุณยเกียรติ กรรมการบริหาร บริษัท ทีโอที กล่าวหลังการประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 29 เม.ย. ว่า บอร์ดมีมติอนุมัติให้มีการลงนามในสัญญาจ้างผู้ชนะประมูลโครงการสร้างโครงข่ายมือถือ 3G TOT ทั่วประเทศมูลค่า 17,440 ล้านบาท ซึ่งมีการประมูลด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-ออกชัน) เมื่อวันที่ 28 ม.ค.54 โดยกลุ่มกิจการร่วมค้า (คอนซอร์เตียม) เอสแอล ซึ่งประกอบด้วย บริษัทสามารถ คอร์ปอเรชั่น บริษัท ล็อกซเล่ย์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี และบริษัท โนเกีย ซีเมนส์ ที่ชนะการประมูลด้วยราคาต่ำสุด 16,290 ล้านบาท จากนั้นคณะกรรมการดำเนินงานประมูลโครงการ 3G TOT ต่อรองราคาลงมาเหลือ 15,999 ล้านบาท
แต่หลังจากได้ผู้ชนะการประมูล ได้มีการร้องเรียนจากบริษัท แซดทีอี และบริษัท อีริคสัน ที่ถูกตีตกเรื่องคุณสมบัติไม่ตรงตามทีโออาร์ โดยฟ้องศาลปกครองแต่ศาลไม่คุ้มครองตามคำร้อง รวมถึงมีข้อสงสัยจากหลายหน่วยงาน จนทำให้บอร์ดทยอยกันลาออกจนเหลือไม่ครบองค์ประชุม ทำให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ต้องมีการตั้งบอร์ดใหม่ขึ้นมาเพื่อสานงานต่อ
สำหรับการประชุมครั้งนี้บอร์ดทีโอทีได้เข้าประชุมครบทุกคน โดยมีนายบุญมาก ศิริเนาวกุล รักษาการประธานบอร์ดเป็นประธาน และที่ประชุมมีมติบอร์ดในเรื่อง 3G เป็นเอกฉันท์ ส่วนการเซ็นสัญญาเป็นเรื่องกระบวนการของทีโอทีซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายจัดการ โดยผู้ที่จะลงนามในสัญญาคือ นายอานนท์ ทับเที่ยง กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์จะสามารถลงนามในสัญญาได้ หลังจากเซ็นสัญญาจ้างผู้ชนะประมูลเสร็จ เฟสแรกจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือนจึงจะสามารถเปิดให้บริการได้
นายประพันธ์กล่าวว่า ข้อสงสัยในทุกคำถามของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) คณะกรรมการดำเนินการประมูลโครงการ 3G สามารถตอบได้ทุกข้อสงสัย โดยการพิจารณาของบอร์ดชุดนี้มีความรอบคอบและใช้เวลาพอสมควร ทั้งนี้ กระบวนการดำเนินงานโครงการ 3G TOT ทั่วประทศทำกันมากว่า 3 ปี การอนุมัติของบอร์ดชุดนี้จึงไม่ใช่การเร่งทำ แต่เป็นช่วงเวลาที่เป็นจังหวะพอดี
“ที่บอร์ดชุดนี้อนุมัติให้เซ็นสัญญาไม่ใช่การเร่งทำอย่างรวดเร็ว ซึ่งทุกอย่างเป็นไปตามวิถีที่ต้องทำ เหมือนทีมฟุตบอลลูกบอลตกลงตรงหน้าก็ต้องเตะ เพราะเป็นไทม์มิ่งพอดี”
ส่วนกรณีที่จะมีการยุบสภาเลือกตั้งใหม่ หรือการมาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีคนใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นเจ้ากระทรวงที่ทีโอทีอยู่ภายใต้การกำกับดูแลนั้น จะไม่มีผลกระทบกับโครงการดังกล่าวแต่อย่างใด เพราะโครงการ 3G TOT ถือเป็นโอกาสทางธุรกิจของทีโอที หลังการประมูล 3G ความถี่ 2.1GHz ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ต้องล้มเลิกไป ทำให้ทีโอทีเป็นองค์กรเดียวขณะนี้ที่มีคลื่นความถี่ย่าน 1.9GHz ซึ่งเป็นความถี่ของระบบ 3G สากล
สำหรับบอร์ดทีโอทีชุดใหม่ที่มีนายสุชาติ บุญบรรเจิดศรี เป็นประธานบอร์ด เข้ามารับหน้าที่ได้ประมาณ 1 เดือน ก่อนลาออกด้วยปัญหาสุขภาพ และที่ประชุมได้มีมติให้นายบุญมาก ศิริเนาวกุล ทำหน้าที่รักษาการประธานบอร์ด โดยบอร์ดได้ตั้งคณะทำงานพิจารณาเรื่องโครงการ 3G TOT ทั่วประเทศและมีการประชุมกันรวม 4 ครั้ง ก่อนนำเข้าที่ประชุมบอร์ดเพื่อขออนุมัติในวันที่ 29 เม.ย.54
“ตอนแรกจะส่งหนังสือให้สตง. แต่มีความคิดว่าหากทีโอทีมั่นใจว่าทำตามหน้าที่ที่ถูกต้องก็ไม่จำเป็นต้องส่งหนังสือไป ซึ่งสตง.ก็มีหน้าที่ของสตง. หากสตง.มีข้อสงสัยคณะกรรมการประมูล 3G ก็สามารถตอบได้” นายประพันธ์ กล่าว
สำหรับโครงการจัดสร้างโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G TOT ทั่วประเทศ ทีโอทีจะใช้เงินกู้เพื่อดำเนินโครงการนี้ 80% ซึ่งประกอบด้วย การสร้างระบบโครงข่ายหลัก (คอร์ เน็ตเวิร์ก) 1 ระบบ ระบบสถานีฐาน (ยูทีอาร์เอเอ็น) 4,772 แห่ง ระบบสื่อสัญญาณ (ทรานสปอร์ต เน็ตเวิร์ก) ระบบบริการจัดการโครงข่าย (โอเอสเอส) ระบบบริการเสริมพื้นฐาน (วีเอเอส) ระบบสนับสนุนการให้บริการ (บิสิเนส ซัปพอร์ต ซิสเต็ม) และการติดตั้งอุปกรณ์และการจัดเตรียมสถานที่ อย่างละ 1 ระบบ รวมถึงอุปกรณ์สนับสนุนและบำรุงรักษาโครงข่ายด้วย.