ASTVผู้จัดการรายวัน - ปตท.สยายปีกลงทุนธุรกิจไฟฟ้าในต่างประเทศ ตั้งเป้า 10ปีมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 6 พันเมกะวัตต์ จากปัจจุบันที่กำลังการผลิต 700 เมกะวัตต์ มั่นใจปีนี้มีความชัดเจนการลงทุนโรงไฟฟ้าในเวียดนามและฟิลิปปินส์ ส่วนโครงการสร้างเขื่อนและไฟฟ้าไซยะบุรี รอรัฐบาลลาวและช.การช่างเป็นผู้ตัดสินใจหลังถูกคัดค้าน
นายณัฐชาติ จารุจินดา รองผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค์กร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกลยุทธ์การลงทุนในต่างประเทศว่า บริษัทมีแผนขยายการลงทุนไปต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยจะเน้นการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับก๊าซธรรมชาติที่ปตท.มีความเข้มแข็ง ธุรกิจไฟฟ้า รวมถึงถ่านหิน โดยจัดกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพในการลงทุน เช่น บมจ.ปตท.สผ.จะเน้นใน 3 กลุ่มประเทศทวีปอเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย และประเทศในภูมิภาคอาเซียน
ส่วนธุรกิจไฟฟ้า กลุ่มปตท.ตั้งเป้าแผนกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มเป็น 6 พันเมกะวัตต์ใน 10 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันที่กลุ่มปตท.มีกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 700 เมกะวัตต์ (ไม่รวมโรงไฟฟ้าไซยะบุรี) โดยจะเน้นการลงทุนธุรกิจไฟฟ้าในต่างประเทศ เนื่องจากเห็นว่าธุรกิจไฟฟ้าสร้างรายได้สม่ำเสมอแม้ว่าผลตอบแทนจากการลงทุนต่ำกว่าธุรกิจอื่นก็ตามแต่หากพิจารณาถึงความเสี่ยงทางธุรกิจก็ต่ำด้วย นับเป็นการต่อยอดธุรกิจก๊าซฯและถ่านหินที่ปตท.ดำเนินการอยู่
โดยปีนี้คาดว่าจะมีความชัดเจนในการลงทุนโรงไฟฟ้าเพิ่มเติม เนื่องจากธุรกิจไฟฟ้าในหลายประเทศในอาเซียนมีโอกาสเติบโตสูง เช่น ประเทศเวียดนามไฟฟ้าขาด และฟิลิปปินส์มีปริมาณสำรองไฟฟ้าติดลบ เนื่องจากปริมาณกำลังผลิตไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้น
ส่วนโครงการสร้างเขื่อนและโรงไฟฟ้าไซยะบุรีที่มีการร้องเรียนปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ขณะนี้โครงการดังกล่าวยังคงอยูี่ระหว่างการดำเนินการ คงต้องรอการตัดสินใจของรัฐบาลลาวและให้อำนาจผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ ช.การช่างเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งปตท.ถือหุ้นโครงการนี้เพียง 25%เท่านั้น ส่วนปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมนั้น คิดว่าโครงการดังกล่าวไม่มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากได้ผ่านการศึกษาผลกระทบเรื่องปริมาณน้ำแล้ว
เมื่อวันที่19 เม.ย.ที่ผ่านมา ตัวแทน 4ประเทศลุ่มน้ำโขง ประกอบด้วย ไทย ลาว เวียดนาม และกัมพูชา ได้มีการประชุมฯที่เวียงจันทน์ เพื่อตัดสินใจว่าลาวควรก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีต่อหรือไม่ เนื่องจากมีบางประเทศกังวลว่าโครงการดังกล่าวจะมีปัยหาด้านสิ่งแวดล้อมและการทำประมงในตอนใต้ของแม่น้ำโขง โดยนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเจ้าหน้าที่รัฐของเวียดนามระบุว่าเขื่อนดังกล่าวจะกระทบต่อการทำประมง ในการประชุมดังกล่าวไทย เวียดนามและกัมพูชา เห็นชอบว่าโครงการดังกล่าวควรชะลอการก่อสร้างออกไปก่อน ขณะที่ลาวระบุว่าโครงการดังกล่าวเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและไม่มีผลกระทบต่อลุ่มน้ำโขงอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมฯได้ชะลอการตัดสินใจการเดินหน้าโครงการดังกล่าวออกไปก่อน
นายณัฐชาติ จารุจินดา รองผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค์กร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกลยุทธ์การลงทุนในต่างประเทศว่า บริษัทมีแผนขยายการลงทุนไปต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยจะเน้นการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับก๊าซธรรมชาติที่ปตท.มีความเข้มแข็ง ธุรกิจไฟฟ้า รวมถึงถ่านหิน โดยจัดกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพในการลงทุน เช่น บมจ.ปตท.สผ.จะเน้นใน 3 กลุ่มประเทศทวีปอเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย และประเทศในภูมิภาคอาเซียน
ส่วนธุรกิจไฟฟ้า กลุ่มปตท.ตั้งเป้าแผนกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มเป็น 6 พันเมกะวัตต์ใน 10 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันที่กลุ่มปตท.มีกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 700 เมกะวัตต์ (ไม่รวมโรงไฟฟ้าไซยะบุรี) โดยจะเน้นการลงทุนธุรกิจไฟฟ้าในต่างประเทศ เนื่องจากเห็นว่าธุรกิจไฟฟ้าสร้างรายได้สม่ำเสมอแม้ว่าผลตอบแทนจากการลงทุนต่ำกว่าธุรกิจอื่นก็ตามแต่หากพิจารณาถึงความเสี่ยงทางธุรกิจก็ต่ำด้วย นับเป็นการต่อยอดธุรกิจก๊าซฯและถ่านหินที่ปตท.ดำเนินการอยู่
โดยปีนี้คาดว่าจะมีความชัดเจนในการลงทุนโรงไฟฟ้าเพิ่มเติม เนื่องจากธุรกิจไฟฟ้าในหลายประเทศในอาเซียนมีโอกาสเติบโตสูง เช่น ประเทศเวียดนามไฟฟ้าขาด และฟิลิปปินส์มีปริมาณสำรองไฟฟ้าติดลบ เนื่องจากปริมาณกำลังผลิตไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้น
ส่วนโครงการสร้างเขื่อนและโรงไฟฟ้าไซยะบุรีที่มีการร้องเรียนปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ขณะนี้โครงการดังกล่าวยังคงอยูี่ระหว่างการดำเนินการ คงต้องรอการตัดสินใจของรัฐบาลลาวและให้อำนาจผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ ช.การช่างเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งปตท.ถือหุ้นโครงการนี้เพียง 25%เท่านั้น ส่วนปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมนั้น คิดว่าโครงการดังกล่าวไม่มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากได้ผ่านการศึกษาผลกระทบเรื่องปริมาณน้ำแล้ว
เมื่อวันที่19 เม.ย.ที่ผ่านมา ตัวแทน 4ประเทศลุ่มน้ำโขง ประกอบด้วย ไทย ลาว เวียดนาม และกัมพูชา ได้มีการประชุมฯที่เวียงจันทน์ เพื่อตัดสินใจว่าลาวควรก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีต่อหรือไม่ เนื่องจากมีบางประเทศกังวลว่าโครงการดังกล่าวจะมีปัยหาด้านสิ่งแวดล้อมและการทำประมงในตอนใต้ของแม่น้ำโขง โดยนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเจ้าหน้าที่รัฐของเวียดนามระบุว่าเขื่อนดังกล่าวจะกระทบต่อการทำประมง ในการประชุมดังกล่าวไทย เวียดนามและกัมพูชา เห็นชอบว่าโครงการดังกล่าวควรชะลอการก่อสร้างออกไปก่อน ขณะที่ลาวระบุว่าโครงการดังกล่าวเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและไม่มีผลกระทบต่อลุ่มน้ำโขงอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมฯได้ชะลอการตัดสินใจการเดินหน้าโครงการดังกล่าวออกไปก่อน