เอเจนซีส์ – นักวิจัยพบ ‘ดื่มเพื่อลืมเธอ’ เป็นเรื่องคิดกันไปเอง จริงๆ แล้วการดื่มกลับทำให้ความทรงจำกระจ่างขึ้น
ผลศึกษาใหม่จากศูนย์การวิจัยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการเสพติด มหาวิทยาลัยเทกซัส สหรัฐฯ ระบุว่าอาการเมากระตุ้นสมองบางส่วนให้เรียนรู้และจดจำสิ่งต่างๆ ชัดเจนขึ้น
สิ่งที่คนทั่วไปคิดกันว่า การดื่มทำให้ลืมสิ่งต่างๆ และความสามารถในการเรียนรู้ถูกลดทอนเป็นความคิดที่ผิดถนัด เนื่องจากเป็นการเน้นย้ำผลของแอลกอฮอล์ที่มีต่อสมองเพียงด้านเดียว
ฮิโตชิ โมริกาวะ นักประสาทชีววิทยาของมหาวิทยาลัยเทกซัส อธิบายว่าปกติแล้วเวลาพูดถึงการเรียนรู้และความจำ เรามักนึกถึงความจำแบบมีสติ
“แอลกอฮอล์บั่นทอนความสามารถในการเก็บชิ้นส่วนข้อมูล เช่น ชื่อเพื่อนร่วมงาน หรือความหมายของคำต่างๆ หรือที่ที่จอดรถไว้
“แต่จิตใต้สำนึกของเรากำลังเรียนรู้และจดจำไปพร้อมกัน และจริงๆ แล้วแอลกอฮอล์อาจเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ด้วยซ้ำ”
การศึกษาของโมริกาวะที่เผยแพร่ในวารสารเจอร์นัล ออฟ นิวโรไซนส์ฉบับเดือนที่ผ่านมา พบว่าการดื่มแอลกอฮอล์ต่อเนื่องช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพจุดประสานประสาทในสมอง
เมื่อดื่มแอลกอฮอล์หรือเสพยาเสพติด จิตใต้สำนึกไม่เพียงเรียนรู้เพื่อดื่มหรือเสพมากขึ้น แต่ยังเปิดรับสัญญาณมากขึ้นและสร้างเป็นความทรงจำและพฤติกรรมจากจิตใต้สำนึกเกี่ยวกับอาหาร เพลง หรือแม้แต่ผู้คนและสถานการณ์แวดล้อม
โมริกาวะเสริมว่า คนเราไม่ได้เสพติดแอลกอฮอล์จากประสบการณ์ความพึงพอใจหรือความผ่อนคลายที่ได้จากการดื่ม แต่เสพติดจากสภาพแวดล้อม พฤติกรรม และสัญญาณทางกายภาพที่ถูกเน้นย้ำเมื่อแอลกอฮอล์ไปกระตุ้นให้สมองหลั่งสารโดพามีนออกมา
“คนมักคิดว่าโดพามีนเป็นตัวส่งสัญญาณความสุขหรือความพึงพอใจ แต่ที่ถูกต้องกว่าคือตัวส่งสัญญาณการเรียนรู้ โดยทำให้จุดประสานประสาททำงานหนักขึ้นเมื่อสมองหลั่งโดพามีนออกมา”
สิ่งต่างๆ ที่เรียนรู้ระหว่างการดื่ม เช่น การนั่งในผับ คุยกับเพื่อน กินอาหาร ฟังเพลง และความพึงพอใจอื่นๆ ถือเป็นรางวัล
ยิ่งเราทำสิ่งเหล่านี้บ่อยขึ้นระหว่างการดื่ม สมองจะสร้างโดพามีนออกมามากขึ้น จุดประสานประสาททำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเราจะโหยหาประสบการณ์และความเชื่อมโยงที่เกิดขึ้นระหว่างการดื่มมากขึ้น
โมริกาวะหวังว่า การทำความเข้าใจด้านประสาทชีววิทยานี้จะนำไปสู่การพัฒนายาต้านการเสพติดที่ทำให้จุดประสานประสาทสำคัญอ่อนแอลงแทนที่จะทำงานเข้มแข็งขึ้น ซึ่งหมายถึงการแปรกลับของสมองส่วนที่ควบคุมแง่มุมในการเสพติด
ผลศึกษาใหม่จากศูนย์การวิจัยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการเสพติด มหาวิทยาลัยเทกซัส สหรัฐฯ ระบุว่าอาการเมากระตุ้นสมองบางส่วนให้เรียนรู้และจดจำสิ่งต่างๆ ชัดเจนขึ้น
สิ่งที่คนทั่วไปคิดกันว่า การดื่มทำให้ลืมสิ่งต่างๆ และความสามารถในการเรียนรู้ถูกลดทอนเป็นความคิดที่ผิดถนัด เนื่องจากเป็นการเน้นย้ำผลของแอลกอฮอล์ที่มีต่อสมองเพียงด้านเดียว
ฮิโตชิ โมริกาวะ นักประสาทชีววิทยาของมหาวิทยาลัยเทกซัส อธิบายว่าปกติแล้วเวลาพูดถึงการเรียนรู้และความจำ เรามักนึกถึงความจำแบบมีสติ
“แอลกอฮอล์บั่นทอนความสามารถในการเก็บชิ้นส่วนข้อมูล เช่น ชื่อเพื่อนร่วมงาน หรือความหมายของคำต่างๆ หรือที่ที่จอดรถไว้
“แต่จิตใต้สำนึกของเรากำลังเรียนรู้และจดจำไปพร้อมกัน และจริงๆ แล้วแอลกอฮอล์อาจเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ด้วยซ้ำ”
การศึกษาของโมริกาวะที่เผยแพร่ในวารสารเจอร์นัล ออฟ นิวโรไซนส์ฉบับเดือนที่ผ่านมา พบว่าการดื่มแอลกอฮอล์ต่อเนื่องช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพจุดประสานประสาทในสมอง
เมื่อดื่มแอลกอฮอล์หรือเสพยาเสพติด จิตใต้สำนึกไม่เพียงเรียนรู้เพื่อดื่มหรือเสพมากขึ้น แต่ยังเปิดรับสัญญาณมากขึ้นและสร้างเป็นความทรงจำและพฤติกรรมจากจิตใต้สำนึกเกี่ยวกับอาหาร เพลง หรือแม้แต่ผู้คนและสถานการณ์แวดล้อม
โมริกาวะเสริมว่า คนเราไม่ได้เสพติดแอลกอฮอล์จากประสบการณ์ความพึงพอใจหรือความผ่อนคลายที่ได้จากการดื่ม แต่เสพติดจากสภาพแวดล้อม พฤติกรรม และสัญญาณทางกายภาพที่ถูกเน้นย้ำเมื่อแอลกอฮอล์ไปกระตุ้นให้สมองหลั่งสารโดพามีนออกมา
“คนมักคิดว่าโดพามีนเป็นตัวส่งสัญญาณความสุขหรือความพึงพอใจ แต่ที่ถูกต้องกว่าคือตัวส่งสัญญาณการเรียนรู้ โดยทำให้จุดประสานประสาททำงานหนักขึ้นเมื่อสมองหลั่งโดพามีนออกมา”
สิ่งต่างๆ ที่เรียนรู้ระหว่างการดื่ม เช่น การนั่งในผับ คุยกับเพื่อน กินอาหาร ฟังเพลง และความพึงพอใจอื่นๆ ถือเป็นรางวัล
ยิ่งเราทำสิ่งเหล่านี้บ่อยขึ้นระหว่างการดื่ม สมองจะสร้างโดพามีนออกมามากขึ้น จุดประสานประสาททำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเราจะโหยหาประสบการณ์และความเชื่อมโยงที่เกิดขึ้นระหว่างการดื่มมากขึ้น
โมริกาวะหวังว่า การทำความเข้าใจด้านประสาทชีววิทยานี้จะนำไปสู่การพัฒนายาต้านการเสพติดที่ทำให้จุดประสานประสาทสำคัญอ่อนแอลงแทนที่จะทำงานเข้มแข็งขึ้น ซึ่งหมายถึงการแปรกลับของสมองส่วนที่ควบคุมแง่มุมในการเสพติด