ASTVผู้จัดการรายวัน - หากจะกล่าวว่า ยุคนี้เป็นยุคแหล่งการเปลี่ยนแปลง ก็ไม่ใช้สิ่งที่เกินกว่าเหตุ เพราะเหตุการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะภัยพิบัติทางธรรมชาติในหลายประเทศ อาทิ น้ำท่วมในยุโรป อเมริกา เหตุแผ่นดินไหวและสึนามิที่ญี่ปุ่น ตามมาด้วยเหตุแผ่นดินไหวในหลายประเทศ สร้างความตื่นตระหนกแก่คนทั่วโลก รวมถึงคนไทย และภัยพิบัติเริ่มขยับเข้าใกล้ไทยไปทุกขณะ ซึ่งเหตุการณที่ไทยได้รับผลกระทบอยู่ในขณะนี้คือ น้ำท่วมใหญ่ทางภาคใต้ และแผ่นดินไหวที่พม่ารู้สึกได้ถึงกรุงเทพ ล่าสุดแผ่นดินไหวกว่า 3 ริกเตอร์ที่รอยเลื่อนแม่จันทร์ทางตอนเหนือของไทย ภัยพิบัติทางธรรมชาติเริ่มเกิดบ่อยครั้ง จากที่เคยตื่นตระหนกก็เริ่มชินและยอมรับสภาพ เตรียมพร้อมรับมือ
นอกจากภัยทางธรรมชาติแล้ว ยังมีปัญหาสงครามในหลายประเทศ โดยเฉพาะลิเบียที่นาโต้เข้าไปช่วยระงับเหตุหรือสุมเชื่อเพลิงให้ไฟรุกโหมรุนแรง คนทั้งโลกจับตามอง และลุ้นระทึกว่าเหตุการณ์จะรุกลามบานปลายไปยังประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายอื่นในตะวันออกกลางหรือไม่ เพราะหากเหตุการณ์ขยายวงกระทบต่อการผลิตน้ำมันและเชื่อว่าได้ ราคาน้ำมันจะทยานขึ้นจนทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกระส่ำเป็นแน่แท้
ปัญหาข้างต้นถือเป็นปัจจัยลบภายนอก ที่อยู่เหนือการควบคุม แต่อาจทำให้ตลาดชะงักไปชั่วขณะ เมื่อเวลาผ่านไปทุกอย่างก็เข้าสู่ภาวะปกติ เพราะทุกชีวิตต้องดำเนินต่อไปจนกว่าจะตายจากโลกนี้ไป แต่จะก้าวเดินอย่างไรให้อยู่บนพื้นฐานของความปลอดภัย
สำหรับตลาดอสังหาริมทรัพย์ ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อจิตวิทยาของผู้บริโภคล้วน จะทำให้ตลาดชะงักงันได้ เพราะการซื้อบ้านเป็นสินค้าที่มีราคาสูงต้องใช้เงินจำนวนมากในการซื้อหา ปัจจุบันมีหลายปัจจัยที่กระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค อาทิ ดอกเบี้ยขา สินค้าอุปโภค บริโภค น้ำมัน ค่าเดินทาง ล้วนปรับขึ้นถ้วนหน้า ในขณะที่รายได้ของผู้บริโภคส่วนใหญ่ปรับตามไม่ทันกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ทำให้ความสามารถในการซื้อของผู้บริโภคลดลง
นอกจากกำลังซื้อลดลงแล้ว ปัญหาภัยทางธรรมชาติ การเมือง ประเทศคู้ค้าสำคัญได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ และสงครามล้วนส่งผลให้เศรษฐกิจของไทยมีความผันผวนรุนแรง ประกอบกับการเมืองใกล้ช่วงเลือกตั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายบริหารประเทศหากรัฐบาลชุดใหม่ไม่ใช่พรรคเดิม ย่อมทำให้สถาบันการเงินมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ คัดกรองลูกค้ามากขึ้น อาจทำให้ผู้บริโภคบางส่วนไม่ผ่านเกณฑ์ของสถาบันการเงิน หรือได้วงเงินน้อยลง
กรอปกับธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ได้ออกเกณฑ์กำหนดวงเงินสินเชื่อต่อมูลค่าสินทรัพย์ หรือ LTV สำหรับซื้อคอนโดมิเนียมไม่เกิน 90% มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 54 และบ้านเดี่ยววงเงินไม่เกิน 95% มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 55 ดังนั้นผู้ซื้อคอนโดฯ จะต้องมีเงินวางดาวน์ไม่น้อยกว่า 10% ขณะที่บ้านเดี่ยว 5% ต่างจากช่วงก่อนหน้านี้ ที่สถาบันการเงินและผู้ประกอบการต่างออกโปรโมชั่นเพื่อดึงลูกค้า ด้วยการปล่อยกู้ 100% บางโครงการตกแต่งพร้อมเข้าอยู่ ผู้ซื้อแถบไม่ต้องใช้เงินในการซื้อบ้านเลย
เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาวางเงินดาวน์ซื้อบ้านแล้ว ขอสินเชื่อไม่ผ่าน ธนาคารปฏิเสธการปล่อยกู้ ต้องเสียเงินดาวน์โดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้นก่อนตัดสินใจวางเงินดาวน์บ้านกับเจ้าของโครงการ ผู้ซื้อควรตรวจเช็คเบื้องต้นก่อนว่า เครดิตในปัจจุบันของตนเองเป็นอย่างไร ธนาคารหรือสถาบันการเงินจะปล่อยสินเชื่อให้หรือไม่ ถ้าปล่อยจะได้วงเงินเท่าใด เพื่อไม่ให้สูญเสียเงินดาวน์ หรือได้วงเงินกู้น้อยกว่าที่ตั้งเอาไว้ ซึ่งจะทำให้ผู้ซื้อต้องหาเงินดาวน์เพิ่ม แต่เหนือสิ่งอื่นใดผู้ที่ต้องการซื้อบ้านจะต้องมีการออมเงินมาระยะหนึ่งแล้ว เพื่อให้มีเงินก้อนในการวางเงินดาวน์
อย่างไรก็ตาม บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ แนะนำว่าผู้บริโภคควรตรวจสอบเครดิตของตนเองทุกปี เพื่อเช็คความถูกต้องของข้อมูล เพราะในการยื่นขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินแต่ละครั้ง นอกจากสถาบันการเงินจะตรวจสอบประวัติการชำระหนี้แล้ว ยังดูวงเงินสินเชื่อทุกประเภท รวมทั้งวงเงินบัตรเครดิตที่ทุกแบงก์ปล่อยให้ ซึ่งหากผู้บริโภคถือบัตรเครดิตหลายใบ แม้มีบางใบที่ไม่ได้ใช้ แต่ไม่ได้ปิดบัญชี ก็ถือว่ายังมีวงเงินนั้นอยู่ ทำให้เมื่อรวมยอดเบ็ดเสร็จที่ทุกสถาบันการเงินอนุมัติแล้ว อาจเหลือวงเงินที่จะกู้ได้เพียงเล็กน้อย หรือบางรายไม่เหลือเลย ซึ่งจะเป็นเหตุผลให้สถาบันการเงินไม่ปล่อยกู้ ดังนั้นบัตรเครดิตใบใดที่ไม่ใช้ ก็ควรปิดบัญชีไป เพื่อประโยชน์ในการกู้ครั้งต่อไป
สำหรับผู้ที่ขอสินเชื่อกับธนาคารพาณิชย์และถูกปฏิเสธคำขอกู้ ผู้ขอสินเชื่อสามารถยื่นเรื่องขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตของตนเองจากศูนย์ข้อมูลเครดิตแห่งชาติได้ โดยส่งสำเนาบัตรประชาชน พร้อมแนบใบปฏิเสธสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์มาที่บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หลังจากนั้นบริษัทข้อมูลเครดิตจะทำการส่งข้อมูลไปให้ตามที่อยู่ในบัตรประชนหรือที่อยู่ที่ระบุไว้ในเอกสาร
ทั้งนี้ผู้บริโภค สามารถยื่นคำขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตของตนเองย้อนหลัง 3 ปีได้ที่ข้อมูลเครดิต ชั้น 2 อาคาร 2สำนักงานใหญ่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เจ้าของข้อมูลสามารถรอรับรายงานข้อมูลเครดิตได้ทันที หรือจัดส่งรายงานข้อมูลเครดิตทางไปรษณีย์ลงทะเบียนหรือที่ธนาคารนครหลวงไทย ธนาคารกรุงไทย และธนาคารไอซีบีซี ทุกสาขาทั่วประเทศ รวมทั้งสาขาย่อยตามห้างสรรพสินค้า โดยเสียค่าบริการเพียง 200 บาทต่อฉบับ
ในกรณีนิติบุคคล สามารถตรวจสอบข้อมูลเครดิตได้ทางไปรษณีย์ โดยส่งเอกสารมาที่ ส่วนบริหารเจ้าของข้อมูล ชั้น 2 อาคาร 2 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (สำนักงานใหญ่) เลขที่ 63 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320 โทรศัพท์ : (66) 02-643-1250 โทรสาร: (66) 02-612-5895 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ncb .co.th
นอกจากภัยทางธรรมชาติแล้ว ยังมีปัญหาสงครามในหลายประเทศ โดยเฉพาะลิเบียที่นาโต้เข้าไปช่วยระงับเหตุหรือสุมเชื่อเพลิงให้ไฟรุกโหมรุนแรง คนทั้งโลกจับตามอง และลุ้นระทึกว่าเหตุการณ์จะรุกลามบานปลายไปยังประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายอื่นในตะวันออกกลางหรือไม่ เพราะหากเหตุการณ์ขยายวงกระทบต่อการผลิตน้ำมันและเชื่อว่าได้ ราคาน้ำมันจะทยานขึ้นจนทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกระส่ำเป็นแน่แท้
ปัญหาข้างต้นถือเป็นปัจจัยลบภายนอก ที่อยู่เหนือการควบคุม แต่อาจทำให้ตลาดชะงักไปชั่วขณะ เมื่อเวลาผ่านไปทุกอย่างก็เข้าสู่ภาวะปกติ เพราะทุกชีวิตต้องดำเนินต่อไปจนกว่าจะตายจากโลกนี้ไป แต่จะก้าวเดินอย่างไรให้อยู่บนพื้นฐานของความปลอดภัย
สำหรับตลาดอสังหาริมทรัพย์ ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อจิตวิทยาของผู้บริโภคล้วน จะทำให้ตลาดชะงักงันได้ เพราะการซื้อบ้านเป็นสินค้าที่มีราคาสูงต้องใช้เงินจำนวนมากในการซื้อหา ปัจจุบันมีหลายปัจจัยที่กระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค อาทิ ดอกเบี้ยขา สินค้าอุปโภค บริโภค น้ำมัน ค่าเดินทาง ล้วนปรับขึ้นถ้วนหน้า ในขณะที่รายได้ของผู้บริโภคส่วนใหญ่ปรับตามไม่ทันกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ทำให้ความสามารถในการซื้อของผู้บริโภคลดลง
นอกจากกำลังซื้อลดลงแล้ว ปัญหาภัยทางธรรมชาติ การเมือง ประเทศคู้ค้าสำคัญได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ และสงครามล้วนส่งผลให้เศรษฐกิจของไทยมีความผันผวนรุนแรง ประกอบกับการเมืองใกล้ช่วงเลือกตั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายบริหารประเทศหากรัฐบาลชุดใหม่ไม่ใช่พรรคเดิม ย่อมทำให้สถาบันการเงินมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ คัดกรองลูกค้ามากขึ้น อาจทำให้ผู้บริโภคบางส่วนไม่ผ่านเกณฑ์ของสถาบันการเงิน หรือได้วงเงินน้อยลง
กรอปกับธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ได้ออกเกณฑ์กำหนดวงเงินสินเชื่อต่อมูลค่าสินทรัพย์ หรือ LTV สำหรับซื้อคอนโดมิเนียมไม่เกิน 90% มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 54 และบ้านเดี่ยววงเงินไม่เกิน 95% มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 55 ดังนั้นผู้ซื้อคอนโดฯ จะต้องมีเงินวางดาวน์ไม่น้อยกว่า 10% ขณะที่บ้านเดี่ยว 5% ต่างจากช่วงก่อนหน้านี้ ที่สถาบันการเงินและผู้ประกอบการต่างออกโปรโมชั่นเพื่อดึงลูกค้า ด้วยการปล่อยกู้ 100% บางโครงการตกแต่งพร้อมเข้าอยู่ ผู้ซื้อแถบไม่ต้องใช้เงินในการซื้อบ้านเลย
เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาวางเงินดาวน์ซื้อบ้านแล้ว ขอสินเชื่อไม่ผ่าน ธนาคารปฏิเสธการปล่อยกู้ ต้องเสียเงินดาวน์โดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้นก่อนตัดสินใจวางเงินดาวน์บ้านกับเจ้าของโครงการ ผู้ซื้อควรตรวจเช็คเบื้องต้นก่อนว่า เครดิตในปัจจุบันของตนเองเป็นอย่างไร ธนาคารหรือสถาบันการเงินจะปล่อยสินเชื่อให้หรือไม่ ถ้าปล่อยจะได้วงเงินเท่าใด เพื่อไม่ให้สูญเสียเงินดาวน์ หรือได้วงเงินกู้น้อยกว่าที่ตั้งเอาไว้ ซึ่งจะทำให้ผู้ซื้อต้องหาเงินดาวน์เพิ่ม แต่เหนือสิ่งอื่นใดผู้ที่ต้องการซื้อบ้านจะต้องมีการออมเงินมาระยะหนึ่งแล้ว เพื่อให้มีเงินก้อนในการวางเงินดาวน์
อย่างไรก็ตาม บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ แนะนำว่าผู้บริโภคควรตรวจสอบเครดิตของตนเองทุกปี เพื่อเช็คความถูกต้องของข้อมูล เพราะในการยื่นขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินแต่ละครั้ง นอกจากสถาบันการเงินจะตรวจสอบประวัติการชำระหนี้แล้ว ยังดูวงเงินสินเชื่อทุกประเภท รวมทั้งวงเงินบัตรเครดิตที่ทุกแบงก์ปล่อยให้ ซึ่งหากผู้บริโภคถือบัตรเครดิตหลายใบ แม้มีบางใบที่ไม่ได้ใช้ แต่ไม่ได้ปิดบัญชี ก็ถือว่ายังมีวงเงินนั้นอยู่ ทำให้เมื่อรวมยอดเบ็ดเสร็จที่ทุกสถาบันการเงินอนุมัติแล้ว อาจเหลือวงเงินที่จะกู้ได้เพียงเล็กน้อย หรือบางรายไม่เหลือเลย ซึ่งจะเป็นเหตุผลให้สถาบันการเงินไม่ปล่อยกู้ ดังนั้นบัตรเครดิตใบใดที่ไม่ใช้ ก็ควรปิดบัญชีไป เพื่อประโยชน์ในการกู้ครั้งต่อไป
สำหรับผู้ที่ขอสินเชื่อกับธนาคารพาณิชย์และถูกปฏิเสธคำขอกู้ ผู้ขอสินเชื่อสามารถยื่นเรื่องขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตของตนเองจากศูนย์ข้อมูลเครดิตแห่งชาติได้ โดยส่งสำเนาบัตรประชาชน พร้อมแนบใบปฏิเสธสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์มาที่บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หลังจากนั้นบริษัทข้อมูลเครดิตจะทำการส่งข้อมูลไปให้ตามที่อยู่ในบัตรประชนหรือที่อยู่ที่ระบุไว้ในเอกสาร
ทั้งนี้ผู้บริโภค สามารถยื่นคำขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตของตนเองย้อนหลัง 3 ปีได้ที่ข้อมูลเครดิต ชั้น 2 อาคาร 2สำนักงานใหญ่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เจ้าของข้อมูลสามารถรอรับรายงานข้อมูลเครดิตได้ทันที หรือจัดส่งรายงานข้อมูลเครดิตทางไปรษณีย์ลงทะเบียนหรือที่ธนาคารนครหลวงไทย ธนาคารกรุงไทย และธนาคารไอซีบีซี ทุกสาขาทั่วประเทศ รวมทั้งสาขาย่อยตามห้างสรรพสินค้า โดยเสียค่าบริการเพียง 200 บาทต่อฉบับ
ในกรณีนิติบุคคล สามารถตรวจสอบข้อมูลเครดิตได้ทางไปรษณีย์ โดยส่งเอกสารมาที่ ส่วนบริหารเจ้าของข้อมูล ชั้น 2 อาคาร 2 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (สำนักงานใหญ่) เลขที่ 63 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320 โทรศัพท์ : (66) 02-643-1250 โทรสาร: (66) 02-612-5895 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ncb .co.th