ASTVผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”ของบครม. 2 พันล้าน ช่วยธุรกิจ 2.7 หมื่นรายจมน้ำท่วมใน 10 จังหวัดภาคใต้ ปล่อยกู้ให้รายละ 5 ล้านบาท ดอกเบี้ย MLR-3% พร้อมผ่อนผันการส่งงบดุลประจำปี ส่วนยอดจดทะเบียนตั้งใหม่มี.ค.ทะลุ 5.7 พันราย เพิ่มขึ้น 22% ขณะที่ยอดเจ๊งมีแค่ 787 ราย เพิ่มขึ้น 27%
นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 12 เม.ย.นี้ กระทรวงพาณิชย์จะเสนอแผนมาตรการเยียวยาและผ่อนปรนให้กับธุรกิจในพื้นที่ 10 จังหวัดภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม ซึ่งมีจำนวนบริษัทนิติบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว 27,561 ราย คิดเป็นทุนจดทะเบียน 188,757 ล้านบาท โดยจะของบประมาณจากครม. ประมาณ 2,000 ล้านบาท เพื่อปล่อยกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ ผ่านทางธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) โดยคิดอัตราดอกเบี้ย MLR ลบ 3% พร้อมทั้งผ่อนผันการชำระคืนเงินต้น 1 ปี และให้บรรษัทวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (บสย.) เป็นผู้ค้ำประกันค่าธรรมเนียมในการกู้เงิน
ซึ่งแต่ละรายสามารถกู้เงินตามโครงการนี้ได้ไม่เกินรายละ 5 ล้านบาท มีระยะเวลาการผ่อนชำระไม่เกิน 5 ปี
ขณะเดียวกัน ยังได้มอบหมายให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าผ่อนผันการแจ้งบัญชีงบดุลเสียหายตามกฎหมายที่กำหนดไว้ 15 วัน เป็นแบบไม่มีกำหนดระยะเวลา และขยายระยะเวลาการจดยื่นงบดุลตามที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าจะต้องยื่นภายในวันที่ 31 พ.ค.นี้ โดยให้มีการพิจารณาผ่อนผันเป็นรายๆ ไป
สำหรับการจดทะเบียนธุรกิจในเดือนมี.ค.2554 มีผู้ประกอบธุรกิจขอจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่เป็นนิติบุคคล ประเภทห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด ทั่วประเทศ จำนวน 5,742 ราย มีเงินทุนจดทะเบียนจำนวน 18,602 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนมี.ค.2553 ซึ่งมีจำนวน 4,705 ราย เพิ่มขึ้น 1,037 ราย หรือเพิ่มขึ้น 22% โดยนิติบุคคลจดทะเบียนจัดตั้งสูงสุด 3 อันดับแรก คือ บริการนันทนาการ จำนวน 1,070 รายก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 450 ราย และอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 308 ราย ส่งผลให้ในไตรมาสแรกปี 2554 มีการจดทะเบียนจัดตั้งรวม 13,845 ราย เพิ่มขึ้น 16%
ส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนเลิกทั่วประเทศในเดือนมี.ค. มีจำนวน 787 ราย มีเงินทุนจดทะเบียน 3,470 ล้านบาท โดยการจดทะเบียนเลิกเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 170 ราย หรือเพิ่มขึ้น 27% และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 236 ราย หรือเพิ่มขึ้น 42% สำหรับประเภทธุรกิจที่จดทะเบียนเลิกสูงสุด 3 อันดับแรก คือ ก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 110 ราย อสังหาริมทรัพย์ จำนวน 38 ราย และบริการด้านธุรกิจอื่น จำนวน 23 ราย ส่งผลให้มีนิติบุคคลจดทะเบียนยกเลิกในไตรมาสแรกปี 2554 จำนวน 1,698 ราย เพิ่มขึ้น30%
ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีจำนวน ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญ บริษัทจำกัดคงอยู่ทั่วประเทศ มีจำนวน 481,792 ราย และบริษัทมหาชนคงอยู่ 899 ราย รวมนิติบุคคลคงอยู่ทั่วประเทศทั้งสิ้น 482,691 ราย
นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 12 เม.ย.นี้ กระทรวงพาณิชย์จะเสนอแผนมาตรการเยียวยาและผ่อนปรนให้กับธุรกิจในพื้นที่ 10 จังหวัดภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม ซึ่งมีจำนวนบริษัทนิติบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว 27,561 ราย คิดเป็นทุนจดทะเบียน 188,757 ล้านบาท โดยจะของบประมาณจากครม. ประมาณ 2,000 ล้านบาท เพื่อปล่อยกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ ผ่านทางธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) โดยคิดอัตราดอกเบี้ย MLR ลบ 3% พร้อมทั้งผ่อนผันการชำระคืนเงินต้น 1 ปี และให้บรรษัทวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (บสย.) เป็นผู้ค้ำประกันค่าธรรมเนียมในการกู้เงิน
ซึ่งแต่ละรายสามารถกู้เงินตามโครงการนี้ได้ไม่เกินรายละ 5 ล้านบาท มีระยะเวลาการผ่อนชำระไม่เกิน 5 ปี
ขณะเดียวกัน ยังได้มอบหมายให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าผ่อนผันการแจ้งบัญชีงบดุลเสียหายตามกฎหมายที่กำหนดไว้ 15 วัน เป็นแบบไม่มีกำหนดระยะเวลา และขยายระยะเวลาการจดยื่นงบดุลตามที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าจะต้องยื่นภายในวันที่ 31 พ.ค.นี้ โดยให้มีการพิจารณาผ่อนผันเป็นรายๆ ไป
สำหรับการจดทะเบียนธุรกิจในเดือนมี.ค.2554 มีผู้ประกอบธุรกิจขอจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่เป็นนิติบุคคล ประเภทห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด ทั่วประเทศ จำนวน 5,742 ราย มีเงินทุนจดทะเบียนจำนวน 18,602 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนมี.ค.2553 ซึ่งมีจำนวน 4,705 ราย เพิ่มขึ้น 1,037 ราย หรือเพิ่มขึ้น 22% โดยนิติบุคคลจดทะเบียนจัดตั้งสูงสุด 3 อันดับแรก คือ บริการนันทนาการ จำนวน 1,070 รายก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 450 ราย และอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 308 ราย ส่งผลให้ในไตรมาสแรกปี 2554 มีการจดทะเบียนจัดตั้งรวม 13,845 ราย เพิ่มขึ้น 16%
ส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนเลิกทั่วประเทศในเดือนมี.ค. มีจำนวน 787 ราย มีเงินทุนจดทะเบียน 3,470 ล้านบาท โดยการจดทะเบียนเลิกเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 170 ราย หรือเพิ่มขึ้น 27% และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 236 ราย หรือเพิ่มขึ้น 42% สำหรับประเภทธุรกิจที่จดทะเบียนเลิกสูงสุด 3 อันดับแรก คือ ก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 110 ราย อสังหาริมทรัพย์ จำนวน 38 ราย และบริการด้านธุรกิจอื่น จำนวน 23 ราย ส่งผลให้มีนิติบุคคลจดทะเบียนยกเลิกในไตรมาสแรกปี 2554 จำนวน 1,698 ราย เพิ่มขึ้น30%
ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีจำนวน ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญ บริษัทจำกัดคงอยู่ทั่วประเทศ มีจำนวน 481,792 ราย และบริษัทมหาชนคงอยู่ 899 ราย รวมนิติบุคคลคงอยู่ทั่วประเทศทั้งสิ้น 482,691 ราย