ศูนย์ข่าวภาคใต้-สถานการณ์น้ำท่วม ดินถล่มภาคใต้หลายพื้นที่เริ่มคลายวิกฤต ชาวกระบี่ทยอยกลับบ้านของตนแล้ว ขณะที่เมืองคอนบางพื้นที่ยังอ่วม "จระเข้" อาละวาดไล่งับ ฟาดหางใส่ชาวบ้านบาดเจ็บ "เชียรใหญ่"วุ่น ชาวบ้านฮือประท้วงคำสั่งยกเลิกเงินช่วยผู้ประสบภัยทั้งที่ถูกน้ำท่วมหนัก "คชอ." เตรียมงบฯช่วยน้ำท่วมภาคใต้ 2,900 ล้านบาท
วานนี้ (7 เม.ย.) นายเถลิงศักดิ์ ภูวญาณพงศ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด (ปภ.) กระบี่ กล่าวว่า ตามที่ได้เกิดเหตุน้ำท่วมและภูเขาถล่มในพื้นที่ จ.กระบี่ ขณะนี้สถานการณ์ทุกพื้นที่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ประชาชนผู้ประสบภัยต่างทยอยกลับไปประกอบอาชีพกันตามปกติบ้างแล้ว ยังคงมีผู้อพยพที่อาศัยอยู่ตามจุดต่างๆ อีกเพียง 460 คนเท่านั้น โดยแบ่งเป็น อ.อ่าวลึก 1 จุด อ.เขาพนม 5 จุด อ.เมือง 2 จุด
ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นมีทั้ง 8 อำเภอ 49 ตำบล 2 เทศบาล 343 หมู่บ้าน 43,370 ครัวเรือน ผู้ประสบภัย 228,772 คน มีผู้เสียชีวิต 10 ศพ สูญหาย 3 รายและบาดเจ็บ 96 คน
สำหรับความเสียหายด้านทรัพย์สิน การเกษตร ปศุสัตว์ ประมง การคมนาคมขนส่ง รวมมูลค่าความเสียหายประมาณ 325,986,145 บาท ส่วนการดำเนินการค้นหาผู้เสียชีวิตและผู้สูญหายทางเจ้าหน้าที่ยังคงออกค้นหาอย่างต่อเนื่อง ส่วนธารนำใจจากที่ต่างๆ ก็ยังหลั่งไหลเข้าสู่พื้นที่ประสบภัยอย่างไม่ขาดสาย
ส่วนการออกค้นหาผู้สูญหายที่คาดว่าจะเสียชีวิตและติดอยู่ใต้โคลนทมในบริเวณที่เกิดเหตุ ม.7 บ้านต้นหาร ต.หน้าเขา การออกค้นหาทางเจ้าหน้าที่ยังออกค้นหาอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะพบหรือญาติพี่น้องของผู้สูญหายจะพอใจ
ส่วนการช่วยเหลือในด้านที่อยู่อาศัยทางจังหวัดได้สร้างบ้านพักชั่วคราวให้แล้ว 42 หลัง ในพื้นที่ ม.7 ต.หน้าเขา ขณะนี้ได้สร้างเสร็จแล้วจำนวนหนึ่ง คาดว่าไม่เกิน 1 เดือน ผู้ประสบภัยก็สามารถจะเข้าไปอยู่ได้ ส่วนการเฝ้าระวังพื้นที่ประสบภัยหรือพื้นที่เสี่ยง ทาง ปภ.กระบี่ก็จะดำเนินการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง เพราะมีหลายจุดที่เป็นจุดเสี่ยง เกรงว่าหากเกิดมีฝนตกลงมาในช่วงนี้อีกอาจจะเกิดดินโคลนถล่มเกิดขึ้นมาอีก
**มูลนิธิราชประชาฯมอบถุงยังชีพ
วันเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายดิสธร วัชโรทัย ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ นายประวิทย์ หาญณรงค์ รองประธานฯ และนายประสงค์ พิฑูรกิจจา เลขาธิการมูลนิธิฯ พร้อมคณะได้เดินทางไปมอบถุงยังชีพพระราชทานให้แก่ราษฎรเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากภัยพิบัติน้ำท่วม ที่สถาบันการพลศึกษาจังหวัดกระบี่ 800 ครอบครัวและโรงเรียนวัดถ้ำโกบ อ.เขาพนม 700 ครอบครัว
โอกาสนี้ ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีความห่วงใยต่อผู้ประสบภัยน้ำท่วมในภาคใต้และในพื้นที่จังหวัดกระบี่เป็นอย่างยิ่ง จึงได้พระราชทานถุงยังชีพมาช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ประสบภัย 1,500 ครอบครัว คิดเป็นมูลค่าสิ่งของสงเคราะห์ทั้งสิ้น 1,232,294.25 บาท
**2หนูน้อยปลื้ม"พระบรมฯ"รับไว้ในพระอุปถัมภ์
ด.ช.จักรกฤษณ์ ชูศรี อายุ 11 ปี อยู่บ้านเลขที่ 90 ม.7 ต.หน้าเขา อ.เขาพนม จ.กระบี่ พร้อมด้วยน้องชาย คือ ด.ช.ดนุเดช ชูศรี อายุ 2 ขวบกล่าวว่า ตนรู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และปลื้มปีติเป็นอย่างยิ่งที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณรับตนและน้องชายไว้ในพระอุปภัมภ์
ด.ช.จักรกฤษณ์ กล่าวอีกว่า "หลังจากนี้ ผมจะตั้งใจเรียนและเมื่อโตขึ้นผมอยากเป็นทหาร เพื่อจะได้ปกป้องและรับใช้ประเทศชาติ"
**นครเริ่มคลี่คลาย-นบพิตำยังน่าห่วง
ส่วนทางด้านการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากเหตุการณ์อุทกภัยและดินถล่มในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ อ.นบพิตำ อ.สิชล เป็นพื้นที่ดินโคลนถล่มและอีก 5 อำเภอในเขตลุ่มน้ำปากพนัง ยังคงมีน้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้าง โดยภาพรวมนั้นลุ่มน้ำปากพนังยังคงเป็นปัญหาใหญ่ในขณะนี้เนื่องจากการระบายน้ำเป็นไปอย่างล่าช้า น้ำยังคงท่วมสูงในหลายจุดเช่น อ.ปากพนัง อ.เชียรใหญ่ และ อ.หัวไทร และ อ.เฉลิมพระเกียรติ
นายกรีฑา อินณรงค์ กำนันตำบลนบพิตำ อ.นบพิตำ เผยว่า สถานการณ์ในภาพรวมของพื้นที่ อ.นบพิตำนั้นเริ่มดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของถนนหนทางนั้นยังไม่ได้ฟื้นฟูเท่าที่ควร สะพานในพื้นที่ ต.นบพิตำขาดทั้งหมดในหมู่ที่ 2,3,4,5,7,9 ยังไม่สามารถเชื่อมกันได้เนื่องจากขาดสะพานแบริ่งหากจะเข้าไปได้นั้นต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อเท่านั้นต้องลุยลงไปในลำห้วยลำคลอง ไม่เช่นนั้นผ่านไม่ได้
“ยังมีอยู่อีก 3-4 หมู่บ้านยังออกมาด้านนอกไม่ได้ต้องเร่งเสริมสะพานแบริ่งเข้าไปแต่ตอนนี้ยังขาดแคลนมาก จากการสำรวจประมาณการนั้นพบว่าการถล่มของภูเขานั้นมีกว่า 100 จุดในพื้นที่ 2 ตำบลคือ ต.นบพิตำ และต.กรุงชิง ส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงโดยเฉพาะสวนยางพาราและสวนผลไม้ นับหมื่นไร่บางจุดถูกกวาดไปหมดไม่เหลือแม้แต่ต้นเดียว บางจุดลำคลองกว้าง 3เมตร ขยายกลายเป็นร้อยเมตร”
**จระเข้อาละวาดไล่งับใส่ชาวบ้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการพบเห็นจระเข้ในพื้นที่ อ.ปากพนัง หลายจุดด้วยกัน ซึ่งสร้างความหวาดผวาให้กับชาวบ้านหลายตำบล โดยเฉพาะใน ต.คลองกระบือ และ ต.คลองน้อย อ.ปากพนัง
หลังจากที่ ด.ต.เจริญ บัวคง หัวหน้าสายตรวจตำบลคลองน้อย รับแจ้งว่า มีจระเข้อาละวาดไล่กัดคนและมีผู้ได้รับบาดเจ็บในบริเวณ ม.10 ต.คลองกระบือ จึงเข้าทำการตรวจสอบ พร้อมจัดทีมไล่ล่าจระเข้ทันที โดยในช่วงเช้าเจ้าหน้าที่สามารถจับตายจระเข้ตัวเขื่องน้ำหนักประมาณ 40 ก.ก.เศษยาวประมาณ 2 เมตรไว้ได้และยังออกล่าอย่างต่อเนื่อง ส่วนผู้บาดเจ็บเนื่องจากถูกจระเข้ทำร้ายนั้นพบว่า คือ นายบุญนำ บุญจันทร์ อายุ 66 ปีอยู่ 4 ม.10 ต.คลองกระบือ อ.ปากพนัง อยู่ในสภาพเข่าขวาและต้นขวาบวมเป่ง
**ชาวเชียรใหญ่ฮือประท้วงคำสั่งรัฐ
ขณะเดียวกันได้เกิดความวุ่นวายขึ้นที่บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอเชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช ได้มีชาวบ้านจากท้องที่ต่างๆ ใน อ.เชียรใหญ่ มารวมตัวชุมนุมประท้วง โดยมีนายจำแลง คงวัดใหม่ และนายไมตรี ไชยราช ชาวบ้านจาก ต.เชียรใหญ่ อ.เชียรใหญ่ เป็นแกนนำ ได้ตั้งเวทีปราศรัยเพื่อให้ทางอำเภอชี้แจงเกี่ยวกับกรณี มีคำสั่งยกเลิกเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมเมื่อครั้งก่อนทั้งที่บางหมู่บ้านถูกยกเลิกจนหมด ขณะที่การช่วยเหลือผู้ประสบภัยครั้งล่าสุดก็ยังให้การช่วยเหลือไม่ทั่วถึง
นายจำแลง กล่าวบนเวทีปราศรัยว่า มติ ครม.เมื่อวันที่ 26 ต.ค.53 และวันที่ 16 พ.ย.53 อนุมัติให้ในงบประมาณรายจ่ายปี 2554 สำรองจ่ายในกรณีฉุกเฉิน หรือจำเป็นเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินครอบครัวละ 5,000 บาท ซึ่งได้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ อ.เชียรใหญ่ ทำให้ชาวบ้านรับความเดือดร้อนกันอย่างถ้วนหน้า บ้านพักที่อยู่อาศัยถูกน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน หลังจากที่ชาวบ้านได้นำหลักฐานตามที่ทางอำเภอแจ้งมาเพื่อขอรับเงินช่วยเหลือดังกล่าวจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่ได้รับแต่อย่างใด
ล่าสุดมีการสั่งยกเลิกเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในครั้งก่อน ทำให้ชาวบ้านมีความไม่พอใจว่าหน่วยงานราชการกำลังทำอะไรกันอยู่ ไม่เข้าใจว่าสั่งยกเลิกด้วยเหตุผลอันใด การช่วยเหลือของหน่วยงานราชการก็ล่าช้าและไม่ทั่วถึง บางหมู่บ้านยังไม่ได้รับการช่วยเหลือทำให้เดือดร้อนอย่างหนัก การที่ชาวบ้านมาร่วมตัวในครั้งนี้เพื่อขอทราบคำชี้แจงถึงกรณียกเลิกเงินช่วยเหลือเรื่องน้ำท่วมในครั้งก่อน และมาเรียกร้องให้เร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ยังไม่มีใครเข้าไปดูแลด้วย
ด้านนายอัมรินทร์ เขมรัตน์ นายอำเภอเชียรใหญ่ ซึ่งติดภารกิจได้สั่งการทางโทรศัพท์ให้ปลัดอำเภอเรียกกลุ่มชุมนุมเข้าประชุมปรึกษาหารือเพื่อชี้แจงกรณีดังกล่าวข้อเรียกของกลุ่มผู้ชุมนุมเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับกรณีเรื่องเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท และรับทราบพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือของผู้ประสบภัยว่ามีหมู่บ้านใดบ้าง เพื่อจะได้เข้าไปให้การช่วยเหลือต่อไป
**น้ำท่วมสุราษฎร์ฯพอเริ่มคลี่คลาย
ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี เริ่มคลี่คลายจนกลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้วเช่นกัน ยกเว้นถนนทางเข้าหมู่บ้านบางแห่งในพื้นที่ อ.เมือง อ.พุนพิน อ.บ้านนาสาร และ อ.บ้านนาเดิม ที่ยังมีน้ำท่วมขังสูงกว่า 2 เมตร ชาวบ้านยังต้องอาศัยถนนเป็นที่พักอาศัยชั่วคราว
**ตรังคาดอีก1สัปดาห์จะเริ่มคลี่คลาย
ส่วนพื้นที่ อ.เมือง และ อ.กันตัง จ.ตรัง บ้านเรือนกว่า 500 หลัง ยังถูกน้ำท่วมสูง 1-2 เมตร โดยเฉพาะพื้นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำตรัง ระดับน้ำสูงกว่า 3 เมตร ชาวบ้านยังต้องใช้เรือเป็นพาหนะ ในการเดินทางเข้า-ออกหมู่บ้าน และแม้ว่าวันนี้จะยังไม่มีฝนตกลงมา แต่ระดับน้ำใน 2 อำเภอยังคงได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลหนุน และภาวะแม่น้ำตรังล้นตลิ่ง ประกอบที่น้ำเหนือไหลบ่ามาจาก อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช คาดว่าอีกประมาณ 1 สัปดาห์ หากฝนไม่ตกลงมา สถานการณ์น้ำจะคลี่คลาย
**คชอ.ช่วยน้ำท่วม2,900ล้าน
ด้านนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการอำนวยการกำกับติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (คชอ.) ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผู้ว่าราชการ 10 จังหวัดที่ประสบอุทกภัย เข้าร่วมประชุม ผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์
โดยนายสาทิตย์ ได้กำชับให้ทุกหน่วยงานสำรวจข้อมูล ผู้ประสบอุทกภัย เพื่อให้เงินช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 5,000 บาท ตามที่ ครม.อนุมัติ ตามหลักเกณฑ์ที่ คชอ.กำหนดไว้ เช่น ต้องเป็นบ้านเรือนได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมโดยฉับพลัน ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย บ้านพักถูกน้ำท่วมขัง ติดต่อไม่น้อยกว่า 7 วัน บ้านพักได้รับความเสียหายจากดินโคลนถล่ม นอกจากนี้ ต้องเป็นบ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้าน หรือในกรณีที่เป็นบ้านเช่า ผู้เช่าจะได้รับเงินช่วยเหลือเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้น ครม.อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณช่วยเหลือความเสียหายจากอุทกภัยไม่เกิน 2,900 ล้านบาท ซึ่งมีบ้านเรือนที่อยู่ในข่ายได้รับความเสียหายประมาณ 58,000 ครัวเรือน
นายสาทิตย์ กล่าวอีกว่า จะเร่งจ่ายเงินงบประมาณในส่วนของงบช่วยเหลือผู้ประสบภัยช่วงปลายปีที่แล้วให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 10 เม.ย.นี้ ขณะนี้งบประมาณช่วยเหลือใหม่นี้จะเริ่มทยอยจ่ายหลังจากนั้นตามแต่ละจังหวัดที่ทำการสำรวจข้อมูลเสร็จสิ้น และจากการตรวจสอบกับผู้ว่าราชการจังหวัดที่ประสบอุทกภัย คาดมีบ้านพักได้รับความเสียหายทั้งหลังประมาณกว่า 360 หลังคาเรือน
ได้แก่ จ.กระบี่ 167 หลังคาเรือน ตรัง 9 หลังคาเรือน นครศรีธรรมราช 180 หลังคาเรือน สงขลา และชุมพร จังหวัดละ 5 หลังคาเรือน ส่วน จ.สุราษฎร์ธานี ยังไม่สามารถสำรวจได้ เนื่องจากสถานการณ์ยังไม่คลี่คลาย ซึ่งได้มีการเตรียมเงิยจากกองทุนช่วยเหลือจากผู้ประสบภัย 60 ล้านบาทไว้รองรับ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่มใน จ.สุราษฎร์ธานี โดยเตรียมน้ำดื่ม 100,000 ขวดไว้ให้การช่วยเหลือ
**ศธ.เตรียมแจกเงินช่วยครูใต้
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวถึงมาตรการช่วยผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ว่า กระทรวงศึกษาธิการ ได้ตั้งศูนย์ช่วยเหลือ 4 จุดในอ.นบพิตำ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช อ.เขาพนม จ.กระบี่ และอ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี โดยจะให้นักศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ไปช่วยตรวจสุขภาพ นักเรียนจากสถานอาชีวศึกษาไปตั้งศูนย์ซ่อมแซมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ที่เสียหาย และจะนำเงินบริจาคไปช่วยเหลือครูที่เดือดร้อนจากน้ำท่วมครอบครัวละ 5,000 บาท ในวันที่ 10 เม.ย.ที่จ.นครศรีธรรมราช พัทลุง และตรัง วันที่ 11 เม.ย.ที่ จ.สุราษฎร์ธานีและชุมพร
ส่วนโรงเรียนที่อุปกรณ์และตำราเรียนเสียหาย เบื้องต้นมีข้อมูลว่าอยู่ที่ 613 โรงเรียน รวมมูลค่า 402 ล้านบาท แต่หลังน้ำลดจะสำรวจความเสียหายเพิ่มเติม เพื่อที่จะทำเรื่องของงบกลางจากครม.มาทำการช่วยเหลือซ่อมแซมให้ทันก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ในวันที่ 1 พ.ค.นี้
**เผยเสียชีวิต56ศพป่วยเฉียด8หมื่น
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข แถลงว่า จากปัญหาน้ำท่วมได้รับรายงานผู้เสียชีวิตแล้ว 56 ราย ประกอบด้วย จ.นครศรีธรรมราช 25 ราย สุราษฎร์ธานี 10 ปี พัทลุง 6 ราย กระบี่ 10 ราย ตรัง 2 ราย ชุมพร 2 ราย พังงา 1 ราย นอกจากนี้ยังมีผู้สูญหาย 1 ราย ที่ผ่านมาได้มีการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่แล้ว 1,941 ครั้ง มีผู้มารับบริการ 79,677 ราย เป็นหวัด 44.9% น้ำกัดเท้า 36% มีปัญหาสุขภาพจิต 848 ราย ในจำนวนนี้เครียดสูง 68 ราย ซึมเศร้า 103 ราย เสี่ยงฆ่าตัวตาย 56 ราย ส่วนสถานพยาบาลสังกัด สธ. ได้รับความเสียหาย 187 แห่ง ในจำนวนนี้ 17 แห่งยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 16 แห่ง และ รพ.ชุมชน 1 แห่ง ได้แก่ รพ.ท่าโรงช้าง แต่คาดว่าวันจันทร์ที่ 11 เม.ย.จะสามารถเปิดดำเนินการได้ ทั้งนี้ สธ.ได้ส่งยาและเวชภัณฑ์ไปช่วยภาคใต้แล้ว 279,000 ชุด
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า จากการสำรวจพบว่า ใน จ.นครศรีธรรมราช ยังไม่มี รพ.ชุมชนใน 3 อำเภอ คือ อ.นบพิตำ อ.พระพรหม และ อ.ช้างกลาง ซึ่ง สธ.ได้อนุมัติให้สร้าง รพ.ชุมชน โดยได้โอนงบประมาณให้แล้วแห่งละ 12 ล้านบาท ซึ่งในเบื้องต้นจะให้สร้างตึกผู้ป่วยนอกก่อน
วานนี้ (7 เม.ย.) นายเถลิงศักดิ์ ภูวญาณพงศ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด (ปภ.) กระบี่ กล่าวว่า ตามที่ได้เกิดเหตุน้ำท่วมและภูเขาถล่มในพื้นที่ จ.กระบี่ ขณะนี้สถานการณ์ทุกพื้นที่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ประชาชนผู้ประสบภัยต่างทยอยกลับไปประกอบอาชีพกันตามปกติบ้างแล้ว ยังคงมีผู้อพยพที่อาศัยอยู่ตามจุดต่างๆ อีกเพียง 460 คนเท่านั้น โดยแบ่งเป็น อ.อ่าวลึก 1 จุด อ.เขาพนม 5 จุด อ.เมือง 2 จุด
ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นมีทั้ง 8 อำเภอ 49 ตำบล 2 เทศบาล 343 หมู่บ้าน 43,370 ครัวเรือน ผู้ประสบภัย 228,772 คน มีผู้เสียชีวิต 10 ศพ สูญหาย 3 รายและบาดเจ็บ 96 คน
สำหรับความเสียหายด้านทรัพย์สิน การเกษตร ปศุสัตว์ ประมง การคมนาคมขนส่ง รวมมูลค่าความเสียหายประมาณ 325,986,145 บาท ส่วนการดำเนินการค้นหาผู้เสียชีวิตและผู้สูญหายทางเจ้าหน้าที่ยังคงออกค้นหาอย่างต่อเนื่อง ส่วนธารนำใจจากที่ต่างๆ ก็ยังหลั่งไหลเข้าสู่พื้นที่ประสบภัยอย่างไม่ขาดสาย
ส่วนการออกค้นหาผู้สูญหายที่คาดว่าจะเสียชีวิตและติดอยู่ใต้โคลนทมในบริเวณที่เกิดเหตุ ม.7 บ้านต้นหาร ต.หน้าเขา การออกค้นหาทางเจ้าหน้าที่ยังออกค้นหาอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะพบหรือญาติพี่น้องของผู้สูญหายจะพอใจ
ส่วนการช่วยเหลือในด้านที่อยู่อาศัยทางจังหวัดได้สร้างบ้านพักชั่วคราวให้แล้ว 42 หลัง ในพื้นที่ ม.7 ต.หน้าเขา ขณะนี้ได้สร้างเสร็จแล้วจำนวนหนึ่ง คาดว่าไม่เกิน 1 เดือน ผู้ประสบภัยก็สามารถจะเข้าไปอยู่ได้ ส่วนการเฝ้าระวังพื้นที่ประสบภัยหรือพื้นที่เสี่ยง ทาง ปภ.กระบี่ก็จะดำเนินการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง เพราะมีหลายจุดที่เป็นจุดเสี่ยง เกรงว่าหากเกิดมีฝนตกลงมาในช่วงนี้อีกอาจจะเกิดดินโคลนถล่มเกิดขึ้นมาอีก
**มูลนิธิราชประชาฯมอบถุงยังชีพ
วันเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายดิสธร วัชโรทัย ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ นายประวิทย์ หาญณรงค์ รองประธานฯ และนายประสงค์ พิฑูรกิจจา เลขาธิการมูลนิธิฯ พร้อมคณะได้เดินทางไปมอบถุงยังชีพพระราชทานให้แก่ราษฎรเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากภัยพิบัติน้ำท่วม ที่สถาบันการพลศึกษาจังหวัดกระบี่ 800 ครอบครัวและโรงเรียนวัดถ้ำโกบ อ.เขาพนม 700 ครอบครัว
โอกาสนี้ ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีความห่วงใยต่อผู้ประสบภัยน้ำท่วมในภาคใต้และในพื้นที่จังหวัดกระบี่เป็นอย่างยิ่ง จึงได้พระราชทานถุงยังชีพมาช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ประสบภัย 1,500 ครอบครัว คิดเป็นมูลค่าสิ่งของสงเคราะห์ทั้งสิ้น 1,232,294.25 บาท
**2หนูน้อยปลื้ม"พระบรมฯ"รับไว้ในพระอุปถัมภ์
ด.ช.จักรกฤษณ์ ชูศรี อายุ 11 ปี อยู่บ้านเลขที่ 90 ม.7 ต.หน้าเขา อ.เขาพนม จ.กระบี่ พร้อมด้วยน้องชาย คือ ด.ช.ดนุเดช ชูศรี อายุ 2 ขวบกล่าวว่า ตนรู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และปลื้มปีติเป็นอย่างยิ่งที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณรับตนและน้องชายไว้ในพระอุปภัมภ์
ด.ช.จักรกฤษณ์ กล่าวอีกว่า "หลังจากนี้ ผมจะตั้งใจเรียนและเมื่อโตขึ้นผมอยากเป็นทหาร เพื่อจะได้ปกป้องและรับใช้ประเทศชาติ"
**นครเริ่มคลี่คลาย-นบพิตำยังน่าห่วง
ส่วนทางด้านการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากเหตุการณ์อุทกภัยและดินถล่มในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ อ.นบพิตำ อ.สิชล เป็นพื้นที่ดินโคลนถล่มและอีก 5 อำเภอในเขตลุ่มน้ำปากพนัง ยังคงมีน้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้าง โดยภาพรวมนั้นลุ่มน้ำปากพนังยังคงเป็นปัญหาใหญ่ในขณะนี้เนื่องจากการระบายน้ำเป็นไปอย่างล่าช้า น้ำยังคงท่วมสูงในหลายจุดเช่น อ.ปากพนัง อ.เชียรใหญ่ และ อ.หัวไทร และ อ.เฉลิมพระเกียรติ
นายกรีฑา อินณรงค์ กำนันตำบลนบพิตำ อ.นบพิตำ เผยว่า สถานการณ์ในภาพรวมของพื้นที่ อ.นบพิตำนั้นเริ่มดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของถนนหนทางนั้นยังไม่ได้ฟื้นฟูเท่าที่ควร สะพานในพื้นที่ ต.นบพิตำขาดทั้งหมดในหมู่ที่ 2,3,4,5,7,9 ยังไม่สามารถเชื่อมกันได้เนื่องจากขาดสะพานแบริ่งหากจะเข้าไปได้นั้นต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อเท่านั้นต้องลุยลงไปในลำห้วยลำคลอง ไม่เช่นนั้นผ่านไม่ได้
“ยังมีอยู่อีก 3-4 หมู่บ้านยังออกมาด้านนอกไม่ได้ต้องเร่งเสริมสะพานแบริ่งเข้าไปแต่ตอนนี้ยังขาดแคลนมาก จากการสำรวจประมาณการนั้นพบว่าการถล่มของภูเขานั้นมีกว่า 100 จุดในพื้นที่ 2 ตำบลคือ ต.นบพิตำ และต.กรุงชิง ส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงโดยเฉพาะสวนยางพาราและสวนผลไม้ นับหมื่นไร่บางจุดถูกกวาดไปหมดไม่เหลือแม้แต่ต้นเดียว บางจุดลำคลองกว้าง 3เมตร ขยายกลายเป็นร้อยเมตร”
**จระเข้อาละวาดไล่งับใส่ชาวบ้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการพบเห็นจระเข้ในพื้นที่ อ.ปากพนัง หลายจุดด้วยกัน ซึ่งสร้างความหวาดผวาให้กับชาวบ้านหลายตำบล โดยเฉพาะใน ต.คลองกระบือ และ ต.คลองน้อย อ.ปากพนัง
หลังจากที่ ด.ต.เจริญ บัวคง หัวหน้าสายตรวจตำบลคลองน้อย รับแจ้งว่า มีจระเข้อาละวาดไล่กัดคนและมีผู้ได้รับบาดเจ็บในบริเวณ ม.10 ต.คลองกระบือ จึงเข้าทำการตรวจสอบ พร้อมจัดทีมไล่ล่าจระเข้ทันที โดยในช่วงเช้าเจ้าหน้าที่สามารถจับตายจระเข้ตัวเขื่องน้ำหนักประมาณ 40 ก.ก.เศษยาวประมาณ 2 เมตรไว้ได้และยังออกล่าอย่างต่อเนื่อง ส่วนผู้บาดเจ็บเนื่องจากถูกจระเข้ทำร้ายนั้นพบว่า คือ นายบุญนำ บุญจันทร์ อายุ 66 ปีอยู่ 4 ม.10 ต.คลองกระบือ อ.ปากพนัง อยู่ในสภาพเข่าขวาและต้นขวาบวมเป่ง
**ชาวเชียรใหญ่ฮือประท้วงคำสั่งรัฐ
ขณะเดียวกันได้เกิดความวุ่นวายขึ้นที่บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอเชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช ได้มีชาวบ้านจากท้องที่ต่างๆ ใน อ.เชียรใหญ่ มารวมตัวชุมนุมประท้วง โดยมีนายจำแลง คงวัดใหม่ และนายไมตรี ไชยราช ชาวบ้านจาก ต.เชียรใหญ่ อ.เชียรใหญ่ เป็นแกนนำ ได้ตั้งเวทีปราศรัยเพื่อให้ทางอำเภอชี้แจงเกี่ยวกับกรณี มีคำสั่งยกเลิกเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมเมื่อครั้งก่อนทั้งที่บางหมู่บ้านถูกยกเลิกจนหมด ขณะที่การช่วยเหลือผู้ประสบภัยครั้งล่าสุดก็ยังให้การช่วยเหลือไม่ทั่วถึง
นายจำแลง กล่าวบนเวทีปราศรัยว่า มติ ครม.เมื่อวันที่ 26 ต.ค.53 และวันที่ 16 พ.ย.53 อนุมัติให้ในงบประมาณรายจ่ายปี 2554 สำรองจ่ายในกรณีฉุกเฉิน หรือจำเป็นเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินครอบครัวละ 5,000 บาท ซึ่งได้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ อ.เชียรใหญ่ ทำให้ชาวบ้านรับความเดือดร้อนกันอย่างถ้วนหน้า บ้านพักที่อยู่อาศัยถูกน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน หลังจากที่ชาวบ้านได้นำหลักฐานตามที่ทางอำเภอแจ้งมาเพื่อขอรับเงินช่วยเหลือดังกล่าวจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่ได้รับแต่อย่างใด
ล่าสุดมีการสั่งยกเลิกเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในครั้งก่อน ทำให้ชาวบ้านมีความไม่พอใจว่าหน่วยงานราชการกำลังทำอะไรกันอยู่ ไม่เข้าใจว่าสั่งยกเลิกด้วยเหตุผลอันใด การช่วยเหลือของหน่วยงานราชการก็ล่าช้าและไม่ทั่วถึง บางหมู่บ้านยังไม่ได้รับการช่วยเหลือทำให้เดือดร้อนอย่างหนัก การที่ชาวบ้านมาร่วมตัวในครั้งนี้เพื่อขอทราบคำชี้แจงถึงกรณียกเลิกเงินช่วยเหลือเรื่องน้ำท่วมในครั้งก่อน และมาเรียกร้องให้เร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ยังไม่มีใครเข้าไปดูแลด้วย
ด้านนายอัมรินทร์ เขมรัตน์ นายอำเภอเชียรใหญ่ ซึ่งติดภารกิจได้สั่งการทางโทรศัพท์ให้ปลัดอำเภอเรียกกลุ่มชุมนุมเข้าประชุมปรึกษาหารือเพื่อชี้แจงกรณีดังกล่าวข้อเรียกของกลุ่มผู้ชุมนุมเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับกรณีเรื่องเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท และรับทราบพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือของผู้ประสบภัยว่ามีหมู่บ้านใดบ้าง เพื่อจะได้เข้าไปให้การช่วยเหลือต่อไป
**น้ำท่วมสุราษฎร์ฯพอเริ่มคลี่คลาย
ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี เริ่มคลี่คลายจนกลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้วเช่นกัน ยกเว้นถนนทางเข้าหมู่บ้านบางแห่งในพื้นที่ อ.เมือง อ.พุนพิน อ.บ้านนาสาร และ อ.บ้านนาเดิม ที่ยังมีน้ำท่วมขังสูงกว่า 2 เมตร ชาวบ้านยังต้องอาศัยถนนเป็นที่พักอาศัยชั่วคราว
**ตรังคาดอีก1สัปดาห์จะเริ่มคลี่คลาย
ส่วนพื้นที่ อ.เมือง และ อ.กันตัง จ.ตรัง บ้านเรือนกว่า 500 หลัง ยังถูกน้ำท่วมสูง 1-2 เมตร โดยเฉพาะพื้นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำตรัง ระดับน้ำสูงกว่า 3 เมตร ชาวบ้านยังต้องใช้เรือเป็นพาหนะ ในการเดินทางเข้า-ออกหมู่บ้าน และแม้ว่าวันนี้จะยังไม่มีฝนตกลงมา แต่ระดับน้ำใน 2 อำเภอยังคงได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลหนุน และภาวะแม่น้ำตรังล้นตลิ่ง ประกอบที่น้ำเหนือไหลบ่ามาจาก อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช คาดว่าอีกประมาณ 1 สัปดาห์ หากฝนไม่ตกลงมา สถานการณ์น้ำจะคลี่คลาย
**คชอ.ช่วยน้ำท่วม2,900ล้าน
ด้านนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการอำนวยการกำกับติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (คชอ.) ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผู้ว่าราชการ 10 จังหวัดที่ประสบอุทกภัย เข้าร่วมประชุม ผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์
โดยนายสาทิตย์ ได้กำชับให้ทุกหน่วยงานสำรวจข้อมูล ผู้ประสบอุทกภัย เพื่อให้เงินช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 5,000 บาท ตามที่ ครม.อนุมัติ ตามหลักเกณฑ์ที่ คชอ.กำหนดไว้ เช่น ต้องเป็นบ้านเรือนได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมโดยฉับพลัน ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย บ้านพักถูกน้ำท่วมขัง ติดต่อไม่น้อยกว่า 7 วัน บ้านพักได้รับความเสียหายจากดินโคลนถล่ม นอกจากนี้ ต้องเป็นบ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้าน หรือในกรณีที่เป็นบ้านเช่า ผู้เช่าจะได้รับเงินช่วยเหลือเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้น ครม.อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณช่วยเหลือความเสียหายจากอุทกภัยไม่เกิน 2,900 ล้านบาท ซึ่งมีบ้านเรือนที่อยู่ในข่ายได้รับความเสียหายประมาณ 58,000 ครัวเรือน
นายสาทิตย์ กล่าวอีกว่า จะเร่งจ่ายเงินงบประมาณในส่วนของงบช่วยเหลือผู้ประสบภัยช่วงปลายปีที่แล้วให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 10 เม.ย.นี้ ขณะนี้งบประมาณช่วยเหลือใหม่นี้จะเริ่มทยอยจ่ายหลังจากนั้นตามแต่ละจังหวัดที่ทำการสำรวจข้อมูลเสร็จสิ้น และจากการตรวจสอบกับผู้ว่าราชการจังหวัดที่ประสบอุทกภัย คาดมีบ้านพักได้รับความเสียหายทั้งหลังประมาณกว่า 360 หลังคาเรือน
ได้แก่ จ.กระบี่ 167 หลังคาเรือน ตรัง 9 หลังคาเรือน นครศรีธรรมราช 180 หลังคาเรือน สงขลา และชุมพร จังหวัดละ 5 หลังคาเรือน ส่วน จ.สุราษฎร์ธานี ยังไม่สามารถสำรวจได้ เนื่องจากสถานการณ์ยังไม่คลี่คลาย ซึ่งได้มีการเตรียมเงิยจากกองทุนช่วยเหลือจากผู้ประสบภัย 60 ล้านบาทไว้รองรับ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่มใน จ.สุราษฎร์ธานี โดยเตรียมน้ำดื่ม 100,000 ขวดไว้ให้การช่วยเหลือ
**ศธ.เตรียมแจกเงินช่วยครูใต้
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวถึงมาตรการช่วยผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ว่า กระทรวงศึกษาธิการ ได้ตั้งศูนย์ช่วยเหลือ 4 จุดในอ.นบพิตำ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช อ.เขาพนม จ.กระบี่ และอ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี โดยจะให้นักศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ไปช่วยตรวจสุขภาพ นักเรียนจากสถานอาชีวศึกษาไปตั้งศูนย์ซ่อมแซมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ที่เสียหาย และจะนำเงินบริจาคไปช่วยเหลือครูที่เดือดร้อนจากน้ำท่วมครอบครัวละ 5,000 บาท ในวันที่ 10 เม.ย.ที่จ.นครศรีธรรมราช พัทลุง และตรัง วันที่ 11 เม.ย.ที่ จ.สุราษฎร์ธานีและชุมพร
ส่วนโรงเรียนที่อุปกรณ์และตำราเรียนเสียหาย เบื้องต้นมีข้อมูลว่าอยู่ที่ 613 โรงเรียน รวมมูลค่า 402 ล้านบาท แต่หลังน้ำลดจะสำรวจความเสียหายเพิ่มเติม เพื่อที่จะทำเรื่องของงบกลางจากครม.มาทำการช่วยเหลือซ่อมแซมให้ทันก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ในวันที่ 1 พ.ค.นี้
**เผยเสียชีวิต56ศพป่วยเฉียด8หมื่น
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข แถลงว่า จากปัญหาน้ำท่วมได้รับรายงานผู้เสียชีวิตแล้ว 56 ราย ประกอบด้วย จ.นครศรีธรรมราช 25 ราย สุราษฎร์ธานี 10 ปี พัทลุง 6 ราย กระบี่ 10 ราย ตรัง 2 ราย ชุมพร 2 ราย พังงา 1 ราย นอกจากนี้ยังมีผู้สูญหาย 1 ราย ที่ผ่านมาได้มีการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่แล้ว 1,941 ครั้ง มีผู้มารับบริการ 79,677 ราย เป็นหวัด 44.9% น้ำกัดเท้า 36% มีปัญหาสุขภาพจิต 848 ราย ในจำนวนนี้เครียดสูง 68 ราย ซึมเศร้า 103 ราย เสี่ยงฆ่าตัวตาย 56 ราย ส่วนสถานพยาบาลสังกัด สธ. ได้รับความเสียหาย 187 แห่ง ในจำนวนนี้ 17 แห่งยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 16 แห่ง และ รพ.ชุมชน 1 แห่ง ได้แก่ รพ.ท่าโรงช้าง แต่คาดว่าวันจันทร์ที่ 11 เม.ย.จะสามารถเปิดดำเนินการได้ ทั้งนี้ สธ.ได้ส่งยาและเวชภัณฑ์ไปช่วยภาคใต้แล้ว 279,000 ชุด
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า จากการสำรวจพบว่า ใน จ.นครศรีธรรมราช ยังไม่มี รพ.ชุมชนใน 3 อำเภอ คือ อ.นบพิตำ อ.พระพรหม และ อ.ช้างกลาง ซึ่ง สธ.ได้อนุมัติให้สร้าง รพ.ชุมชน โดยได้โอนงบประมาณให้แล้วแห่งละ 12 ล้านบาท ซึ่งในเบื้องต้นจะให้สร้างตึกผู้ป่วยนอกก่อน