ASTVผู้จัดการรายวัน -ซีพีชี้ธุรกิจอาหารสบช่องโอกาสส่งออกไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นจากเหตุภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิ มั่นใจญี่ปุ่นฟื้นตัวรวดเร็ว เผยราคายางพาราวูบแค่ชั่วคราว หลังตื่นตระหนกกรณีโรงงานผลิตรถยนต์หยุดชั่วคราว ชี้ราคายางเหมาะสมอยู่ที่ 100-120 บาท/กก. จวกรัฐทำราคาข้าวตกสวนทางพืชเศรษฐกิจอื่นๆ แนะรัฐใช้นโยบายประกันราคาขั้นต่ำควบคู่ประกันรายได้เกษตรกร มั่นใจดึงราคาข้าวขยับขึ้น
นายอาชว์ เตาลานนท์ รองประธานกรรมการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวในงานคุยกับซี.พี.ครั้งที่ 1/2554 เรื่องมองภาคเกษตรโลก มองภาคเกษตรไทย มองธุรกิจเกษตรของซี.พี.วานนี้ (16 มี.ค.)ว่า กล่าวว่า จากเหตุภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิในญี่ปุ่นไม่ส่งผลกระทบต่อไทยมากนัก ยกเว้นภาคท่องเที่ยวทั้งขาเข้าและขาออก ส่วนการส่งออกสินค้าอาหาร อุปกรณ์ชิ้นส่วน รวมทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเลคทรอนิกส์ไปญี่ปุ่นนั้นจะได้รับผลกระทบชั่วคราวเนื่องจากยังมีปัญหาเรื่องการขนส่ง เช่นเดียวกับราคายางพาราของไทยที่ปรับลดลง จากผลกระทบญี่ปุ่นปิดโรงงานผลิตรถยนต์ เพราะไฟฟ้าไม่เพียงพอ เชื่อว่าหลังจากโรงงานเปิดดำเนินการตามปกติ ทำให้ราคายางกลับมาดีขึ้น
ส่วนผลกระทบต่อธุรกิจอาหารและการเกษตร นั้น คาดว่าคงจะไม่มีผลกระทบ แต่จะกลับเป็นโอกาสให้ไทยส่งสินค้าอาหาร และข้าว ไปขายในญี่ปุ่นได้มากขึ้น เนื่องจากญี่ปุ่นจำเป็นต้องนำเข้าอาหารจำนวนมากหลังภาคการผลิตและเกษตรกรรมเสียหาย ปัจุบันซีพี มีการส่งออกไก่แปรรูป และกุ้งแช่แข็งไปญี่ปุ่น ยังไม่ได้รับผลกระทบ เช่นกัน ปัจจุบันไทยส่งออกไปญี่ปุ่นประมาณ 10% ของการส่งออกรวม หรือ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 6-7 แสนล้านบาทต่อปี
นายอาชว์ คาดว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะกระทบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ(จีดีพี)ของญี่ปุ่นเพียง 0.1-0.2% จากเดิมที่คาดการณ์จีดีพีญี่ปุ่นเติบโต 1.6% เนื่องจากญี่ปุ่นได้มีการเตรียมพร้อม มีเทคโนโลยี และประชาชนมีระเบียบวินัยสูงทำให้การฟื้นตัวของญี่ปุ่นเป็นไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ญี่ปุ่นจะมีการย้ายฐานการผลิตมายังประเทศกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะไทยที่มีความพร้อมที่สุด ภายใต้ข้อตกลงการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC )ในปี 2558 เชื่อว่าญี่ปุ่นจะกลับมาลงทุนในไทยเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากไทยไม่มีปัญหาเรื่องแผ่นดินไหว
นายสุเมธ เหล่าโมราพร รองกรรมการผู้จัดการบริหาร กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า ในปีนี้ คาดว่าไทยจะส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านตัน ซึ่งใกล้เคียงกับระดับที่เคยส่งออกสูงสุดในปี 2552 ที่ส่งออกถึง 8.9 ล้านตัน โดยเวียดนามคาดว่าจะส่งออกข้าวได้ 7 ล้านตัน ขณะที่ความต้องการข้าวในตลาดโลกปีนี้สูงถึง 30 ล้านตัน
ทั้งนี้ไทยส่งออกข้าวในช่วงเดือนม.ค.-ก.พ.54 ประมาณเดือนละ 9 แสนกว่าตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ส่งออกข้าวได้เดือนละ 7 แสนกว่าตัน
ส่วนปัญหาราคาข้าวของไทยตกต่ำสวนทางราคาพืชเกษตรชนิดอื่น ไม่ว่าจะเป็น ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพด ยาง น้ำตาล เป็นต้น เป็นผลมาจากการระบายข้าวในสต็อกรัฐบาลช่วงปลายปีที่แล้ว และนโยบายประกันรายได้เกษตรกร โดยไม่ได้มีการประกันราคาขั้นต่ำที่รัฐจะตั้งโต๊ะรับซื้อข้าวหากราคาข้าวต่ำกว่าที่รัฐประกันราคา เชื่อว่าหากรัฐดำเนินการทั้ง 2 แนวทางพร้อมก้นจะช่วยแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำได้ ปัจจุบันราคาข้าวขาว 5% ขายอยู่ที่ 490 เหรียญสหรัฐ/ตัน ขณะที่ราคาที่เหมาะสมน่าจะไม่ต่ำกว่า 600 เหรียญสหรัฐ/ตัน
นายมนตรี คงตระกูลเทียน ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร ซี.พี. กล่าวว่า ราคายางที่ปรับตัวลงมากจากเคยสูงถึง 180 บาท/กก.เหลือเพียง 95-100 บาท/กก. เกิดจากความตื่นตกใจจากกรณีที่โรงงานผลิตรถยนต์ในญี่ปุ่นประกาศหยุดผลิต และราคายางพาราที่โตแบบผิดปกติจากการเก็งกำไร ทำให้มีการกดราคาลงหลังผู้นำเข้าเก็บสต็อกไว้มากแล้ว เชื่อว่าเป็นเหตุการณ์ชั่วคราว เนื่องจากปริมาณยางพาราโลกที่ผลิตได้ในปีนี้ใกล้เคียงกับความต้องการใช้ 10.9 ล้านตัน ดังนั้นราคายางที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 100-120 บาท/กก. โดยปีนี้ไทยคาดว่าจะผลิตยางได้3.4 ล้านตันมากเป็นอันดับ 1 ของโลก รองลงมา คือ อินโดนีเซีย 2.8 ล้านตันและมาเลเซียน 1.1 ล้านตัน โดยทั้ง 3 ประเทศมีผลผลิตรวมกันคิดเป็น 70% ของการผลิตทั้งโลก
“ วันนี้ราคายางพารา น้ำมันปาล์มราคาดี คงเหลือเพียงข้าวที่ราคาน่าจะดีกว่านี้ หากรัฐมีการประกันราคาขั้นต่ำควบคู่กับการประกันรายได้เกษตรกร”
นายอาชว์ เตาลานนท์ รองประธานกรรมการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวในงานคุยกับซี.พี.ครั้งที่ 1/2554 เรื่องมองภาคเกษตรโลก มองภาคเกษตรไทย มองธุรกิจเกษตรของซี.พี.วานนี้ (16 มี.ค.)ว่า กล่าวว่า จากเหตุภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิในญี่ปุ่นไม่ส่งผลกระทบต่อไทยมากนัก ยกเว้นภาคท่องเที่ยวทั้งขาเข้าและขาออก ส่วนการส่งออกสินค้าอาหาร อุปกรณ์ชิ้นส่วน รวมทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเลคทรอนิกส์ไปญี่ปุ่นนั้นจะได้รับผลกระทบชั่วคราวเนื่องจากยังมีปัญหาเรื่องการขนส่ง เช่นเดียวกับราคายางพาราของไทยที่ปรับลดลง จากผลกระทบญี่ปุ่นปิดโรงงานผลิตรถยนต์ เพราะไฟฟ้าไม่เพียงพอ เชื่อว่าหลังจากโรงงานเปิดดำเนินการตามปกติ ทำให้ราคายางกลับมาดีขึ้น
ส่วนผลกระทบต่อธุรกิจอาหารและการเกษตร นั้น คาดว่าคงจะไม่มีผลกระทบ แต่จะกลับเป็นโอกาสให้ไทยส่งสินค้าอาหาร และข้าว ไปขายในญี่ปุ่นได้มากขึ้น เนื่องจากญี่ปุ่นจำเป็นต้องนำเข้าอาหารจำนวนมากหลังภาคการผลิตและเกษตรกรรมเสียหาย ปัจุบันซีพี มีการส่งออกไก่แปรรูป และกุ้งแช่แข็งไปญี่ปุ่น ยังไม่ได้รับผลกระทบ เช่นกัน ปัจจุบันไทยส่งออกไปญี่ปุ่นประมาณ 10% ของการส่งออกรวม หรือ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 6-7 แสนล้านบาทต่อปี
นายอาชว์ คาดว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะกระทบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ(จีดีพี)ของญี่ปุ่นเพียง 0.1-0.2% จากเดิมที่คาดการณ์จีดีพีญี่ปุ่นเติบโต 1.6% เนื่องจากญี่ปุ่นได้มีการเตรียมพร้อม มีเทคโนโลยี และประชาชนมีระเบียบวินัยสูงทำให้การฟื้นตัวของญี่ปุ่นเป็นไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ญี่ปุ่นจะมีการย้ายฐานการผลิตมายังประเทศกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะไทยที่มีความพร้อมที่สุด ภายใต้ข้อตกลงการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC )ในปี 2558 เชื่อว่าญี่ปุ่นจะกลับมาลงทุนในไทยเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากไทยไม่มีปัญหาเรื่องแผ่นดินไหว
นายสุเมธ เหล่าโมราพร รองกรรมการผู้จัดการบริหาร กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า ในปีนี้ คาดว่าไทยจะส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านตัน ซึ่งใกล้เคียงกับระดับที่เคยส่งออกสูงสุดในปี 2552 ที่ส่งออกถึง 8.9 ล้านตัน โดยเวียดนามคาดว่าจะส่งออกข้าวได้ 7 ล้านตัน ขณะที่ความต้องการข้าวในตลาดโลกปีนี้สูงถึง 30 ล้านตัน
ทั้งนี้ไทยส่งออกข้าวในช่วงเดือนม.ค.-ก.พ.54 ประมาณเดือนละ 9 แสนกว่าตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ส่งออกข้าวได้เดือนละ 7 แสนกว่าตัน
ส่วนปัญหาราคาข้าวของไทยตกต่ำสวนทางราคาพืชเกษตรชนิดอื่น ไม่ว่าจะเป็น ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพด ยาง น้ำตาล เป็นต้น เป็นผลมาจากการระบายข้าวในสต็อกรัฐบาลช่วงปลายปีที่แล้ว และนโยบายประกันรายได้เกษตรกร โดยไม่ได้มีการประกันราคาขั้นต่ำที่รัฐจะตั้งโต๊ะรับซื้อข้าวหากราคาข้าวต่ำกว่าที่รัฐประกันราคา เชื่อว่าหากรัฐดำเนินการทั้ง 2 แนวทางพร้อมก้นจะช่วยแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำได้ ปัจจุบันราคาข้าวขาว 5% ขายอยู่ที่ 490 เหรียญสหรัฐ/ตัน ขณะที่ราคาที่เหมาะสมน่าจะไม่ต่ำกว่า 600 เหรียญสหรัฐ/ตัน
นายมนตรี คงตระกูลเทียน ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร ซี.พี. กล่าวว่า ราคายางที่ปรับตัวลงมากจากเคยสูงถึง 180 บาท/กก.เหลือเพียง 95-100 บาท/กก. เกิดจากความตื่นตกใจจากกรณีที่โรงงานผลิตรถยนต์ในญี่ปุ่นประกาศหยุดผลิต และราคายางพาราที่โตแบบผิดปกติจากการเก็งกำไร ทำให้มีการกดราคาลงหลังผู้นำเข้าเก็บสต็อกไว้มากแล้ว เชื่อว่าเป็นเหตุการณ์ชั่วคราว เนื่องจากปริมาณยางพาราโลกที่ผลิตได้ในปีนี้ใกล้เคียงกับความต้องการใช้ 10.9 ล้านตัน ดังนั้นราคายางที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 100-120 บาท/กก. โดยปีนี้ไทยคาดว่าจะผลิตยางได้3.4 ล้านตันมากเป็นอันดับ 1 ของโลก รองลงมา คือ อินโดนีเซีย 2.8 ล้านตันและมาเลเซียน 1.1 ล้านตัน โดยทั้ง 3 ประเทศมีผลผลิตรวมกันคิดเป็น 70% ของการผลิตทั้งโลก
“ วันนี้ราคายางพารา น้ำมันปาล์มราคาดี คงเหลือเพียงข้าวที่ราคาน่าจะดีกว่านี้ หากรัฐมีการประกันราคาขั้นต่ำควบคู่กับการประกันรายได้เกษตรกร”