ญี่ปุ่นเป็นชาติที่ยิ่งใหญ่และได้ให้ความช่วยเหลืออันยิ่งใหญ่ต่อผู้อื่นมาหลายครั้ง ครั้นภัยสึนามิเมื่อปี 2547 คร่าชีวิตผู้คนเป็นแสน ญี่ปุ่นคือหนึ่งในผู้บริจาครายใหญ่ที่สุดที่ช่วยสนับสนุนกองทุนนานาชาติเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย แม้กระทัjงเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ญี่ปุ่นได้บริจาคเงินสนับสนุนเป็นจำนวนสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ให้กับโครงการอาหารของสหประชาชาติที่ช่วยแก้ไขปัญหาความอดอยากของโลก และยังเป็นผู้บริจาคเงินสนับสนุนสูงสุดให้ศาลพิเศษในประเทศกัมพูชา เพื่อนำความยุติธรรมมาสู่เหยื่อจากอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ อาชญากรรมสงคราม และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในสมัยเขมรแดง
เราคงไม่ต้องกล่าวถึงบทบาทผู้นำอื่นๆของญี่ปุ่นตั้งแต่การต่อสู้ปัญหาภัยแล้งในแอฟริกา จนไปถึงการพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ผมเองก็ต้องขอบคุณญี่ปุ่นเป็นการส่วนตัวที่สนับสนุนผมในหลายโอกาส เช่น จัดให้ผมได้เขียนเรียงความระดับนานาชาติฉบับแรกเรื่องวิธีจัดการความขัดแย้งระหว่างชนชาติ กรณีไทยและกัมพูชา สมัยที่ผมยังเป็นนักเรียนสวมกางเกงขาสั้นและยังนำมาขบคิดจนทุกวันนี้ จนไปถึงการจัดให้ว่าความจำลองในคดีระหว่างประเทศสมัยเป็นนักเรียนกฎหมาย มาจนปัจจุบันที่ผมได้มีโอกาสทำงานในคดีจริงที่ฟ้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก)
ทุกครั้งที่ผมได้ยินข่าวภัยธรรมชาติหรือปัญหานานาชาติอันน่าวิตก ชื่อของญี่ปุ่นที่ปรากฏตามมาในข่าวทำให้บรรยากาศดีขึ้นเสมอ วันนี้ที่ญี่ปุ่นตกเป็นผู้ประสบภัย ผมเชื่อว่ามีผู้คนจากทั่วโลกที่ภาวนาให้ญี่ปุ่นกลับสู่ภาวะสงบสุขโดยเร็ว ไม่น่าแปลกใจที่รัฐบาลจากกว่า 60 ประเทศได้ยื่นให้ความช่วยเหลือญี่ปุ่นในเพียงข้ามคืน
ผมคงต้องขอบคุณญี่ปุ่นอีกครั้งที่ช่วยแสดงความยิ่งใหญ่ของมนุษย์ที่ก้าวข้ามพรมแดน ไม่นานมานี้เราเห็นชายตูนิเซียคนหนึ่งเป็นต้นไฟให้ปวงชนในตะวันออกกลางกล้าปีนข้ามกำแพงอำนาจที่ตั้งคร่อมมานานหลายทศวรรษ มาวันนี้เราเห็นผู้นำญี่ปุ่นกล่าวปลุกกำลังใจประชาชนให้นึกถึงความสำเร็จในอดีตที่ได้ฟันฝ่าความยากแค้นจากชาติที่แพ้สงครามโลกจนเปลี่ยนประเทศให้กลายเป็นสังคมที่เจริญรุ่งเรือง
ประวัติศาสตร์คงจดจำญี่ปุ่นที่เคยยิ่งใหญ่และฮึกเหิมในฐานะชาตินักรบผู้ทำสงคราม มาเป็นญี่ปุ่นที่เป็นเสาหลักของการสร้างสันติภาพ และสู่วันที่ญี่ปุ่นก้าวพ้นภัยธรรมชาติอย่างเข้มแข็ง ความยิ่งใหญ่ของญี่ปุ่น ณ วันหนึ่งอาจต่างไปจากความยิ่งใหญ่อีกแบบในอดีตเสียเหลือเกิน แต่การปรับและเปลี่ยนในวันนี้มิใช่หรือ ที่เป็นเครื่องวัดความยิ่งใหญ่ที่แท้จริง?
อธิปไตย เขตแดน และเอกภาพ และความเป็นสูงสุดทั้งหลายที่แตะต้องไม่ได้; ความยิ่งใหญ่ของญี่ปุ่นชักเริ่มทำให้สงสัยว่าคำศัพท์กลุ่มนี้ยังคงความหมายอันยิ่งใหญ่สำคัญดังเดิมเหมือนตอนที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อหลายศตวรรษที่แล้วหรือไม่?
คลื่นน้ำจากแผ่นพิภพที่เปราะพังนั้นรุนแรง หากจะแรงเท่าคลื่นคนในระบอบแห่งความนิ่ง หรือไม่หนอ?
บรรณานุกรม
รายงานข่าว: ญี่ปุ่นคือผู้บริจาครายใหญ่ที่สุดในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิเมื่อปี 2547 (1 มกราคม 2548)
“Japan is biggest donor with $500m pledge” (1 January 2005)
http://www.telegraph.co.uk/news/1480193/Japan-is-biggest-donor-with-500m-pledge.html
รายงานข่าว: ญี่ปุ่นคือผู้บริจาครายใหญ่ที่สุดในการช่วยเหลือโครงการอาหารขององค์การสหประชาชาติ (11 มกราคม 2554)
“Japan donates $197M to U.N. food program” (11 January 2011) http://www.upi.com/Top_News/US/2011/01/11/Japan-donates-197M-to-UN-food-program/UPI-85001294781864/
รายงานข่าว: ญี่ปุ่นคือผู้บริจาครายใหญ่ที่สุดในการช่วยเหลือศาลพิเศษในประเทศกัมพูชา (28 มกราคม 2554)
“Japan, biggest donor to Cambodia's genocide tribunal, contributes another $11.7 million” (28 January 2011) http://www.cambodiatribunal.org/images/CTM/japan%20biggest%20donor%20to%20genocide%20trial%20_1_28_11.pdf
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์, มหกรรมสามัคคี Unity Olympics (2547)http://www.ritsumei.ac.jp/acd/ac/kyomu/koudai/kikaku/kensho04/kensho_j/2003/ronbun08.html
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์, การใช้อำนาจอธิปไตยสร้างกฎหมายระหว่างประเทศ (2550)
http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1221
หมายเหตุ : ฉบับภาษาอังกฤษอ่านได้ที่http://sites.google.com/site/verapat/.
verapat@post.harvard.edu.
เราคงไม่ต้องกล่าวถึงบทบาทผู้นำอื่นๆของญี่ปุ่นตั้งแต่การต่อสู้ปัญหาภัยแล้งในแอฟริกา จนไปถึงการพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ผมเองก็ต้องขอบคุณญี่ปุ่นเป็นการส่วนตัวที่สนับสนุนผมในหลายโอกาส เช่น จัดให้ผมได้เขียนเรียงความระดับนานาชาติฉบับแรกเรื่องวิธีจัดการความขัดแย้งระหว่างชนชาติ กรณีไทยและกัมพูชา สมัยที่ผมยังเป็นนักเรียนสวมกางเกงขาสั้นและยังนำมาขบคิดจนทุกวันนี้ จนไปถึงการจัดให้ว่าความจำลองในคดีระหว่างประเทศสมัยเป็นนักเรียนกฎหมาย มาจนปัจจุบันที่ผมได้มีโอกาสทำงานในคดีจริงที่ฟ้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก)
ทุกครั้งที่ผมได้ยินข่าวภัยธรรมชาติหรือปัญหานานาชาติอันน่าวิตก ชื่อของญี่ปุ่นที่ปรากฏตามมาในข่าวทำให้บรรยากาศดีขึ้นเสมอ วันนี้ที่ญี่ปุ่นตกเป็นผู้ประสบภัย ผมเชื่อว่ามีผู้คนจากทั่วโลกที่ภาวนาให้ญี่ปุ่นกลับสู่ภาวะสงบสุขโดยเร็ว ไม่น่าแปลกใจที่รัฐบาลจากกว่า 60 ประเทศได้ยื่นให้ความช่วยเหลือญี่ปุ่นในเพียงข้ามคืน
ผมคงต้องขอบคุณญี่ปุ่นอีกครั้งที่ช่วยแสดงความยิ่งใหญ่ของมนุษย์ที่ก้าวข้ามพรมแดน ไม่นานมานี้เราเห็นชายตูนิเซียคนหนึ่งเป็นต้นไฟให้ปวงชนในตะวันออกกลางกล้าปีนข้ามกำแพงอำนาจที่ตั้งคร่อมมานานหลายทศวรรษ มาวันนี้เราเห็นผู้นำญี่ปุ่นกล่าวปลุกกำลังใจประชาชนให้นึกถึงความสำเร็จในอดีตที่ได้ฟันฝ่าความยากแค้นจากชาติที่แพ้สงครามโลกจนเปลี่ยนประเทศให้กลายเป็นสังคมที่เจริญรุ่งเรือง
ประวัติศาสตร์คงจดจำญี่ปุ่นที่เคยยิ่งใหญ่และฮึกเหิมในฐานะชาตินักรบผู้ทำสงคราม มาเป็นญี่ปุ่นที่เป็นเสาหลักของการสร้างสันติภาพ และสู่วันที่ญี่ปุ่นก้าวพ้นภัยธรรมชาติอย่างเข้มแข็ง ความยิ่งใหญ่ของญี่ปุ่น ณ วันหนึ่งอาจต่างไปจากความยิ่งใหญ่อีกแบบในอดีตเสียเหลือเกิน แต่การปรับและเปลี่ยนในวันนี้มิใช่หรือ ที่เป็นเครื่องวัดความยิ่งใหญ่ที่แท้จริง?
อธิปไตย เขตแดน และเอกภาพ และความเป็นสูงสุดทั้งหลายที่แตะต้องไม่ได้; ความยิ่งใหญ่ของญี่ปุ่นชักเริ่มทำให้สงสัยว่าคำศัพท์กลุ่มนี้ยังคงความหมายอันยิ่งใหญ่สำคัญดังเดิมเหมือนตอนที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อหลายศตวรรษที่แล้วหรือไม่?
คลื่นน้ำจากแผ่นพิภพที่เปราะพังนั้นรุนแรง หากจะแรงเท่าคลื่นคนในระบอบแห่งความนิ่ง หรือไม่หนอ?
บรรณานุกรม
รายงานข่าว: ญี่ปุ่นคือผู้บริจาครายใหญ่ที่สุดในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิเมื่อปี 2547 (1 มกราคม 2548)
“Japan is biggest donor with $500m pledge” (1 January 2005)
http://www.telegraph.co.uk/news/1480193/Japan-is-biggest-donor-with-500m-pledge.html
รายงานข่าว: ญี่ปุ่นคือผู้บริจาครายใหญ่ที่สุดในการช่วยเหลือโครงการอาหารขององค์การสหประชาชาติ (11 มกราคม 2554)
“Japan donates $197M to U.N. food program” (11 January 2011) http://www.upi.com/Top_News/US/2011/01/11/Japan-donates-197M-to-UN-food-program/UPI-85001294781864/
รายงานข่าว: ญี่ปุ่นคือผู้บริจาครายใหญ่ที่สุดในการช่วยเหลือศาลพิเศษในประเทศกัมพูชา (28 มกราคม 2554)
“Japan, biggest donor to Cambodia's genocide tribunal, contributes another $11.7 million” (28 January 2011) http://www.cambodiatribunal.org/images/CTM/japan%20biggest%20donor%20to%20genocide%20trial%20_1_28_11.pdf
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์, มหกรรมสามัคคี Unity Olympics (2547)http://www.ritsumei.ac.jp/acd/ac/kyomu/koudai/kikaku/kensho04/kensho_j/2003/ronbun08.html
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์, การใช้อำนาจอธิปไตยสร้างกฎหมายระหว่างประเทศ (2550)
http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1221
หมายเหตุ : ฉบับภาษาอังกฤษอ่านได้ที่http://sites.google.com/site/verapat/.
verapat@post.harvard.edu.