เอเจนซีส์ – นักวิจัยระบุภาพถ่ายคนรักมีพลังบรรเทาความเจ็บปวดเทียบเท่าพาราเซตามอล หรือสารเสพติด เช่น โคเคน
การศึกษาของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐฯ พบว่าภาพถ่ายคนรักกระตุ้นสมองส่วนที่ประมวลผลความเจ็บปวด โดยมีความเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างความรู้สึกถึงความผูกพันทางอารมณ์กับการบรรเทาอาการเจ็บปวด
สมองของนักศึกษาจะถูกสแกนด้วยเครื่องเอ็มอาร์ไอ ขณะดูภาพคนรักพร้อมไปกับการทำให้รู้สึกเจ็บปวดด้วยความร้อนที่ผิวหนังในระดับต่างๆ
จาร์เรด ยังเกอร์ นักประสาทวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด พบว่าโดยเฉลี่ยแล้ว ความเจ็บปวดจะลดลง 36-44% และความรู้สึกไม่สะดวกสบายอย่างแรงลดลง 13%
ในการศึกษาที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสารพับลิก ไลบรารี ออฟ ไซนส์ ของสหรัฐฯ ยังเกอร์แจกแจงว่าความเจ็บปวดที่ลดลงเกี่ยวข้องกับสมองส่วนนอก บริเวณที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลความรู้สึกเมื่อได้รับรางวัล
“มันดูจะเกี่ยวข้องกับส่วนที่เป็นพื้นฐานดั้งเดิมของสมอง คือเป็นการกระตุ้นโครงสร้างส่วนลึก ที่สามารถสกัดความเจ็บปวดในระดับไขสันหลังได้ ก็ทำนองเดียวกับการทำงานของยาแก้ปวดชนิดเสพติดนั่นเอง
เขาบอกว่า ส่วนสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งสำหรับภาวะไร้ความเจ็บปวดของคนที่กำลังมีความรัก คือสมองส่วน nucleus accumbens ซึ่งก็เป็นศูนย์กลางของความรู้สึกว่าได้รับรางวัล สืบเนื่องจากการเสพโคเคนและสารเสพติดอื่นๆ
“สมองส่วนนั้นจะสั่งการว่าคุณต้องการทำสิ่งนั้นต่อไปจริงๆ ดังนั้นจึงหมายความว่าในการบรรเทาความเจ็บปวด คุณไม่ต้องพึ่งพิงเฉพาะยาแก้ปวดเท่านั้น”
ในการศึกษาวิเคราะห์แตกต่างหากออกไป นักจิตวิทยาศึกษาผู้หญิง 25 คนและแฟนของสาวเหล่านี้นานกว่า 6 เดือน โดยทำให้กลุ่มตัวอย่างเหล่านี้รู้สึกถึงความเจ็บปวดในระดับต่างๆ ด้วยการใช้ของแหลมทิ่มแทง
ระหว่าง ‘การจำลองสถานการณ์’ แบบต่างๆ ผู้หญิงอาจกุมมือแฟนหรือกุมมือหนุ่มแปลกหน้า โดยผู้ชายทั้งหมดจะซ่อนตัวอยู่หลังม่าน
ในอีกกรณี ผู้หญิงถูกขอให้ดูภาพแฟนหรือภาพผู้ชายแปลกหน้า ขณะที่ถูกทำให้รู้สึกกระอักกระอ่วน
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่เป็นสถานที่ทำการทดลองนี้ พบว่าผู้หญิงแสดงให้เห็นว่าเจ็บปวดน้อยลงมากเมื่อกุมมือแฟน
แต่น่าที่ประหลาดใจก็คือ ภาพคนรักมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการเจ็บปวดพอๆ กัน โดยที่ในทั้งสองกรณีผู้หญิงรู้สึกเจ็บปวดน้อยกว่ามาก หากเปรียบเทียบกับสถานการณ์ที่มีคนแปลกหน้าเข้ามาเกี่ยวข้อง
การศึกษาของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐฯ พบว่าภาพถ่ายคนรักกระตุ้นสมองส่วนที่ประมวลผลความเจ็บปวด โดยมีความเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างความรู้สึกถึงความผูกพันทางอารมณ์กับการบรรเทาอาการเจ็บปวด
สมองของนักศึกษาจะถูกสแกนด้วยเครื่องเอ็มอาร์ไอ ขณะดูภาพคนรักพร้อมไปกับการทำให้รู้สึกเจ็บปวดด้วยความร้อนที่ผิวหนังในระดับต่างๆ
จาร์เรด ยังเกอร์ นักประสาทวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด พบว่าโดยเฉลี่ยแล้ว ความเจ็บปวดจะลดลง 36-44% และความรู้สึกไม่สะดวกสบายอย่างแรงลดลง 13%
ในการศึกษาที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสารพับลิก ไลบรารี ออฟ ไซนส์ ของสหรัฐฯ ยังเกอร์แจกแจงว่าความเจ็บปวดที่ลดลงเกี่ยวข้องกับสมองส่วนนอก บริเวณที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลความรู้สึกเมื่อได้รับรางวัล
“มันดูจะเกี่ยวข้องกับส่วนที่เป็นพื้นฐานดั้งเดิมของสมอง คือเป็นการกระตุ้นโครงสร้างส่วนลึก ที่สามารถสกัดความเจ็บปวดในระดับไขสันหลังได้ ก็ทำนองเดียวกับการทำงานของยาแก้ปวดชนิดเสพติดนั่นเอง
เขาบอกว่า ส่วนสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งสำหรับภาวะไร้ความเจ็บปวดของคนที่กำลังมีความรัก คือสมองส่วน nucleus accumbens ซึ่งก็เป็นศูนย์กลางของความรู้สึกว่าได้รับรางวัล สืบเนื่องจากการเสพโคเคนและสารเสพติดอื่นๆ
“สมองส่วนนั้นจะสั่งการว่าคุณต้องการทำสิ่งนั้นต่อไปจริงๆ ดังนั้นจึงหมายความว่าในการบรรเทาความเจ็บปวด คุณไม่ต้องพึ่งพิงเฉพาะยาแก้ปวดเท่านั้น”
ในการศึกษาวิเคราะห์แตกต่างหากออกไป นักจิตวิทยาศึกษาผู้หญิง 25 คนและแฟนของสาวเหล่านี้นานกว่า 6 เดือน โดยทำให้กลุ่มตัวอย่างเหล่านี้รู้สึกถึงความเจ็บปวดในระดับต่างๆ ด้วยการใช้ของแหลมทิ่มแทง
ระหว่าง ‘การจำลองสถานการณ์’ แบบต่างๆ ผู้หญิงอาจกุมมือแฟนหรือกุมมือหนุ่มแปลกหน้า โดยผู้ชายทั้งหมดจะซ่อนตัวอยู่หลังม่าน
ในอีกกรณี ผู้หญิงถูกขอให้ดูภาพแฟนหรือภาพผู้ชายแปลกหน้า ขณะที่ถูกทำให้รู้สึกกระอักกระอ่วน
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่เป็นสถานที่ทำการทดลองนี้ พบว่าผู้หญิงแสดงให้เห็นว่าเจ็บปวดน้อยลงมากเมื่อกุมมือแฟน
แต่น่าที่ประหลาดใจก็คือ ภาพคนรักมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการเจ็บปวดพอๆ กัน โดยที่ในทั้งสองกรณีผู้หญิงรู้สึกเจ็บปวดน้อยกว่ามาก หากเปรียบเทียบกับสถานการณ์ที่มีคนแปลกหน้าเข้ามาเกี่ยวข้อง