เอเจนซีส์ – ทีมนักวิจัยเมืองเบียร์พัฒนาและทดสอบรถต้นแบบที่ไม่ต้องใช้คนขับ แต่ควบคุมด้วยความคิดเพียงอย่างเดียว
คนขับจะต้องสวมอุปกรณ์พิเศษบนศีรษะ ที่แรกเริ่มเดิมทีออกแบบมาสำหรับวิดีโอเกม ภายในอุปกรณ์ดังกล่าวจะมีเซนเซอร์ที่เชื่อมโยงกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ของรถยนต์ด้วยเทคโนโลยีไร้สาย
ทั้งหมดที่ต้องทำคือ ‘คิด’ ว่าจะเลี้ยวซ้ายหรือขวา เร่งเครื่องหรือเบรก และรถยนต์จะตอบสนองความต้องการดังกล่าว
รถอัจฉริยะที่ว่าพัฒนาขึ้นมาโดยทีมนักวิจัยเยอรมนีที่ขณะนี้กำลังนำรถต้นแบบออกทดสอบเพื่อดูว่าวันหนึ่งข้างหน้าจะสามารถนำออกมาใช้จริงได้หรือไม่
เทคโนโลยีเบรนไดรเวอร์ทำงานด้วยการเชื่อมโยงรถกับกล้องวิดีโอ เรดาร์ และเซนเซอร์ ที่จะสร้างภาพสภาพแวดล้อม 3 มิติขึ้นมา
นอกจากนั้น ผู้ขับต้องสวมหมวกพิเศษที่ติดตั้งเซนเซอร์ 16 ตัวเพื่อรับสัญญาณแม่เหล็กจากสมอง
สัญญาณดังกล่าวจะถูกแปลงโดยคอมพิวเตอร์ที่ถูกตั้งโปรแกรมให้เข้าใจรูปแบบเฉพาะที่แตกต่างกัน 2 รูปแบบที่หมายถึงซ้ายหรือขวา
ในการทดสอบครั้งหนึ่ง ผู้ขับสามารถบังคับเลี้ยวขวาด้วยความคิด แม้มีความล่าช้าเล็กน้อยระหว่างการออกคำสั่งกับการเคลื่อนที่ของรถก็ตาม
ในการทดสอบครั้งที่ 2 รถถูกตั้งโปรแกรมให้จดจำรูปแบบ 4 อย่าง เพื่อให้ผู้ขับเร่งหรือลดความเร็วของรถ
โครงการนี้เป็นผลงานของทีมออโตโนมอส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาร์ทิฟิเชียล อินเทลลิเจนซ์ กรุ๊ปของมหาวิทยาลัยเสรีแห่งเบอร์ลิน
นักวิจัยได้ทดสอบไอแพ็ดและอุปกรณ์ติดตามความเคลื่อนไหวของดวงตาก่อนตั้งค่าในการควบคุมรถด้วยความคิด โดยเปิดเผยว่า การทดสอบรถเป็นเพียง ‘การพิสูจน์แนวคิด’ และยังมีภารกิจที่ต้องทำอีกมากเพื่อให้สมองของคนเราสามารถควบคุมรถได้อย่างสมบูรณ์แบบ
นอกจากนี้ ยังไม่มีการตัดสินใจว่าควรพัฒนารถต้นแบบนี้ออกมาใช้ในวงกว้างขึ้นหรือไม่
“แน่นอนว่าแอปพลิเคชัน ‘เบรนไดรเวอร์’ เป็นเพียงการสาธิต ยังไม่ใช่ระบบที่มีความปลอดภัยสำหรับการขับขี่ในระยะยาว กระนั้น อาจมีความเป็นไปได้สูงในการนำอินเทอร์เฟซระหว่างเครื่องจักรกับมนุษย์แบบนี้ไปรวมกับเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติ”
คนขับจะต้องสวมอุปกรณ์พิเศษบนศีรษะ ที่แรกเริ่มเดิมทีออกแบบมาสำหรับวิดีโอเกม ภายในอุปกรณ์ดังกล่าวจะมีเซนเซอร์ที่เชื่อมโยงกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ของรถยนต์ด้วยเทคโนโลยีไร้สาย
ทั้งหมดที่ต้องทำคือ ‘คิด’ ว่าจะเลี้ยวซ้ายหรือขวา เร่งเครื่องหรือเบรก และรถยนต์จะตอบสนองความต้องการดังกล่าว
รถอัจฉริยะที่ว่าพัฒนาขึ้นมาโดยทีมนักวิจัยเยอรมนีที่ขณะนี้กำลังนำรถต้นแบบออกทดสอบเพื่อดูว่าวันหนึ่งข้างหน้าจะสามารถนำออกมาใช้จริงได้หรือไม่
เทคโนโลยีเบรนไดรเวอร์ทำงานด้วยการเชื่อมโยงรถกับกล้องวิดีโอ เรดาร์ และเซนเซอร์ ที่จะสร้างภาพสภาพแวดล้อม 3 มิติขึ้นมา
นอกจากนั้น ผู้ขับต้องสวมหมวกพิเศษที่ติดตั้งเซนเซอร์ 16 ตัวเพื่อรับสัญญาณแม่เหล็กจากสมอง
สัญญาณดังกล่าวจะถูกแปลงโดยคอมพิวเตอร์ที่ถูกตั้งโปรแกรมให้เข้าใจรูปแบบเฉพาะที่แตกต่างกัน 2 รูปแบบที่หมายถึงซ้ายหรือขวา
ในการทดสอบครั้งหนึ่ง ผู้ขับสามารถบังคับเลี้ยวขวาด้วยความคิด แม้มีความล่าช้าเล็กน้อยระหว่างการออกคำสั่งกับการเคลื่อนที่ของรถก็ตาม
ในการทดสอบครั้งที่ 2 รถถูกตั้งโปรแกรมให้จดจำรูปแบบ 4 อย่าง เพื่อให้ผู้ขับเร่งหรือลดความเร็วของรถ
โครงการนี้เป็นผลงานของทีมออโตโนมอส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาร์ทิฟิเชียล อินเทลลิเจนซ์ กรุ๊ปของมหาวิทยาลัยเสรีแห่งเบอร์ลิน
นักวิจัยได้ทดสอบไอแพ็ดและอุปกรณ์ติดตามความเคลื่อนไหวของดวงตาก่อนตั้งค่าในการควบคุมรถด้วยความคิด โดยเปิดเผยว่า การทดสอบรถเป็นเพียง ‘การพิสูจน์แนวคิด’ และยังมีภารกิจที่ต้องทำอีกมากเพื่อให้สมองของคนเราสามารถควบคุมรถได้อย่างสมบูรณ์แบบ
นอกจากนี้ ยังไม่มีการตัดสินใจว่าควรพัฒนารถต้นแบบนี้ออกมาใช้ในวงกว้างขึ้นหรือไม่
“แน่นอนว่าแอปพลิเคชัน ‘เบรนไดรเวอร์’ เป็นเพียงการสาธิต ยังไม่ใช่ระบบที่มีความปลอดภัยสำหรับการขับขี่ในระยะยาว กระนั้น อาจมีความเป็นไปได้สูงในการนำอินเทอร์เฟซระหว่างเครื่องจักรกับมนุษย์แบบนี้ไปรวมกับเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติ”