*สังคมไทยจะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้สำเร็จเพื่อหลีกเลี่ยงการล่มสลายในอนาคต อันเนื่องมาจากหายนภัยของโลกร้อนได้หรือไม่? (ต่อ)*
ในการค้นหาปัจจัยที่ทำให้สังคมล่มสลายนั้น บทบาทของ “ดิน” มักถูกมองข้ามไปเสมอ ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว “วิธีใช้ดิน” ของสังคมแบบใด มักจะเป็นตัวบ่งบอกเสมอว่า สังคมแบบนั้นจะอยู่ได้นานเท่าไรด้วย ต่อให้สังคมนั้นมีภาคเกษตรกรรมบนพื้นที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ สามารถผลิตอาหารได้มากจนสามารถเลี้ยงดูประชากรภายในประเทศได้อย่างเพียงพอ และยังสามารถผลิตอาหารส่งออกไปขายยังประเทศต่างๆ ได้ก็ตาม แต่การขยายพื้นที่การเกษตรเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตอาหารอย่างไม่หยุดยั้ง ในที่สุดก็จะนำไปสู่การตัดต้นไม้ ตัดป่า และทำลายพืชคลุมดินในพื้นที่ใหม่ซึ่งนำไปสู่ การสูญเสียผิวดิน อย่างรวดเร็ว จากการกัดเซาะของน้ำและลม
ยิ่งเมื่อเวลาผ่านไป การใช้พื้นดินเพื่อการเกษตรซ้ำแล้วซ้ำเล่าย่อมนำไปสู่ การจืดของดิน พร้อมๆ กับการสูญเสียผิวดินจนปลูกพืชผลได้น้อยลง ไม่เพียงเท่านั้น การขยายตัวของเมืองพร้อมๆ กับจำนวนประชากรที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ยังทำให้ สังคมนำเอาที่ดินดีๆ ที่เหมาะสำหรับผลิตอาหารไปใช้สร้างบ้านเรือน โรงงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ในยุคปัจจุบัน คนส่วนมากมักเชื่อกันผิดๆ ว่า เทคโนโลยีจะแก้ปัญาได้ทุกอย่าง เช่น ปัญหาดินจืด จะแก้ได้ด้วยการใช้ปุ๋ยเคมี และเมื่อที่ดินสูญหายไปจากการพังทลายหรือการกัดเซาะของน้ำ และลม ก็อาจแก้ได้ด้วยการค้นหาพันธุ์พืชใหม่ที่ตัดต่อทางพันธุกรรมที่ให้ผลผลิตสูงขึ้น แต่นั่นเป็นการแก้ปัญหาเพียงชั่วคราวเท่านั้น ไม่อาจรับมือกับหายนภัยจากภาวะโลกร้อนที่กำลังมาเยือนอย่างเต็มรูปแบบในอนาคตอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้านี้ได้หรอก
นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สังคมไทยควรจะต้องมียุทธศาสตร์ในการบำรุงรักษาดินอย่างบูรณาการในระดับประเทศ โดยต้องหันมาให้ความสำคัญกับการใช้ปุ๋ยหมักและมูลสัตว์ การปลูกพืชหมุนเวียน การทำเกษตรกรรมแบบผสมผสาน และเกษตรอินทรีย์ให้มากขึ้น เพราะประเทศไทยควรจะต้องพลิกตัวจากการทำเกษตรกรรมแบบธรรมดา เปลี่ยนไปทำเกษตรอินทรีย์ให้มากขึ้น
ประเทศไทยมีพื้นที่ทั้งประเทศ 320,696,888 ไร่ (513.115 ตร.กม.) เป็นพื้นที่เกษตรกรรม 131,270,200 ไร่ แต่เรากลับมีพื้นที่เกษตรอินทรีย์เพียง 105,967 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.09 ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมดเท่านั้น ขณะที่ปัจจุบันนี้ พื้นที่เกษตรอินทรีย์ทั่วโลกมีมากถึง 218.75 ล้านไร่ (ของไทยมีเพียงแสนกว่าไร่เท่านั้น) และมีเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์มากถึง 1.4 ล้านราย แต่เกษตรกรไทยที่ลงทะเบียน และได้รับการรับรองการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์มีเพียงห้าพันรายเท่านั้น จะเห็นได้ว่า ทิศทางการพัฒนาสินค้าเกษตรของประเทศไทย มิใช่ทิศทางที่จะช่วยบำรุงรักษาดินอย่างยั่งยืนในระยะยาวเลย
พวกเราต้องไม่หลงผิดไปคิดแบบผิดๆ ว่า การทำไร่ทำนาขนาดใหญ่ด้วยการใช้เครื่องจักรกลจะทำให้ผลิตอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในระยะยาว แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ การใช้ที่ดินแบบผสมผสานและการรักษาดินให้อยู่ในสภาพดีต่างหาก ที่จะสามารถผลิตอาหารได้มากกว่าในระยะยาวและยั่งยืนกว่าด้วย
ปัญหาของประเทศไทยในขณะนี้ก็คือ เราไม่มีที่ดินจะนำมาใช้เพิ่มขึ้นเพื่อการเกษตรได้อีกแล้ว และประเทศไทยเองก็เริ่มสูญเสียที่ดินสำหรับใช้ในการเพาะปลูกมายี่สิบกว่าปีแล้ว โดยการสูญเสียที่ดินนี้เกิดจากการพังทลายบ้าง ถูกน้ำกัดเซาะบ้าง ถูกลมพัดพาไปบ้าง หมดธาตุอาหารบ้าง และถูกนำไปใช้ปลูกสร้างโรงงาน สนามกอล์ฟ รีสอร์ต และที่อยู่อาศัยบ้าง นี่ยังไม่รวมถึง การทำลายดินของเกษตรเคมี ซึ่งผลร้ายของเกษตรเคมีได้เริ่มปรากฏอย่างแจ้งชัดทั่วโลกแล้ว
จึงถึงเวลาแล้วที่สังคมไทยจะต้องหันไปศึกษาภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษเราที่รู้จักถนอมรักษา และใช้ดินแบบธรรมชาติ โดยการใช้ปุ๋ยคอกและใช้ของเสียทุกอย่างจากพืช สัตว์ และคนให้เป็นประโยชน์แก่การผลิตอาหารอันเป็นวิถีเกษตรอินทรีย์แบบดั้งเดิม นอกจากนี้ ปุ๋ยเคมียังทำมาจากน้ำมันปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติซึ่งไม่เพียงแต่มีราคาแพงเท่านั้น ในอนาคตอันใกล้จะมีแนวโน้มแพงยิ่งขึ้นไปอีก เพราะน้ำมันเองก็ใกล้จะหมดโลกลงไปทุกทีแล้ว
เมื่อคำนึงว่า ภาวะโลกร้อนหรือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจะทำให้ฤดูกาลในประเทศไทยแปรปรวน ฝนไม่ตกตามฤดูกาล วงจรของฤดูกาลเปลี่ยนแปลง โดยฤดูกาลจะเปลี่ยนไปในลักษณะที่ไม่มีทิศทาง พยากรณ์ได้ลำบากไม่เหมือนฤดูกาลในอดีตที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นผลกระทบที่ตามมาก็คือ การเพาะปลูกทางการเกษตรของประเทศไทยหลังจากนี้เป็นต้นไป จะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ซึ่งทำให้ฝนทิ้งช่วงนาน และฝนตกแต่ละครั้งมีปริมาณมากผิดปกติ โดยเฉพาะหากพืชที่กำลังรอเก็บเกี่ยวอยู่ แต่มีฝนตกลงมาหรือฝนตกมากขึ้น ก็อาจจะทำให้พืชผลได้รับความเสียหาย
ดังนั้น ต่อไปประเทศไทยจะต้องหันมาพัฒนาพันธุ์พืชใหม่ที่สามารถทนน้ำท่วม หรือสามารถทนแล้งได้และเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนได้ดี โดยเฉพาะข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทย ก็ควรมีการปรับตัวเรื่องการปลูกข้าวให้มีความเหมาะสมขึ้นในอดีต บ้านเราเคยมี ข้าวฟางลอยที่สามารถทนน้ำท่วม และงอกหนีน้ำได้ดี แต่ปัจจุบันแทบหาไม่เจอในพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยา
เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้ ประเทศไทยจะต้องหันมาพัฒนาพันธุ์ข้าวแบบข้าวฟางลอยนี้ให้มีการเพาะปลูกมากขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มเสถียรภาพด้านอาหารให้แก่ประเทศของเราในอนาคตที่คงจะเผชิญกับภัยพิบัติน้ำท่วมมากขึ้น บ่อยครั้งขึ้น และรุนแรงขึ้นอันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน
ที่สำคัญ ทุกภาคส่วนของสังคมไทย จะต้อง หันมาใช้ “องค์ความรู้เรื่องโลกร้อน” เพื่อปรับยุทธศาสตร์การจัดการเกษตรกรรมของประเทศเราทั้งระบบอย่างบูรณาการ เพื่อลดความเสี่ยงต่อผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่จะเกิดขึ้นแน่ๆ ในอนาคตอันใกล้ ยกตัวอย่างเช่น การระบาดของแมลงดำหนามที่เกิดจากผลกระทบโลกร้อนที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเคยเกิดกับประเทศไทยมาแล้ว ในช่วงปี พ.ศ. 2547 ปกติ แมลงดำหนามจะเป็นศัตรูพืชที่สำคัญของมะพร้าว ซึ่งชาวสวนมะพร้าวมักจะกลัวกันมาก ที่ผ่านมา แมลงดำหนามในประเทศไทย จะถูกควบคุมโดยปัจจัยทางชีวภาพ 2 ชนิดคือ แมลงหางหนีบ และเชื้อราเขียว แต่เมื่อโลกร้อนขึ้น แมลงดำหนามที่เคยถูกควบคุมอาจระบาดมากขึ้น เพราะศัตรูของธรรมชาติลดลง การระบาดอย่างหนักของแมลงดำหนาม เคยทำให้มะพร้าวเสียหายอย่างหนักทั่วประเทศมาแล้วในปี พ.ศ. 2547 โดยเฉพาะที่เกาะสมุยมีการระบาดกัดกินยอดมะพร้าวไปทั้งเกาะ สร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก
นี่แค่เป็นตัวอย่างเล็กๆ เพียงตัวอย่างเดียวเท่านั้น เป็นที่คาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่า ต่อไปเราจะเจอภัยจากแมลงศัตรูพืชประเภทต่างๆ ระบาดอีกแน่ๆ ประเทศเราจึงควรเร่งศึกษาสั่งสมองค์ความรู้เรื่องแมลงศัตรูพืชระบาดที่เกิดจากผลกระทบโลกร้อนเอาไว้ก่อน จะได้รับมือได้ทัน
ผลกระทบจากโลกร้อนต่อดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศ เป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนของสังคมจะต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษหลังจากนี้เป็นต้นไป เพราะมีความเป็นไปได้สูงว่า บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยา คงจะประสบกับภัยพิบัติมากขึ้น ทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม พายุโซนร้อน การกัดเซาะชายฝั่ง และการรุกคืบของน้ำเค็มจะมีมากขึ้น ดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน เป็นพื้นที่ปลูกข้าวขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ทั้งๆ ที่แต่เดิมทีพื้นที่บริเวณนี้ เคยเป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ไพศาลที่มีน้ำขังอยู่เกือบตลอดปี
แต่ด้วยความอุตสาหะ ความรู้ ความสามารถของคนรุ่นก่อนๆ ในการพัฒนาพื้นที่ และระบบชลประทานที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลกในปัจจุบัน จึงทำให้พื้นที่นี้กลายเป็นพื้นทุ่งนาเขียวขจี เต็มไปด้วยรวงข้าวอย่างทุกวันนี้ การบุกเบิกดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มต้นอย่างจริงจังในช่วง 100 กว่าปีมานี้เองเท่านั้น โดยเริ่มจากรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีการขุดคลองเพื่อเปิดพื้นที่ใหม่ที่เคยเป็นที่รกร้างมาเป็นพื้นที่ปลูกข้าว แต่คลองที่ขุดเสร็จจำนวนมากยังถูกนำมาใช้เพื่อการชลประทานน้อยมาก การปรับปรุงพัฒนาแหล่งน้ำอย่างจริงจังมีขึ้นในช่วงรัชกาลที่ 6 และ 7 เพราะเริ่มมีการนำความรู้สมัยใหม่มาช่วยปรับปรุงระบบคลองที่ได้ขุดไว้แล้วให้กลายเป็นระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อ การเกษตรกรรมในบริเวณที่ราบลุ่มดินดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อการปลูกข้าว จนกระทั่งทุกวันนี้
กรณีตัวอย่างทุ่งรังสิต น่าจะเป็นกรณีศึกษาที่เหมาะสมที่สุด ที่จะช่วยให้เราเข้าใจได้ว่า อะไรกำลังจะเกิดขึ้นกับ “ชามข้าวของประเทศเรา” ในอนาคต เพราะทุ่งรังสิตเป็นผลพวงของการที่ประเทศไทยได้เคยทุ่มเทลงทุนขนาดใหญ่ในการพัฒนาทุ่งน้ำขังให้กลายเป็นพื้นที่ปลูกข้าวที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แต่พัฒนาการทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา ได้แปรเปลี่ยนพื้นที่เกษตรกรรมที่ดีที่สุดของประเทศให้กลายเป็นพื้นที่หมู่บ้านจัดสรร โรงงานอุตสาหกรรม และสนามกอล์ฟ หากแนวโน้มการพัฒนาเชิงวัตถุมากเกินไปอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ยังดำเนินต่อไป
พื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยา ในฐานะที่เคยเป็น “ชามข้าว” ของประเทศ คงจะปิดฉากความสำคัญลงเหมือนเช่นทุ่งรังสิต เพราะนอกจากปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคมจะทำให้พื้นที่ผลิตข้าวในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยาลดน้อยลงทุกปีแล้ว ผลกระทบโลกร้อนต่อการผลิตข้าวของพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยาจะรุนแรงมากขึ้น เพราะความแปรปรวนของภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และอนาคตอันใกล้ จะทำให้เกิดภัยพิบัติมากขึ้น ทั้งน้ำท่วม ภัยแล้ง และพายุโซนร้อนซึ่งจะทำความเสียหายให้แก่พื้นที่เพาะปลูกข้าว ซ้ำแล้วซ้ำเล่า (ยังมีต่อ)
www.suvinai-dragon.com
ในการค้นหาปัจจัยที่ทำให้สังคมล่มสลายนั้น บทบาทของ “ดิน” มักถูกมองข้ามไปเสมอ ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว “วิธีใช้ดิน” ของสังคมแบบใด มักจะเป็นตัวบ่งบอกเสมอว่า สังคมแบบนั้นจะอยู่ได้นานเท่าไรด้วย ต่อให้สังคมนั้นมีภาคเกษตรกรรมบนพื้นที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ สามารถผลิตอาหารได้มากจนสามารถเลี้ยงดูประชากรภายในประเทศได้อย่างเพียงพอ และยังสามารถผลิตอาหารส่งออกไปขายยังประเทศต่างๆ ได้ก็ตาม แต่การขยายพื้นที่การเกษตรเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตอาหารอย่างไม่หยุดยั้ง ในที่สุดก็จะนำไปสู่การตัดต้นไม้ ตัดป่า และทำลายพืชคลุมดินในพื้นที่ใหม่ซึ่งนำไปสู่ การสูญเสียผิวดิน อย่างรวดเร็ว จากการกัดเซาะของน้ำและลม
ยิ่งเมื่อเวลาผ่านไป การใช้พื้นดินเพื่อการเกษตรซ้ำแล้วซ้ำเล่าย่อมนำไปสู่ การจืดของดิน พร้อมๆ กับการสูญเสียผิวดินจนปลูกพืชผลได้น้อยลง ไม่เพียงเท่านั้น การขยายตัวของเมืองพร้อมๆ กับจำนวนประชากรที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ยังทำให้ สังคมนำเอาที่ดินดีๆ ที่เหมาะสำหรับผลิตอาหารไปใช้สร้างบ้านเรือน โรงงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ในยุคปัจจุบัน คนส่วนมากมักเชื่อกันผิดๆ ว่า เทคโนโลยีจะแก้ปัญาได้ทุกอย่าง เช่น ปัญหาดินจืด จะแก้ได้ด้วยการใช้ปุ๋ยเคมี และเมื่อที่ดินสูญหายไปจากการพังทลายหรือการกัดเซาะของน้ำ และลม ก็อาจแก้ได้ด้วยการค้นหาพันธุ์พืชใหม่ที่ตัดต่อทางพันธุกรรมที่ให้ผลผลิตสูงขึ้น แต่นั่นเป็นการแก้ปัญหาเพียงชั่วคราวเท่านั้น ไม่อาจรับมือกับหายนภัยจากภาวะโลกร้อนที่กำลังมาเยือนอย่างเต็มรูปแบบในอนาคตอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้านี้ได้หรอก
นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สังคมไทยควรจะต้องมียุทธศาสตร์ในการบำรุงรักษาดินอย่างบูรณาการในระดับประเทศ โดยต้องหันมาให้ความสำคัญกับการใช้ปุ๋ยหมักและมูลสัตว์ การปลูกพืชหมุนเวียน การทำเกษตรกรรมแบบผสมผสาน และเกษตรอินทรีย์ให้มากขึ้น เพราะประเทศไทยควรจะต้องพลิกตัวจากการทำเกษตรกรรมแบบธรรมดา เปลี่ยนไปทำเกษตรอินทรีย์ให้มากขึ้น
ประเทศไทยมีพื้นที่ทั้งประเทศ 320,696,888 ไร่ (513.115 ตร.กม.) เป็นพื้นที่เกษตรกรรม 131,270,200 ไร่ แต่เรากลับมีพื้นที่เกษตรอินทรีย์เพียง 105,967 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.09 ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมดเท่านั้น ขณะที่ปัจจุบันนี้ พื้นที่เกษตรอินทรีย์ทั่วโลกมีมากถึง 218.75 ล้านไร่ (ของไทยมีเพียงแสนกว่าไร่เท่านั้น) และมีเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์มากถึง 1.4 ล้านราย แต่เกษตรกรไทยที่ลงทะเบียน และได้รับการรับรองการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์มีเพียงห้าพันรายเท่านั้น จะเห็นได้ว่า ทิศทางการพัฒนาสินค้าเกษตรของประเทศไทย มิใช่ทิศทางที่จะช่วยบำรุงรักษาดินอย่างยั่งยืนในระยะยาวเลย
พวกเราต้องไม่หลงผิดไปคิดแบบผิดๆ ว่า การทำไร่ทำนาขนาดใหญ่ด้วยการใช้เครื่องจักรกลจะทำให้ผลิตอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในระยะยาว แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ การใช้ที่ดินแบบผสมผสานและการรักษาดินให้อยู่ในสภาพดีต่างหาก ที่จะสามารถผลิตอาหารได้มากกว่าในระยะยาวและยั่งยืนกว่าด้วย
ปัญหาของประเทศไทยในขณะนี้ก็คือ เราไม่มีที่ดินจะนำมาใช้เพิ่มขึ้นเพื่อการเกษตรได้อีกแล้ว และประเทศไทยเองก็เริ่มสูญเสียที่ดินสำหรับใช้ในการเพาะปลูกมายี่สิบกว่าปีแล้ว โดยการสูญเสียที่ดินนี้เกิดจากการพังทลายบ้าง ถูกน้ำกัดเซาะบ้าง ถูกลมพัดพาไปบ้าง หมดธาตุอาหารบ้าง และถูกนำไปใช้ปลูกสร้างโรงงาน สนามกอล์ฟ รีสอร์ต และที่อยู่อาศัยบ้าง นี่ยังไม่รวมถึง การทำลายดินของเกษตรเคมี ซึ่งผลร้ายของเกษตรเคมีได้เริ่มปรากฏอย่างแจ้งชัดทั่วโลกแล้ว
จึงถึงเวลาแล้วที่สังคมไทยจะต้องหันไปศึกษาภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษเราที่รู้จักถนอมรักษา และใช้ดินแบบธรรมชาติ โดยการใช้ปุ๋ยคอกและใช้ของเสียทุกอย่างจากพืช สัตว์ และคนให้เป็นประโยชน์แก่การผลิตอาหารอันเป็นวิถีเกษตรอินทรีย์แบบดั้งเดิม นอกจากนี้ ปุ๋ยเคมียังทำมาจากน้ำมันปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติซึ่งไม่เพียงแต่มีราคาแพงเท่านั้น ในอนาคตอันใกล้จะมีแนวโน้มแพงยิ่งขึ้นไปอีก เพราะน้ำมันเองก็ใกล้จะหมดโลกลงไปทุกทีแล้ว
เมื่อคำนึงว่า ภาวะโลกร้อนหรือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจะทำให้ฤดูกาลในประเทศไทยแปรปรวน ฝนไม่ตกตามฤดูกาล วงจรของฤดูกาลเปลี่ยนแปลง โดยฤดูกาลจะเปลี่ยนไปในลักษณะที่ไม่มีทิศทาง พยากรณ์ได้ลำบากไม่เหมือนฤดูกาลในอดีตที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นผลกระทบที่ตามมาก็คือ การเพาะปลูกทางการเกษตรของประเทศไทยหลังจากนี้เป็นต้นไป จะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ซึ่งทำให้ฝนทิ้งช่วงนาน และฝนตกแต่ละครั้งมีปริมาณมากผิดปกติ โดยเฉพาะหากพืชที่กำลังรอเก็บเกี่ยวอยู่ แต่มีฝนตกลงมาหรือฝนตกมากขึ้น ก็อาจจะทำให้พืชผลได้รับความเสียหาย
ดังนั้น ต่อไปประเทศไทยจะต้องหันมาพัฒนาพันธุ์พืชใหม่ที่สามารถทนน้ำท่วม หรือสามารถทนแล้งได้และเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนได้ดี โดยเฉพาะข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทย ก็ควรมีการปรับตัวเรื่องการปลูกข้าวให้มีความเหมาะสมขึ้นในอดีต บ้านเราเคยมี ข้าวฟางลอยที่สามารถทนน้ำท่วม และงอกหนีน้ำได้ดี แต่ปัจจุบันแทบหาไม่เจอในพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยา
เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้ ประเทศไทยจะต้องหันมาพัฒนาพันธุ์ข้าวแบบข้าวฟางลอยนี้ให้มีการเพาะปลูกมากขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มเสถียรภาพด้านอาหารให้แก่ประเทศของเราในอนาคตที่คงจะเผชิญกับภัยพิบัติน้ำท่วมมากขึ้น บ่อยครั้งขึ้น และรุนแรงขึ้นอันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน
ที่สำคัญ ทุกภาคส่วนของสังคมไทย จะต้อง หันมาใช้ “องค์ความรู้เรื่องโลกร้อน” เพื่อปรับยุทธศาสตร์การจัดการเกษตรกรรมของประเทศเราทั้งระบบอย่างบูรณาการ เพื่อลดความเสี่ยงต่อผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่จะเกิดขึ้นแน่ๆ ในอนาคตอันใกล้ ยกตัวอย่างเช่น การระบาดของแมลงดำหนามที่เกิดจากผลกระทบโลกร้อนที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเคยเกิดกับประเทศไทยมาแล้ว ในช่วงปี พ.ศ. 2547 ปกติ แมลงดำหนามจะเป็นศัตรูพืชที่สำคัญของมะพร้าว ซึ่งชาวสวนมะพร้าวมักจะกลัวกันมาก ที่ผ่านมา แมลงดำหนามในประเทศไทย จะถูกควบคุมโดยปัจจัยทางชีวภาพ 2 ชนิดคือ แมลงหางหนีบ และเชื้อราเขียว แต่เมื่อโลกร้อนขึ้น แมลงดำหนามที่เคยถูกควบคุมอาจระบาดมากขึ้น เพราะศัตรูของธรรมชาติลดลง การระบาดอย่างหนักของแมลงดำหนาม เคยทำให้มะพร้าวเสียหายอย่างหนักทั่วประเทศมาแล้วในปี พ.ศ. 2547 โดยเฉพาะที่เกาะสมุยมีการระบาดกัดกินยอดมะพร้าวไปทั้งเกาะ สร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก
นี่แค่เป็นตัวอย่างเล็กๆ เพียงตัวอย่างเดียวเท่านั้น เป็นที่คาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่า ต่อไปเราจะเจอภัยจากแมลงศัตรูพืชประเภทต่างๆ ระบาดอีกแน่ๆ ประเทศเราจึงควรเร่งศึกษาสั่งสมองค์ความรู้เรื่องแมลงศัตรูพืชระบาดที่เกิดจากผลกระทบโลกร้อนเอาไว้ก่อน จะได้รับมือได้ทัน
ผลกระทบจากโลกร้อนต่อดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศ เป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนของสังคมจะต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษหลังจากนี้เป็นต้นไป เพราะมีความเป็นไปได้สูงว่า บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยา คงจะประสบกับภัยพิบัติมากขึ้น ทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม พายุโซนร้อน การกัดเซาะชายฝั่ง และการรุกคืบของน้ำเค็มจะมีมากขึ้น ดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน เป็นพื้นที่ปลูกข้าวขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ทั้งๆ ที่แต่เดิมทีพื้นที่บริเวณนี้ เคยเป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ไพศาลที่มีน้ำขังอยู่เกือบตลอดปี
แต่ด้วยความอุตสาหะ ความรู้ ความสามารถของคนรุ่นก่อนๆ ในการพัฒนาพื้นที่ และระบบชลประทานที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลกในปัจจุบัน จึงทำให้พื้นที่นี้กลายเป็นพื้นทุ่งนาเขียวขจี เต็มไปด้วยรวงข้าวอย่างทุกวันนี้ การบุกเบิกดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มต้นอย่างจริงจังในช่วง 100 กว่าปีมานี้เองเท่านั้น โดยเริ่มจากรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีการขุดคลองเพื่อเปิดพื้นที่ใหม่ที่เคยเป็นที่รกร้างมาเป็นพื้นที่ปลูกข้าว แต่คลองที่ขุดเสร็จจำนวนมากยังถูกนำมาใช้เพื่อการชลประทานน้อยมาก การปรับปรุงพัฒนาแหล่งน้ำอย่างจริงจังมีขึ้นในช่วงรัชกาลที่ 6 และ 7 เพราะเริ่มมีการนำความรู้สมัยใหม่มาช่วยปรับปรุงระบบคลองที่ได้ขุดไว้แล้วให้กลายเป็นระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อ การเกษตรกรรมในบริเวณที่ราบลุ่มดินดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อการปลูกข้าว จนกระทั่งทุกวันนี้
กรณีตัวอย่างทุ่งรังสิต น่าจะเป็นกรณีศึกษาที่เหมาะสมที่สุด ที่จะช่วยให้เราเข้าใจได้ว่า อะไรกำลังจะเกิดขึ้นกับ “ชามข้าวของประเทศเรา” ในอนาคต เพราะทุ่งรังสิตเป็นผลพวงของการที่ประเทศไทยได้เคยทุ่มเทลงทุนขนาดใหญ่ในการพัฒนาทุ่งน้ำขังให้กลายเป็นพื้นที่ปลูกข้าวที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แต่พัฒนาการทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา ได้แปรเปลี่ยนพื้นที่เกษตรกรรมที่ดีที่สุดของประเทศให้กลายเป็นพื้นที่หมู่บ้านจัดสรร โรงงานอุตสาหกรรม และสนามกอล์ฟ หากแนวโน้มการพัฒนาเชิงวัตถุมากเกินไปอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ยังดำเนินต่อไป
พื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยา ในฐานะที่เคยเป็น “ชามข้าว” ของประเทศ คงจะปิดฉากความสำคัญลงเหมือนเช่นทุ่งรังสิต เพราะนอกจากปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคมจะทำให้พื้นที่ผลิตข้าวในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยาลดน้อยลงทุกปีแล้ว ผลกระทบโลกร้อนต่อการผลิตข้าวของพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยาจะรุนแรงมากขึ้น เพราะความแปรปรวนของภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และอนาคตอันใกล้ จะทำให้เกิดภัยพิบัติมากขึ้น ทั้งน้ำท่วม ภัยแล้ง และพายุโซนร้อนซึ่งจะทำความเสียหายให้แก่พื้นที่เพาะปลูกข้าว ซ้ำแล้วซ้ำเล่า (ยังมีต่อ)
www.suvinai-dragon.com