ASTVผู้จัดการรายวัน-เอไอเอสร่อนหนังสือชี้แจงตลาดกรณีที่ทีโอทีส่งหนังสือเร่งรัดชำระเงินรวม 75,000 ล้าน พร้อมดอกเบี้ย ไม่มีผลเพราะไม่ใช่คู่ความในคดีแดงที่อม. 1/2553 ส่วนกรณีภาษีสรรพสามิตนั้น ดำเนินการตามมติครม.ทุกประการ แถมทีโอทียังยืนยันว่า ได้รับส่วนแบ่งรายได้ครบถ้วนตามสัญญา
เมื่อวานนี้ (3 ก.พ.2554) ทางบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ได้ส่งหนังสือชี้แจงกรณีที่บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้มีหนังสือถึงเอไอเอส เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 มายังตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า สาระในหนังสือดังกล่าวแจ้งให้ทางเอไอเอสชำระเงินส่วนแบ่งรายได้เพิ่มเติมในกรณีการปรับลดส่วนแบ่งรายได้บริการบัตรเติมเงิน (Prepaid Card) การหักค่าใช้จ่ายการใช้เครือข่ายร่วม (Roaming) จำนวนเงินรวม 36,995,636,889.80 บาท และการหักค่าภาษีสรรพสามิตออกจากส่วนแบ่งรายได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม จำนวนเงินรวม36,816,942,676.13 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตรา7.5% ต่อปีให้แก่ ทีโอที ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554
ในกรณีการปรับลดส่วนแบ่งรายได้บริการบัตรเติมเงิน (Prepaid Card) และการหักค่าใช้จ่ายการใช้เครือข่ายร่วม (Roaming) ตามหนังสือเรียกร้องของทีโอทีได้กล่าวอ้างบางส่วนของคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คดีหมายเลขแดงที่อม. 1/2553 เป็นเหตุเรียกร้องให้เอไอเอสชำระเงินดังกล่าว แต่ความจริงแล้ว คำพิพากษาฯ ดังกล่าวหาได้มีผลผูกพันเอไอเอสแต่อย่างใดไม่ เนื่องจากทั้งทีโอทีและเอไอเอสต่างมิได้เป็นคู่ความในคดี
ศาลดังกล่าวหาได้วินิจฉัยให้เพิกถอนข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ครั้งที่ 6 กรณีบริการบัตรเติมเงิน (Prepaid Card) และครั้งที่ 7 กรณีการใช้เครือข่ายร่วม (Roaming) แต่อย่างใดไม่ รวมทั้ง มิได้วินิจฉัยว่าเอไอเอสกระทำผิดโดยไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญา หรือวินิจฉัยให้ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาทั้งสองฉบับ ไม่มีผลผูกพันระหว่างทีโอทีและเอไอเอสแต่อย่างใด
ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอนุญาตฯ ทั้งสองฉบับยังคงมีผลใช้บังคับและผูกพันคู่สัญญาให้ต้องปฏิบัติตามต่อไป อีกทั้งการปฏิบัติในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เอไอเอสได้ปฏิบัติตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาฯ ทั้งสองฉบับอย่างครบถ้วนและถูกต้องมาโดยตลอด ดังนั้น เอไอเอสจึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระเงินส่วนแบ่งรายได้และเงินอื่นใดตามที่ทีโอทีเรียกร้องมา
ทั้งนี้ เจตนารมณ์และเหตุผลในการทำบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาทั้งสองฉบับ มีหลักฐานปรากฏอย่างชัดแจ้ง ทั้งที่ทีโอที หรือหน่วยงานทางราชการอื่นว่าเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์สาธารณะเพื่อทำให้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้รับบริการในราคาที่ถูกลงและทีโอทีก็ได้รับส่วนแบ่งรายได้เพิ่มเติมสูงขึ้นเป็นอย่างมากจากการนี้
ส่วนกรณีการนำภาษีสรรพสามิตมาหักออกจากเงินส่วนแบ่งรายได้นั้น ทางเอไอเอสชี้แจงว่า จากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการใช้ภาษีสรรพสามิตเป็นเครื่องมือในการจัดแบ่งเงินรายได้ตามสัญญาสัมปทานบางส่วนไปเป็นภาษีสรรพสามิต เพื่อเตรียมการแปรสภาพองค์การโทรศัพท์ในขณะนั้นเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ โดยมีหลักการสำคัญว่า รัฐไม่ได้รับความเสียหายใด โดยรัฐยังคงได้รับส่วนแบ่งรายได้เท่าเดิม ผู้ประกอบการไม่มีภาระเพิ่ม ผู้ใช้บริการไม่ต้องจ่ายค่าบริการเพิ่ม ดังนั้นเมื่อรวมภาษีสรรพสามิตและส่วนแบ่งรายได้ (ที่หักภาษีสรรพสามิตแล้ว) รัฐในที่นี้ คือ กรมสรรพสามิต และทีโอทีซึ่งกระทรวงการคลังถือหุ้น 100% จึงยังคงมีรายได้เท่าเดิม ไม่มีความเสียหายใด
ขณะที่ทีโอทีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายของรัฐ และ มติคณะรัฐมนตรีที่ออกมาโดยชอบด้วยกฎหมาย และใช้กับผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกรายที่กำหนดให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกรายหักค่าภาษีสรรพสามิตออกจากส่วนแบ่งรายได้ก่อนนำส่งให้คู่สัญญาสัมปทาน ซึ่งทีโอทีเป็นฝ่ายแจ้งให้เอไอเอสเป็นผู้ปฎิบัติในการชำระภาษีสรรพสามิตแล้วนำไปหักออกจากส่วนแบ่งรายได้ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี และเอไอเอสได้ปฏิบัติตามที่แจ้งมานั้นโดยสุจริต
ศาลดังกล่าวฯ มิได้วินิจฉัยว่า มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับภาษีสรรพสามิตดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมิได้เพิกถอนหรือยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวแต่อย่างใด
การนำภาษีสรรพสามิตมาหักออกจากเงินส่วนแบ่งรายได้ในระหว่างปี 2546 ถึงปี 2550 นั้น ทาง ทีโอที ไม่เคยเรียกร้องให้ทางเอไอเอสชำระเงินจำนวนดังกล่าว แต่ได้ยืนยันความถูกต้องว่า ได้รับส่วนแบ่งรายได้ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว ด้วยการออกใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีและคืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่ออกเพื่อประกันการชำระเงินส่วนแบ่งรายได้มาโดยตลอด
ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ที่ทีโอทีเรียกร้องนั้น ทางเอไอเอสไม่มีหน้าที่ต้องชำระ เนื่องจาก หากจะมีภาษีหรือภาระดังกล่าวเกิดขึ้นจริงแล้วก็เป็นหน้าที่ความรับผิดของทีโอทีในฐานะผู้มีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร อีกทั้งทีโอทีเองก็เป็นฝ่ายโต้แย้งกรมสรรพากรว่า กรมสรรพากรไม่อาจประเมินเรียกเก็บภาษีดังกล่าวได้
การเรียกร้องของทีโอทีในกรณีดังกล่าวนี้ เป็นการเรียกร้องซ้ำซ้อนกับเงินจำนวนเดียวกันที่ ทีโอที ได้เรียกร้องในเรื่องภาษีสรรพสามิตไว้แล้ว ด้วยวิธีการอนุญาโตตุลาการ ณ สถาบันอนุญาโตตุลาการตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2551 โดยขณะนี้ข้อพิพาทอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการ
ส่วนกรณีที่ทางคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปเจรจาเกี่ยวกับการแก้ไขสัญญาฯกับบริษัทฯและรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบภายใน 15 วัน ขณะนี้ เอไอเอสยังมิได้รับหนังสือจากทีโอทีและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือหน่วยงานของรัฐอื่นแต่อย่างใด
เมื่อวานนี้ (3 ก.พ.2554) ทางบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ได้ส่งหนังสือชี้แจงกรณีที่บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้มีหนังสือถึงเอไอเอส เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 มายังตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า สาระในหนังสือดังกล่าวแจ้งให้ทางเอไอเอสชำระเงินส่วนแบ่งรายได้เพิ่มเติมในกรณีการปรับลดส่วนแบ่งรายได้บริการบัตรเติมเงิน (Prepaid Card) การหักค่าใช้จ่ายการใช้เครือข่ายร่วม (Roaming) จำนวนเงินรวม 36,995,636,889.80 บาท และการหักค่าภาษีสรรพสามิตออกจากส่วนแบ่งรายได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม จำนวนเงินรวม36,816,942,676.13 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตรา7.5% ต่อปีให้แก่ ทีโอที ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554
ในกรณีการปรับลดส่วนแบ่งรายได้บริการบัตรเติมเงิน (Prepaid Card) และการหักค่าใช้จ่ายการใช้เครือข่ายร่วม (Roaming) ตามหนังสือเรียกร้องของทีโอทีได้กล่าวอ้างบางส่วนของคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คดีหมายเลขแดงที่อม. 1/2553 เป็นเหตุเรียกร้องให้เอไอเอสชำระเงินดังกล่าว แต่ความจริงแล้ว คำพิพากษาฯ ดังกล่าวหาได้มีผลผูกพันเอไอเอสแต่อย่างใดไม่ เนื่องจากทั้งทีโอทีและเอไอเอสต่างมิได้เป็นคู่ความในคดี
ศาลดังกล่าวหาได้วินิจฉัยให้เพิกถอนข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ครั้งที่ 6 กรณีบริการบัตรเติมเงิน (Prepaid Card) และครั้งที่ 7 กรณีการใช้เครือข่ายร่วม (Roaming) แต่อย่างใดไม่ รวมทั้ง มิได้วินิจฉัยว่าเอไอเอสกระทำผิดโดยไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญา หรือวินิจฉัยให้ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาทั้งสองฉบับ ไม่มีผลผูกพันระหว่างทีโอทีและเอไอเอสแต่อย่างใด
ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอนุญาตฯ ทั้งสองฉบับยังคงมีผลใช้บังคับและผูกพันคู่สัญญาให้ต้องปฏิบัติตามต่อไป อีกทั้งการปฏิบัติในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เอไอเอสได้ปฏิบัติตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาฯ ทั้งสองฉบับอย่างครบถ้วนและถูกต้องมาโดยตลอด ดังนั้น เอไอเอสจึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระเงินส่วนแบ่งรายได้และเงินอื่นใดตามที่ทีโอทีเรียกร้องมา
ทั้งนี้ เจตนารมณ์และเหตุผลในการทำบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาทั้งสองฉบับ มีหลักฐานปรากฏอย่างชัดแจ้ง ทั้งที่ทีโอที หรือหน่วยงานทางราชการอื่นว่าเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์สาธารณะเพื่อทำให้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้รับบริการในราคาที่ถูกลงและทีโอทีก็ได้รับส่วนแบ่งรายได้เพิ่มเติมสูงขึ้นเป็นอย่างมากจากการนี้
ส่วนกรณีการนำภาษีสรรพสามิตมาหักออกจากเงินส่วนแบ่งรายได้นั้น ทางเอไอเอสชี้แจงว่า จากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการใช้ภาษีสรรพสามิตเป็นเครื่องมือในการจัดแบ่งเงินรายได้ตามสัญญาสัมปทานบางส่วนไปเป็นภาษีสรรพสามิต เพื่อเตรียมการแปรสภาพองค์การโทรศัพท์ในขณะนั้นเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ โดยมีหลักการสำคัญว่า รัฐไม่ได้รับความเสียหายใด โดยรัฐยังคงได้รับส่วนแบ่งรายได้เท่าเดิม ผู้ประกอบการไม่มีภาระเพิ่ม ผู้ใช้บริการไม่ต้องจ่ายค่าบริการเพิ่ม ดังนั้นเมื่อรวมภาษีสรรพสามิตและส่วนแบ่งรายได้ (ที่หักภาษีสรรพสามิตแล้ว) รัฐในที่นี้ คือ กรมสรรพสามิต และทีโอทีซึ่งกระทรวงการคลังถือหุ้น 100% จึงยังคงมีรายได้เท่าเดิม ไม่มีความเสียหายใด
ขณะที่ทีโอทีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายของรัฐ และ มติคณะรัฐมนตรีที่ออกมาโดยชอบด้วยกฎหมาย และใช้กับผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกรายที่กำหนดให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกรายหักค่าภาษีสรรพสามิตออกจากส่วนแบ่งรายได้ก่อนนำส่งให้คู่สัญญาสัมปทาน ซึ่งทีโอทีเป็นฝ่ายแจ้งให้เอไอเอสเป็นผู้ปฎิบัติในการชำระภาษีสรรพสามิตแล้วนำไปหักออกจากส่วนแบ่งรายได้ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี และเอไอเอสได้ปฏิบัติตามที่แจ้งมานั้นโดยสุจริต
ศาลดังกล่าวฯ มิได้วินิจฉัยว่า มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับภาษีสรรพสามิตดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมิได้เพิกถอนหรือยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวแต่อย่างใด
การนำภาษีสรรพสามิตมาหักออกจากเงินส่วนแบ่งรายได้ในระหว่างปี 2546 ถึงปี 2550 นั้น ทาง ทีโอที ไม่เคยเรียกร้องให้ทางเอไอเอสชำระเงินจำนวนดังกล่าว แต่ได้ยืนยันความถูกต้องว่า ได้รับส่วนแบ่งรายได้ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว ด้วยการออกใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีและคืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่ออกเพื่อประกันการชำระเงินส่วนแบ่งรายได้มาโดยตลอด
ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ที่ทีโอทีเรียกร้องนั้น ทางเอไอเอสไม่มีหน้าที่ต้องชำระ เนื่องจาก หากจะมีภาษีหรือภาระดังกล่าวเกิดขึ้นจริงแล้วก็เป็นหน้าที่ความรับผิดของทีโอทีในฐานะผู้มีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร อีกทั้งทีโอทีเองก็เป็นฝ่ายโต้แย้งกรมสรรพากรว่า กรมสรรพากรไม่อาจประเมินเรียกเก็บภาษีดังกล่าวได้
การเรียกร้องของทีโอทีในกรณีดังกล่าวนี้ เป็นการเรียกร้องซ้ำซ้อนกับเงินจำนวนเดียวกันที่ ทีโอที ได้เรียกร้องในเรื่องภาษีสรรพสามิตไว้แล้ว ด้วยวิธีการอนุญาโตตุลาการ ณ สถาบันอนุญาโตตุลาการตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2551 โดยขณะนี้ข้อพิพาทอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการ
ส่วนกรณีที่ทางคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปเจรจาเกี่ยวกับการแก้ไขสัญญาฯกับบริษัทฯและรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบภายใน 15 วัน ขณะนี้ เอไอเอสยังมิได้รับหนังสือจากทีโอทีและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือหน่วยงานของรัฐอื่นแต่อย่างใด