เมื่อวานนี้ (30 ม.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกอภิสิทธิ์ ว่า หลังจากรัฐสภาให้ความเห็นชอบแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 190 และมาตรา 93 - มาตรา 98 ในวาระที่ 2 แล้ว จะช่วยให้มีความชัดเจนเกี่ยวกับประเภทหนังสือสัญญาที่ไทยจะไปทำข้อตกลงระหว่างประเทศ โดยยืนยันว่า ไม่รวมเรื่องหนังสือสัญญาสำคัญ เขตแดน หรือเป็นเรื่องที่มีผลกระทบอย่างกว้างขวาง ซึ่งจะยังคงต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาเช่นเดิม
ส่วนการแก้ไขเรื่องเขตเลือกตั้งกลับไปใช้แบบ 1 เขตเลือกตั้ง มี ส.ส. 1 คน รวม 375 คน และ ส.ส.สัดส่วน 125 คน จะเป็นการเพื่อถ่วงดุลกันระหว่าง ส.ส.เขต กับการแข่งขันกันด้วยนโยบายระดับชาติ
ทั้งนี้ประธานรัฐสภาได้นัดวันลงมติวาระที่ 3 ในวันที่ 11 ก.พ.54 ซึ่งจะเป็นไปอย่างเปิดเผย โดยใช้วิธีการขานชื่อ ซึ่งหากผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา ไปจนสู่กระบวนการที่จะมีผลบังคับใช้แล้ว สามารถให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ออกระเบียบเพื่อจัดการเลือกตั้งได้ โดยไม่ต้องรอให้รัฐบาลครบวาระ และถือว่าเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด คือ เศรษฐกิจมั่นคง บ้านเมืองสงบไม่มีการใช้ความรุนแรง ตลอดจนสามารถใช้กฎหมายปกติดูแลบ้านเมืองได้ รัฐบาลพร้อมจัดให้มีการเลือกตั้งโดยคืนอำนาจให้กับประชาชนตามกระบวนการประชาธิปไตย
**ปธ.สภาปัดไม่มีทุ่มเงินล็อบบี้
นายชัย ชิดชอบ ประธานสภา กล่าวถึงกรณีที่การะแสข่าวว่า มีการทุ่มเงิน 6-7 หลัก ให้ส.ว.โหวตให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ผ่านในวาระ 3 ว่า ไม่มี ด้วยเกียรติและศักดิ์ศรีของส.ส. และ ส.ว.
"ปากคนพูดมันพูดไม่มีหูรูด ก็พูดไป ไปถามคนที่ปล่อยข่าวเอง แต่ที่ผมฟังแล้วมันไม่มี เพราะว่าเรื่องนี้มันเปิดเผยเวลาที่โหวตรับหรือไม่รับก็ลุกขึ้น มีการบันภาพไว้ โหวตสุมสี่สุมห้าเสร็จเลย เกียรติยศชื่อเสียงที่สร้างมาหมดเลย ไม่มีเหลือ" นายชัยกล่าว
เมื่อถามว่าโหวตแก้ไขรัฐธรรมนูญจะผ่านในวาระ 3 หรือไม่ นายชัย กล่าวว่า อยู่ที่จิตใจของสมาชิกรัฐสภาแต่ละท่าน เขาก็มีความคิดความอ่าน เราไปมองใจเขาไม่ออก แล้วแต่สมาชิกแต่ท่านว่าท่านต้องการอย่างไร
แต่ในความเห็นส่วนตัว เห็นว่าผู้แทนราษฎรทุกคนเขาสมัครเข้ามา เขาก็มีเกียรติ มีชื่อเสียงในเขตเลือกตั้งของเขา เขาก็อยากจะได้เขตเดียวเบอร์เดียวอย่างที่ผ่านการพิจารณาในวาระ 1 ดังนั้น สูตร 375 บวก 125 ก็น่าจะผ่าน โดยเสียงส.ส. ส่วนใหญ่น่าจะโหวตให้ แต่ส.ส.บางท่านอาจจะถูกบังคับจากพรรคการเมือง ไม่ให้โหวตก็ได้ ตรงนี้มองไม่ออก ซึ่งตนไม่กล้าเอ่ยถึงพรรคไหน แต่บางพรรคอาจจะเอาแบบเดิม หรืออาจจะให้ร่างดังกล่าวตกก็ได้ แล้วแต่นโยบายของเขา
เมื่อถามว่าหากการแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านในวาระ3 ในเดือนก.พ.นี้ นายกรัฐมนตรี ก็จะประกาศวันยุบสภาที่ชัดเจน นายชัย กล่าวว่า อยู่ที่นายกฯ เขาจะคิดอย่างไร เขาจะได้รับเลือกตั้งเสียงข้างมากจริงหรือไม่ เขาต้องคิด และอยู่ที่ประชาชนด้วย สมัยนี้เป็นสมัยประชาธิปไตยพรรคไหนที่รวมแล้วได้เสียงข้างมาก เขาก็มีสิทธิ์เป็นนายกฯ นี่เป็นระบบประชาธิปไตย และถ้าหากยุบสภาแล้วนายอภิสิทธิ์ จะได้รับการเลือกตั้งหรือไม่ ประชาชนเขาไม่ได้โง่ ทุกคนมีพรรคที่อยู่ในใจว่าจะลงคะแนนให้พรรคไหน
**หน้ามืดซัดส.ว.ไม่มีหน้าที่แฉล็อบบี้
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวตอบโต้กรณีที่ส.ว.บางกลุ่มกล่าวหา พรรคประชาธิปัตย์ใจแคบ ไม่ยอมรับฟังความเห็นต่างเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า เมื่อครั้งที่ตนให้สัมภาษณ์เรื่องดังกล่าวนั้นพูดในฐานะส.ส. ไม่ใช่ฐานะโฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรค ประกอบกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ก็ไม่ได้ใช้ให้ตนมาพูดเรื่องนี้ แต่ขอยืนยันว่า พรรคประชาธิปัตย์พร้อมรับฟังความเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างตรงไปตรงมาเสมอ และไม่เคยคิดวิพากษ์วิจารณ์คนที่มีความเห็นแตกต่าง ซึ่งก่อนหน้านี้กลุ่ม 40 ส.ว. ก็มีความเห็นต่างกับพรรคประชาธิปัตย์ แต่เราก็ไม่เคยตอบโต้ ซึ่งเรื่องนี้ต้องดูในส่วนของ ส.ว.บางคนว่าพฤติกรรมเคยสนับสนุนนโยบายใดบ้าง ประกอบกับ ส.ว.บางคน ก็ยังมีพฤติกรรมคล้ายฝ่ายค้านอย่างชัดเจน
ทั้งนี้ ตนขอเรียกร้องให้มีการตรวจสอบดูว่า ส.ว.กลุ่มดังกล่าว เคยมีการลงมติสนับสนุนรัฐบาลหรือไม่ ถ้าอยากจะเลือกข้าง ก็ขอให้มาลงสมัครเป็นส.ส. เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่หน้าที่ของส.ว. ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีวุฒิภาวะ และความเป็นกลางทางการเมือง ซึ่งเรื่องนี้คนที่ออกมากล่าวหา ก็น่าจะเป็นพวกกินอยู่กับปาก อยากอยู่กับท้อง
ส่วนการแก้ไขเรื่องเขตเลือกตั้งกลับไปใช้แบบ 1 เขตเลือกตั้ง มี ส.ส. 1 คน รวม 375 คน และ ส.ส.สัดส่วน 125 คน จะเป็นการเพื่อถ่วงดุลกันระหว่าง ส.ส.เขต กับการแข่งขันกันด้วยนโยบายระดับชาติ
ทั้งนี้ประธานรัฐสภาได้นัดวันลงมติวาระที่ 3 ในวันที่ 11 ก.พ.54 ซึ่งจะเป็นไปอย่างเปิดเผย โดยใช้วิธีการขานชื่อ ซึ่งหากผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา ไปจนสู่กระบวนการที่จะมีผลบังคับใช้แล้ว สามารถให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ออกระเบียบเพื่อจัดการเลือกตั้งได้ โดยไม่ต้องรอให้รัฐบาลครบวาระ และถือว่าเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด คือ เศรษฐกิจมั่นคง บ้านเมืองสงบไม่มีการใช้ความรุนแรง ตลอดจนสามารถใช้กฎหมายปกติดูแลบ้านเมืองได้ รัฐบาลพร้อมจัดให้มีการเลือกตั้งโดยคืนอำนาจให้กับประชาชนตามกระบวนการประชาธิปไตย
**ปธ.สภาปัดไม่มีทุ่มเงินล็อบบี้
นายชัย ชิดชอบ ประธานสภา กล่าวถึงกรณีที่การะแสข่าวว่า มีการทุ่มเงิน 6-7 หลัก ให้ส.ว.โหวตให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ผ่านในวาระ 3 ว่า ไม่มี ด้วยเกียรติและศักดิ์ศรีของส.ส. และ ส.ว.
"ปากคนพูดมันพูดไม่มีหูรูด ก็พูดไป ไปถามคนที่ปล่อยข่าวเอง แต่ที่ผมฟังแล้วมันไม่มี เพราะว่าเรื่องนี้มันเปิดเผยเวลาที่โหวตรับหรือไม่รับก็ลุกขึ้น มีการบันภาพไว้ โหวตสุมสี่สุมห้าเสร็จเลย เกียรติยศชื่อเสียงที่สร้างมาหมดเลย ไม่มีเหลือ" นายชัยกล่าว
เมื่อถามว่าโหวตแก้ไขรัฐธรรมนูญจะผ่านในวาระ 3 หรือไม่ นายชัย กล่าวว่า อยู่ที่จิตใจของสมาชิกรัฐสภาแต่ละท่าน เขาก็มีความคิดความอ่าน เราไปมองใจเขาไม่ออก แล้วแต่สมาชิกแต่ท่านว่าท่านต้องการอย่างไร
แต่ในความเห็นส่วนตัว เห็นว่าผู้แทนราษฎรทุกคนเขาสมัครเข้ามา เขาก็มีเกียรติ มีชื่อเสียงในเขตเลือกตั้งของเขา เขาก็อยากจะได้เขตเดียวเบอร์เดียวอย่างที่ผ่านการพิจารณาในวาระ 1 ดังนั้น สูตร 375 บวก 125 ก็น่าจะผ่าน โดยเสียงส.ส. ส่วนใหญ่น่าจะโหวตให้ แต่ส.ส.บางท่านอาจจะถูกบังคับจากพรรคการเมือง ไม่ให้โหวตก็ได้ ตรงนี้มองไม่ออก ซึ่งตนไม่กล้าเอ่ยถึงพรรคไหน แต่บางพรรคอาจจะเอาแบบเดิม หรืออาจจะให้ร่างดังกล่าวตกก็ได้ แล้วแต่นโยบายของเขา
เมื่อถามว่าหากการแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านในวาระ3 ในเดือนก.พ.นี้ นายกรัฐมนตรี ก็จะประกาศวันยุบสภาที่ชัดเจน นายชัย กล่าวว่า อยู่ที่นายกฯ เขาจะคิดอย่างไร เขาจะได้รับเลือกตั้งเสียงข้างมากจริงหรือไม่ เขาต้องคิด และอยู่ที่ประชาชนด้วย สมัยนี้เป็นสมัยประชาธิปไตยพรรคไหนที่รวมแล้วได้เสียงข้างมาก เขาก็มีสิทธิ์เป็นนายกฯ นี่เป็นระบบประชาธิปไตย และถ้าหากยุบสภาแล้วนายอภิสิทธิ์ จะได้รับการเลือกตั้งหรือไม่ ประชาชนเขาไม่ได้โง่ ทุกคนมีพรรคที่อยู่ในใจว่าจะลงคะแนนให้พรรคไหน
**หน้ามืดซัดส.ว.ไม่มีหน้าที่แฉล็อบบี้
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวตอบโต้กรณีที่ส.ว.บางกลุ่มกล่าวหา พรรคประชาธิปัตย์ใจแคบ ไม่ยอมรับฟังความเห็นต่างเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า เมื่อครั้งที่ตนให้สัมภาษณ์เรื่องดังกล่าวนั้นพูดในฐานะส.ส. ไม่ใช่ฐานะโฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรค ประกอบกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ก็ไม่ได้ใช้ให้ตนมาพูดเรื่องนี้ แต่ขอยืนยันว่า พรรคประชาธิปัตย์พร้อมรับฟังความเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างตรงไปตรงมาเสมอ และไม่เคยคิดวิพากษ์วิจารณ์คนที่มีความเห็นแตกต่าง ซึ่งก่อนหน้านี้กลุ่ม 40 ส.ว. ก็มีความเห็นต่างกับพรรคประชาธิปัตย์ แต่เราก็ไม่เคยตอบโต้ ซึ่งเรื่องนี้ต้องดูในส่วนของ ส.ว.บางคนว่าพฤติกรรมเคยสนับสนุนนโยบายใดบ้าง ประกอบกับ ส.ว.บางคน ก็ยังมีพฤติกรรมคล้ายฝ่ายค้านอย่างชัดเจน
ทั้งนี้ ตนขอเรียกร้องให้มีการตรวจสอบดูว่า ส.ว.กลุ่มดังกล่าว เคยมีการลงมติสนับสนุนรัฐบาลหรือไม่ ถ้าอยากจะเลือกข้าง ก็ขอให้มาลงสมัครเป็นส.ส. เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่หน้าที่ของส.ว. ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีวุฒิภาวะ และความเป็นกลางทางการเมือง ซึ่งเรื่องนี้คนที่ออกมากล่าวหา ก็น่าจะเป็นพวกกินอยู่กับปาก อยากอยู่กับท้อง