นายสนอง เทพอักษรณรงค์ ส.ส.บุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย กระทู้ถามสด ถามนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เรื่องการปรับปรุงค่าตอบแทนให้กับสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่นว่า รัฐบาลปรับปรุงค่าตอบแทนกำนัน ผู้ใหญ่บ้านไปแล้ว แต่ อปพร.ยังไม่มีสวัสดิการให้ และที่เป็นปัญหาอยู่คือ ค่าตอบแทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่ผ่านมามีการปรับแค่อบต. จึงสงสัยว่ากระทรวงมหาดไทยใช้เกณฑ์อะไรในการปรับ เพราะพวกเลขานุการประธานสภา อบต. เลขานุการนายก อบต. ได้ปรับเพิ่มเพียงเดือนละ 40 บาท ซื้อปลาทูเข่งยังไม่ได้
นอกจากนี้ เมื่อค่าตอบแทนไม่เท่ากับ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต.ที่หมดวาระก็จะมาสมัครเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้านแทน ทำให้สร้างความขัดแย้งในชุมชน และเกี่ยงงานกัน ขณะเดียวกัน อปท.ท้องถิ่นที่เหลือ จะปรับค่าตอบแทนเมื่อใด และภาพรวมการกระจายงบให้อปท. ยังทำตามแผนกระจายอำนาจให้อปท.ที่ตั้งไว้ 35 % ไม่ได้ จะมีการดำเนินการให้เป็นจริงเมื่อใด
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า กำลังดูโครงสร้างค่าตอบแทนอปท. ในส่วนฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติทั้งหมด เพื่อพิจารณาว่าต่อไปจะขึ้นค่าตอบแทนโดยอัตโนมัติตามค่าครองชีพเหมือนราชการได้หรือไม่ จะได้ไม่ต้องมาถกเถียงกัน
ส่วนเรื่องการกระจายงบ ปี 54 กระจายให้ท้องถิ่น 26.1 % และกำลังดูว่างบพัฒนาที่เป็นนโยบายรัฐบาล จะสามารถกระจายให้ท้องถิ่นได้หรือไม่ ซึ่งปี 55 สัดส่วนงบท้องถิ่น จะได้ไม่น้อยกว่าเดิม แต่นโยบายรัฐบาลที่ใช้งบ 50,000 ล้านบาท จะถอดไปที่งบท้องถิ่นได้ใน 2 ปี โดยปีแรก จะถอดได้ 30,000 ล้านบาท ปีที่สองจะถอดได้ 20,000 ล้านบาท
นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย ชี้แจงว่า การปรับเงินตอบแทนอปท. ต้องดูทั้งระบบ วันนี้มีการปกครองท้องถิ่น 5 รูปแบบ 7,000 กว่าแห่ง แบ่งเป็น อบต.มีมากสุดคือ 5,000 กว่าแห่ง แต่โครงสร้างค่าตอบแทนของอบต. ต่ำสุด เมื่อเทียบกับเทศบาล อบจ. กทม. นายกรัฐมนตรีจึงมอบกระทรวงมหาดไทยไปพิจารณาให้สอดคล้องกับความเป็นจริง และเป็นธรรม ทางกระทรวงฯจึงได้พิจารณาร่วมกับกรมบัญชีกลาง สำนักงบประมาณ โดยเกณฑ์คือ ผู้บริหาร อบต.ปรับขึ้น 100 % เพราะเมื่อเทียบค่าตอบแทน สูงสุดของอบต. 9,200 บาท แต่เทศบาลและอบจ.สูงถึง 46,000 บาท ส่วนประธานสภาและสมาชิกปรับขึ้นประมาณ 35-55 % รวมใช้งบทั้งหมด 1,055 ล้านบาทต่อปี เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ และสอดคล้องอปท.อีก 5 รูปแบบโดยไม่ได้ตั้งใจจะเกิดความขัดแย้ง
ส่วนเทศบาล และกทม. ตอนนี้กระทรวงฯ ตั้งกรรมการจากหลายฝ่ายเพื่อดูโครงสร้างการปรับค่าตอบแทนอย่างมีเหตุผล และอธิบายได้ ซึ่งถ้ามีการเรียกร้องเรื่องปรับค่าตอบแทน นายกฯ และกระทรวงมหาดไทยพร้อมฟัง แต่จะเดินไปได้แค่ไหนก็ขอเวลาพิจารณาด้วย
นอกจากนี้ เมื่อค่าตอบแทนไม่เท่ากับ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต.ที่หมดวาระก็จะมาสมัครเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้านแทน ทำให้สร้างความขัดแย้งในชุมชน และเกี่ยงงานกัน ขณะเดียวกัน อปท.ท้องถิ่นที่เหลือ จะปรับค่าตอบแทนเมื่อใด และภาพรวมการกระจายงบให้อปท. ยังทำตามแผนกระจายอำนาจให้อปท.ที่ตั้งไว้ 35 % ไม่ได้ จะมีการดำเนินการให้เป็นจริงเมื่อใด
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า กำลังดูโครงสร้างค่าตอบแทนอปท. ในส่วนฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติทั้งหมด เพื่อพิจารณาว่าต่อไปจะขึ้นค่าตอบแทนโดยอัตโนมัติตามค่าครองชีพเหมือนราชการได้หรือไม่ จะได้ไม่ต้องมาถกเถียงกัน
ส่วนเรื่องการกระจายงบ ปี 54 กระจายให้ท้องถิ่น 26.1 % และกำลังดูว่างบพัฒนาที่เป็นนโยบายรัฐบาล จะสามารถกระจายให้ท้องถิ่นได้หรือไม่ ซึ่งปี 55 สัดส่วนงบท้องถิ่น จะได้ไม่น้อยกว่าเดิม แต่นโยบายรัฐบาลที่ใช้งบ 50,000 ล้านบาท จะถอดไปที่งบท้องถิ่นได้ใน 2 ปี โดยปีแรก จะถอดได้ 30,000 ล้านบาท ปีที่สองจะถอดได้ 20,000 ล้านบาท
นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย ชี้แจงว่า การปรับเงินตอบแทนอปท. ต้องดูทั้งระบบ วันนี้มีการปกครองท้องถิ่น 5 รูปแบบ 7,000 กว่าแห่ง แบ่งเป็น อบต.มีมากสุดคือ 5,000 กว่าแห่ง แต่โครงสร้างค่าตอบแทนของอบต. ต่ำสุด เมื่อเทียบกับเทศบาล อบจ. กทม. นายกรัฐมนตรีจึงมอบกระทรวงมหาดไทยไปพิจารณาให้สอดคล้องกับความเป็นจริง และเป็นธรรม ทางกระทรวงฯจึงได้พิจารณาร่วมกับกรมบัญชีกลาง สำนักงบประมาณ โดยเกณฑ์คือ ผู้บริหาร อบต.ปรับขึ้น 100 % เพราะเมื่อเทียบค่าตอบแทน สูงสุดของอบต. 9,200 บาท แต่เทศบาลและอบจ.สูงถึง 46,000 บาท ส่วนประธานสภาและสมาชิกปรับขึ้นประมาณ 35-55 % รวมใช้งบทั้งหมด 1,055 ล้านบาทต่อปี เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ และสอดคล้องอปท.อีก 5 รูปแบบโดยไม่ได้ตั้งใจจะเกิดความขัดแย้ง
ส่วนเทศบาล และกทม. ตอนนี้กระทรวงฯ ตั้งกรรมการจากหลายฝ่ายเพื่อดูโครงสร้างการปรับค่าตอบแทนอย่างมีเหตุผล และอธิบายได้ ซึ่งถ้ามีการเรียกร้องเรื่องปรับค่าตอบแทน นายกฯ และกระทรวงมหาดไทยพร้อมฟัง แต่จะเดินไปได้แค่ไหนก็ขอเวลาพิจารณาด้วย