"มาร์ค"ยอมรับพาบ้านเมืองผ่านความขัดแย้ง แต่ยังไม่พ้นวิกฤต วอนสื่อช่วยทำให้ผ่านพ้นความรุนแรง ระบุพร้อมรับฟังความเห็น ข้อกฏหมายสื่อ พร้อมผลักดันให้เป็นอิสระและมีงบฯ สนับสนุนโดยไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
เมื่อเวลา 12.00 น. วานนี้ (14 ม.ค.) ที่ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมรับประทานอาหารกับสภาวิชาชีพข่าว และวิทยุและโทรศัศน์ไทย เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงาน โดยนายอภิสิทธิ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า รัฐบาลพร้อมรับฟังความเห็น เพื่อให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้ และสื่อสามารถทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ตามหลักวิชาชีพ โดยเฉพาะหลังจากการยกเลิกประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินไปแล้ว และทางนายกสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย บอกว่า เราผ่านพ้นวิกฤติมาด้วยกัน แต่ตนคิดว่าเราผ่านวิกฤติ แต่เรายังไม่พ้น ดังนั้นจะต้องมาช่วยกันทำให้ผ่านพ้นไปจริง ๆ เพราะต้องยอมรับว่ายังมีความขัดแย้งความตึงเครียดที่ยังอยู่ในสังคม แต่เราต้องบริหารจัดการกันอย่างไร เพื่อไม่ให้บ้านเมืองย้อนกลับไปสู่ความรุนแรงอีก
นายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า รัฐบาลพร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อห่วงใยใน ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและส่งเสริมมาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ที่ผ่านครม.แล้ว แต่ยังมีปัญหาที่ต้องช้วยกันคิด และเรื่องที่จะสะท้อนไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อปรับปรุง โดยประเด็นแรกคือ ความพยายามจะมีองค์กร และสำนักงานที่เข้มแข็งขึ้น จึงกำหนดให้เป็นสำนักงานเป็นนิติบุคคล และมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ราชการ และรัฐวิสาหกิจนั้น ครม. เห็นว่าไม่น่าเหมาะสม เพราะหน่วยงานนี้ ควรจะเป็นอิสระจากภาครัฐ ปราศจากการแทรกแซง จึงจะให้กฤษฎีกาไปปรับในรูปแบบคล้ายๆ กับองค์กรวิชาชีพที่มีกฎหมายมารองรับ และพร้อมสนับสนุนงบประมาณ แต่ต้องเขียนกฎหมายไม่ให้ขัดกับรัฐธรรมนูญ ที่รัฐต้องไม่อุดหนุนสื่อ แต่กรณีนี้เป็นการอุดหนุนองค์กรที่มาทำหน้าที่เป็นสื่อ ให้เป็นไปตามเจตนามณ์กับการที่รัฐบาลทำเรื่องนี้ขึ้นมา ให้สื่อมีองค์กรที่เข้มแข็งขึ้น กำกับดูแลกันเอง ส่งเสริมมาตรฐานคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ
นอกจากนี้ยังมีกฎหมายที่ค้างอยู่ในคณะกรรมการกฤษฎีกา คือ กองทุนสื่อสร้างสรรค์ และปลอดภัย เพื่อเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้รายการที่มีคุณภาพเชิงสร้างสรรค์สามารถเผยแพร่ได้ และมีโอกาสได้รับการสนับสนุนมากขึ้น แต่มีประเด็นว่า กฤษฎีกาได้พิ่มเรื่องการกำกับ และควบคุม ซึ่งตนเห็นว่าควรตัดส่วนนี้ออก เพราะไม่ต้องการให้กฎหมายส่งเสริมมาปนกับกฎหมายกำกับ ควบคุม และจะปรับปรุงกฎหมายข้อมูลข่าวสาร เพื่อช่วยการทำงานของสื่อ
เมื่อเวลา 12.00 น. วานนี้ (14 ม.ค.) ที่ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมรับประทานอาหารกับสภาวิชาชีพข่าว และวิทยุและโทรศัศน์ไทย เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงาน โดยนายอภิสิทธิ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า รัฐบาลพร้อมรับฟังความเห็น เพื่อให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้ และสื่อสามารถทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ตามหลักวิชาชีพ โดยเฉพาะหลังจากการยกเลิกประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินไปแล้ว และทางนายกสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย บอกว่า เราผ่านพ้นวิกฤติมาด้วยกัน แต่ตนคิดว่าเราผ่านวิกฤติ แต่เรายังไม่พ้น ดังนั้นจะต้องมาช่วยกันทำให้ผ่านพ้นไปจริง ๆ เพราะต้องยอมรับว่ายังมีความขัดแย้งความตึงเครียดที่ยังอยู่ในสังคม แต่เราต้องบริหารจัดการกันอย่างไร เพื่อไม่ให้บ้านเมืองย้อนกลับไปสู่ความรุนแรงอีก
นายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า รัฐบาลพร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อห่วงใยใน ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและส่งเสริมมาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ที่ผ่านครม.แล้ว แต่ยังมีปัญหาที่ต้องช้วยกันคิด และเรื่องที่จะสะท้อนไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อปรับปรุง โดยประเด็นแรกคือ ความพยายามจะมีองค์กร และสำนักงานที่เข้มแข็งขึ้น จึงกำหนดให้เป็นสำนักงานเป็นนิติบุคคล และมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ราชการ และรัฐวิสาหกิจนั้น ครม. เห็นว่าไม่น่าเหมาะสม เพราะหน่วยงานนี้ ควรจะเป็นอิสระจากภาครัฐ ปราศจากการแทรกแซง จึงจะให้กฤษฎีกาไปปรับในรูปแบบคล้ายๆ กับองค์กรวิชาชีพที่มีกฎหมายมารองรับ และพร้อมสนับสนุนงบประมาณ แต่ต้องเขียนกฎหมายไม่ให้ขัดกับรัฐธรรมนูญ ที่รัฐต้องไม่อุดหนุนสื่อ แต่กรณีนี้เป็นการอุดหนุนองค์กรที่มาทำหน้าที่เป็นสื่อ ให้เป็นไปตามเจตนามณ์กับการที่รัฐบาลทำเรื่องนี้ขึ้นมา ให้สื่อมีองค์กรที่เข้มแข็งขึ้น กำกับดูแลกันเอง ส่งเสริมมาตรฐานคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ
นอกจากนี้ยังมีกฎหมายที่ค้างอยู่ในคณะกรรมการกฤษฎีกา คือ กองทุนสื่อสร้างสรรค์ และปลอดภัย เพื่อเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้รายการที่มีคุณภาพเชิงสร้างสรรค์สามารถเผยแพร่ได้ และมีโอกาสได้รับการสนับสนุนมากขึ้น แต่มีประเด็นว่า กฤษฎีกาได้พิ่มเรื่องการกำกับ และควบคุม ซึ่งตนเห็นว่าควรตัดส่วนนี้ออก เพราะไม่ต้องการให้กฎหมายส่งเสริมมาปนกับกฎหมายกำกับ ควบคุม และจะปรับปรุงกฎหมายข้อมูลข่าวสาร เพื่อช่วยการทำงานของสื่อ