ที่รัฐสภา วานนี้(10 ม.ค.)นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงกรณีที่จะมีส.ว.สรรหาหลายคนลาออกเพื่อเข้าสู่กระบวนการสรรหาใหม่ว่า เท่าที่ตนได้ไปสอบถามส.ว.หลายคนพบว่าขณะนี้ส.ว.สรรหาส่วนใหญ่ (จาก 74 คน) จะลาออกก่อนที่จะมีการกระบวนการสรรหาใหม่ในวันที่ 15-17 ก.พ.นี้ แต่ยังมีส.ว.อีกประมาณ 5-6 คนจะไม่ลาออกแต่จะอยู่จนครบวาระ แต่ก็ยังเข้าสู่กระบวนการสรรหาใหม่ด้วย โดยเขามั่นใจว่าไม่ขัดต่อหลักกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ประธานวุฒิสภาไม่มีอำนาจที่จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ จะส่งตีความได้ก็ต่อเมื่อกระบวนการสรรหาแล้วเสร็จแล้วมีส.ว.สรรหาที่อยู่จนครบวาระได้เลือกเข้ามาเป็นส.ว.อีกครั้ง แล้วมีผู้ร้องว่าขาดคุณสมบัติ ตรงนี้จึงจะสามารถส่งตีความได้ อย่างไรก็ตามสำหรับตนมีแนวโน้มสูงที่จะลาออกจากตำแหน่งก่อนวันที่ 18 ก.พ. ซึ่งเป็นวันที่เริ่มกระบวนการสรรหาส.ว.สรรหาใหม่
เมื่อถามว่าส.ว.สรรหาส่วนใหญ่ลาออกไปจะทำให้มีผลต่อองค์ประชุมของรัฐสภาและวุฒิสภาหรือไม่ นายประสพสุข กล่าวว่า เชื่อว่าไม่มีผลกระทบแม้ส.ว.จะลาออกไปเยอะ แต่กฎหมายกำหนดว่าให้องค์ประชุมเท่ากับจำนวนส.ว.ที่มีอยู่ จึงเชื่อว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในฐานะ ประธานกรรมการเตรียมการสรรหา ส.ว. กล่าวถึง กรณีที่ ส.ว. สรรหา จะลาออกก่อนหมดวาระ เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาทางด้านกฎหมาย ก่อนการเข้ารับการสรรหาของ ส.ว. ว่า เรื่องนี้ต้องดูกฎหมายให้ชัดเจนก่อน เพราะตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 117 กำหนดให้ ส.ว.ซึ่งสิ้นสุดสมาชิกภาพตามวาระที่อยู่ครบตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะมี ส.ว.สรรหา ขึ้นมาใหม่ รวมทั้งมาตรา 115 ที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติ แต่ไม่รวมถึงบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามการเป็น ส.ว. เนื่องจาก ส.ว.สรรหา ที่จะหมดวาระลง 3 ปี ในครั้งนี้ สามารถมีสิทธิ์ได้รับการเสนอรายชื่อการเป็น ส.ว.สรรหา ได้อีก ตามบทเฉพาะกาล มาตรา 297 ที่ระบุมิให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการต้องห้ามดำรงตำแหน่ง ติดต่อกัน 1 วาระ มาบังคับใช้กับบุคคลที่จะสรรหา ส.ว.ในครั้งถัดไป
อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าวยังไม่มีหนังสือสอบถามปัญหาด้านข้อกฎหมายจาก ส.ว.มายัง กกต. ซึ่งเรื่องนี้จะให้ด้านบริหารงานเลือกตั้งและสำนัก กฎหมายคดี ตรวจดูเรื่องข้อกฎหมายต่อไป
เมื่อถามว่าส.ว.สรรหาส่วนใหญ่ลาออกไปจะทำให้มีผลต่อองค์ประชุมของรัฐสภาและวุฒิสภาหรือไม่ นายประสพสุข กล่าวว่า เชื่อว่าไม่มีผลกระทบแม้ส.ว.จะลาออกไปเยอะ แต่กฎหมายกำหนดว่าให้องค์ประชุมเท่ากับจำนวนส.ว.ที่มีอยู่ จึงเชื่อว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในฐานะ ประธานกรรมการเตรียมการสรรหา ส.ว. กล่าวถึง กรณีที่ ส.ว. สรรหา จะลาออกก่อนหมดวาระ เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาทางด้านกฎหมาย ก่อนการเข้ารับการสรรหาของ ส.ว. ว่า เรื่องนี้ต้องดูกฎหมายให้ชัดเจนก่อน เพราะตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 117 กำหนดให้ ส.ว.ซึ่งสิ้นสุดสมาชิกภาพตามวาระที่อยู่ครบตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะมี ส.ว.สรรหา ขึ้นมาใหม่ รวมทั้งมาตรา 115 ที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติ แต่ไม่รวมถึงบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามการเป็น ส.ว. เนื่องจาก ส.ว.สรรหา ที่จะหมดวาระลง 3 ปี ในครั้งนี้ สามารถมีสิทธิ์ได้รับการเสนอรายชื่อการเป็น ส.ว.สรรหา ได้อีก ตามบทเฉพาะกาล มาตรา 297 ที่ระบุมิให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการต้องห้ามดำรงตำแหน่ง ติดต่อกัน 1 วาระ มาบังคับใช้กับบุคคลที่จะสรรหา ส.ว.ในครั้งถัดไป
อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าวยังไม่มีหนังสือสอบถามปัญหาด้านข้อกฎหมายจาก ส.ว.มายัง กกต. ซึ่งเรื่องนี้จะให้ด้านบริหารงานเลือกตั้งและสำนัก กฎหมายคดี ตรวจดูเรื่องข้อกฎหมายต่อไป