สูตร 375+125 หรือ 400+100 ของสัดส่วน ส.ส.เขตและปาร์ตี้ลิสต์ ยังเป็นตัวเลขที่เคาะกันไม่ลงตัว สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่มาของ ส.ส.
โดยคาดว่าในวันนี้ (11 ม.ค.) ที่ประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มี “เทอดพงษ์ ไชยนันท์” ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธาน
จะมีข้อสรุปเกี่ยวกับประเด็นที่มาของ ส.ส.ในมาตรา 93-98 ที่ว่าด้วยระบบเลือกตั้ง และสัดส่วน ส.ส.เขตและบัญชีรายชื่อออกมา
หลังจากที่มาตรา 190 ที่ว่าด้วยการทำสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งได้หยิบยกมาพิจารณาพร้อมกัน สามารถหาข้อยุติได้อย่างไร้ปัญหาไปแล้ว
แต่ในส่วนของมาตรา 93-98 กลับยังมีความเห็นที่แตกต่างกัน โดยในวงประชุมกรรมาธิการ 2 นัดที่ผ่านมา มีการถกเถียงประเด็นนี้อย่างกว้างขวาง มีความเห็นเป็น 2 ฝ่าย
ฝ่ายหนึ่ง พรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่ม ส.ว. เห็นไปในแนวทางเดียวกับข้อเสนอของคณะกรรมการศึกษาและพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ที่มี “สมบัติ ธำรงธัญญวงศ์” เป็นประธาน ที่ให้มี ส.ส.ทั้งหมด 500 คน โดยแบ่งสัดส่วนเป็น ส.ส.เขต 375 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 125 คน จากเดิมที่รัฐธรรมนูญปี 50 กำหนดให้มี ส.ส.เขต 400 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่ออีก 80 คน รวมเป็น 480 คน
เพิ่มจำนวน ส.ส.ขึ้นมา 20 คน แต่ลด ส.ส.เขตลง 25 คน แล้วนำมาโปะไว้ในส่วนของปาร์ตี้ลิสต์ โดยให้เหตุผลว่าต้องการลดน้ำหนักของความนิยมส่วนบุคคลของผู้สมัคร มาเพิ่มความเข้มแข็งให้กับระบบพรรคการเมืองให้มากขึ้น
อีกฝ่ายหนึ่ง ได้แก่ พรรคร่วมรัฐบาล โดยเฉพาะพรรคภูมิใจไทย และพรรคชาติไทยพัฒนา ที่ต้องการสูตร 400+100 เหมือนกับรัฐธรรมนูญปี 40 ที่มี ส.ส.เขต 400 คน และปาร์ตี้ลิสต์ อีก 100 คน รวมเป็น 500 คนเท่ากัน แต่ต้องการให้มีการคงจำนวน ส.ส.ในระบบเขตไว้เท่าเดิม เนื่องจากเกรงว่าหากเขตใหญ่ขึ้นจะไม่สามารถดูแลประชาชนได้อย่างทั่วถึง
ที่สำคัญยังอ้างอีกว่า การเพิ่มสัดส่วน ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์มากขึ้น อาจเป็นช่องทางให้บรรดา “นายทุน” ทั้งหลายแห่เข้ามาสู่ถนนสายการเมืองได้ง่ายยิ่งขึ้น เพื่อหวังมานั่งเป็นเสนาบดีตั้งโต๊ะทำธุรกิจการเมืองอย่างโจ๋งครึ่ม
แม้กระทั่งพรรคเพื่อไทยที่เคยประกาศ “บอยคอต” การแก้รัฐธรรมนูญรอบนี้ต้องเปลี่ยนท่าทีกะทันหัน หวังเข้าร่วมการพิจารณาแก้รัฐธรรมนูญในช่วงโค้งสุดท้าย เหตุเพราะตัวเลข ส.ส.เขตที่ถูกลดลงไปตามสูตร 375+125 นั้น ทำให้พื้นที่ของพรรคเพื่อไทยหายไปทันที 15 ที่นั่ง เพราะเมื่อคำนวณจากสถิติประชากรแล้วพื้นที่ภาคอีสานและเหนือโดนผลกระทบมากที่สุด
ส่วนพื้นที่ภาคใต้สัมปทานของพรรคประชาธิปัตย์หายไปเพียง 4 ที่นั่งเท่านั้น
ซึ่งเหตุผลทั้งหลายทั้งปวงที่หยิบยกขึ้นมาอ้างกันนั้น ก็เป็นความพยายามในการช่วงชิงความได้เปรียบในสนามเลือกตั้งใหญ่ที่งวดเข้ามาทุกทีเท่านั้น โดยหากการร่างแก้รัฐธรรมนูญผ่านการรับรองของรัฐสภา และประกาศใช้ได้เร็ว ก็จะมีความชัดเจนในเรื่องกำหนดการเลือกตั้งทันที
ความเห็นต่างที่ว่า ไม่เพียงเป็นประเด็นที่ถกเถียงในที่ประชุมกรรมาธิการ แต่ยังขยายวงออกมาในระดับแกนนำ โดยฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์นั้น “สุเทพ เทือกสุบรรณ” ผู้จัดการรัฐบาล ยืนยันในจุดยืนเดิมตามข้อเสนอของคณะกรรมการฯชุดนายสมบัติ และบอกด้วยว่า พรรคร่วมรัฐบาลสามารถเห็นต่างได้ แต่ขึ้นอยู่กับเสียงส่วนใหญ่ว่ามีความเห็นอย่างไร และไม่บังคับพรรคร่วมฯ ให้ทำตามพรรคประชาธิปัตย์ทุกอย่าง
ถ้อยคำของ “สุเทพ” นั้นคล้ายว่าเปิดใจกว้างในความเห็นต่าง แต่ลงลึกไปถึงจำนวนกรรมาธิการที่มี 45 คนนั้น เป็นของพรรคประชาธิปัตย์ถึง 19 ที่นั่ง ที่เหลือเป็นของภูมิใจไทย 4 ที่นั่ง เพื่อแผ่นดิน 4 ที่นั่ง ชาติไทยพัฒนา 3 ที่นั่ง และพรรคอื่นๆอีกพรรคละ 1 ที่นั่ง แถมพรรคประชาธิปัตย์ยังมี 11 เสียงของ ส.ว.เป็นตัวช่วยอีกต่างหาก
เห็นได้ว่า “สุเทพ” มั่นใจมากว่า อย่างไรเสียมติของกรรมาธิการก็จะออกมาที่สูตร 375+125
ส่วนอีกด้านฝ่ายสนับสนุนสูตร 400+100 ที่มีพรรคภูมิใจไทย และพรรคชาติไทยพัฒนาเป็นตัวตั้งตัวตี ส่งคนออกมาแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับพรรคประชาธิปัตย์เป็นระยะๆที่ดูจะแรงที่สุดคือ
ท่าทีของ “ปู่ชัย ชิดชอบ” จากค่ายภูมิใจไทย ในฐานะประธานสภาฯ ที่เห็นด้วยกับระบบเขตเดียวเบอร์เดียวอย่างสุดลิ่ม แต่ไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มจำนวนปาร์ตี้ลิสต์ ถึงขนาดเสนอให้ยุบระบบบัญชีรายชื่อทิ้งไปเลย เพราะมองว่า ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์เป็นพวกที่ชอบพึ่งใบบุญคนอื่น
อย่างไรก็ตาม แม้ 2 ฝ่ายจะมีจุดยืนและท่าทีที่ชัดเจน แต่คนที่เสียงดังที่สุดน่าจะเป็น “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ผู้นำรัฐบาล ที่เชื่อว่าจะไม่ยอมทิ้งหลักการซ้ำอีก หลังต้องยอมกลืนน้ำลายผลักดันให้มีการแก้รัฐธรรมนูญ จากเขตใหญ่เรียงเบอร์มาเป็นเขตเดียวเบอร์เดียว ทั้งที่ยืนยันหนักแน่นมาตลอดว่า เลือกตั้งเขตเล็กซื้อเสียงง่ายกว่า
แต่จำใจต้องทำ เพราะเคยรับปากกับทั้ง “เนวิน ชิดชอบ” และ “บรรหาร ศิลปอาชา” เมื่อครั้งตั้งรัฐบาลใหม่ๆว่าจะแก้กติกาให้ ก่อนมีการเลือกตั้งใหญ่
ดังนั้นไม่ว่าพรรคร่วมรัฐบาลจะเคลื่อนไหวกดดันอย่างไร “อภิสิทธิ์” และพรรคประชาธิปัตย์คงไม่ยอมแน่ หรือหากมีการขู่กันถึงขนาดหันไปจับมือกับพรรคเพื่อไทยในการ “คว่ำ” สูตร 375+125 กลางสภาฯ
“อภิสิทธิ์” ก็มีไม้เด็ดในการชิง “ล้มกระดาน” ยุบสภาดัดหลังให้เลือกตั้งกันแบบเขตใหญ่เรียงเบอร์ที่บรรดานักการเมืองขาใหญ่ขยาดกัน เพราะต้องลงทุนเยอะ งบประมาณบานปลาย
ก่อนนำเข้าสู่สภาฯในวาระที่ 2 และ 3 คงต้องมีการพูดคุยกันในระดับตัดสินใจอีกหลายครั้ง และสุดท้ายก็คงสามารถไกล่เกลี่ยให้รับสูตร 375+125 เพื่อความสมประโยชน์กันทั้งพรรคประชาธิปัตย์และพรรคร่วมรัฐบาล เพราะหาก “แตกหัก” กันวันนี้ก็เท่ากับว่ากอดคอกันลงเหว
งานนี้จึงอาจมีการ “แลกเปลี่ยน” บางสิ่งบางอย่างระหว่างกัน โดยเฉพาะพรรคภูมิใจไทยที่มักออกมาตีรวนเมื่อจะมีการพิจารณาเรื่องสำคัญๆเสมอ ก่อนที่จะยินยอมตามแนวทางของพรรคประชาธิปัตย์ หากได้ในสิ่งที่ต้องการ
จึงต้องจับตาการประชุม ครม.ในช่วงนี้ว่าจะมีการนำโครงการสำคัญๆที่ยังคั่งค้างอยู่ อย่างรถเมล์ 4,000 คัน หรือเมกกะโปรเจ็กต์ใหญ่ๆในความดูแลของพรรคภูมิใจไทย เข้าสู่การพิจารณาของ ครม.เป็นข้อแลกเปลี่ยนหรือไม่
โดยคาดว่าในวันนี้ (11 ม.ค.) ที่ประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มี “เทอดพงษ์ ไชยนันท์” ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธาน
จะมีข้อสรุปเกี่ยวกับประเด็นที่มาของ ส.ส.ในมาตรา 93-98 ที่ว่าด้วยระบบเลือกตั้ง และสัดส่วน ส.ส.เขตและบัญชีรายชื่อออกมา
หลังจากที่มาตรา 190 ที่ว่าด้วยการทำสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งได้หยิบยกมาพิจารณาพร้อมกัน สามารถหาข้อยุติได้อย่างไร้ปัญหาไปแล้ว
แต่ในส่วนของมาตรา 93-98 กลับยังมีความเห็นที่แตกต่างกัน โดยในวงประชุมกรรมาธิการ 2 นัดที่ผ่านมา มีการถกเถียงประเด็นนี้อย่างกว้างขวาง มีความเห็นเป็น 2 ฝ่าย
ฝ่ายหนึ่ง พรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่ม ส.ว. เห็นไปในแนวทางเดียวกับข้อเสนอของคณะกรรมการศึกษาและพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ที่มี “สมบัติ ธำรงธัญญวงศ์” เป็นประธาน ที่ให้มี ส.ส.ทั้งหมด 500 คน โดยแบ่งสัดส่วนเป็น ส.ส.เขต 375 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 125 คน จากเดิมที่รัฐธรรมนูญปี 50 กำหนดให้มี ส.ส.เขต 400 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่ออีก 80 คน รวมเป็น 480 คน
เพิ่มจำนวน ส.ส.ขึ้นมา 20 คน แต่ลด ส.ส.เขตลง 25 คน แล้วนำมาโปะไว้ในส่วนของปาร์ตี้ลิสต์ โดยให้เหตุผลว่าต้องการลดน้ำหนักของความนิยมส่วนบุคคลของผู้สมัคร มาเพิ่มความเข้มแข็งให้กับระบบพรรคการเมืองให้มากขึ้น
อีกฝ่ายหนึ่ง ได้แก่ พรรคร่วมรัฐบาล โดยเฉพาะพรรคภูมิใจไทย และพรรคชาติไทยพัฒนา ที่ต้องการสูตร 400+100 เหมือนกับรัฐธรรมนูญปี 40 ที่มี ส.ส.เขต 400 คน และปาร์ตี้ลิสต์ อีก 100 คน รวมเป็น 500 คนเท่ากัน แต่ต้องการให้มีการคงจำนวน ส.ส.ในระบบเขตไว้เท่าเดิม เนื่องจากเกรงว่าหากเขตใหญ่ขึ้นจะไม่สามารถดูแลประชาชนได้อย่างทั่วถึง
ที่สำคัญยังอ้างอีกว่า การเพิ่มสัดส่วน ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์มากขึ้น อาจเป็นช่องทางให้บรรดา “นายทุน” ทั้งหลายแห่เข้ามาสู่ถนนสายการเมืองได้ง่ายยิ่งขึ้น เพื่อหวังมานั่งเป็นเสนาบดีตั้งโต๊ะทำธุรกิจการเมืองอย่างโจ๋งครึ่ม
แม้กระทั่งพรรคเพื่อไทยที่เคยประกาศ “บอยคอต” การแก้รัฐธรรมนูญรอบนี้ต้องเปลี่ยนท่าทีกะทันหัน หวังเข้าร่วมการพิจารณาแก้รัฐธรรมนูญในช่วงโค้งสุดท้าย เหตุเพราะตัวเลข ส.ส.เขตที่ถูกลดลงไปตามสูตร 375+125 นั้น ทำให้พื้นที่ของพรรคเพื่อไทยหายไปทันที 15 ที่นั่ง เพราะเมื่อคำนวณจากสถิติประชากรแล้วพื้นที่ภาคอีสานและเหนือโดนผลกระทบมากที่สุด
ส่วนพื้นที่ภาคใต้สัมปทานของพรรคประชาธิปัตย์หายไปเพียง 4 ที่นั่งเท่านั้น
ซึ่งเหตุผลทั้งหลายทั้งปวงที่หยิบยกขึ้นมาอ้างกันนั้น ก็เป็นความพยายามในการช่วงชิงความได้เปรียบในสนามเลือกตั้งใหญ่ที่งวดเข้ามาทุกทีเท่านั้น โดยหากการร่างแก้รัฐธรรมนูญผ่านการรับรองของรัฐสภา และประกาศใช้ได้เร็ว ก็จะมีความชัดเจนในเรื่องกำหนดการเลือกตั้งทันที
ความเห็นต่างที่ว่า ไม่เพียงเป็นประเด็นที่ถกเถียงในที่ประชุมกรรมาธิการ แต่ยังขยายวงออกมาในระดับแกนนำ โดยฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์นั้น “สุเทพ เทือกสุบรรณ” ผู้จัดการรัฐบาล ยืนยันในจุดยืนเดิมตามข้อเสนอของคณะกรรมการฯชุดนายสมบัติ และบอกด้วยว่า พรรคร่วมรัฐบาลสามารถเห็นต่างได้ แต่ขึ้นอยู่กับเสียงส่วนใหญ่ว่ามีความเห็นอย่างไร และไม่บังคับพรรคร่วมฯ ให้ทำตามพรรคประชาธิปัตย์ทุกอย่าง
ถ้อยคำของ “สุเทพ” นั้นคล้ายว่าเปิดใจกว้างในความเห็นต่าง แต่ลงลึกไปถึงจำนวนกรรมาธิการที่มี 45 คนนั้น เป็นของพรรคประชาธิปัตย์ถึง 19 ที่นั่ง ที่เหลือเป็นของภูมิใจไทย 4 ที่นั่ง เพื่อแผ่นดิน 4 ที่นั่ง ชาติไทยพัฒนา 3 ที่นั่ง และพรรคอื่นๆอีกพรรคละ 1 ที่นั่ง แถมพรรคประชาธิปัตย์ยังมี 11 เสียงของ ส.ว.เป็นตัวช่วยอีกต่างหาก
เห็นได้ว่า “สุเทพ” มั่นใจมากว่า อย่างไรเสียมติของกรรมาธิการก็จะออกมาที่สูตร 375+125
ส่วนอีกด้านฝ่ายสนับสนุนสูตร 400+100 ที่มีพรรคภูมิใจไทย และพรรคชาติไทยพัฒนาเป็นตัวตั้งตัวตี ส่งคนออกมาแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับพรรคประชาธิปัตย์เป็นระยะๆที่ดูจะแรงที่สุดคือ
ท่าทีของ “ปู่ชัย ชิดชอบ” จากค่ายภูมิใจไทย ในฐานะประธานสภาฯ ที่เห็นด้วยกับระบบเขตเดียวเบอร์เดียวอย่างสุดลิ่ม แต่ไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มจำนวนปาร์ตี้ลิสต์ ถึงขนาดเสนอให้ยุบระบบบัญชีรายชื่อทิ้งไปเลย เพราะมองว่า ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์เป็นพวกที่ชอบพึ่งใบบุญคนอื่น
อย่างไรก็ตาม แม้ 2 ฝ่ายจะมีจุดยืนและท่าทีที่ชัดเจน แต่คนที่เสียงดังที่สุดน่าจะเป็น “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ผู้นำรัฐบาล ที่เชื่อว่าจะไม่ยอมทิ้งหลักการซ้ำอีก หลังต้องยอมกลืนน้ำลายผลักดันให้มีการแก้รัฐธรรมนูญ จากเขตใหญ่เรียงเบอร์มาเป็นเขตเดียวเบอร์เดียว ทั้งที่ยืนยันหนักแน่นมาตลอดว่า เลือกตั้งเขตเล็กซื้อเสียงง่ายกว่า
แต่จำใจต้องทำ เพราะเคยรับปากกับทั้ง “เนวิน ชิดชอบ” และ “บรรหาร ศิลปอาชา” เมื่อครั้งตั้งรัฐบาลใหม่ๆว่าจะแก้กติกาให้ ก่อนมีการเลือกตั้งใหญ่
ดังนั้นไม่ว่าพรรคร่วมรัฐบาลจะเคลื่อนไหวกดดันอย่างไร “อภิสิทธิ์” และพรรคประชาธิปัตย์คงไม่ยอมแน่ หรือหากมีการขู่กันถึงขนาดหันไปจับมือกับพรรคเพื่อไทยในการ “คว่ำ” สูตร 375+125 กลางสภาฯ
“อภิสิทธิ์” ก็มีไม้เด็ดในการชิง “ล้มกระดาน” ยุบสภาดัดหลังให้เลือกตั้งกันแบบเขตใหญ่เรียงเบอร์ที่บรรดานักการเมืองขาใหญ่ขยาดกัน เพราะต้องลงทุนเยอะ งบประมาณบานปลาย
ก่อนนำเข้าสู่สภาฯในวาระที่ 2 และ 3 คงต้องมีการพูดคุยกันในระดับตัดสินใจอีกหลายครั้ง และสุดท้ายก็คงสามารถไกล่เกลี่ยให้รับสูตร 375+125 เพื่อความสมประโยชน์กันทั้งพรรคประชาธิปัตย์และพรรคร่วมรัฐบาล เพราะหาก “แตกหัก” กันวันนี้ก็เท่ากับว่ากอดคอกันลงเหว
งานนี้จึงอาจมีการ “แลกเปลี่ยน” บางสิ่งบางอย่างระหว่างกัน โดยเฉพาะพรรคภูมิใจไทยที่มักออกมาตีรวนเมื่อจะมีการพิจารณาเรื่องสำคัญๆเสมอ ก่อนที่จะยินยอมตามแนวทางของพรรคประชาธิปัตย์ หากได้ในสิ่งที่ต้องการ
จึงต้องจับตาการประชุม ครม.ในช่วงนี้ว่าจะมีการนำโครงการสำคัญๆที่ยังคั่งค้างอยู่ อย่างรถเมล์ 4,000 คัน หรือเมกกะโปรเจ็กต์ใหญ่ๆในความดูแลของพรรคภูมิใจไทย เข้าสู่การพิจารณาของ ครม.เป็นข้อแลกเปลี่ยนหรือไม่