เป็นที่ถกเถียงกันมาเกือบค่อนศตวรรษแล้วว่า ในที่สุดระบบกษัตริย์จะเหลืออยู่สักกี่ประเทศ คำตอบที่กวนๆ แต่ไม่น่ามองข้ามก็คือ ในอนาคตจะเหลือ king ไม่เกิน 5 องค์ คือ 4 องค์อยู่ในหน้าไพ่ป๊อก อีกองค์หนึ่ง คือ กษัตริย์อังกฤษ
แน่นอนที่สุด ในวงถกเถียงนั้น ไม่มีผู้ที่รู้จักประเทศไทย
มีข้อเท็จจริงอันไม่อาจปฏิเสธได้อยู่ 2 อย่าง คือ (1) ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์อันประเสริฐองค์ปัจจุบันมา 60 ปี (2) กฎแห่งความเป็นอนิจจังของสังคม
การพูดถึงสถาบันกษัตริย์เป็นเรื่องยากลำบากมากในเมืองไทย ทั้งนี้เพราะความล้าหลังและอวิชชาใน (1)สถาบันยุติธรรม (2) สถาบันปกครอง (3) สถาบันวิชาการ (4) สถาบันสื่อมวลชน และ(5) สังคมไทยโดยทั่วไป
มีบุคคลเดียวเท่านั้นที่ส่งเสริมให้วิจารณ์พระมหากษัตริย์ได้ นั่นก็คือ ในหลวง
พระอาญาไม่พ้นเกล้า เพราะผมเป็นนักเรียนวิชารัฐธรรมนูญและการเมืองไทยมาเกือบตลอดชีวิต ผมจำเป็นต้องพูดถึงระบบกษัตริย์ของไทยเป็นครั้งคราวตั้งแต่ปี 2510 เป็นต้นมา
ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2548 ผมได้ยกแนวความคิดตะวันตกมาเผยแพร่ 2 ประโยคดังต่อไปนี้ (1) popular monarchy is not always conducive to democracy แปลว่าระบอบกษัตริย์นิยมหรือกษัตริย์ยอดนิยมอาจจะไม่เป็นคุณต่อประชาธิปไตยเสมอไป (2) weak democracy is always bad for the monarchy แปลว่าประชาธิปไตยที่อ่อนแอนั้นเป็นอันตรายต่อระบบกษัตริย์เสมอ
ผมเป็นห่วงประโยคที่สองมากกว่าประโยคที่หนึ่ง ผมไม่เห็นว่าภายใต้สิ่งแวดล้อมของการยึดอำนาจและระบบการตัดสินใจของ คปค.จะทำให้เราได้ประชาธิปไตยที่แท้จริง หรือประชาธิปไตยที่เข้มแข็งเลย
เริ่มต้นกันที่แม่บท คือ ร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่ปัจจุบันอ้างว่า ล็อกไว้แล้วทั้งบทบัญญัติและวันประกาศ ผมเห็นว่าเป็นรัฐธรรมนูญเผด็จการและอนาธิปไตย หรืออำนาจอันวุ่นวายของฝูงชน ทำให้ผมเป็นห่วงระบบกษัตริย์ ซึ่งผมเชื่อมั่นอย่างนักวิทยาศาสตร์ว่าจำเป็นและมีคุณูปการต่อสำประเทศไทย
ผมขอยกเพียง 2 ตัวอย่าง
(1) มาตรา 5 ให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่เกินสองร้อยห้าสิบคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด และมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี
ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา แล้วแต่กรณี
ในการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้คำนึงถึงบุคคลจากกลุ่มต่างๆ ในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการ จากภูมิภาคต่างๆ อย่างเหมาะสม
ในกรณีที่มีกฎหมายห้ามมิให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางการเมือง มิให้นำกฎหมายนั้นมาใช้บังคับแก่การได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
คำวิจารณ์และเหตุผลของผมสั้นที่สุด นี่คือเผด็จการและถอยหลังเข้าคลอง ไม่ใช่ 15 ปี แต่ 74 ปี ทั้งอายุ 35 ปี และโดยเฉพาะวรรคสุดท้ายคือ วรรค 4 ได้แก่การเปิดโอกาสให้ทหารประจำการและข้าราชการเป็นสมาชิกสภาได้
(2) มาตรา 19 ให้มีสมัชชาแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด อายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี มีจำนวนไม่เกินสองพันคน
มาตรา 21 ให้สมัชชาแห่งชาติมีหน้าที่คัดเลือกสมาชิกด้วยกันเองเพื่อจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมควรได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญมีจำนวน 200 คนให้แล้วเสร็จภายใน 7 วันนับแต่วันเปิดประชุมสมัชชาครั้งแรก และเมื่อได้คัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแล้ว หรือเมื่อครบกำหนดเวลาแล้วยังไม่อาจคัดเลือกได้ครบถ้วน ให้สมัชชาแห่งชาติเป็นอันสิ้นสุดลง ฯลฯ
มาตรา 22 เมื่อได้รับบัญชีรายชื่อที่ได้รับการคัดเลือกจากสมัชชาแห่งชาติแล้ว ให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ คัดเลือกบุคคลตามบัญชีรายชื่อดังกล่าวให้เหลือหนึ่งร้อยคน และนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ฯลฯ
คำวิจารณ์และเหตุผลของผม ท้งหมดนี้คืออนาธิปไตยมิใช่ประชาธิปไตย มาตรา 19 เป็นความคิดใหม่ของยุคเก่า นำมาใช้อย่างผิดกาละเทศะ ผมมีส่วนสำคัญในการคิดและจัดเรื่องนี้ในปี 2517 เห็นความบกพร่องที่ฉกรรจ์คือการเล่นพวกและบล็อกโหวตของกลุ่มที่เกี่ยวข้องรู้จักกันมาก่อนและคุมกันได้ ครั้งนี้ ถึงแม้จะดูเป็นประชาธิปไตย แต่ผิดกาละทางการเมือง ทั้งยังจะยึดสัญลักษณ์ประชาธิปไตยเป็นเนื้อในอีกคือให้มีตัวแทนโดยตำแหน่งมาจาก อบต.ทุกแห่ง นี่ก็คือ การเปิดประตูให้บริวารทักษิณโดยตรง
มาตรา 21 และ 22 ขัดกับหลัก QA หรือการประกันมาตรฐานทั้งองค์บุคคลและขบวนการ กิจกรรมทุกอย่างต้องเข้าใจหัวใจของภารกิจหลักว่าคืออะไร (task orientation) การร่างรัฐธรรมนูญก็ไม่ต่างกับการผ่าตัด การขับเครื่องบิน และการทำสงคราม อย่างน้อยที่สุด การทำสงครามต้องมียุทธศาสตร์ ยุทธวิธี และสายการบังคับบัญชา จะใช้หลักประชาธิปไตยโดยการให้พลทหารซึ่งเป็นเสียงส่วนมากมาโหวตไม่ได้ และจะเอาอนาคตของประเทศชาติมาโหวตในเรื่องนี้ไม่ได้ (สำหรับประชามติทำได้และสมควรทำในเงื่อนไขและเงื่อนเวลาที่ถูกต้อง จะไม่พูดถึงตอนนี้) โดยความเคารพในพลทหารซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศไทย เรามีประชาธิปไตยของพลทหารในการร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้
สำหรับท่านนายพลใน คปค. ท่านคงได้ยินสุภาษิตว่า “สงครามมีความสำคัญเกินกว่าที่จะไว้ใจหรือมอบไว้ในกำมือนายพลเท่านั้น” ฉันใดก็ฉันนั้น “รัฐธรรมนูญ คืออนาคตของประเทศ มีความสำคัญเกินกว่าที่จะมอบให้อยู่ในกำมือของนักกฎหมาย 2-3 คน”
โดยเฉพาะนักกฎหมายที่เติบโตและได้ดีมาในระบบเผด็จการหรือทุนนิยมสุดโต่ง
อย่าเพิ่งพากันท้อใจครับ จำสุภาษิตอีกอันหนึ่งว่า “Late Is Better Than Never : ถึงช้าก็ยังดีกว่าไม่ทำเลย” ใครจะช่วยได้บ้าง (1)พระสยามเทวาธิราช (2) มาตรการทางบริหาร ถ้าหากได้นายกรัฐมนตรีดี (3) ประชาชนที่แข็งขันในระบอบประชาธิปไตย
การดำเนินการทางการเมือง และแนวความคิดเรื่องรัฐธรรมนูญทั้งหมด ผมยังมองไม่เห็นว่า คปค. (และสิ่งแวดล้อม) คำนึงถึงอนาคตของสถาบันกษัตริย์เลย
ต่อไปนี้ ผมจะพูดถึงสถาบันกษัตริย์อังกฤษ เพื่อให้คนไทยเกิดอนุสติ และคิดถึงสถาบันกษัตริย์ไทย ให้ยิ่งขึ้น
พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า กาลเวลาเป็นผู้ฆ่าทุกสรรพสิ่ง บัดนี้คนอังกฤษตระหนักดีว่า สมเด็จพระบรมราชินีนาถอลิซาเบธทรงชราภาพแล้ว
เมื่อเดือนกรกฎาคมนี้เอง มีหนังสือใหม่เรื่องอนาคตของระบบกษัตริย์ เขียนด้วยนาย Robert Blackburn ศาสตราจารย์กฎหมายรัฐธรรมนูญของ King's College London มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่อันดับ 4 และมีชื่อเสียงที่สุดในการสอนและวิจัยทางกฎหมายของ หนังสือเล่มนี้ผู้วิจารณ์และบรรดานักวิชาการรัฐธรรมนูญพากันสรรเสริญว่า เป็นหนังสือที่ดีที่สุดว่าด้วยสถาบันกษัตริย์อังกฤษ
วันนี้ผมออกจะแก่สุภาษิต เขาว่า ถ้าเรารู้จักตั้งคำถามที่ดี เราก็จะได้รับคำตอบที่ดีแล้วครึ่งหนึ่ง
หนังสือของ Robert Blackburn ตั้งคำถามเผื่อคนไทยด้วย
เมื่อเจ้าชายชาร์ลส์ขึ้นเป็นกษัตริย์ พระองค์คงต้องเกี่ยวข้องกับการเมืองในแบบที่ต่างกับพระมารดา แน่นอนที่สุด อันหนึ่งคือโอกาสที่จะพัฒนาสถาบันกษัตริย์ให้ทันสมัย แต่อันตรายก็มีเหมือนกัน คือการที่พระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่จะตกอยู่ท่ามกลางความสับสนหวาดระแวงทางการเมือง พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 อาจประสบความลำบากและนำสถาบันกษัตริย์ไปสู่แดนสนธยาก็ได้
Blackburn กล่าวว่า กระแสของความคิด อารมณ์และความรู้สึกของประชาชนจะปรวนแปรใหญ่หลวงเมื่อชาร์ลส์ขึ้นสู่ราชบัลลังก์ รัชสมัยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 จะเกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในการพัฒนาและปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
คำถามหรือปัญหาที่จะต้องเผชิญมีดังนี้
- สถาบันของประเทศจะมีเอกภาพเพียงไรในการสนับสนุนงานอภิเษกสมรสของชาร์ลส์ อย่าลืมความลำบากจนต้องสละราชสมบัติของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด
- จะแก้ไขอุปสรรคและความคิดอันโต้แย้งสับสนเกี่ยวกับแผนการและการอภิเษกตามกฎหมายของกษัตริย์ชาร์ลส์อย่างไร
- พระราชอำนาจและพระราชภาระของอนาคตกษัตริย์ในรัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไร รวมทั้งขอบเขตที่กษัตริย์จะเกี่ยวข้องแทรกแซง (intervention) กิจกรรมทางการเมือง
- อะไรจะเกิดขึ้นถ้าพระเจ้าชาร์ลส์ไม่สบายพระทัยกับร่าง พ.ร.บ.ที่พระองค์ไม่เห็นด้วยและไม่ลงปรมาภิไธย เพราะขัดกับความรู้สึกและความเชื่อของพระองค์ (ซึ่งแสดงให้เห็นในโอกาสต่างๆ ในอดีต-ปราโมทย์)
- บทบาทของพระเจ้าชาร์ลส์ในฐานะประมุข Church of England และพฤติกรรมส่วนตัวที่พระองค์เลือกปฏิบัติในฐานะผู้ปกป้องเสรีภาพทางศาสนา
- ควรจะยกเลิกการแอนตี้คาทอลิกและการจัดรัชทายาทจากฝ่ายชายก่อนหรือไม่
- ความนิยมอันสูงพรวดของเจ้าชายวิลเลียม และโอกาสที่พระองค์จะข้ามเจ้าฟ้าชาร์ลส์ขึ้นสู่ราชบัลลังก์
- นามาภิไธยของราชวงศ์ จะเรียกคามิลลาว่าพระชายาหรือพระบรมราชินี
ทั้งหมดนี้เป็นอาหารสมองส่งตรงจากระบบกษัตริย์อังกฤษถึงเมืองไทย
ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือมานะ อวิชชา และผลประโยชน์บังตา จึงทำให้ คปค.กับบุคคลเกี่ยวข้องมองไม่เห็นว่า รัฐธรรมนูญชั่วคราว ฉบับนี้จะบั่นทอนอนาคตของสถาบันกษัตริย์
ถ้าหากผมไม่เคยได้รางวัลทุนภูมิพล ไม่เคยรับทุนเล่าเรียนหลวงจากภาษีอากรของประชาชนไปเรียนวิชารัฐธรรมนูญ ผมคงไม่มีหน้าที่หรือสำนึกถึงความจำเป็นที่จะเขียนอย่างนี้
สำหรับพระเจ้าอยู่หัวของข้า ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
สำหรับประเทศของข้า ขอให้โชคดีในการแสวงหาประชาธิปไตย สันติภาพ และความผาสุกของปวงราษฎร
สำหรับข้า อีกไม่นานเกินรอ ก็จะมีโอกาสได้กล่าวคำว่า ลาก่อนประเทศไทย ขอฝากในหลวงและอนาคตของบ้านเมืองไว้กับคนรุ่นหลังด้วย
แน่นอนที่สุด ในวงถกเถียงนั้น ไม่มีผู้ที่รู้จักประเทศไทย
มีข้อเท็จจริงอันไม่อาจปฏิเสธได้อยู่ 2 อย่าง คือ (1) ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์อันประเสริฐองค์ปัจจุบันมา 60 ปี (2) กฎแห่งความเป็นอนิจจังของสังคม
การพูดถึงสถาบันกษัตริย์เป็นเรื่องยากลำบากมากในเมืองไทย ทั้งนี้เพราะความล้าหลังและอวิชชาใน (1)สถาบันยุติธรรม (2) สถาบันปกครอง (3) สถาบันวิชาการ (4) สถาบันสื่อมวลชน และ(5) สังคมไทยโดยทั่วไป
มีบุคคลเดียวเท่านั้นที่ส่งเสริมให้วิจารณ์พระมหากษัตริย์ได้ นั่นก็คือ ในหลวง
พระอาญาไม่พ้นเกล้า เพราะผมเป็นนักเรียนวิชารัฐธรรมนูญและการเมืองไทยมาเกือบตลอดชีวิต ผมจำเป็นต้องพูดถึงระบบกษัตริย์ของไทยเป็นครั้งคราวตั้งแต่ปี 2510 เป็นต้นมา
ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2548 ผมได้ยกแนวความคิดตะวันตกมาเผยแพร่ 2 ประโยคดังต่อไปนี้ (1) popular monarchy is not always conducive to democracy แปลว่าระบอบกษัตริย์นิยมหรือกษัตริย์ยอดนิยมอาจจะไม่เป็นคุณต่อประชาธิปไตยเสมอไป (2) weak democracy is always bad for the monarchy แปลว่าประชาธิปไตยที่อ่อนแอนั้นเป็นอันตรายต่อระบบกษัตริย์เสมอ
ผมเป็นห่วงประโยคที่สองมากกว่าประโยคที่หนึ่ง ผมไม่เห็นว่าภายใต้สิ่งแวดล้อมของการยึดอำนาจและระบบการตัดสินใจของ คปค.จะทำให้เราได้ประชาธิปไตยที่แท้จริง หรือประชาธิปไตยที่เข้มแข็งเลย
เริ่มต้นกันที่แม่บท คือ ร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่ปัจจุบันอ้างว่า ล็อกไว้แล้วทั้งบทบัญญัติและวันประกาศ ผมเห็นว่าเป็นรัฐธรรมนูญเผด็จการและอนาธิปไตย หรืออำนาจอันวุ่นวายของฝูงชน ทำให้ผมเป็นห่วงระบบกษัตริย์ ซึ่งผมเชื่อมั่นอย่างนักวิทยาศาสตร์ว่าจำเป็นและมีคุณูปการต่อสำประเทศไทย
ผมขอยกเพียง 2 ตัวอย่าง
(1) มาตรา 5 ให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่เกินสองร้อยห้าสิบคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด และมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี
ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา แล้วแต่กรณี
ในการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้คำนึงถึงบุคคลจากกลุ่มต่างๆ ในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการ จากภูมิภาคต่างๆ อย่างเหมาะสม
ในกรณีที่มีกฎหมายห้ามมิให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางการเมือง มิให้นำกฎหมายนั้นมาใช้บังคับแก่การได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
คำวิจารณ์และเหตุผลของผมสั้นที่สุด นี่คือเผด็จการและถอยหลังเข้าคลอง ไม่ใช่ 15 ปี แต่ 74 ปี ทั้งอายุ 35 ปี และโดยเฉพาะวรรคสุดท้ายคือ วรรค 4 ได้แก่การเปิดโอกาสให้ทหารประจำการและข้าราชการเป็นสมาชิกสภาได้
(2) มาตรา 19 ให้มีสมัชชาแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด อายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี มีจำนวนไม่เกินสองพันคน
มาตรา 21 ให้สมัชชาแห่งชาติมีหน้าที่คัดเลือกสมาชิกด้วยกันเองเพื่อจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมควรได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญมีจำนวน 200 คนให้แล้วเสร็จภายใน 7 วันนับแต่วันเปิดประชุมสมัชชาครั้งแรก และเมื่อได้คัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแล้ว หรือเมื่อครบกำหนดเวลาแล้วยังไม่อาจคัดเลือกได้ครบถ้วน ให้สมัชชาแห่งชาติเป็นอันสิ้นสุดลง ฯลฯ
มาตรา 22 เมื่อได้รับบัญชีรายชื่อที่ได้รับการคัดเลือกจากสมัชชาแห่งชาติแล้ว ให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ คัดเลือกบุคคลตามบัญชีรายชื่อดังกล่าวให้เหลือหนึ่งร้อยคน และนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ฯลฯ
คำวิจารณ์และเหตุผลของผม ท้งหมดนี้คืออนาธิปไตยมิใช่ประชาธิปไตย มาตรา 19 เป็นความคิดใหม่ของยุคเก่า นำมาใช้อย่างผิดกาละเทศะ ผมมีส่วนสำคัญในการคิดและจัดเรื่องนี้ในปี 2517 เห็นความบกพร่องที่ฉกรรจ์คือการเล่นพวกและบล็อกโหวตของกลุ่มที่เกี่ยวข้องรู้จักกันมาก่อนและคุมกันได้ ครั้งนี้ ถึงแม้จะดูเป็นประชาธิปไตย แต่ผิดกาละทางการเมือง ทั้งยังจะยึดสัญลักษณ์ประชาธิปไตยเป็นเนื้อในอีกคือให้มีตัวแทนโดยตำแหน่งมาจาก อบต.ทุกแห่ง นี่ก็คือ การเปิดประตูให้บริวารทักษิณโดยตรง
มาตรา 21 และ 22 ขัดกับหลัก QA หรือการประกันมาตรฐานทั้งองค์บุคคลและขบวนการ กิจกรรมทุกอย่างต้องเข้าใจหัวใจของภารกิจหลักว่าคืออะไร (task orientation) การร่างรัฐธรรมนูญก็ไม่ต่างกับการผ่าตัด การขับเครื่องบิน และการทำสงคราม อย่างน้อยที่สุด การทำสงครามต้องมียุทธศาสตร์ ยุทธวิธี และสายการบังคับบัญชา จะใช้หลักประชาธิปไตยโดยการให้พลทหารซึ่งเป็นเสียงส่วนมากมาโหวตไม่ได้ และจะเอาอนาคตของประเทศชาติมาโหวตในเรื่องนี้ไม่ได้ (สำหรับประชามติทำได้และสมควรทำในเงื่อนไขและเงื่อนเวลาที่ถูกต้อง จะไม่พูดถึงตอนนี้) โดยความเคารพในพลทหารซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศไทย เรามีประชาธิปไตยของพลทหารในการร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้
สำหรับท่านนายพลใน คปค. ท่านคงได้ยินสุภาษิตว่า “สงครามมีความสำคัญเกินกว่าที่จะไว้ใจหรือมอบไว้ในกำมือนายพลเท่านั้น” ฉันใดก็ฉันนั้น “รัฐธรรมนูญ คืออนาคตของประเทศ มีความสำคัญเกินกว่าที่จะมอบให้อยู่ในกำมือของนักกฎหมาย 2-3 คน”
โดยเฉพาะนักกฎหมายที่เติบโตและได้ดีมาในระบบเผด็จการหรือทุนนิยมสุดโต่ง
อย่าเพิ่งพากันท้อใจครับ จำสุภาษิตอีกอันหนึ่งว่า “Late Is Better Than Never : ถึงช้าก็ยังดีกว่าไม่ทำเลย” ใครจะช่วยได้บ้าง (1)พระสยามเทวาธิราช (2) มาตรการทางบริหาร ถ้าหากได้นายกรัฐมนตรีดี (3) ประชาชนที่แข็งขันในระบอบประชาธิปไตย
การดำเนินการทางการเมือง และแนวความคิดเรื่องรัฐธรรมนูญทั้งหมด ผมยังมองไม่เห็นว่า คปค. (และสิ่งแวดล้อม) คำนึงถึงอนาคตของสถาบันกษัตริย์เลย
ต่อไปนี้ ผมจะพูดถึงสถาบันกษัตริย์อังกฤษ เพื่อให้คนไทยเกิดอนุสติ และคิดถึงสถาบันกษัตริย์ไทย ให้ยิ่งขึ้น
พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า กาลเวลาเป็นผู้ฆ่าทุกสรรพสิ่ง บัดนี้คนอังกฤษตระหนักดีว่า สมเด็จพระบรมราชินีนาถอลิซาเบธทรงชราภาพแล้ว
เมื่อเดือนกรกฎาคมนี้เอง มีหนังสือใหม่เรื่องอนาคตของระบบกษัตริย์ เขียนด้วยนาย Robert Blackburn ศาสตราจารย์กฎหมายรัฐธรรมนูญของ King's College London มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่อันดับ 4 และมีชื่อเสียงที่สุดในการสอนและวิจัยทางกฎหมายของ หนังสือเล่มนี้ผู้วิจารณ์และบรรดานักวิชาการรัฐธรรมนูญพากันสรรเสริญว่า เป็นหนังสือที่ดีที่สุดว่าด้วยสถาบันกษัตริย์อังกฤษ
วันนี้ผมออกจะแก่สุภาษิต เขาว่า ถ้าเรารู้จักตั้งคำถามที่ดี เราก็จะได้รับคำตอบที่ดีแล้วครึ่งหนึ่ง
หนังสือของ Robert Blackburn ตั้งคำถามเผื่อคนไทยด้วย
เมื่อเจ้าชายชาร์ลส์ขึ้นเป็นกษัตริย์ พระองค์คงต้องเกี่ยวข้องกับการเมืองในแบบที่ต่างกับพระมารดา แน่นอนที่สุด อันหนึ่งคือโอกาสที่จะพัฒนาสถาบันกษัตริย์ให้ทันสมัย แต่อันตรายก็มีเหมือนกัน คือการที่พระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่จะตกอยู่ท่ามกลางความสับสนหวาดระแวงทางการเมือง พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 อาจประสบความลำบากและนำสถาบันกษัตริย์ไปสู่แดนสนธยาก็ได้
Blackburn กล่าวว่า กระแสของความคิด อารมณ์และความรู้สึกของประชาชนจะปรวนแปรใหญ่หลวงเมื่อชาร์ลส์ขึ้นสู่ราชบัลลังก์ รัชสมัยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 จะเกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในการพัฒนาและปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
คำถามหรือปัญหาที่จะต้องเผชิญมีดังนี้
- สถาบันของประเทศจะมีเอกภาพเพียงไรในการสนับสนุนงานอภิเษกสมรสของชาร์ลส์ อย่าลืมความลำบากจนต้องสละราชสมบัติของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด
- จะแก้ไขอุปสรรคและความคิดอันโต้แย้งสับสนเกี่ยวกับแผนการและการอภิเษกตามกฎหมายของกษัตริย์ชาร์ลส์อย่างไร
- พระราชอำนาจและพระราชภาระของอนาคตกษัตริย์ในรัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไร รวมทั้งขอบเขตที่กษัตริย์จะเกี่ยวข้องแทรกแซง (intervention) กิจกรรมทางการเมือง
- อะไรจะเกิดขึ้นถ้าพระเจ้าชาร์ลส์ไม่สบายพระทัยกับร่าง พ.ร.บ.ที่พระองค์ไม่เห็นด้วยและไม่ลงปรมาภิไธย เพราะขัดกับความรู้สึกและความเชื่อของพระองค์ (ซึ่งแสดงให้เห็นในโอกาสต่างๆ ในอดีต-ปราโมทย์)
- บทบาทของพระเจ้าชาร์ลส์ในฐานะประมุข Church of England และพฤติกรรมส่วนตัวที่พระองค์เลือกปฏิบัติในฐานะผู้ปกป้องเสรีภาพทางศาสนา
- ควรจะยกเลิกการแอนตี้คาทอลิกและการจัดรัชทายาทจากฝ่ายชายก่อนหรือไม่
- ความนิยมอันสูงพรวดของเจ้าชายวิลเลียม และโอกาสที่พระองค์จะข้ามเจ้าฟ้าชาร์ลส์ขึ้นสู่ราชบัลลังก์
- นามาภิไธยของราชวงศ์ จะเรียกคามิลลาว่าพระชายาหรือพระบรมราชินี
ทั้งหมดนี้เป็นอาหารสมองส่งตรงจากระบบกษัตริย์อังกฤษถึงเมืองไทย
ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือมานะ อวิชชา และผลประโยชน์บังตา จึงทำให้ คปค.กับบุคคลเกี่ยวข้องมองไม่เห็นว่า รัฐธรรมนูญชั่วคราว ฉบับนี้จะบั่นทอนอนาคตของสถาบันกษัตริย์
ถ้าหากผมไม่เคยได้รางวัลทุนภูมิพล ไม่เคยรับทุนเล่าเรียนหลวงจากภาษีอากรของประชาชนไปเรียนวิชารัฐธรรมนูญ ผมคงไม่มีหน้าที่หรือสำนึกถึงความจำเป็นที่จะเขียนอย่างนี้
สำหรับพระเจ้าอยู่หัวของข้า ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
สำหรับประเทศของข้า ขอให้โชคดีในการแสวงหาประชาธิปไตย สันติภาพ และความผาสุกของปวงราษฎร
สำหรับข้า อีกไม่นานเกินรอ ก็จะมีโอกาสได้กล่าวคำว่า ลาก่อนประเทศไทย ขอฝากในหลวงและอนาคตของบ้านเมืองไว้กับคนรุ่นหลังด้วย