วอลล์สตรีท เจอร์นัล / เอเอฟพี – ภาพถ่ายความชัดเจนสูงซึ่งเผยให้เห็นเครื่องต้นแบบของเครื่องบินขับไล่ยุค 5 ของจีนที่มีเทคโนโลยีสเตลต์เป็นครั้งแรกถูกนำออกเผยแพร่บนโลกไซเบอร์ ตอกย้ำให้เห็นถึงความทะเยอทะยานในการสร้างแสนนานุภาพในน่านฟ้าด้วยอากาศยานหลบหลีกการตรวจจับของเรดาร์และอินฟราเรดของกองทัพปลดแอกประชาชน (พีแอลเอ) เพียงไม่กี่วันก่อนหน้าที่โรเบิร์ต เกตส์ รัฐมนตรีกลาโหมของสหรัฐฯ จะไปเยือนกรุงปักกิ่งเพื่อซ่อมแซมความสัมพันธ์ด้านการทหารกับจีนที่แตกร้าวมานานเกือบหนึ่งปีเต็มจากชนวนเหตุกรณีไต้หวัน
ภาพถ่ายเครื่องต้นแบบอากาศยานขับไล่ยุคที่ 5 (หรือยุคที่ 4 ตามที่จีนเรียกเทคโนโลยีเครื่องบินรบของตน) ซึ่งใช้ชื่อรุ่นว่า เจ-20 ถูกนำออกเผยแพร่ตามเว็บไซต์เกี่ยวกับด้านกลาโหมที่ไม่เป็นทางการทั่วโลก รวมทั้งเว็บไซต์เจแปน เซ็กเคียวริตี วอตช์ของญี่ปุ่น ภาพเหล่านี้เผยให้เห็นเจ-20 ที่มีตราดาวแดงและอักษรจีนสีเหลืองคำว่า “ปาอี” อันเป็นตราสัญลักษณ์ของกองทัพพีแอลเอ อยู่บนแพนหางคู่ของมันด้วย ขณะที่เครื่องบินลำนี้กำลังวิ่งทดสอบบนรันเวย์ ทั้งนี้การทดสอบดังกล่าวโดยมากมักเป็นหนึ่งในขั้นตอนท้ายสุดก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการบินทดสอบจริงครั้งแรก
หนังสือพิมพ์อาซาฮี ชิมบุงของญี่ปุ่นรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวจากกองทัพจีน ระบุว่า จีนมีแผนจะเริ่มทำการทดสอบบินเจ-20อย่างเร็วที่สุดภายในเดือนนี้ และจะนำเครื่องบินรุ่นนี้เข้าประจำการได้เร็วที่สุดภายในปี 2017 หลังจากก่อนหน้านี้พลเอกเหอ เวยหรง รองผู้บัญชาการกองทัพอากาศจีนเคยกล่าวไว้ในปี 2009 ว่า เครื่องบินขับไล่สเตลต์จะเข้าประจำการได้ในช่วงระหว่างปี 2017 - 2019
อย่างไรก็ตามแหล่งที่มาของภาพถ่ายเหล่านี้ยังคงคลุมเครือ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญบางคนชี้ว่าภาพเหล่านี้น่าจะเป็นการทำลอกเลียนขึ้น โดยที่ไม่ใช่เครื่องบินขับไล่เทคโนโลยีสเตลต์จริง แต่กระนั้น ผู้คร่ำหวอดในวงการส่วนใหญ่ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขาปักใจเชื่อว่าเครื่องบินในภาพเป็นของแท้ ซึ่งก็เป็นการบ่งชี้ด้วยว่าปักกิ่งสามารถพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุค 5 ซึ่งจะเป็นคู่แข่งของเอฟ-22 (แร็ปเตอร์) ของสหรัฐฯ ได้เร็วกว่าที่หลายฝ่ายคาดหมายไว้ ขณะที่เอฟ-22 ยังเป็นเครื่องบินขับไล่เทคโนโลยีสเตลต์รุ่นเดียวในโลกที่เข้าประจำการและใช้งานเต็มรูปแบบ ณ เวลานี้
“รูปถ่ายที่ผมได้เห็นดูสมจริง” แกเร็ธ เจนนิงส์ บรรณาธิการโต๊ะข่าวการบิน แห่งเจนส์ ดีเฟนซ์ วีกลี ระบุ
นอกจากนี้อังเดร ชาง จากนิตยสารรายเดือน “กันวา เอเชียน ดีเฟนซ์” ในแคนาดา และริชาร์ด ฟิชเชอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารของจีนแห่งศูนย์ยุทธศาสตร์และการประเมินระหว่างประเทศในกรุงวอชิงตัน ก็ฟันธงว่ารูปถ่ายเหล่านี้มีความน่าเชื่อถือ
ฟิชเชอร์ชี้ว่า เมื่อพินิจดูแล้ว เครื่องบินต้นแบบลำนี้ “จะสามารถเป็นคู่ต่อกรของเอฟ-22 ได้ รวมทั้งอาจทรงประสิทธิภาพเหนือกว่าเอฟ-35” ซึ่งเป็นเครื่องบินสเตลต์รุ่นใหม่ล่าสุดที่สหรัฐฯ ร่วมพัฒนากับชาติพันธมิตรโดยมีต้นทุนการผลิตต่อลำต่ำกว่าและมีขนาดเล็กกว่าเอฟ-22 และคาดว่าน่าจะนำเข้าประจำการเต็มรูปแบบได้ในราวปี 2014 ทว่าเขาระบุว่า เจ-20 จะสามารถต่อกรกับเอฟ-22 ทั้งในด้านประสิทธิภาพและจำนวนได้ก็ต้องรอจนกระทั่งปลายทศวรรษนี้ ส่วนนิตยสารเอเวียชั่น วีก ระบุว่า ขนาดของ เจ-20 ใหญ่กว่าที่บรรดาผู้สังเกตการณ์คาดเอาไว้ พร้อมกับบอกด้วยว่าเจ-20น่าจะมีสมรรถนะในการบินระยะทางไกล รวมทั้งสามารถติดตั้งอาวุธหนักต่างๆ อีกด้วย
ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญจำนวนหนึ่งระบุว่าเครื่องบินต้นแบบลำนี้น่าจะลอกแบบมาจาก เอฟ-22 และเครื่องบินสเตลต์รุ่นอื่นของสหรัฐฯ กระนั้นก็ตามพวกเขาไม่ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับขีดความสามารถทางการบินของมัน รวมถึงการประกอบชิ้นส่วน หรือแง่มุมสำคัญเกี่ยวกับเทคโนโลยีสเตลต์ ทว่าให้ทัศนะเพียงว่า จีนยังคงตามหลังรัสเซียอยู่หลายปีในด้านของเทคโนโลยีดังกล่าว โดยที่หมีขาวนั้นมี “ซูคอย T-50 PAK FA “ ซึ่งบินทดสอบครั้งแรกในเดือนมกราคมปีที่แล้ว
ก่อนหน้านี้บรรดาเจ้าหน้าที่และนักการเมืองอเมริกันต่างแสดงความหวาดวิตกเกี่ยวกับพัฒนาการของกองทัพพญามังกร ซึ่งรวมถึงการที่จีนกำลังจะนำเรือบรรทุกเครื่องบินของตนลำแรกเข้าประจำการซึ่งคาดกันว่าน่าจะเป็นเรือ “วาร์ยัก (Varyag)” ที่จีนซื้อมาจากยูเครนในสภาพที่ต่อเสร็จสมบูรณ์เพียง 70% รวมทั้งขีปนาวุธนำวิถีซึ่งมีชื่อเรียกว่า “ตงเฟิง21ดี” ที่ต่างชาติขนานนามว่าจะเป็น “มือสังหารเรือบรรทุกเครื่องบิน”
อาวุธหนักต่างๆ ข้างต้นจะเพิ่มขีดความสามารถให้แก่กองทัพจีนในการขัดขวางการแทรกแซงของสหรัฐฯ ในประเด็นพิพาทไต้หวันในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ตลอดจนท้าทายอำนาจครอบงำของกองทัพเรือพญาอินทรีในย่านเอเชีย-แปซิฟิก ที่ปักหลักมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย ซึ่งประเด็นหลังจะยิ่งทำให้สหรัฐฯ คิดหนักเมื่อพยายามที่จะหวนกลับมามีอิทธิพลในภูมิภาคนี้อีกครั้ง อันส่งผลให้จีนเกิดความระแวงและทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองมหาอำนาจเกิดความระหองระแหงกันเรื่อยมา
ทั้งนี้รัฐมนตรีเกตส์ของสหรัฐฯ ซึ่งเคยออกมาปรามาสว่าจีนจะไม่มีเครื่องบินขับไล่ยุค 5 ใช้งานก่อนปี 2020 มีกำหนดการจะไปเยือนจีนในวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ (9) เพื่อปรับความสัมพันธ์กับแดนมังกรให้ดีขึ้น เกือบหนึ่งปีเต็มหลังจากปักกิ่งประกาศตัดสัมพันธ์ด้านกลาโหมกับวอชิงตันเพื่อประท้วงกรณีที่เพนตากอนขายอาวุธยุทโธปกรณ์ล็อตใหญ่ให้แก่ไต้หวันเป็นมูลค่าประวัติการณ์ซึ่งจีนถือว่าเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของตนอย่างร้ายแรง
ภาพถ่ายเครื่องต้นแบบอากาศยานขับไล่ยุคที่ 5 (หรือยุคที่ 4 ตามที่จีนเรียกเทคโนโลยีเครื่องบินรบของตน) ซึ่งใช้ชื่อรุ่นว่า เจ-20 ถูกนำออกเผยแพร่ตามเว็บไซต์เกี่ยวกับด้านกลาโหมที่ไม่เป็นทางการทั่วโลก รวมทั้งเว็บไซต์เจแปน เซ็กเคียวริตี วอตช์ของญี่ปุ่น ภาพเหล่านี้เผยให้เห็นเจ-20 ที่มีตราดาวแดงและอักษรจีนสีเหลืองคำว่า “ปาอี” อันเป็นตราสัญลักษณ์ของกองทัพพีแอลเอ อยู่บนแพนหางคู่ของมันด้วย ขณะที่เครื่องบินลำนี้กำลังวิ่งทดสอบบนรันเวย์ ทั้งนี้การทดสอบดังกล่าวโดยมากมักเป็นหนึ่งในขั้นตอนท้ายสุดก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการบินทดสอบจริงครั้งแรก
หนังสือพิมพ์อาซาฮี ชิมบุงของญี่ปุ่นรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวจากกองทัพจีน ระบุว่า จีนมีแผนจะเริ่มทำการทดสอบบินเจ-20อย่างเร็วที่สุดภายในเดือนนี้ และจะนำเครื่องบินรุ่นนี้เข้าประจำการได้เร็วที่สุดภายในปี 2017 หลังจากก่อนหน้านี้พลเอกเหอ เวยหรง รองผู้บัญชาการกองทัพอากาศจีนเคยกล่าวไว้ในปี 2009 ว่า เครื่องบินขับไล่สเตลต์จะเข้าประจำการได้ในช่วงระหว่างปี 2017 - 2019
อย่างไรก็ตามแหล่งที่มาของภาพถ่ายเหล่านี้ยังคงคลุมเครือ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญบางคนชี้ว่าภาพเหล่านี้น่าจะเป็นการทำลอกเลียนขึ้น โดยที่ไม่ใช่เครื่องบินขับไล่เทคโนโลยีสเตลต์จริง แต่กระนั้น ผู้คร่ำหวอดในวงการส่วนใหญ่ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขาปักใจเชื่อว่าเครื่องบินในภาพเป็นของแท้ ซึ่งก็เป็นการบ่งชี้ด้วยว่าปักกิ่งสามารถพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุค 5 ซึ่งจะเป็นคู่แข่งของเอฟ-22 (แร็ปเตอร์) ของสหรัฐฯ ได้เร็วกว่าที่หลายฝ่ายคาดหมายไว้ ขณะที่เอฟ-22 ยังเป็นเครื่องบินขับไล่เทคโนโลยีสเตลต์รุ่นเดียวในโลกที่เข้าประจำการและใช้งานเต็มรูปแบบ ณ เวลานี้
“รูปถ่ายที่ผมได้เห็นดูสมจริง” แกเร็ธ เจนนิงส์ บรรณาธิการโต๊ะข่าวการบิน แห่งเจนส์ ดีเฟนซ์ วีกลี ระบุ
นอกจากนี้อังเดร ชาง จากนิตยสารรายเดือน “กันวา เอเชียน ดีเฟนซ์” ในแคนาดา และริชาร์ด ฟิชเชอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารของจีนแห่งศูนย์ยุทธศาสตร์และการประเมินระหว่างประเทศในกรุงวอชิงตัน ก็ฟันธงว่ารูปถ่ายเหล่านี้มีความน่าเชื่อถือ
ฟิชเชอร์ชี้ว่า เมื่อพินิจดูแล้ว เครื่องบินต้นแบบลำนี้ “จะสามารถเป็นคู่ต่อกรของเอฟ-22 ได้ รวมทั้งอาจทรงประสิทธิภาพเหนือกว่าเอฟ-35” ซึ่งเป็นเครื่องบินสเตลต์รุ่นใหม่ล่าสุดที่สหรัฐฯ ร่วมพัฒนากับชาติพันธมิตรโดยมีต้นทุนการผลิตต่อลำต่ำกว่าและมีขนาดเล็กกว่าเอฟ-22 และคาดว่าน่าจะนำเข้าประจำการเต็มรูปแบบได้ในราวปี 2014 ทว่าเขาระบุว่า เจ-20 จะสามารถต่อกรกับเอฟ-22 ทั้งในด้านประสิทธิภาพและจำนวนได้ก็ต้องรอจนกระทั่งปลายทศวรรษนี้ ส่วนนิตยสารเอเวียชั่น วีก ระบุว่า ขนาดของ เจ-20 ใหญ่กว่าที่บรรดาผู้สังเกตการณ์คาดเอาไว้ พร้อมกับบอกด้วยว่าเจ-20น่าจะมีสมรรถนะในการบินระยะทางไกล รวมทั้งสามารถติดตั้งอาวุธหนักต่างๆ อีกด้วย
ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญจำนวนหนึ่งระบุว่าเครื่องบินต้นแบบลำนี้น่าจะลอกแบบมาจาก เอฟ-22 และเครื่องบินสเตลต์รุ่นอื่นของสหรัฐฯ กระนั้นก็ตามพวกเขาไม่ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับขีดความสามารถทางการบินของมัน รวมถึงการประกอบชิ้นส่วน หรือแง่มุมสำคัญเกี่ยวกับเทคโนโลยีสเตลต์ ทว่าให้ทัศนะเพียงว่า จีนยังคงตามหลังรัสเซียอยู่หลายปีในด้านของเทคโนโลยีดังกล่าว โดยที่หมีขาวนั้นมี “ซูคอย T-50 PAK FA “ ซึ่งบินทดสอบครั้งแรกในเดือนมกราคมปีที่แล้ว
ก่อนหน้านี้บรรดาเจ้าหน้าที่และนักการเมืองอเมริกันต่างแสดงความหวาดวิตกเกี่ยวกับพัฒนาการของกองทัพพญามังกร ซึ่งรวมถึงการที่จีนกำลังจะนำเรือบรรทุกเครื่องบินของตนลำแรกเข้าประจำการซึ่งคาดกันว่าน่าจะเป็นเรือ “วาร์ยัก (Varyag)” ที่จีนซื้อมาจากยูเครนในสภาพที่ต่อเสร็จสมบูรณ์เพียง 70% รวมทั้งขีปนาวุธนำวิถีซึ่งมีชื่อเรียกว่า “ตงเฟิง21ดี” ที่ต่างชาติขนานนามว่าจะเป็น “มือสังหารเรือบรรทุกเครื่องบิน”
อาวุธหนักต่างๆ ข้างต้นจะเพิ่มขีดความสามารถให้แก่กองทัพจีนในการขัดขวางการแทรกแซงของสหรัฐฯ ในประเด็นพิพาทไต้หวันในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ตลอดจนท้าทายอำนาจครอบงำของกองทัพเรือพญาอินทรีในย่านเอเชีย-แปซิฟิก ที่ปักหลักมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย ซึ่งประเด็นหลังจะยิ่งทำให้สหรัฐฯ คิดหนักเมื่อพยายามที่จะหวนกลับมามีอิทธิพลในภูมิภาคนี้อีกครั้ง อันส่งผลให้จีนเกิดความระแวงและทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองมหาอำนาจเกิดความระหองระแหงกันเรื่อยมา
ทั้งนี้รัฐมนตรีเกตส์ของสหรัฐฯ ซึ่งเคยออกมาปรามาสว่าจีนจะไม่มีเครื่องบินขับไล่ยุค 5 ใช้งานก่อนปี 2020 มีกำหนดการจะไปเยือนจีนในวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ (9) เพื่อปรับความสัมพันธ์กับแดนมังกรให้ดีขึ้น เกือบหนึ่งปีเต็มหลังจากปักกิ่งประกาศตัดสัมพันธ์ด้านกลาโหมกับวอชิงตันเพื่อประท้วงกรณีที่เพนตากอนขายอาวุธยุทโธปกรณ์ล็อตใหญ่ให้แก่ไต้หวันเป็นมูลค่าประวัติการณ์ซึ่งจีนถือว่าเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของตนอย่างร้ายแรง