ASTVผู้จัดการรายวัน-บอร์ด อสมท เสียวความผิดเล่นงาน ตั้ง “สิทธิศักดิ์ เอกพจน์” เป็นประธานคณะกรรมการฯตามมาตรา 13 หาช่องทางรับเงิน 405 ล้านบาท จาก บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ อย่างถูกต้อง ยังดื้อด้านยืนยัน บางกอกฯไม่ผิดสัญญา ปล่อยให้ตระกูลมาลีนนท์ ฮุบช่อง 3 ทีวีสีแดง ต่ออีก 10 ปี
วานนี้ (25มี.ค.) คณะกรรมการ บมจ. อสมท หรือบอร์ด อสมท ได้มีการประชุมบอร์ดประจำเดือนขึ้น โดยมีวาระเรื่องของ การต่อสัญญาร่วมดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สี ช่อง 3 อีก 10 ปี
ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ประธานคณะกรรมการ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยหลังจบการประชุมบอร์ดอสมท ว่า บอร์ด อสมท มีมติเรื่องของช่อง 3 อย่างชัดเจนแล้ว หลังจากที่ได้ทำการพิจาณาเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว กับกรณีการพิจารณาสัญญาเดิมที่ทำไว้ 20 ปี ตั้งแต่ปี 2533-2553 ว่ามีการทำผิดสัญญาอะไรหรือไม่ให้แน่ชัดอีกครั้ง เพื่อที่จะดูว่าหากไม่มีการผิดสัญญาจริง ทางบริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเมนต์ จำกัด ก็จะสามารถต่อสัญญาอัตโนมัติ 10 ปี (ตั้งแต่ปี 2553-2563) หลังจากวันที่ 25 มีนาคม 2553 ได้ทันที
โดยในที่ประชุมได้ตรวจสอบอย่างละเอียดแล้วพบว่าที่ผ่านมา บริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ทำถูกต้องตามสัญญาเดิมทุกประการ มีเพียงเรื่องเดียวที่น่าสงสัยคือ เรื่องของ การย้ายอาคารสถานที่ทำการบ่อยครั้ง ซึ่งทางบอร์ดเองก็ได้สอบถามไปยังบริษัท บางกอกฯแล้ว ได้รับคำตอบกลับมา และบอร์ดอสมท พิจารณาตามมาตรา 22 แล้วว่า การย้ายอาคารนั้นไม่อยู่ในข่ายของการขยายเครือข่าย เพียงแต่เป็นการขยายโครงข่ายการถ่ายทอดสัญญาณเท่านั้น ไม่ใช่การย้ายที่ตั้งหรืออยู่ในความผิดที่อาจจะทำผิดต่อสัญญาได้
ทั้งนี้ข้อสงสัยเรื่องดังกล่าวนั้น เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2553 ที่ผ่านมา ทางบอร์ด อสมทเองก็ได้ประชุมกันและพิจารณาแล้วว่าไม่ผิดสัญญา ซึ่งหลังจากข้อสงสัยนี้หมดไป ก็สรุปออกมาได้ว่า สัญญา 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่ง บริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ดำเนินตามสัญญาโดยไม่ผิดสัญญาเดิมแต่ประการใด ดังนั้น จึงส่งผลให้บริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด สามารถต่อสัญญาอัตโนมัติ 10 ปีได้ทันทีซึ่งหมายความว่า ตั้งแต่วันนี้ ( 25 มีนาคม ) บริษัท บางกอกฯ ก็ยังจะมีการถ่ายทอดสัญญาณรายการต่างๆของช่อง 3 ได้ตามปกติ
อย่างไรก็ตามมติเรื่องช่อง 3 นี้ ทางบอร์ด อสมท ได้ทำหนังสือและรายละเอียดเพื่อแจ้งไปยังตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายในเมื่อวานนี้ทันที โดยจะแจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์ฯรับทราบว่า บริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ไม่ผิดสัญญา และสามารถต่อสัญญาอัตโนมัติได้ทันที
ทั้งนี้บริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเมนต์ จำกัด ได้ทำตามเงื่อนไขตามสัญญาและข้อตกลงกับทางบอร์ด อสมท ได้ครบทั้ง 2 ข้อ คือ 1.ไม่ผิดสัญญาตลอด 20 ปีที่ผ่านมา และ 2. คือการทำข้อตกลงร่วมกันโดยบริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ยอมจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษต่างหาก ให้ อสมท อีก 405 ล้านบาท แยกจากค่าตอบแทนเดิม 2,002 ล้านบาท
โดยในส่วนของค่าตอบเทนพิเศษ 405 ล้านบาทนั้น จะมีการแจ้งเพิ่มเติมไปด้วยว่า ไม่ได้อยู่ในส่วนของสัญญา 10 ปีอัตโนมัติ ดังนั้นในส่วนของเงินจำนวน 405 ล้านบาท ดังกล่าว ทางอสมท จะต้องนำเรื่องนี้เข้าสู่คณะกรรมการฯตามมาตรา 13 อีกครั้ง โดยล่าสุดได้แต่งตั้งให้นายสิทธิศักดิ์ เอกพจน์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เป็นประธานคณะกรรมการฯตามมาตรา 13 ในการหาทางปรึกษากับทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาวิธีการที่จะรับเงินค่าตอบแทนพิเศษจำนวน 405 ล้านบาทดังกล่าว แบบถูกต้องต่อไป
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ได้มีผู้ถือหุ้นรายย่อยได้ทำการยื่นฟ้องศาลปกครองไปเมื่อวันที่ 16 มี.ค. ที่ผ่านมา เพื่อขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉินระงับการต่อสัญญาดังกล่าว และฟ้องว่า บอร์ด อสมท ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและขอให้ระงับการรับเงิน 405 ล้านบาท ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 มี.ค.ที่ผ่านมา ศาลได้มีการจำหน่ายคดีนี้ออกไปแล้ว โดยให้เหตุผลว่า ผู้ถือหุ้นรายย่อยที่ยื่นฟ้องนั้น ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือเกี่ยวกับสัญญาฉบับดังกล่าว
วานนี้ (25มี.ค.) คณะกรรมการ บมจ. อสมท หรือบอร์ด อสมท ได้มีการประชุมบอร์ดประจำเดือนขึ้น โดยมีวาระเรื่องของ การต่อสัญญาร่วมดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สี ช่อง 3 อีก 10 ปี
ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ประธานคณะกรรมการ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยหลังจบการประชุมบอร์ดอสมท ว่า บอร์ด อสมท มีมติเรื่องของช่อง 3 อย่างชัดเจนแล้ว หลังจากที่ได้ทำการพิจาณาเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว กับกรณีการพิจารณาสัญญาเดิมที่ทำไว้ 20 ปี ตั้งแต่ปี 2533-2553 ว่ามีการทำผิดสัญญาอะไรหรือไม่ให้แน่ชัดอีกครั้ง เพื่อที่จะดูว่าหากไม่มีการผิดสัญญาจริง ทางบริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเมนต์ จำกัด ก็จะสามารถต่อสัญญาอัตโนมัติ 10 ปี (ตั้งแต่ปี 2553-2563) หลังจากวันที่ 25 มีนาคม 2553 ได้ทันที
โดยในที่ประชุมได้ตรวจสอบอย่างละเอียดแล้วพบว่าที่ผ่านมา บริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ทำถูกต้องตามสัญญาเดิมทุกประการ มีเพียงเรื่องเดียวที่น่าสงสัยคือ เรื่องของ การย้ายอาคารสถานที่ทำการบ่อยครั้ง ซึ่งทางบอร์ดเองก็ได้สอบถามไปยังบริษัท บางกอกฯแล้ว ได้รับคำตอบกลับมา และบอร์ดอสมท พิจารณาตามมาตรา 22 แล้วว่า การย้ายอาคารนั้นไม่อยู่ในข่ายของการขยายเครือข่าย เพียงแต่เป็นการขยายโครงข่ายการถ่ายทอดสัญญาณเท่านั้น ไม่ใช่การย้ายที่ตั้งหรืออยู่ในความผิดที่อาจจะทำผิดต่อสัญญาได้
ทั้งนี้ข้อสงสัยเรื่องดังกล่าวนั้น เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2553 ที่ผ่านมา ทางบอร์ด อสมทเองก็ได้ประชุมกันและพิจารณาแล้วว่าไม่ผิดสัญญา ซึ่งหลังจากข้อสงสัยนี้หมดไป ก็สรุปออกมาได้ว่า สัญญา 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่ง บริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ดำเนินตามสัญญาโดยไม่ผิดสัญญาเดิมแต่ประการใด ดังนั้น จึงส่งผลให้บริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด สามารถต่อสัญญาอัตโนมัติ 10 ปีได้ทันทีซึ่งหมายความว่า ตั้งแต่วันนี้ ( 25 มีนาคม ) บริษัท บางกอกฯ ก็ยังจะมีการถ่ายทอดสัญญาณรายการต่างๆของช่อง 3 ได้ตามปกติ
อย่างไรก็ตามมติเรื่องช่อง 3 นี้ ทางบอร์ด อสมท ได้ทำหนังสือและรายละเอียดเพื่อแจ้งไปยังตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายในเมื่อวานนี้ทันที โดยจะแจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์ฯรับทราบว่า บริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ไม่ผิดสัญญา และสามารถต่อสัญญาอัตโนมัติได้ทันที
ทั้งนี้บริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเมนต์ จำกัด ได้ทำตามเงื่อนไขตามสัญญาและข้อตกลงกับทางบอร์ด อสมท ได้ครบทั้ง 2 ข้อ คือ 1.ไม่ผิดสัญญาตลอด 20 ปีที่ผ่านมา และ 2. คือการทำข้อตกลงร่วมกันโดยบริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ยอมจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษต่างหาก ให้ อสมท อีก 405 ล้านบาท แยกจากค่าตอบแทนเดิม 2,002 ล้านบาท
โดยในส่วนของค่าตอบเทนพิเศษ 405 ล้านบาทนั้น จะมีการแจ้งเพิ่มเติมไปด้วยว่า ไม่ได้อยู่ในส่วนของสัญญา 10 ปีอัตโนมัติ ดังนั้นในส่วนของเงินจำนวน 405 ล้านบาท ดังกล่าว ทางอสมท จะต้องนำเรื่องนี้เข้าสู่คณะกรรมการฯตามมาตรา 13 อีกครั้ง โดยล่าสุดได้แต่งตั้งให้นายสิทธิศักดิ์ เอกพจน์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เป็นประธานคณะกรรมการฯตามมาตรา 13 ในการหาทางปรึกษากับทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาวิธีการที่จะรับเงินค่าตอบแทนพิเศษจำนวน 405 ล้านบาทดังกล่าว แบบถูกต้องต่อไป
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ได้มีผู้ถือหุ้นรายย่อยได้ทำการยื่นฟ้องศาลปกครองไปเมื่อวันที่ 16 มี.ค. ที่ผ่านมา เพื่อขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉินระงับการต่อสัญญาดังกล่าว และฟ้องว่า บอร์ด อสมท ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและขอให้ระงับการรับเงิน 405 ล้านบาท ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 มี.ค.ที่ผ่านมา ศาลได้มีการจำหน่ายคดีนี้ออกไปแล้ว โดยให้เหตุผลว่า ผู้ถือหุ้นรายย่อยที่ยื่นฟ้องนั้น ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือเกี่ยวกับสัญญาฉบับดังกล่าว