การเมืองไทยมีลักษณะเฉพาะตัว แม้ว่าจะใช้กติกาของระบอบประชาธิปไตย แต่ความเป็นไทยๆ ก็ทำให้การเมืองไทยแตกต่างไปจากการเมืองในสังคมอื่นๆ
ลักษณะเด่นประการหนึ่งก็คือ บทบาทของพิธีกรรมและสัญลักษณ์ ในการต่อสู้ได้มีการใช้พิธีกรรมและสัญลักษณ์มากขึ้น ตั้งแต่เสื้อเหลือง เสื้อแดง ไปจนถึงการทำพิธีสาปแช่ง การสาดเลือด การใช้คำ เช่น อำมาตย์ ไพร่ และแม้แต่ “ชนชั้น”
พันธมิตรฯ “เสื้อเหลือง” เลือกสีที่เป็นสัญลักษณ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่วน “เสื้อแดง” เลือกสีที่เป็นสีเลือดและแสดงจุดยืนในการต่อต้าน “อำมาตย์”
การพูดถึง “อำมาตย์” เป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะปัจจุบันไม่มี “อำมาตย์” แล้ว เพราะอำมาตย์เป็นคำที่ใช้เรียกข้าราชการในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การนำเอาคำนี้มาใช้จึงเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์
ในระยะแรกๆ คำว่า “อำมาตย์” พุ่งเป้าไปที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ในระยะหลังๆ พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้คำว่า “พวกอำมาตย์” แปลว่าไม่ได้จำกัดเฉพาะพล.อ.เปรม แต่รวมถึงคนอื่นที่ต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วย แต่จะเป็นใครบ้างนั้นคงรวมไปถึงองคมนตรีบางท่าน เช่น พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และอดีตประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครอง ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวหาว่าไปประชุมร่วมกันเพื่อโค่นล้มเขา
ต่อมาได้มีการพูดถึง “ไพร่” ในทำนองที่เป็นการแบ่งแยกชนชั้น แต่ตามทฤษฎีมาร์กซิสต์แล้วไม่ได้แบ่งแยกคนตามสถานภาพทางสังคม ดังนั้น “อำมาตย์” กับ “ไพร่” จึงเป็นการแบ่งแยกคนในสังคมไทยสมัยก่อน ซึ่งกลุ่มอำมาตย์มีสถานภาพสูงกว่าไพร่ ส่วนตามทฤษฎีมาร์กซิสม์นั้น แบ่งตามการถือครองกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิต
อย่างไรก็ดี การแบ่งแยกประชาชนเช่นนี้ แม้จะไม่มีพื้นฐานทางวิชาการ แต่ก็เข้าใจได้ง่าย และมีผลทางจิตวิทยาพอสมควร
ในการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงครั้งนี้ มีปรากฏการณ์หลายอย่างที่น่าสนใจ คือ
1. แกนนำขาดเอกภาพ และขาดแนวทางที่ชัดเจน มีการวิจารณ์กันเอง ทำให้การเคลื่อนไหวไม่หนักแน่น
2. คนที่มาชุมนุมมีน้อยลงเป็นลำดับ ทั้งๆ ที่แกนนำประกาศว่าจะมีคนมาหนึ่งล้านคน แต่สังเกตจากการดูดเลือดแล้ว น่าจะไม่แค่ 3-4 หมื่นคนเท่านั้น
3. การปราศรัยโจมตีรัฐบาลเป็นไปแบบกำปั้นทุบดิน การโจมตีนายกรัฐมนตรีขาดเหตุผล และความน่าเชื่อถือ
4. การที่ครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางออกนอกประเทศ ทำให้การเคลื่อนไหวขาดพลังไปมาก
5. ผู้สนับสนุนมีน้อย ผู้ที่ขึ้นเวทีนอกเหนือไปจากแกนนำ ก็มียายซิ้มใส่วิกหลายๆ สี พูดจาหยาบคาย และไม่น่าเชื่อถือ (บอกว่ามีคนมาชุมนุม 3 ล้านคน) และมีไฮโซที่ประพฤติตัวไม่เหมาะสม เข้ามาปรากฏตัวบนเวที
6. มีข่าวว่าใช้พระปลอมโกนหัวมาร่วมชุมนุม และมีพระไปสาดเลือดใส่ศาลเจ้ากาวิละ มีพราหมณ์ปลอมมาทำพิธี
7. มีข่าวว่าหมอดูทำนายว่า ทักษิณจะกลับมาได้ก็ต่อเมื่อเลือดนองแผ่นดินก่อน จึงมีการเทเลือดซึ่งบางคนบอกว่ามีการเอาสีผสมไปเพื่อทำให้ดูเยอะๆ
8. นายกรัฐมนตรี และทหารได้รับความเห็นใจมาก โดยเฉพาะทหารราบ 11 ได้รับการชมเชยมากในการใช้จิตวิทยาดูแลกลุ่มผู้ชุมนุม ส่วนนายกรัฐมนตรีก็ใจเย็น มีความอดทนอดกลั้นสูงสุด
9. ประชาชนในกรุงเทพฯ รำคาญและเบื่อ จึงไม่ออกจากบ้านเป็นการประท้วงกลายๆ
การคาดการณ์ว่าเหตุการณ์จะรุนแรงยิ่งกว่าสงกรานต์ปีที่แล้ว ทำให้ทุกฝ่ายกระทำการอย่างระมัดระวังตัว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าในภายหน้า เหตุการณ์ความรุนแรงจะไม่เกิดขึ้น เพราะทักษิณเองก็ประกาศว่าจะชนะภายในเจ็ดวัน ดังนั้นจึงต้องคอยเฝ้าระวังสถานการณ์ในเดือนเมษายน และเดือนถัดๆ ไปด้วย
ผมรู้จักผู้เข้าร่วมกับพวกเสื้อแดงหลายคน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นคนดีมีอุดมการณ์ ไม่ว่าจะเป็นสมาน เลือดวงศ์รัฐ หรือ ดร.พีระพันธุ์ พาลุสุข ส่วนคนอื่นๆ ที่ไม่ได้ออกหน้ามากอย่าง นพ.พรหมินทร์ และภูมิธรรม คงเป็นเพราะไม่อยากยุ่งเกี่ยวมาก ส่วน พล.อ.พัลลภ นั้นก็ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะผิดวิสัยนักรบ และคนระดับพลเอกที่พูดชัดเจนว่า การเคลื่อนไหวเป็น “ปาหี่”
การเคลื่อนไหวครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงด้านที่ด้อย และเป็นปัญหาของประชาธิปไตยภายใต้ระบอบประชาธิปไตย และการอ้างสิทธิตามรัฐธรรมนูญ เราได้เห็นความแค้นและการชุมนุมเพื่อคนคนเดียว
ผมมองไม่เห็นอนาคตของระบอบประชาธิปไตย เพราะประชาธิปไตยได้กลายเป็นเครื่องมือของผู้กระทำผิดที่ไม่ต้องการรับโทษ และเงินได้เข้ามามีบทบาทไม่เฉพาะแต่ก่อนการเลือกตั้ง แต่ในการซื้อความผิด และความชั่วเพื่อใช้ฟอกความเลวให้เป็นความดีอีกด้วย
ลักษณะเด่นประการหนึ่งก็คือ บทบาทของพิธีกรรมและสัญลักษณ์ ในการต่อสู้ได้มีการใช้พิธีกรรมและสัญลักษณ์มากขึ้น ตั้งแต่เสื้อเหลือง เสื้อแดง ไปจนถึงการทำพิธีสาปแช่ง การสาดเลือด การใช้คำ เช่น อำมาตย์ ไพร่ และแม้แต่ “ชนชั้น”
พันธมิตรฯ “เสื้อเหลือง” เลือกสีที่เป็นสัญลักษณ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่วน “เสื้อแดง” เลือกสีที่เป็นสีเลือดและแสดงจุดยืนในการต่อต้าน “อำมาตย์”
การพูดถึง “อำมาตย์” เป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะปัจจุบันไม่มี “อำมาตย์” แล้ว เพราะอำมาตย์เป็นคำที่ใช้เรียกข้าราชการในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การนำเอาคำนี้มาใช้จึงเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์
ในระยะแรกๆ คำว่า “อำมาตย์” พุ่งเป้าไปที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ในระยะหลังๆ พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้คำว่า “พวกอำมาตย์” แปลว่าไม่ได้จำกัดเฉพาะพล.อ.เปรม แต่รวมถึงคนอื่นที่ต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วย แต่จะเป็นใครบ้างนั้นคงรวมไปถึงองคมนตรีบางท่าน เช่น พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และอดีตประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครอง ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวหาว่าไปประชุมร่วมกันเพื่อโค่นล้มเขา
ต่อมาได้มีการพูดถึง “ไพร่” ในทำนองที่เป็นการแบ่งแยกชนชั้น แต่ตามทฤษฎีมาร์กซิสต์แล้วไม่ได้แบ่งแยกคนตามสถานภาพทางสังคม ดังนั้น “อำมาตย์” กับ “ไพร่” จึงเป็นการแบ่งแยกคนในสังคมไทยสมัยก่อน ซึ่งกลุ่มอำมาตย์มีสถานภาพสูงกว่าไพร่ ส่วนตามทฤษฎีมาร์กซิสม์นั้น แบ่งตามการถือครองกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิต
อย่างไรก็ดี การแบ่งแยกประชาชนเช่นนี้ แม้จะไม่มีพื้นฐานทางวิชาการ แต่ก็เข้าใจได้ง่าย และมีผลทางจิตวิทยาพอสมควร
ในการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงครั้งนี้ มีปรากฏการณ์หลายอย่างที่น่าสนใจ คือ
1. แกนนำขาดเอกภาพ และขาดแนวทางที่ชัดเจน มีการวิจารณ์กันเอง ทำให้การเคลื่อนไหวไม่หนักแน่น
2. คนที่มาชุมนุมมีน้อยลงเป็นลำดับ ทั้งๆ ที่แกนนำประกาศว่าจะมีคนมาหนึ่งล้านคน แต่สังเกตจากการดูดเลือดแล้ว น่าจะไม่แค่ 3-4 หมื่นคนเท่านั้น
3. การปราศรัยโจมตีรัฐบาลเป็นไปแบบกำปั้นทุบดิน การโจมตีนายกรัฐมนตรีขาดเหตุผล และความน่าเชื่อถือ
4. การที่ครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางออกนอกประเทศ ทำให้การเคลื่อนไหวขาดพลังไปมาก
5. ผู้สนับสนุนมีน้อย ผู้ที่ขึ้นเวทีนอกเหนือไปจากแกนนำ ก็มียายซิ้มใส่วิกหลายๆ สี พูดจาหยาบคาย และไม่น่าเชื่อถือ (บอกว่ามีคนมาชุมนุม 3 ล้านคน) และมีไฮโซที่ประพฤติตัวไม่เหมาะสม เข้ามาปรากฏตัวบนเวที
6. มีข่าวว่าใช้พระปลอมโกนหัวมาร่วมชุมนุม และมีพระไปสาดเลือดใส่ศาลเจ้ากาวิละ มีพราหมณ์ปลอมมาทำพิธี
7. มีข่าวว่าหมอดูทำนายว่า ทักษิณจะกลับมาได้ก็ต่อเมื่อเลือดนองแผ่นดินก่อน จึงมีการเทเลือดซึ่งบางคนบอกว่ามีการเอาสีผสมไปเพื่อทำให้ดูเยอะๆ
8. นายกรัฐมนตรี และทหารได้รับความเห็นใจมาก โดยเฉพาะทหารราบ 11 ได้รับการชมเชยมากในการใช้จิตวิทยาดูแลกลุ่มผู้ชุมนุม ส่วนนายกรัฐมนตรีก็ใจเย็น มีความอดทนอดกลั้นสูงสุด
9. ประชาชนในกรุงเทพฯ รำคาญและเบื่อ จึงไม่ออกจากบ้านเป็นการประท้วงกลายๆ
การคาดการณ์ว่าเหตุการณ์จะรุนแรงยิ่งกว่าสงกรานต์ปีที่แล้ว ทำให้ทุกฝ่ายกระทำการอย่างระมัดระวังตัว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าในภายหน้า เหตุการณ์ความรุนแรงจะไม่เกิดขึ้น เพราะทักษิณเองก็ประกาศว่าจะชนะภายในเจ็ดวัน ดังนั้นจึงต้องคอยเฝ้าระวังสถานการณ์ในเดือนเมษายน และเดือนถัดๆ ไปด้วย
ผมรู้จักผู้เข้าร่วมกับพวกเสื้อแดงหลายคน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นคนดีมีอุดมการณ์ ไม่ว่าจะเป็นสมาน เลือดวงศ์รัฐ หรือ ดร.พีระพันธุ์ พาลุสุข ส่วนคนอื่นๆ ที่ไม่ได้ออกหน้ามากอย่าง นพ.พรหมินทร์ และภูมิธรรม คงเป็นเพราะไม่อยากยุ่งเกี่ยวมาก ส่วน พล.อ.พัลลภ นั้นก็ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะผิดวิสัยนักรบ และคนระดับพลเอกที่พูดชัดเจนว่า การเคลื่อนไหวเป็น “ปาหี่”
การเคลื่อนไหวครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงด้านที่ด้อย และเป็นปัญหาของประชาธิปไตยภายใต้ระบอบประชาธิปไตย และการอ้างสิทธิตามรัฐธรรมนูญ เราได้เห็นความแค้นและการชุมนุมเพื่อคนคนเดียว
ผมมองไม่เห็นอนาคตของระบอบประชาธิปไตย เพราะประชาธิปไตยได้กลายเป็นเครื่องมือของผู้กระทำผิดที่ไม่ต้องการรับโทษ และเงินได้เข้ามามีบทบาทไม่เฉพาะแต่ก่อนการเลือกตั้ง แต่ในการซื้อความผิด และความชั่วเพื่อใช้ฟอกความเลวให้เป็นความดีอีกด้วย