ASTV ผู้จัดการรายวัน – ผู้สอบบัญชีเมินแสดงความคิดเห็นต่องบการเงิน “ไอทีวี” ด้านผู้บริหารอ้างงบการเงินยังมีผลจาก
คดีที่ถูกบอกเลิกสัญญาอนุญาตดำเนินงาน และยังเป็นกรณีพิพาท อีกทั้งปัจจุบันยังมีคดีกับสำนักนายกฯหลืออีก 2 เรื่อง ฉุดแผนหาธุรกิจใหม่ล่าช้า ล่าสุดปี52 ขาดทุน 431 ล้านบาท
วานนี้ (18ก.พ.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) รายงานว่า บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) (ITV) ซึ่งอยู่ในกลุ่มบริษัทจดทะเบียนที่แก้ไขการดำเนินงานไม่ได้ตามกำหนด (Non-Performing Group) ได้นำส่งงบการเงินประจำปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ฉบับที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีมายังตลาดหลักทรัพย์ โดยผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัท ทำให้ตัวเลขผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของบริษัทที่ปรากฏในงบการเงินอาจไม่แสดงค่าที่แท้จริงของกิจการ
ดังนั้น ตลท.จึงแจ้งให้ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนทราบและพิจารณาความเห็นของผู้สอบบัญชีประกอบกับตัวเลขในงบการเงินและหมายเหตุประกอบงบการเงินอย่างระมัดระวังหนังสือของบริษัทฯ
ต่อมา นายสมคิด หวังเชิดชูวงศ์ ประธานกรรมการ บมจ. ไอทีวี ชี้แจงว่า ตามที่บริษัท ได้นำส่งงบการเงินประจำปี 2552
สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 โดยผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็น (Disclaimer of Opinion)อันเนื่องมาจากบริษัทฯ มีผลขาดทุนสะสมเกินทุน 3,036 ล้านบาท ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดข้อสงสัยอย่างมาก เกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินงานต่อเนื่องของบริษัทฯ นั้น เนื่องจากผลปรากฏตามงบการเงินดังกล่าว มีผลมาจากคดีที่บริษัทฯ ถูกบอกเลิกสัญญาอนุญาตให้ดำเนินการ โดยยังคงเป็นประเด็นข้อพิพาทที่อยู่ในระหว่างการดำเนินกระบวนพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการในสถาบันอนุญาโตตุลาการ แต่ตามหลักการบัญชีที่รองรับทั่วไปบริษัทฯ จำเป็นต้องบันทึกสำรองเผื่ออนุญาตให้ดำเนินการส่วนต่างจำนวน 2,907 ล้านบาท และดอกเบี้ยล่าช้าของค่าอนุญาตให้ดำเนินการ นับตั้งแต่วันที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำตัดสินเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 จำนวน 1,249 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายจ่ายที่ยังมิได้เกิดขึ้นจริง
ส่วนความคืบหน้าแจ้งแนวทางการดำเนินการเพื่อแก้ไขเหตุแห่งการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน บริษัทฯอยู่ระหว่างการพิจารณาจัดทำแผนการดำเนินการเพื่อแก้ไขเหตุแห่งการเพิกถอนหลักทรัพย์ฯ เพื่อเสนอขออนุมัติต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทฯตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด โดย ณ ปัจจุบัน บริษัทฯ ยังคงมีคดีความกับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี(สปน.) ที่ยังอยู่ ในระหว่างการเริ่มต้นการพิจารณาตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการอยู่ 2 คดีได้แก่
1. ข้อพิพาทสถาบันอนุญาโตตุลาการที่ 1/2550 ซึ่งบริษัทฯ ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2550 (ก่อนถูกบอกเลิกสัญญาให้ดำเนินการฯ) เพื่อขอให้คณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดเรื่องค่าปรับผังรายการ และดอกเบี้ยของค่าอนุญาตให้ดำเนินการส่วนต่าง
2. ข้อพิพาทสถาบันอนุญาโตตุลาการที่ 46/2550 ซึ่งบริษัทฯ ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2550 (หลังจากถูกบอกเลิกสัญญาให้ดำเนินการฯ)เพื่อขอให้คณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดในกรณีที่สำนักงานปลัดฯ บอกเลิกสัญญา ไม่ชอบด้วยข้อกฎหมายและข้อสัญญาและปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบทำให้บริษัทฯ ได้รับความเสียหายและเรียกร้องให้สปน.ชำระค่าเสียหายให้แก่บริษัทฯ โดยหลังจากที่ศาลปกครองสูงสุดได้ จำหน่ายคดีดำที่ 640/2550 ที่สำนักงานปลัดฯ เป็น ผู้ฟ้องเรียกร้องให้บริษัทชำระค่าอนุญาตให้ดำเนินการส่วนต่าง ดอกเบี้ยค่าปรับผังรายการ มูลค่าทรัพย์สินที่ส่งมอบไม่ครบ รวมเป็นเงิน 101,865 ล้านบาท นำกลับมาเรียกร้องกับบริษัทฯ ในข้อพิพาทนี้
โดย คดีพิพาททั้ง 2 คดี ยังอยู่ในการพิจารณาตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลานานกว่ากระบวนการยุติธรรมจะถึงที่สุด และผลของคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวอาจส่งผลกระทบที่เป็นสาระสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาวของบริษัทฯ และที่ผ่านมาบริษัทได้ทำการศึกษาแนวทางการดำเนินธุรกิจในหลายแนวทาง ทั้งการหาธุรกิจใหม่และการเข้าซื้อกิจการบริษัทอื่น อย่างไรก็ตาม บริษัทยังไม่สามารถหาข้อสรุปในเรื่องดังกล่าวได้เนื่องจากปัจจุบันสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบหลายด้าน ทั้งจากปัจจัยภายใน ถึงแม้ว่ารัฐบาลปัจจุบันจะมีเสถียรภาพทางการเมือง แต่สภาพเศรษฐกิจในประเทศไทย ยังได้รับผลกระทบจากปัจจัยเศรษฐกิจภายนอกประเทศค่อนข้างมาก
ดังนั้น บริษัทฯ จึงจำเป็นต้องใช้เวลาในการพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบในการศึกษาความเป็นไปได้ของแผนฟื้นฟูกิจการ อีกทั้งสถานะงบการเงินรวมของบริษัทฯ ณ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทฯ มีส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบอยู่ 3,036 ล้านบาท อีกทั้งมีภาระค่าใช้จ่ายทางบัญชีจากการสำรองเผื่อค่าดอกเบี้ยอันอาจเกิดขึ้นในกรณีที่บริษัทฯแพ้คดีในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของค่าอนุญาตให้ดำเนินการส่วนต่าง 2,907ล้านบาท (คิดคำนวณโดยนับจากวันที่ 14 ธันวาคม 2549) เป็นจำนวนเงินปีละประมาณ 436 ล้านบาทหรือไตรมาสละประมาณ 109 ล้านบาท ซึ่งในการจัดทำแผนฟื้นฟูตามกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯบริษัทฯ จะต้องหาธุรกิจใหม่ที่สร้างผลกำไรสะสมได้เพิ่มขึ้น อย่างน้อย 3,336 ล้านบาทหรือหาวิธีอื่นใดเพื่อ ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นในงบดุลไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท และนอกจากนั้นบริษัทฯต้องสามารถทำกำไรจากการดำเนินงานในธุรกิจหลักไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาทและมีกำไรสุทธิในงวด หรือ 466 ล้านบาท ในระยะเวลา 1 ปี (ในกรณีที่ผลกำไรไม่ต่อเนื่อง) จึงจะพ้นจากเหตุแห่งการเพิกถอนหลักทรัพย์ฯ
แต่เนื่องจาก สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในปัจจุบัน บริษัทฯจำเป็นต้องพิจารณาการลงทุนอย่างถี่ถ้วนโดยคาดว่าต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งในการศึกษาความเป็นไปได้ในการแสวงหาธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพในการสร้างผลกำไรจำนวนดังกล่าว สำหรับงบการเงินรวมสิ้นสุด 31 ธ.ค.2552 บริษัทขาดทุน 431,165,000 บาท ลดลงจากปี 2551 ซึ่งขาดทุนสุทธิ 445,716,000 บาท และคิดเป็นขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 0.36 บาท
คดีที่ถูกบอกเลิกสัญญาอนุญาตดำเนินงาน และยังเป็นกรณีพิพาท อีกทั้งปัจจุบันยังมีคดีกับสำนักนายกฯหลืออีก 2 เรื่อง ฉุดแผนหาธุรกิจใหม่ล่าช้า ล่าสุดปี52 ขาดทุน 431 ล้านบาท
วานนี้ (18ก.พ.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) รายงานว่า บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) (ITV) ซึ่งอยู่ในกลุ่มบริษัทจดทะเบียนที่แก้ไขการดำเนินงานไม่ได้ตามกำหนด (Non-Performing Group) ได้นำส่งงบการเงินประจำปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ฉบับที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีมายังตลาดหลักทรัพย์ โดยผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัท ทำให้ตัวเลขผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของบริษัทที่ปรากฏในงบการเงินอาจไม่แสดงค่าที่แท้จริงของกิจการ
ดังนั้น ตลท.จึงแจ้งให้ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนทราบและพิจารณาความเห็นของผู้สอบบัญชีประกอบกับตัวเลขในงบการเงินและหมายเหตุประกอบงบการเงินอย่างระมัดระวังหนังสือของบริษัทฯ
ต่อมา นายสมคิด หวังเชิดชูวงศ์ ประธานกรรมการ บมจ. ไอทีวี ชี้แจงว่า ตามที่บริษัท ได้นำส่งงบการเงินประจำปี 2552
สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 โดยผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็น (Disclaimer of Opinion)อันเนื่องมาจากบริษัทฯ มีผลขาดทุนสะสมเกินทุน 3,036 ล้านบาท ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดข้อสงสัยอย่างมาก เกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินงานต่อเนื่องของบริษัทฯ นั้น เนื่องจากผลปรากฏตามงบการเงินดังกล่าว มีผลมาจากคดีที่บริษัทฯ ถูกบอกเลิกสัญญาอนุญาตให้ดำเนินการ โดยยังคงเป็นประเด็นข้อพิพาทที่อยู่ในระหว่างการดำเนินกระบวนพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการในสถาบันอนุญาโตตุลาการ แต่ตามหลักการบัญชีที่รองรับทั่วไปบริษัทฯ จำเป็นต้องบันทึกสำรองเผื่ออนุญาตให้ดำเนินการส่วนต่างจำนวน 2,907 ล้านบาท และดอกเบี้ยล่าช้าของค่าอนุญาตให้ดำเนินการ นับตั้งแต่วันที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำตัดสินเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 จำนวน 1,249 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายจ่ายที่ยังมิได้เกิดขึ้นจริง
ส่วนความคืบหน้าแจ้งแนวทางการดำเนินการเพื่อแก้ไขเหตุแห่งการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน บริษัทฯอยู่ระหว่างการพิจารณาจัดทำแผนการดำเนินการเพื่อแก้ไขเหตุแห่งการเพิกถอนหลักทรัพย์ฯ เพื่อเสนอขออนุมัติต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทฯตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด โดย ณ ปัจจุบัน บริษัทฯ ยังคงมีคดีความกับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี(สปน.) ที่ยังอยู่ ในระหว่างการเริ่มต้นการพิจารณาตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการอยู่ 2 คดีได้แก่
1. ข้อพิพาทสถาบันอนุญาโตตุลาการที่ 1/2550 ซึ่งบริษัทฯ ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2550 (ก่อนถูกบอกเลิกสัญญาให้ดำเนินการฯ) เพื่อขอให้คณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดเรื่องค่าปรับผังรายการ และดอกเบี้ยของค่าอนุญาตให้ดำเนินการส่วนต่าง
2. ข้อพิพาทสถาบันอนุญาโตตุลาการที่ 46/2550 ซึ่งบริษัทฯ ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2550 (หลังจากถูกบอกเลิกสัญญาให้ดำเนินการฯ)เพื่อขอให้คณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดในกรณีที่สำนักงานปลัดฯ บอกเลิกสัญญา ไม่ชอบด้วยข้อกฎหมายและข้อสัญญาและปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบทำให้บริษัทฯ ได้รับความเสียหายและเรียกร้องให้สปน.ชำระค่าเสียหายให้แก่บริษัทฯ โดยหลังจากที่ศาลปกครองสูงสุดได้ จำหน่ายคดีดำที่ 640/2550 ที่สำนักงานปลัดฯ เป็น ผู้ฟ้องเรียกร้องให้บริษัทชำระค่าอนุญาตให้ดำเนินการส่วนต่าง ดอกเบี้ยค่าปรับผังรายการ มูลค่าทรัพย์สินที่ส่งมอบไม่ครบ รวมเป็นเงิน 101,865 ล้านบาท นำกลับมาเรียกร้องกับบริษัทฯ ในข้อพิพาทนี้
โดย คดีพิพาททั้ง 2 คดี ยังอยู่ในการพิจารณาตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลานานกว่ากระบวนการยุติธรรมจะถึงที่สุด และผลของคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวอาจส่งผลกระทบที่เป็นสาระสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาวของบริษัทฯ และที่ผ่านมาบริษัทได้ทำการศึกษาแนวทางการดำเนินธุรกิจในหลายแนวทาง ทั้งการหาธุรกิจใหม่และการเข้าซื้อกิจการบริษัทอื่น อย่างไรก็ตาม บริษัทยังไม่สามารถหาข้อสรุปในเรื่องดังกล่าวได้เนื่องจากปัจจุบันสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบหลายด้าน ทั้งจากปัจจัยภายใน ถึงแม้ว่ารัฐบาลปัจจุบันจะมีเสถียรภาพทางการเมือง แต่สภาพเศรษฐกิจในประเทศไทย ยังได้รับผลกระทบจากปัจจัยเศรษฐกิจภายนอกประเทศค่อนข้างมาก
ดังนั้น บริษัทฯ จึงจำเป็นต้องใช้เวลาในการพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบในการศึกษาความเป็นไปได้ของแผนฟื้นฟูกิจการ อีกทั้งสถานะงบการเงินรวมของบริษัทฯ ณ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทฯ มีส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบอยู่ 3,036 ล้านบาท อีกทั้งมีภาระค่าใช้จ่ายทางบัญชีจากการสำรองเผื่อค่าดอกเบี้ยอันอาจเกิดขึ้นในกรณีที่บริษัทฯแพ้คดีในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของค่าอนุญาตให้ดำเนินการส่วนต่าง 2,907ล้านบาท (คิดคำนวณโดยนับจากวันที่ 14 ธันวาคม 2549) เป็นจำนวนเงินปีละประมาณ 436 ล้านบาทหรือไตรมาสละประมาณ 109 ล้านบาท ซึ่งในการจัดทำแผนฟื้นฟูตามกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯบริษัทฯ จะต้องหาธุรกิจใหม่ที่สร้างผลกำไรสะสมได้เพิ่มขึ้น อย่างน้อย 3,336 ล้านบาทหรือหาวิธีอื่นใดเพื่อ ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นในงบดุลไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท และนอกจากนั้นบริษัทฯต้องสามารถทำกำไรจากการดำเนินงานในธุรกิจหลักไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาทและมีกำไรสุทธิในงวด หรือ 466 ล้านบาท ในระยะเวลา 1 ปี (ในกรณีที่ผลกำไรไม่ต่อเนื่อง) จึงจะพ้นจากเหตุแห่งการเพิกถอนหลักทรัพย์ฯ
แต่เนื่องจาก สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในปัจจุบัน บริษัทฯจำเป็นต้องพิจารณาการลงทุนอย่างถี่ถ้วนโดยคาดว่าต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งในการศึกษาความเป็นไปได้ในการแสวงหาธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพในการสร้างผลกำไรจำนวนดังกล่าว สำหรับงบการเงินรวมสิ้นสุด 31 ธ.ค.2552 บริษัทขาดทุน 431,165,000 บาท ลดลงจากปี 2551 ซึ่งขาดทุนสุทธิ 445,716,000 บาท และคิดเป็นขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 0.36 บาท