ASTV ผู้จัดการรายวัน – ยักษ์สองล้อ “ฮอนด้า” ปรับแผนผลิตและสินค้า รับมือเศรษฐกิจ ต้นทุนผลิตพุ่ง และตลาดรถจักรยานยนต์เปลี่ยน เผยราคาวัตถุดิบเหล็ก แบตเตอรี่ อลูมิเนียม และพลาสติก ปรับเพิ่มใกล้จุดสูงสุดอีกครั้ง เร่งจับมือซัพพลายเออร์คุมไม่ให้บาน ขณะที่เดือนมีนาคมนี้รถฮอนด้าทุกรุ่น เปลี่ยนเป็นแบบหัวฉีด PGM-FI หมด และเลิกผลิตรถสร้างชื่อ 3 รุ่น หันมาลุยตลาดรถแบบเอ.ที. ที่ปีนี้ความนิยมพุ่งแซงเกียร์ธรรมดา จึงเปิดตัว “เวฟ110 ไอ เอ.ที.” เป็นครั้งแรกของรถครอบครัวรองรับ
นายเซนจิโร่ ซากุราอิ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด ผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์อันดับหนึ่งของไทย เปิดเผยว่า หลังจากในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2552 ที่ผ่านมา ตลาดลดลงอย่างมาก จากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก แต่นับจากช่วงไตรามาสสุดท้ายเป็นต้นมา ทิศทางตลาดรถจักรยานยนต์ที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เชื่อว่าในปี 2553 นี้ แนวโน้มตลาดรถจักรยานยนต์ไทยจะฟื้นตัวจากปีที่แล้วแน่นอน
“จากทิศทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวชัดเจนในปีนี้ และรัฐบาลได้มีการประกาศตัวเลขจีดีพีจะขยายตัว 3-5% ทำให้คาดว่าตลาดรถจักรยานยนต์ไทยในปี 2553 น่าจะปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 10% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา หรือมีตัวเลขจดทะเบียนประมาณ 1.68 ล้านคัน โดยฮอนด้าตั้งเป้าการขายไว้ที่ 1.15 ล้านคัน ซึ่งทั้งหมดเป็นการประภาพรวมจากเศรษฐกิจและความเสี่ยงจากปัญหาทางการเมืองไว้แล้ว แต่ฮอนด้ายังหวังให้การเมืองสงบเรียบร้อยด้วยดี เพื่อที่จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวมากกว่านี้ “
นายซากุราอิกล่าวว่า ส่วนการที่เศรษฐกิจปรับตัวขึ้นส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตเช่นกัน โดยเฉพาะต้นทุนหลักอย่างเหล็ก อลูมิเนียม แบตเตอรี่ และพลาสติก ที่เริ่มมีการปรับขึ้นมาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แม้ปัจจุบันต้นทุนจะยังไม่สูงเท่ากับจุดสูงสุดที่เคยทำไว้ในปี 2551 แต่จากแนวโน้มเชือว่าจะยังคงปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปีนี้ และจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตเป็นอย่างมาก
“เหตุนี้ฮอนด้าจึงร่วมมือกับซัพพลายเออร์ ในการบริหารจัดการและควบคุมไม่ให้ต้นทุนสูงกว่าราคาจำหน่าย พร้อมกับพัฒนากระบวนการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และช่วยลดต้นทุนในการผลิต ทำให้ฮอนด้ายังสามารถรับมือกับต้นทุนวัตุดิบที่สูงขึ้นได้ โดยไม่ต้องโยนภาระให้กับลูกค้าผู้ซื้อรถ”
นอกจากเรื่องของต้นทุนการผลิตแล้ว ในส่วนสภาพตลาดรถจักรยานยนต์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคหันมาพิจารณารถที่มีความประหยัดมากขึ้น หรือแนวโน้มตลาดที่ให้ความนิยมรถจักรยานยนต์แบบเกียร์ออโตเมติก หรือเอ.ที.(AT) ที่คาดว่ารถแบบเอ.ที.จะเติบโตขึ้นจาก 46.5% ในปี 2552 เป็น 54% ในปี 2553 เป็นต้น
“ดังนั้นฮอนด้าจึงมีนโยบายที่จะนำระบบหัวฉีด ที่จะช่วยในเรื่องความประหยัดน้ำมัน และลดมลพิษด้านสิ่งแวดล้อม มาใช้ในรถจักรยานยนต์ฮอนด้าทุกรุ่น และได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และในเดือนมีนาคมนี้เป็นต้นไป รถฮอนด้าจะใช้ระบบหัวฉีด PGM-FI หมดทุกรุ่น และฮอนด้ากำลังจะยกเลิกการผลิตรถจักรยานยนต์ 3 รุ่น ได้แก่ ฮอนด้า เวฟ100 ฮอนด้า โซนิค และรุ่นดรีม ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไปเช่นกัน” นายซากุราอิกล่าวและว่า
ทั้งนี้สาเหตุที่ยกเลิกการผลิตรถทั้ง 3 รุ่น มาจากสภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป โดยรุ่นเวฟ100 ฮอนด้าจะเลิกผลิตตั้งแต่แนะนำรุ่นเวฟ 110ไอ ระบบหัวฉีด PGM-FI แล้ว แต่เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ตัวแทนจำหน่ายขอให้คงตัวนี้ไว้สักระยะ บริษัทฯ จึงชะลอแผนมา 1 ปี และเดือนมีนาคมนี้ก็จะยกเลิกอย่างเป็นทางการ ขณะที่รุ่นโซนิคตลาดมีความต้องการลดลงอย่างต่อเนื่อง เหลือเพียงเฉพาะในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่เท่านั้น เลยตัดสินใจยุติการผลิตรถรุ่นนี้ไปในที่สุด และกำลังศึกษานำรุ่นใหม่ที่ตรงกับความต้องการลูกค้ามาทำตลาดแทน แต่ก็ยังให้ความรู้สึกขับสนุกเช่นเดิม ส่วนรุ่นดรีมจะหยุดการผลิตสักระยะ และอยู่ในระหว่างการพิจารณาว่าจะนำมาผลิตใหม่ให้ตรงกับตลาดได้หรือไม่
นายซากุราอิกล่าวว่า นอกจากนี้เพื่อเป็นการตอบสนองกระแสตลาดที่นิยมรถเอ.ที.มากขึ้นเรื่อยๆ ฮอนด้าจึงได้แนะนำรถจักรยานยนต์ “เวฟ 110 ไอ เอ.ที.” (WAVE 110i AT) สู่ตลาด ซึ่งเป็นรถแบบครอบครัวครั้งแรกที่ใช้ระบบเกียร์ออโตเมติก และมาพร้อมกับระบบจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีด PGM-FI เครื่องยนต์ 110 ซีซี 4 จังหวะ ระบายความร้อนด้วยอากาศ ให้อัตราการประยัดน้ำมัน 53 กิโลเมตรต่อลิตร และยังรองรับน้ำมันเบนซินได้ทุกชนิดจนถึงน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20
สำหรับฮอนด้า เวฟ110 ไอ เอ.ที. จะวางจำหน่ายคู่กับรุ่นเกียร์ธรรมดา โดยรุ่นเอ.ที.มีราคาในช่วงแนะนำเริ่มต้นที่ 4.49 หมื่นบาท และจะวางจำหน่ายพร้อมกันทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมนี้เป็นต้นไป ซึ่งบริษัทฯ ตั้งเป้าการขายในรถรุ่นนี้ไว้ที่ประมาณ 5 หมื่นคันต่อปี
นายเซนจิโร่ ซากุราอิ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด ผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์อันดับหนึ่งของไทย เปิดเผยว่า หลังจากในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2552 ที่ผ่านมา ตลาดลดลงอย่างมาก จากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก แต่นับจากช่วงไตรามาสสุดท้ายเป็นต้นมา ทิศทางตลาดรถจักรยานยนต์ที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เชื่อว่าในปี 2553 นี้ แนวโน้มตลาดรถจักรยานยนต์ไทยจะฟื้นตัวจากปีที่แล้วแน่นอน
“จากทิศทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวชัดเจนในปีนี้ และรัฐบาลได้มีการประกาศตัวเลขจีดีพีจะขยายตัว 3-5% ทำให้คาดว่าตลาดรถจักรยานยนต์ไทยในปี 2553 น่าจะปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 10% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา หรือมีตัวเลขจดทะเบียนประมาณ 1.68 ล้านคัน โดยฮอนด้าตั้งเป้าการขายไว้ที่ 1.15 ล้านคัน ซึ่งทั้งหมดเป็นการประภาพรวมจากเศรษฐกิจและความเสี่ยงจากปัญหาทางการเมืองไว้แล้ว แต่ฮอนด้ายังหวังให้การเมืองสงบเรียบร้อยด้วยดี เพื่อที่จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวมากกว่านี้ “
นายซากุราอิกล่าวว่า ส่วนการที่เศรษฐกิจปรับตัวขึ้นส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตเช่นกัน โดยเฉพาะต้นทุนหลักอย่างเหล็ก อลูมิเนียม แบตเตอรี่ และพลาสติก ที่เริ่มมีการปรับขึ้นมาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แม้ปัจจุบันต้นทุนจะยังไม่สูงเท่ากับจุดสูงสุดที่เคยทำไว้ในปี 2551 แต่จากแนวโน้มเชือว่าจะยังคงปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปีนี้ และจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตเป็นอย่างมาก
“เหตุนี้ฮอนด้าจึงร่วมมือกับซัพพลายเออร์ ในการบริหารจัดการและควบคุมไม่ให้ต้นทุนสูงกว่าราคาจำหน่าย พร้อมกับพัฒนากระบวนการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และช่วยลดต้นทุนในการผลิต ทำให้ฮอนด้ายังสามารถรับมือกับต้นทุนวัตุดิบที่สูงขึ้นได้ โดยไม่ต้องโยนภาระให้กับลูกค้าผู้ซื้อรถ”
นอกจากเรื่องของต้นทุนการผลิตแล้ว ในส่วนสภาพตลาดรถจักรยานยนต์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคหันมาพิจารณารถที่มีความประหยัดมากขึ้น หรือแนวโน้มตลาดที่ให้ความนิยมรถจักรยานยนต์แบบเกียร์ออโตเมติก หรือเอ.ที.(AT) ที่คาดว่ารถแบบเอ.ที.จะเติบโตขึ้นจาก 46.5% ในปี 2552 เป็น 54% ในปี 2553 เป็นต้น
“ดังนั้นฮอนด้าจึงมีนโยบายที่จะนำระบบหัวฉีด ที่จะช่วยในเรื่องความประหยัดน้ำมัน และลดมลพิษด้านสิ่งแวดล้อม มาใช้ในรถจักรยานยนต์ฮอนด้าทุกรุ่น และได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และในเดือนมีนาคมนี้เป็นต้นไป รถฮอนด้าจะใช้ระบบหัวฉีด PGM-FI หมดทุกรุ่น และฮอนด้ากำลังจะยกเลิกการผลิตรถจักรยานยนต์ 3 รุ่น ได้แก่ ฮอนด้า เวฟ100 ฮอนด้า โซนิค และรุ่นดรีม ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไปเช่นกัน” นายซากุราอิกล่าวและว่า
ทั้งนี้สาเหตุที่ยกเลิกการผลิตรถทั้ง 3 รุ่น มาจากสภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป โดยรุ่นเวฟ100 ฮอนด้าจะเลิกผลิตตั้งแต่แนะนำรุ่นเวฟ 110ไอ ระบบหัวฉีด PGM-FI แล้ว แต่เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ตัวแทนจำหน่ายขอให้คงตัวนี้ไว้สักระยะ บริษัทฯ จึงชะลอแผนมา 1 ปี และเดือนมีนาคมนี้ก็จะยกเลิกอย่างเป็นทางการ ขณะที่รุ่นโซนิคตลาดมีความต้องการลดลงอย่างต่อเนื่อง เหลือเพียงเฉพาะในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่เท่านั้น เลยตัดสินใจยุติการผลิตรถรุ่นนี้ไปในที่สุด และกำลังศึกษานำรุ่นใหม่ที่ตรงกับความต้องการลูกค้ามาทำตลาดแทน แต่ก็ยังให้ความรู้สึกขับสนุกเช่นเดิม ส่วนรุ่นดรีมจะหยุดการผลิตสักระยะ และอยู่ในระหว่างการพิจารณาว่าจะนำมาผลิตใหม่ให้ตรงกับตลาดได้หรือไม่
นายซากุราอิกล่าวว่า นอกจากนี้เพื่อเป็นการตอบสนองกระแสตลาดที่นิยมรถเอ.ที.มากขึ้นเรื่อยๆ ฮอนด้าจึงได้แนะนำรถจักรยานยนต์ “เวฟ 110 ไอ เอ.ที.” (WAVE 110i AT) สู่ตลาด ซึ่งเป็นรถแบบครอบครัวครั้งแรกที่ใช้ระบบเกียร์ออโตเมติก และมาพร้อมกับระบบจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีด PGM-FI เครื่องยนต์ 110 ซีซี 4 จังหวะ ระบายความร้อนด้วยอากาศ ให้อัตราการประยัดน้ำมัน 53 กิโลเมตรต่อลิตร และยังรองรับน้ำมันเบนซินได้ทุกชนิดจนถึงน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20
สำหรับฮอนด้า เวฟ110 ไอ เอ.ที. จะวางจำหน่ายคู่กับรุ่นเกียร์ธรรมดา โดยรุ่นเอ.ที.มีราคาในช่วงแนะนำเริ่มต้นที่ 4.49 หมื่นบาท และจะวางจำหน่ายพร้อมกันทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมนี้เป็นต้นไป ซึ่งบริษัทฯ ตั้งเป้าการขายในรถรุ่นนี้ไว้ที่ประมาณ 5 หมื่นคันต่อปี