ASTVผู้จัดการรายวัน – ประธานบอร์ดทีพีซี เผยประมูลขายอีลิทการ์ดอืด เหตุร่างทีโออาร์ก็ต้องแก้ไขหลายรอบ แต่มั่นใจเดือนนี้แล้วเสร็จ ก่อนออกประกาศหาผู้สนใจในเดือนต่อไป ส่วนการสอบสวนคดีทุจริตในองค์กรก็ไม่คืบหน้า พนักงานที่เข้าโครงการเออรี่ฯทนรอเงินชดเชยไม่ไหว ยื่นฟ้องศาลแรงงาน แต่ผู้บริหารยันผู้มีรายชื่อส่อทุจริตต้องรอผลสอบก่อนจ่ายค่าชดเชย
นายธงชัย ศรีดามา ประธานคณะกรรมการบริหาร(บอร์ด) บริษัท ไทยแลนด์พริวิเลจคาร์ด จำกัด(ทีพีซี) ผู้บริหารโครงการบัตรไทยแลนด์อีลิทการ์ด เปิดเผยว่า ร่างเงื่อนไขการประมูล(ทีโออาร์) ทีพีซี หรือโครงการบัตรอีลิทการ์ด คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนก.พ.53 นี้ หลังจากที่ผ่านมา มีการแก้ไขกันหลายครั้ง จึงทำให้
ขั้นตอนการดำเนินการประกาศขายกิจการอีลิทการ์ดต้องล่าช้าออกไป โดยเมื่อเสร็จขั้นตอนการจัดทำทีโออาร์ก็จะเริ่มออกประกาศหาผู้สนใจจะเข้าซื้อกิจการ โดยจะเปิดรับผู้สนใจอีก 1 เดือน แล้วจึงเข้าสู่กระบวนการเปิดประมูลเสนอราคาที่ต้องการซื้อ เป็นอันเสร็จภาระกิจประกาศขายกิจการอีลิทการ์ดตามมติของคณะรัฐมนตรีเห็นชอบไปเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 52
“จากที่มติ ครม.ให้ดำเนินการขายกิจการอีลิทการ์ดแก่เอกชนที่สนใจภายใน 3 เดือนนั้น ที่จริงแล้ว จะแบ่งเป็น 3 กระบวนการๆละ 1 เดือน คือ 1.ร่าง ทีโออาร์ 2.ประกาศหาผู้สนใจ และ3.เปิดประมูล แต่เมื่อกระบวนการแรก คือร่างทีโออาร์เกิดความล่าช้า ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบการตั้งคณะกรรมการร่างทีโออาร์ ที่ยกเลิกให้มีตัวแทนจากสำนักตรวจเงินแผ่นดินเข้ามาร่วมจึงต้องแก้กฎหมายให้ถูกต้องเสียก่อนจึงเริ่มดำเนินการได้ ซึ่งขณะนี้คาดว่าร่างทีโออาร์ น่าจะเสร็จเตรียมประกาศได้ในเดือนนี้แน่นอน”
อย่างไรก็ตามกระบวนการร่าง ทีโออาร์ และการเปิดขายกิจการอีลิทการ์ดนั้น เป็นหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) ที่ดำเนินการร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ส่วนบริษัท ทีพีซี ระหว่างนี้ ก็มีภาระกิจหน้าที่ในเรื่องการเตรียมตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขายกิจการให้เอกชน ซึ่งจะทำให้สถานภาพของทีพีซีต้องกลายเป็นหน่วยงานเอกชนเต็มตัว หรือถ้าไม่มีใครสนใจซื้อ ก็ต้องโอนย้ายไปให้ ททท.เป็นผู้บริหาร โดยบริษัทต้องเร่งตรวจสอบบัญชี การใช้เงินในแต่ละโครงการของอีลิทที่ผ่านมา เพื่อเคลียร์ในทุกเรื่องให้กระจ่างก่อนส่งมอบให้ผู้ที่จะเข้ามาดำเนินการต่อไป แต่ยอมรับว่า หลายขั้นตอนก็ยังติดขัดล่าช้า อยู่บ้าง ซึ่งในการประชุมบอร์ดวันที่ 25 ก.พ.นี้ จะมีการสอบถามเพื่อตามงานต่อไป ส่วนผู้ที่สนใจซื้อกิจการอีลิทการ์ดนั้น ช่วงปลายปีก่อน มีสอบถามมา 2-3 ราย เป็นนักลงทุนจากประเทศ มาเลเซีย สิงคโปร์ และ ออสเตรเลีย แต่ช่วงนั้นทีโออาร์ยังไม่แล้วเสร็จจึงตอบไม่ได้ ถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีใครสอบถามมาเพิ่มเติมอีก
ล่าสุดมีรายงานว่า พนักงานอีลิทการ์ด 2 คน ที่เข้าโครงการเออรี่รีไทร์ แต่ยังไม่ได้รับเงินชดเชย คือ นางนันทพร ดำรงค์พงษ์ อดีตผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ทีพีซี และ นางจักรานี (ไม่ทราบนามสกุล) อดีตตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขาย ทีพีซี ได้ยื่นฟ้องต่อศาลแรงงาน
จากกรณีดังกล่าว รายงานข่าวจากทีพีซีแจ้งว่า การที่ทีพีซียังไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่บุคคลทั้งสอง ก็เป็นเพราะ ยังติดในเรื่องของกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงการทุจริตจัดซื้อจัดจ้าง โดยนางนันทพร เกี่ยวข้องในข้อสงสัยเรื่องการจัดทำถุงกอล์ฟ ที่มีการเขียนชื่อบริษัททีพีซี และ รายชื่อคณะกรรมการในบอร์ดทีพีซีขณะนั้น ซึ่งมีนายสุรพงษ์ เตรียมชาญชัย อดีตรักษาการผู้จัดการใหญ่ ทีพีซี ซึ่งการสลักชื่อบุคคล โดยใช้เงินขององค์กรนั้นถือว่าผิดระเบียบของ สตง.
ส่วนนางจักรานี ยังติดเรื่องการสอบสวนกรณีบริษัทยูไนเต็ดเวิลด์ ฟ้องเรียกค่าเสียหายแก่ทีพีซี เรื่องการลงบทความในหนังสือพิมพ์ยูเอสเอ ทูเดย์ ในประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วยังไม่ได้จ่ายเงิน ตรวจสอบแล้ว มีความผิดฐานทุจริตจริงก็ต้องดำเนินการตามกฎหมายและ ไม่สามารถรับเงินชดเชยได้
นายธงชัย ศรีดามา ประธานคณะกรรมการบริหาร(บอร์ด) บริษัท ไทยแลนด์พริวิเลจคาร์ด จำกัด(ทีพีซี) ผู้บริหารโครงการบัตรไทยแลนด์อีลิทการ์ด เปิดเผยว่า ร่างเงื่อนไขการประมูล(ทีโออาร์) ทีพีซี หรือโครงการบัตรอีลิทการ์ด คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนก.พ.53 นี้ หลังจากที่ผ่านมา มีการแก้ไขกันหลายครั้ง จึงทำให้
ขั้นตอนการดำเนินการประกาศขายกิจการอีลิทการ์ดต้องล่าช้าออกไป โดยเมื่อเสร็จขั้นตอนการจัดทำทีโออาร์ก็จะเริ่มออกประกาศหาผู้สนใจจะเข้าซื้อกิจการ โดยจะเปิดรับผู้สนใจอีก 1 เดือน แล้วจึงเข้าสู่กระบวนการเปิดประมูลเสนอราคาที่ต้องการซื้อ เป็นอันเสร็จภาระกิจประกาศขายกิจการอีลิทการ์ดตามมติของคณะรัฐมนตรีเห็นชอบไปเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 52
“จากที่มติ ครม.ให้ดำเนินการขายกิจการอีลิทการ์ดแก่เอกชนที่สนใจภายใน 3 เดือนนั้น ที่จริงแล้ว จะแบ่งเป็น 3 กระบวนการๆละ 1 เดือน คือ 1.ร่าง ทีโออาร์ 2.ประกาศหาผู้สนใจ และ3.เปิดประมูล แต่เมื่อกระบวนการแรก คือร่างทีโออาร์เกิดความล่าช้า ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบการตั้งคณะกรรมการร่างทีโออาร์ ที่ยกเลิกให้มีตัวแทนจากสำนักตรวจเงินแผ่นดินเข้ามาร่วมจึงต้องแก้กฎหมายให้ถูกต้องเสียก่อนจึงเริ่มดำเนินการได้ ซึ่งขณะนี้คาดว่าร่างทีโออาร์ น่าจะเสร็จเตรียมประกาศได้ในเดือนนี้แน่นอน”
อย่างไรก็ตามกระบวนการร่าง ทีโออาร์ และการเปิดขายกิจการอีลิทการ์ดนั้น เป็นหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) ที่ดำเนินการร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ส่วนบริษัท ทีพีซี ระหว่างนี้ ก็มีภาระกิจหน้าที่ในเรื่องการเตรียมตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขายกิจการให้เอกชน ซึ่งจะทำให้สถานภาพของทีพีซีต้องกลายเป็นหน่วยงานเอกชนเต็มตัว หรือถ้าไม่มีใครสนใจซื้อ ก็ต้องโอนย้ายไปให้ ททท.เป็นผู้บริหาร โดยบริษัทต้องเร่งตรวจสอบบัญชี การใช้เงินในแต่ละโครงการของอีลิทที่ผ่านมา เพื่อเคลียร์ในทุกเรื่องให้กระจ่างก่อนส่งมอบให้ผู้ที่จะเข้ามาดำเนินการต่อไป แต่ยอมรับว่า หลายขั้นตอนก็ยังติดขัดล่าช้า อยู่บ้าง ซึ่งในการประชุมบอร์ดวันที่ 25 ก.พ.นี้ จะมีการสอบถามเพื่อตามงานต่อไป ส่วนผู้ที่สนใจซื้อกิจการอีลิทการ์ดนั้น ช่วงปลายปีก่อน มีสอบถามมา 2-3 ราย เป็นนักลงทุนจากประเทศ มาเลเซีย สิงคโปร์ และ ออสเตรเลีย แต่ช่วงนั้นทีโออาร์ยังไม่แล้วเสร็จจึงตอบไม่ได้ ถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีใครสอบถามมาเพิ่มเติมอีก
ล่าสุดมีรายงานว่า พนักงานอีลิทการ์ด 2 คน ที่เข้าโครงการเออรี่รีไทร์ แต่ยังไม่ได้รับเงินชดเชย คือ นางนันทพร ดำรงค์พงษ์ อดีตผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ทีพีซี และ นางจักรานี (ไม่ทราบนามสกุล) อดีตตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขาย ทีพีซี ได้ยื่นฟ้องต่อศาลแรงงาน
จากกรณีดังกล่าว รายงานข่าวจากทีพีซีแจ้งว่า การที่ทีพีซียังไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่บุคคลทั้งสอง ก็เป็นเพราะ ยังติดในเรื่องของกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงการทุจริตจัดซื้อจัดจ้าง โดยนางนันทพร เกี่ยวข้องในข้อสงสัยเรื่องการจัดทำถุงกอล์ฟ ที่มีการเขียนชื่อบริษัททีพีซี และ รายชื่อคณะกรรมการในบอร์ดทีพีซีขณะนั้น ซึ่งมีนายสุรพงษ์ เตรียมชาญชัย อดีตรักษาการผู้จัดการใหญ่ ทีพีซี ซึ่งการสลักชื่อบุคคล โดยใช้เงินขององค์กรนั้นถือว่าผิดระเบียบของ สตง.
ส่วนนางจักรานี ยังติดเรื่องการสอบสวนกรณีบริษัทยูไนเต็ดเวิลด์ ฟ้องเรียกค่าเสียหายแก่ทีพีซี เรื่องการลงบทความในหนังสือพิมพ์ยูเอสเอ ทูเดย์ ในประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วยังไม่ได้จ่ายเงิน ตรวจสอบแล้ว มีความผิดฐานทุจริตจริงก็ต้องดำเนินการตามกฎหมายและ ไม่สามารถรับเงินชดเชยได้