ศึกเลือกตั้งประธานาธิบดียูเครนรอบที่สองอันเป็นรอบชี้ขาดที่กำลังจะเปิดฉากขึ้นในช่วงเช้าของวันอาทิตย์ (7) นี้ถือเป็นการชิงดำระหว่างสองคู่แข่งสำคัญที่มีนโยบายแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว คือ ยูเลีย ติมอเชงโก นายกรัฐมนตรีหญิง คนปัจจุบัน วัย 49 ปี ผู้มีทรงผมอันเป็นเอกลักษณ์ กับตัวแทนจากพรรคฝ่ายค้านอย่าง วิกเตอร์ เฟโดโรวิช ยานูโกวิช วัย 59 ปี ซึ่งมีดีกรีเป็นถึงอดีตนายกรัฐมนตรียูเครนมาแล้ว 2 สมัยโดยการเลือกตั้งครั้งนี้ที่ถือเป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งที่ 5 ในประวัติศาสตร์ของยูเครนนับตั้งแต่ประกาศแยกตัวออกมาจากอดีตสหภาพโซเวียตเมื่อปี 1991 ถูกระบุว่า เป็นหนึ่งในการเลือกตั้งที่มีสีสันและได้รับการจับตามองจากทั่วโลกมากที่สุดในช่วงต้นปี 2010 นี้
ผลการเลือกตั้งรอบแรกเมื่อวันที่ 17 มกราคมที่ผ่านมา ปรากฏว่า ยานูโกวิช ตัวแทนจากพรรคฝ่ายค้าน “ปาร์ตี ออฟ รีเจียนส์” สามารถเอาชนะนายกรัฐมนตรีหญิงติมอเชงโกที่เป็นตัวแทนจากพรรค “ออล ยูเครเนียน ยูเนียน” ไปได้ด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 35.32 ต่อ 25.05
ความพ่ายแพ้ในรอบแรกของคุณแม่ลูกหนึ่งอย่างติมอเชงโก นักการเมืองหญิงหัวปฏิรูปที่ก้าวขึ้นมานั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรียูเครนตั้งแต่ปี 2007 ถูกมองว่า เป็นเสียงสะท้อนของบรรดาผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งชาวยูเครนที่รู้สึกไม่ประทับใจกับนโยบายหลายอย่างของเธอ ทั้งการดำเนินนโยบายต่อต้านรัสเซียแบบหัวชนฝาจนถึงขั้นจวนเจียนจะเกิดสงครามหลายต่อหลายครั้ง และการมุ่งมั่นพายูเครนเข้าไปผูกพันกับโลกตะวันตกแบบสุดตัวด้วยการขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป(อียู)และองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต) รวมทั้ง การดำเนินนโยบายสนับสนุนการทำข้อตกลงการค้าเสรีกับนานาชาติทั้งๆ ที่ยูเครนยังไม่มีความพร้อม
ในบรรดานโยบายอันไม่น่าประทับใจของติมอเชงโก ผู้เคยได้รับฉายาว่าเป็น“โจน ออฟ อาร์ก แห่งยูเครน” สิ่งที่ชาวยูเครนรู้สึกกังวลใจมากที่สุดในเวลานี้ ได้แก่การที่เธอเลือกใช้นโยบายสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของ “อดีตลูกพี่เก่า” อย่างรัสเซียแบบเต็มสูบในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งอาจทำให้ยูเครนตกที่นั่งลำบากและต้องเผชิญกับความขัดแย้งโดยไม่จำเป็น ทั้งการไปเขียนบทความวิพากษ์รัฐบาลรัสเซียแบบไม่คำนึงถึงมารยาททางการทูตลงในวารสารด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศชื่อดังของสหรัฐฯอย่าง “ Foreign Affairs ”ฉบับเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2007 โดยการตราหน้าอดีตประธานาธิบดีรัสเซียเวลานั้นคือ วลาดิเมียร์ ปูตินว่าเป็น“จอมเผด็จการผู้เหลิงอำนาจ” รวมถึง การใช้ท่าทีแข็งกร้าวในการเจรจากับรัสเซียเพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทเรื่องการส่งก๊าซธรรมชาติ , การปฏิเสธคำขอของรัสเซียในการต่อสัญญาเช่าฐานทัพเรือยูเครนบนคาบสมุทรไครเมียทางตอนเหนือของทะเลดำหลังปี 2017, และการคัดค้านการประกาศใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการภาษาที่สองของประเทศ
ปัจจัยเหล่านี้ถูกมองว่า เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ในการเลือกตั้งรอบแรกเมื่อเดือนก่อน ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งชาวยูเครนหันไปสนับสนุนตัวแทนจากฝ่ายค้านอย่างยานูโกวิช ที่ชูนโยบายสร้างสัมพันธ์แบบสมดุลกับโลกตะวันตกและรัสเซีย นอกจากนั้น ชาวยูเครนจำนวนมากยังเห็นว่า นโยบายของยานูโกวิชที่เน้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศและการผลักดันให้ยูเครนได้เข้าร่วมในสหภาพยุโรปเพียงอย่างเดียว โดยไม่สนใจเข้าร่วมในนาโต้น่าจะเป็นผลดีต่อยูเครนมากกว่านโยบายของติมอเชงโก
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์และบรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองในยุโรปตะวันออกหลายคนลงความเห็นว่า ติมอเชงโกซึ่งเคยประกาศตัวว่าเป็น “ เอบา ดูอาร์เต เด เปรอง” หรือ “Evita” อดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของอาร์เจนตินาเมื่อหลายทศวรรษก่อนกลับชาติมาเกิด ยังพอมีหวังที่จะพลิกกลับมาเอาชนะยานูโกวิชได้เช่นกัน ในการเลือกตั้งรอบชี้ชะตาวันอาทิตย์นี้หากเธอสามารถทำให้ชาวยูเครนซึ่งจริงๆแล้วก็ยังชื่นชอบในตัวเธออยู่ไม่น้อย มั่นใจได้ว่าถ้าเธอได้เป็นประธานาธิบดีเธอจะหันมาให้ความสนใจแก้ปัญหาปากท้องของชาวยูเครนอย่างจริงจังตลอดวาระ 5 ปีจากนี้ มากกว่าการดำเนินนโยบาย “แอนตี้” รัสเซียแบบสุดขั้ว โดยไม่ใส่ใจปฏิรูปเศรษฐกิจ อย่างตอนที่เธอนั่งเก้าอี้นายกฯหญิงในช่วงที่ผ่านมา
แต่ไม่ว่า ติมอเชงโก หรือ ยานูโกวิช จะเป็นผู้คว้าชัยในการเลือกตั้งประธานาธิบดีคราวนี้ บรรดาผู้สันทัดกรณีต่างฟันธงว่า ประธานาธิบดีคนต่อไปของยูเครนจะต้องเจอกับความท้าทาย และอุปสรรคสำคัญหลายประการรออยู่เบื้องหน้าอย่างแน่นอน ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ การแพร่ระบาดชนิดเกินควบคุมของโรคเอดส์และเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ การตัดสินใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกอียู-นาโต้ การปรับปรุงความสัมพันธ์กับรัสเซีย การหาเงินมาจัดศึกฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปหรือ “ยูโร 2012 ” ในฐานะชาติเจ้าภาพร่วมกับโปแลนด์ รวมทั้ง การตัดสินใจเรื่องสถานะของภาษารัสเซียว่าจะรับรองให้เป็นภาษาราชการที่สองของยูเครนหรือไม่ ซึ่งปัญหาที่กองสูงจนเกือบเท่าภูเขาเหล่านี้คงเป็นสิ่งที่สร้างความหนักใจให้กับทั้งคู่ไม่น้อย และคงไม่ผิดนักหากจะกล่าวว่า “ผู้แพ้” จากการเลือกตั้งในวันอาทิตย์นี้ อาจถูกมองว่าโชคดีมากกว่า “ผู้ชนะ” ก็เป็นได้ เพราะการก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำยูเครนในยามที่ประเทศกำลัง “ถังแตก” และมีปัญหารุมเร้ารอบด้านเช่นนี้อาจไม่ใช่สิ่งที่พึงปรารถนาเท่าใดนัก
ผลการเลือกตั้งรอบแรกเมื่อวันที่ 17 มกราคมที่ผ่านมา ปรากฏว่า ยานูโกวิช ตัวแทนจากพรรคฝ่ายค้าน “ปาร์ตี ออฟ รีเจียนส์” สามารถเอาชนะนายกรัฐมนตรีหญิงติมอเชงโกที่เป็นตัวแทนจากพรรค “ออล ยูเครเนียน ยูเนียน” ไปได้ด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 35.32 ต่อ 25.05
ความพ่ายแพ้ในรอบแรกของคุณแม่ลูกหนึ่งอย่างติมอเชงโก นักการเมืองหญิงหัวปฏิรูปที่ก้าวขึ้นมานั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรียูเครนตั้งแต่ปี 2007 ถูกมองว่า เป็นเสียงสะท้อนของบรรดาผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งชาวยูเครนที่รู้สึกไม่ประทับใจกับนโยบายหลายอย่างของเธอ ทั้งการดำเนินนโยบายต่อต้านรัสเซียแบบหัวชนฝาจนถึงขั้นจวนเจียนจะเกิดสงครามหลายต่อหลายครั้ง และการมุ่งมั่นพายูเครนเข้าไปผูกพันกับโลกตะวันตกแบบสุดตัวด้วยการขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป(อียู)และองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต) รวมทั้ง การดำเนินนโยบายสนับสนุนการทำข้อตกลงการค้าเสรีกับนานาชาติทั้งๆ ที่ยูเครนยังไม่มีความพร้อม
ในบรรดานโยบายอันไม่น่าประทับใจของติมอเชงโก ผู้เคยได้รับฉายาว่าเป็น“โจน ออฟ อาร์ก แห่งยูเครน” สิ่งที่ชาวยูเครนรู้สึกกังวลใจมากที่สุดในเวลานี้ ได้แก่การที่เธอเลือกใช้นโยบายสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของ “อดีตลูกพี่เก่า” อย่างรัสเซียแบบเต็มสูบในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งอาจทำให้ยูเครนตกที่นั่งลำบากและต้องเผชิญกับความขัดแย้งโดยไม่จำเป็น ทั้งการไปเขียนบทความวิพากษ์รัฐบาลรัสเซียแบบไม่คำนึงถึงมารยาททางการทูตลงในวารสารด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศชื่อดังของสหรัฐฯอย่าง “ Foreign Affairs ”ฉบับเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2007 โดยการตราหน้าอดีตประธานาธิบดีรัสเซียเวลานั้นคือ วลาดิเมียร์ ปูตินว่าเป็น“จอมเผด็จการผู้เหลิงอำนาจ” รวมถึง การใช้ท่าทีแข็งกร้าวในการเจรจากับรัสเซียเพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทเรื่องการส่งก๊าซธรรมชาติ , การปฏิเสธคำขอของรัสเซียในการต่อสัญญาเช่าฐานทัพเรือยูเครนบนคาบสมุทรไครเมียทางตอนเหนือของทะเลดำหลังปี 2017, และการคัดค้านการประกาศใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการภาษาที่สองของประเทศ
ปัจจัยเหล่านี้ถูกมองว่า เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ในการเลือกตั้งรอบแรกเมื่อเดือนก่อน ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งชาวยูเครนหันไปสนับสนุนตัวแทนจากฝ่ายค้านอย่างยานูโกวิช ที่ชูนโยบายสร้างสัมพันธ์แบบสมดุลกับโลกตะวันตกและรัสเซีย นอกจากนั้น ชาวยูเครนจำนวนมากยังเห็นว่า นโยบายของยานูโกวิชที่เน้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศและการผลักดันให้ยูเครนได้เข้าร่วมในสหภาพยุโรปเพียงอย่างเดียว โดยไม่สนใจเข้าร่วมในนาโต้น่าจะเป็นผลดีต่อยูเครนมากกว่านโยบายของติมอเชงโก
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์และบรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองในยุโรปตะวันออกหลายคนลงความเห็นว่า ติมอเชงโกซึ่งเคยประกาศตัวว่าเป็น “ เอบา ดูอาร์เต เด เปรอง” หรือ “Evita” อดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของอาร์เจนตินาเมื่อหลายทศวรรษก่อนกลับชาติมาเกิด ยังพอมีหวังที่จะพลิกกลับมาเอาชนะยานูโกวิชได้เช่นกัน ในการเลือกตั้งรอบชี้ชะตาวันอาทิตย์นี้หากเธอสามารถทำให้ชาวยูเครนซึ่งจริงๆแล้วก็ยังชื่นชอบในตัวเธออยู่ไม่น้อย มั่นใจได้ว่าถ้าเธอได้เป็นประธานาธิบดีเธอจะหันมาให้ความสนใจแก้ปัญหาปากท้องของชาวยูเครนอย่างจริงจังตลอดวาระ 5 ปีจากนี้ มากกว่าการดำเนินนโยบาย “แอนตี้” รัสเซียแบบสุดขั้ว โดยไม่ใส่ใจปฏิรูปเศรษฐกิจ อย่างตอนที่เธอนั่งเก้าอี้นายกฯหญิงในช่วงที่ผ่านมา
แต่ไม่ว่า ติมอเชงโก หรือ ยานูโกวิช จะเป็นผู้คว้าชัยในการเลือกตั้งประธานาธิบดีคราวนี้ บรรดาผู้สันทัดกรณีต่างฟันธงว่า ประธานาธิบดีคนต่อไปของยูเครนจะต้องเจอกับความท้าทาย และอุปสรรคสำคัญหลายประการรออยู่เบื้องหน้าอย่างแน่นอน ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ การแพร่ระบาดชนิดเกินควบคุมของโรคเอดส์และเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ การตัดสินใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกอียู-นาโต้ การปรับปรุงความสัมพันธ์กับรัสเซีย การหาเงินมาจัดศึกฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปหรือ “ยูโร 2012 ” ในฐานะชาติเจ้าภาพร่วมกับโปแลนด์ รวมทั้ง การตัดสินใจเรื่องสถานะของภาษารัสเซียว่าจะรับรองให้เป็นภาษาราชการที่สองของยูเครนหรือไม่ ซึ่งปัญหาที่กองสูงจนเกือบเท่าภูเขาเหล่านี้คงเป็นสิ่งที่สร้างความหนักใจให้กับทั้งคู่ไม่น้อย และคงไม่ผิดนักหากจะกล่าวว่า “ผู้แพ้” จากการเลือกตั้งในวันอาทิตย์นี้ อาจถูกมองว่าโชคดีมากกว่า “ผู้ชนะ” ก็เป็นได้ เพราะการก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำยูเครนในยามที่ประเทศกำลัง “ถังแตก” และมีปัญหารุมเร้ารอบด้านเช่นนี้อาจไม่ใช่สิ่งที่พึงปรารถนาเท่าใดนัก