ในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นแม่บทสูงสุดที่ทั้งผู้ปกครอง คือ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน และประชาชนผู้อยู่ภายใต้การปกครอง จะต้องยึดถือและปฏิบัติตามโดยเสมอภาคกัน ทั้งในด้านสิทธิและเสรีภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่ถือได้ว่าเป็นต้นแบบของการปกครองระบบนี้ เช่น อังกฤษ และฝรั่งเศส เป็นต้น
แต่ในประเทศที่ยังล้าหลังในการปกครองแบบนี้ รวมทั้งประเทศไทยด้วย รัฐธรรมนูญการปกครองมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย และการเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้งมิได้มีความก้าวหน้าในด้านเนื้อหาสาระในส่วนที่เอื้ออำนวยให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยรวมมากนัก ทั้งนี้น่าจะเกิดจากเหตุปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ในการร่างรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 เป็นต้นมา ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นหลังจากมีการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง โดยผู้ก่อการรัฐประหารซึ่งมีบุคลากรจากกองทัพหรือข้าราชการทหารเป็นหลักแล้วปกครองด้วยระบบเผด็จการ
เมื่อประชาชนเริ่มเบื่อหน่ายและออกมาเรียกร้องให้คืนอำนาจการปกครองแก่ประชาชนอีกครั้ง ก็จะเชิญนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันต่างๆ มาทำการร่างรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นจากผลผลิตของระบบเผด็จการในทำนองนี้ส่วนใหญ่ก็จะมุ่งรักษาอำนาจไว้กับกลุ่มทุน และกลุ่มอำนาจที่มาจากเผด็จการนั่นเอง จะหวังที่มุ่งเน้นให้เกิดแก่ประชาชนโดยรวมก็เพิ่งจะปรากฏจริงจังก็ในรัฐธรรมนูญี่ ส.ส.ร.ร่างขึ้นและประกาศใช้ในปี 2540 และน่าจะเอื้ออำนวยให้เกิดประโยชน์แก่ปวงชนมากที่สุดก็เห็นจะได้แก่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ที่เป็นอนุบัญญัติของฉบับปี 2540 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่ป้องกันมิให้นักการเมืองใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ทางการเมือง และใช้อำนาจหน้าที่ที่ได้จากการมีอำนาจรัฐแสวงหาลาภผลในทางมิชอบเป็นการถอนทุนทางธุรกิจการเมือง ดังที่ได้เกิดขึ้นในรัฐบาลภายใต้การนำของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ในช่วงปี 2544-2549
ด้วยเหตุดังที่ว่ามานี้ รัฐธรรมนูญการปกครองของไทยจึงไม่น่าจะเรียกได้ว่าเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประชาธิปไตยเป็นส่วนใหญ่ และนี่เองน่าจะเป็นเหตุให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่กันทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนระบบการปกครองระหว่างเผด็จการมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีการเกิดขึ้นเกือบ 20 ครั้งในรอบ 70 กว่าปี
2. ในด้านประชาชนคนเลือกตั้งก็มีส่วนอย่างมากในการทำให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยล้มลุกคลุกคลาน และมีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญกันบ่อยๆ และที่เป็นเช่นนี้คงจะมีสาเหตุหลักเพียงประการเดียว คือ ไม่มีความรู้ ไม่มีความเข้าใจ ในเนื้อหาของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ส่วนใหญ่รู้เพียงรูปแบบของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยคือ การเลือกตั้ง จึงทำให้นักการเมืองถือโอกาสใช้ความไม่รู้ ไม่เข้าใจนี้ปล้นอำนาจของปวงชนโดยการซื้อเสียง และเข้ามามีอำนาจรัฐแล้วใช้อำนาจที่ว่านี้ถอนทุนในรูปแบบต่างๆ เริ่มตั้งแต่คอร์รัปชันในเชิงนโยบาย ไปจนถึงการโกงกินแบบโจ่งแจ้งด้วยการทำโครงการผลาญงบลงทุนในรูปแบบต่างๆ แล้วหาประโยชน์จากการจัดซื้อจัดจ้างแบบไม่เกรงกลัวกฎหมาย หรือพูดให้เข้าใจแบบชาวบ้านก็คือ โกงดื้อๆ โดยอาศัยเหตุปัจจัยหลักๆ 2 ประการที่เอื้อให้ทำได้ คือ ประชาชนไม่รู้ ไม่เข้าใจ และไม่ติดตามการทำงานของนักการเมืองหลังจากลงคะแนนในคูหาเลือกตั้งแล้วก็ปล่อยไป และการไม่มีคุณธรรม ไม่มีจรรยาบรรณของความเป็นผู้แทนปวงชนที่จะต้องมีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของประเทศโดยรวม และมีความเสียสละประโยชน์ส่วนตนไปพร้อมๆ กัน
ด้วยเหตุปัจจัย 2 ประการนี้ การปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทยจึงไม่ก้าวหน้า
แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากที่คนไทยได้บทเรียนจากพฤติกรรมไม่โปร่งใส คดในข้อ งอในกระดูก รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ก็ได้เกิดขึ้นเพื่อป้องกันพฤติกรรมที่ว่านี้ และจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีผลให้นักการเมืองเก่าๆ และยังคงเคยชินกับแนวทางการเมืองแบบเดิมๆ รู้สึกอึดอัด และทนต่อการปกป้องผลประโยชน์ของปวงชนไม่ได้ ก็ได้ลุกขึ้นมาเรียกร้องให้มีการแก้ไขเพื่อสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน หรือเรียกง่ายๆ ก็คือสันดานเดิม และความต้องการที่ว่านี้ได้ถูกใช้ในการจัดตั้งรัฐบาลเปลี่ยนขั้วในปลายปี 2552 โดยมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำแทนกลุ่มเดิมที่มีพรรคพลังประชาชนเป็นแกนนำ และเงื่อนไขการขอแก้รัฐธรรมนูญในวันนั้นได้กลายมาเป็นเงื่อนไขความขัดแย้งระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลกับพรรคแกนนำในวันนี้ เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะพรรคแกนนำได้มีมติ 82 ต่อ 48 ไม่แก้รัฐธรรมนูญ
ส่วนว่าเมื่อเกิดความขัดแย้งแล้ว ทิศทางการทำงานของรัฐบาลภายใต้พรรคประชาธิปัตย์จะเป็นอย่างไรนั้น ถ้าดูจากพฤติกรรมทั้งในส่วนของปัจเจกบุคคล และพฤติกรรมโดยรวมของพรรคการเมืองแล้ว น่าจะอนุมานได้จากพรรคประชาธิปัตย์ 82 เสียงที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถึงแม้จะถูกประณามโดยพรรคร่วมรัฐบาลว่าหักหลัง และไม่ซื่อต่อมิตร แต่ถ้ามองในแง่ของพฤติกรรมโดยรวมของพรรคที่ยึดประโยชน์ของปวงชนเป็นที่ตั้งแล้ว น่าจะถือได้ว่าได้มากกว่าเสีย ทั้งนี้ด้วยเหตุผลในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
1. ตลอดเวลาหนึ่งปีที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลจากการสลับขั้วไปร่วมกับฝ่ายตรงกันข้าม ภาพลักษณ์ที่ปรากฏออกมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และผู้นำรัฐบาลถูกมองว่าไม่มีภาวะผู้นำ อ่อนแอ ปล่อยให้พรรคร่วมต่อรองตำแหน่ง ต่อรองผลประโยชน์ ทั้งทางการเมือง และผลประโยชน์ที่ได้จากการแสวงหาผ่านทางโครงการต่างๆ จนดูแล้วขัดต่อความรู้สึกดีๆ ที่เคยมีต่อพรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ดังนั้น เมื่อนายอภิสิทธิ์ได้ลุกขึ้นประกาศจุดยืนทางการเมือง เริ่มตั้งแต่ให้ รมช.สาธารณสุขลาออก และไม่เห็นด้วยกับมติ ก.ตร.ที่ให้ทบทวนมติพรรคประชาธิปัตย์ จนถึงเรื่องไม่แก้รัฐธรรมนูญ จึงเท่ากับแสดงภาวะผู้นำให้เห็น
2. การที่พรรคประชาธิปัตย์ประกาศชัดเจนพร้อมที่จะเป็นฝ่ายค้าน แทนที่จะยอมทำตามเงื่อนไขของพรรคร่วมโดยยึดประโยชน์ส่วนรวม ถือได้ว่าเป็นจุดแข็งของพรรคประชาธิปัตย์
แต่ในประเทศที่ยังล้าหลังในการปกครองแบบนี้ รวมทั้งประเทศไทยด้วย รัฐธรรมนูญการปกครองมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย และการเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้งมิได้มีความก้าวหน้าในด้านเนื้อหาสาระในส่วนที่เอื้ออำนวยให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยรวมมากนัก ทั้งนี้น่าจะเกิดจากเหตุปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ในการร่างรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 เป็นต้นมา ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นหลังจากมีการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง โดยผู้ก่อการรัฐประหารซึ่งมีบุคลากรจากกองทัพหรือข้าราชการทหารเป็นหลักแล้วปกครองด้วยระบบเผด็จการ
เมื่อประชาชนเริ่มเบื่อหน่ายและออกมาเรียกร้องให้คืนอำนาจการปกครองแก่ประชาชนอีกครั้ง ก็จะเชิญนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันต่างๆ มาทำการร่างรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นจากผลผลิตของระบบเผด็จการในทำนองนี้ส่วนใหญ่ก็จะมุ่งรักษาอำนาจไว้กับกลุ่มทุน และกลุ่มอำนาจที่มาจากเผด็จการนั่นเอง จะหวังที่มุ่งเน้นให้เกิดแก่ประชาชนโดยรวมก็เพิ่งจะปรากฏจริงจังก็ในรัฐธรรมนูญี่ ส.ส.ร.ร่างขึ้นและประกาศใช้ในปี 2540 และน่าจะเอื้ออำนวยให้เกิดประโยชน์แก่ปวงชนมากที่สุดก็เห็นจะได้แก่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ที่เป็นอนุบัญญัติของฉบับปี 2540 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่ป้องกันมิให้นักการเมืองใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ทางการเมือง และใช้อำนาจหน้าที่ที่ได้จากการมีอำนาจรัฐแสวงหาลาภผลในทางมิชอบเป็นการถอนทุนทางธุรกิจการเมือง ดังที่ได้เกิดขึ้นในรัฐบาลภายใต้การนำของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ในช่วงปี 2544-2549
ด้วยเหตุดังที่ว่ามานี้ รัฐธรรมนูญการปกครองของไทยจึงไม่น่าจะเรียกได้ว่าเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประชาธิปไตยเป็นส่วนใหญ่ และนี่เองน่าจะเป็นเหตุให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่กันทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนระบบการปกครองระหว่างเผด็จการมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีการเกิดขึ้นเกือบ 20 ครั้งในรอบ 70 กว่าปี
2. ในด้านประชาชนคนเลือกตั้งก็มีส่วนอย่างมากในการทำให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยล้มลุกคลุกคลาน และมีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญกันบ่อยๆ และที่เป็นเช่นนี้คงจะมีสาเหตุหลักเพียงประการเดียว คือ ไม่มีความรู้ ไม่มีความเข้าใจ ในเนื้อหาของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ส่วนใหญ่รู้เพียงรูปแบบของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยคือ การเลือกตั้ง จึงทำให้นักการเมืองถือโอกาสใช้ความไม่รู้ ไม่เข้าใจนี้ปล้นอำนาจของปวงชนโดยการซื้อเสียง และเข้ามามีอำนาจรัฐแล้วใช้อำนาจที่ว่านี้ถอนทุนในรูปแบบต่างๆ เริ่มตั้งแต่คอร์รัปชันในเชิงนโยบาย ไปจนถึงการโกงกินแบบโจ่งแจ้งด้วยการทำโครงการผลาญงบลงทุนในรูปแบบต่างๆ แล้วหาประโยชน์จากการจัดซื้อจัดจ้างแบบไม่เกรงกลัวกฎหมาย หรือพูดให้เข้าใจแบบชาวบ้านก็คือ โกงดื้อๆ โดยอาศัยเหตุปัจจัยหลักๆ 2 ประการที่เอื้อให้ทำได้ คือ ประชาชนไม่รู้ ไม่เข้าใจ และไม่ติดตามการทำงานของนักการเมืองหลังจากลงคะแนนในคูหาเลือกตั้งแล้วก็ปล่อยไป และการไม่มีคุณธรรม ไม่มีจรรยาบรรณของความเป็นผู้แทนปวงชนที่จะต้องมีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของประเทศโดยรวม และมีความเสียสละประโยชน์ส่วนตนไปพร้อมๆ กัน
ด้วยเหตุปัจจัย 2 ประการนี้ การปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทยจึงไม่ก้าวหน้า
แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากที่คนไทยได้บทเรียนจากพฤติกรรมไม่โปร่งใส คดในข้อ งอในกระดูก รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ก็ได้เกิดขึ้นเพื่อป้องกันพฤติกรรมที่ว่านี้ และจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีผลให้นักการเมืองเก่าๆ และยังคงเคยชินกับแนวทางการเมืองแบบเดิมๆ รู้สึกอึดอัด และทนต่อการปกป้องผลประโยชน์ของปวงชนไม่ได้ ก็ได้ลุกขึ้นมาเรียกร้องให้มีการแก้ไขเพื่อสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน หรือเรียกง่ายๆ ก็คือสันดานเดิม และความต้องการที่ว่านี้ได้ถูกใช้ในการจัดตั้งรัฐบาลเปลี่ยนขั้วในปลายปี 2552 โดยมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำแทนกลุ่มเดิมที่มีพรรคพลังประชาชนเป็นแกนนำ และเงื่อนไขการขอแก้รัฐธรรมนูญในวันนั้นได้กลายมาเป็นเงื่อนไขความขัดแย้งระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลกับพรรคแกนนำในวันนี้ เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะพรรคแกนนำได้มีมติ 82 ต่อ 48 ไม่แก้รัฐธรรมนูญ
ส่วนว่าเมื่อเกิดความขัดแย้งแล้ว ทิศทางการทำงานของรัฐบาลภายใต้พรรคประชาธิปัตย์จะเป็นอย่างไรนั้น ถ้าดูจากพฤติกรรมทั้งในส่วนของปัจเจกบุคคล และพฤติกรรมโดยรวมของพรรคการเมืองแล้ว น่าจะอนุมานได้จากพรรคประชาธิปัตย์ 82 เสียงที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถึงแม้จะถูกประณามโดยพรรคร่วมรัฐบาลว่าหักหลัง และไม่ซื่อต่อมิตร แต่ถ้ามองในแง่ของพฤติกรรมโดยรวมของพรรคที่ยึดประโยชน์ของปวงชนเป็นที่ตั้งแล้ว น่าจะถือได้ว่าได้มากกว่าเสีย ทั้งนี้ด้วยเหตุผลในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
1. ตลอดเวลาหนึ่งปีที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลจากการสลับขั้วไปร่วมกับฝ่ายตรงกันข้าม ภาพลักษณ์ที่ปรากฏออกมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และผู้นำรัฐบาลถูกมองว่าไม่มีภาวะผู้นำ อ่อนแอ ปล่อยให้พรรคร่วมต่อรองตำแหน่ง ต่อรองผลประโยชน์ ทั้งทางการเมือง และผลประโยชน์ที่ได้จากการแสวงหาผ่านทางโครงการต่างๆ จนดูแล้วขัดต่อความรู้สึกดีๆ ที่เคยมีต่อพรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ดังนั้น เมื่อนายอภิสิทธิ์ได้ลุกขึ้นประกาศจุดยืนทางการเมือง เริ่มตั้งแต่ให้ รมช.สาธารณสุขลาออก และไม่เห็นด้วยกับมติ ก.ตร.ที่ให้ทบทวนมติพรรคประชาธิปัตย์ จนถึงเรื่องไม่แก้รัฐธรรมนูญ จึงเท่ากับแสดงภาวะผู้นำให้เห็น
2. การที่พรรคประชาธิปัตย์ประกาศชัดเจนพร้อมที่จะเป็นฝ่ายค้าน แทนที่จะยอมทำตามเงื่อนไขของพรรคร่วมโดยยึดประโยชน์ส่วนรวม ถือได้ว่าเป็นจุดแข็งของพรรคประชาธิปัตย์