เดลิเมล์ – ผลวิจัยแดนจิงโจ้ระบุผู้หญิงที่มีอาการซึมเศร้าและกังวล อาจต้องใส่ใจเรื่องอาหารการกินโดยพยายามเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปให้มากขึ้น
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นพบว่า ความผิดปกติทางอารมณ์เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในผู้หญิงอายุระหว่าง 20-93 ปีที่กินอาหารสำเร็จรูปและอาหารที่มีไขมันสูงนานถึงสิบปี
ดร.เฟลิซ แจ็กกา กล่าวว่าไม่มีสูตรอาหารมหัศจรรย์ แต่การกินอาหารที่อุดมด้วยผัก ผลไม้ ธัญญาหารแบบโฮลเกรน ผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ และเนื้อไม่ติดมัน และเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปที่ใส่สารถนอมอาหาร จะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ
ทีมนักวิจัยภายใต้การนำของดร.แจ็กกาได้ประเมินอาหารและสภาพจิตใจของผู้หญิง 1,046 คนในระยะเวลา 10 ปี
รายงานที่อยู่ในวารสารอเมริกัน เจอร์นัล ออฟ ไซไคอะทรี ระบุว่ากลุ่มตัวอย่าง 925 คนไม่มีความผิดปกติทางอารมณ์ อีก 121 คนมีอาการซึมเศร้า/กังวล
เมื่อประเมินว่าอาหารเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางอารมณ์อย่างไร นักวิจัยพบว่าการกินอาหาร ‘ตะวันตก’ เป็นหลัก อาทิ แฮมเบอร์เกอร์ ขนมปังขาว พิซซา มันฝรั่งทอดกรอบ เครื่องดื่มปรุงแต่งรสนม เบียร์ และอาหารที่มีรสหวาน มีความเป็นไปได้ว่ามีส่วนเชื่อมโยงกับ 50% ความผิดปกติทางอารมณ์ที่เพิ่มขึ้น
ในทางกลับกัน อาการซึมเศร้าและกังวลมีแนวโน้มลดลง 30% ในหมู่ผู้หญิงที่กินอาหาร ‘ดั้งเดิม’ ของออสเตรเลีย
ความเกี่ยวโยงนี้ยังปรากฏให้เห็นเมื่อทีมนักวิจัยพิจารณาปัจจัยประกอบอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อายุ น้ำหนักตัว สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ระดับการศึกษา กิจกรรมทางร่างกาย พฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
แต่การวิเคราะห์ที่มีการปรับเปลี่ยนในลักษณะคล้ายกันในผู้หญิงที่กินผัก ผลไม้ สลัด ถั่ว โยเกิร์ต และไวน์แดงเป็นหลัก ไม่พบความเชื่อมโยงคล้ายกันนี้
นักวิจัยกล่าวว่าผลการศึกษาตอกย้ำความจำเป็นในการตรวจสอบเพิ่มเติมเพื่อตัดสินใจว่า อาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพนำไปสู่ภาวะสุขภาพจิตถดถอยหรือไม่
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นพบว่า ความผิดปกติทางอารมณ์เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในผู้หญิงอายุระหว่าง 20-93 ปีที่กินอาหารสำเร็จรูปและอาหารที่มีไขมันสูงนานถึงสิบปี
ดร.เฟลิซ แจ็กกา กล่าวว่าไม่มีสูตรอาหารมหัศจรรย์ แต่การกินอาหารที่อุดมด้วยผัก ผลไม้ ธัญญาหารแบบโฮลเกรน ผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ และเนื้อไม่ติดมัน และเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปที่ใส่สารถนอมอาหาร จะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ
ทีมนักวิจัยภายใต้การนำของดร.แจ็กกาได้ประเมินอาหารและสภาพจิตใจของผู้หญิง 1,046 คนในระยะเวลา 10 ปี
รายงานที่อยู่ในวารสารอเมริกัน เจอร์นัล ออฟ ไซไคอะทรี ระบุว่ากลุ่มตัวอย่าง 925 คนไม่มีความผิดปกติทางอารมณ์ อีก 121 คนมีอาการซึมเศร้า/กังวล
เมื่อประเมินว่าอาหารเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางอารมณ์อย่างไร นักวิจัยพบว่าการกินอาหาร ‘ตะวันตก’ เป็นหลัก อาทิ แฮมเบอร์เกอร์ ขนมปังขาว พิซซา มันฝรั่งทอดกรอบ เครื่องดื่มปรุงแต่งรสนม เบียร์ และอาหารที่มีรสหวาน มีความเป็นไปได้ว่ามีส่วนเชื่อมโยงกับ 50% ความผิดปกติทางอารมณ์ที่เพิ่มขึ้น
ในทางกลับกัน อาการซึมเศร้าและกังวลมีแนวโน้มลดลง 30% ในหมู่ผู้หญิงที่กินอาหาร ‘ดั้งเดิม’ ของออสเตรเลีย
ความเกี่ยวโยงนี้ยังปรากฏให้เห็นเมื่อทีมนักวิจัยพิจารณาปัจจัยประกอบอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อายุ น้ำหนักตัว สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ระดับการศึกษา กิจกรรมทางร่างกาย พฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
แต่การวิเคราะห์ที่มีการปรับเปลี่ยนในลักษณะคล้ายกันในผู้หญิงที่กินผัก ผลไม้ สลัด ถั่ว โยเกิร์ต และไวน์แดงเป็นหลัก ไม่พบความเชื่อมโยงคล้ายกันนี้
นักวิจัยกล่าวว่าผลการศึกษาตอกย้ำความจำเป็นในการตรวจสอบเพิ่มเติมเพื่อตัดสินใจว่า อาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพนำไปสู่ภาวะสุขภาพจิตถดถอยหรือไม่