ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต
นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กำลังล่ารายชื่ออย่างน้อย 10,000 ชื่อ เพื่อดำเนินการแก้กฎหมาย เพิ่มโทษคดียาเสพติด โดยเฉพาะผู้ค้ายาเสพติด
จากโทษจำคุกตลอดชีวิต เป็นประหารชีวิต
และขยายขอบเขตของผู้เข้าข่ายว่าเป็น “ผู้ค้า” ให้กว้างขวางขึ้น ถ้าครอบครองเพียง 5 เม็ด ก็จะถือเป็นผู้ค้า (จากเดิม 10 เม็ด)
พูดง่ายๆ แนวคิดของ รมช.มหาดไทย คือ เน้นการลงโทษให้หนักขึ้น และทำให้กลุ่มเป้าหมายที่จะต้องถูกลงโทษกว้างขวางขึ้น
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แสดงความคิดเห็นสนับสนุนไปในทางเดียวกัน แถมบอกว่า จะให้ประชาชนที่เห็นด้วยร่วมลงชื่อ อ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “มหาดไทย CLEAN & SEAL ทำความดีเพื่อแผ่นดิน กวาดล้างให้สิ้นยาเสพติด”
ยิ่งกว่านั้น สำหรับผู้เสพยาเสพติด ซึ่งมีการดำเนินการในลักษณะว่าเป็นผู้ป่วยที่จะต้องเข้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพตามกฎหมายปัจจุบัน แต่กฏหมายใหม่ดังกล่าวจะให้โอกาสกระทำความผิดได้ไม่เกิน 2 ครั้ง จากนั้น จะถือเป็นผู้ค้า และถูกลงโทษอย่างเด็ดขาดตามกฎหมาย
ซึ่งหมายความว่า มีสิทธิจะถูกประหารชีวิต
การดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว มีข้อควรพิจารณาไตร่ตรอง ดังนี้
1) หากต้องการป้องปรามมิให้คนกระทำผิดกฎหมาย วิธีที่จะได้ผลดียิ่งกว่าการเพิ่มบทลงโทษให้รุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต คือ การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เด็ดขาด และถึงที่สุด
หากเข้มงวดกวดขัน จนถึงขั้นทำให้คนรู้สึกว่า เมื่อใดกระทำผิดก็จะต้องถูกลงโทษแน่ๆ เช่น หากไม่ใส่หมวกกันน็อค หรือข้ามถนนนอกทางม้าลาย แม้ว่าบทลงโทษนั้นจะไม่สูงนัก เช่น สมมติว่า ปรับเพียง 200 บาท แต่ถ้าบังคับใช้อย่างจริงจัง สม่ำเสมอ ก็จะพบว่ามีผลทำให้คนเคารพยำเกรงกฎหมายมากกว่าการกำหนดบทลงโทษสูงกว่านั้น เช่น สมมติว่า ปรับ 100,000 (อ้างว่าเอาไว้ขู่) แต่ตำรวจจับบ้างไม่จับบ้างเสียอีก
ตราบใดที่ในความเป็นจริง เวลาคนตัดสินใจลงมือลักลอบกระทำผิด ยังคิดเข้าข้างตัวเองเสมอว่า จะไม่ถูกจับได้ และจะไม่ถูกลงโทษตามบทลงโทษสูงสุดนั้น ตราบนั้น แม้มีโทษรุนแรง หากยังมีโอกาสรอดตัวสูง ก็มักจะยังมีการลับลอบกระทำผิดอยู่ต่อไปเรื่อยๆ
จึงเห็นว่า การกระทำความผิดหลายอย่าง แม้กฎหมายจะกำหนดบทลงโทษไว้รุนแรงมาก แต่ก็ยังมีคนทำผิดอยู่เนืองๆ เช่น ขายประเวณี ร่วมประเวณีกับเด็ก หรือแม้แต่การทุจริตคอรัปชั่น เป็นต้น
2) การกำหนดบทลงโทษไว้สูงๆ และให้โอกาสเจ้าหน้าที่ได้ใช้ดุลพินิจในการบังคับใช้กฎหมาย หลายกรณี พบว่า มีผลทำให้ผู้กระทำผิด แทนที่จะถูกใช้บังคับกฎหมายอย่างตรงไปตรงมา กลับทำให้ถูกรีดไถ ข่มขู่ หรือถูกใช้บทลงโทษสูงๆ ดังกล่าวมาเป็นเครื่องมือต่อรอง เรียกรับผลประโยชน์
3) การเพิ่มโทษเรื่องยาเสพติดดังกล่าว อาจมีผลทำให้ปริมาณการค้ายาเสพติดลดลงในช่วงแรกๆ บางรายก็คงจะถูกจับ และประหารชีวิตไปจริงๆ แต่เมื่อปริมาณยาเสพติดน้อยลง ราคายาเสพติดก็แพงขึ้นเป็นธรรมดา อันจะเป็นแรงดึงดูดสำคัญที่ทำให้ผู้ค้ายารายใหม่ หรือผู้ค้ายาที่มีเส้นสาย จะเข้ามาแสวงหาผลกำไร หรือส่วนต่างราคาดังกล่าวในที่สุด
4) การเพิ่มโทษเรื่องยาเสพติดดังกล่าว อาจมีผลทำให้ปริมาณการเสพยาเสพติดลดลงไปด้วยเช่นกัน แต่เมื่อพิจารณาลึกลงไปในรายละเอียดข้อเท็จจริง จะเห็นว่า ในบรรดากลุ่มเป้าหมายของยาเสพติดและกลุ่มเสี่ยงนั้น จำแนกได้ 3 กลุ่ม และการที่ราคายาเสพติดแพงขึ้น ก็จะมีผลต่อคนแต่ละกลุ่ม แตกต่างกัน
(1) กลุ่มผู้ติดยาเสพติดอย่างงอมแงม แม้ราคายาจะแพงขึ้น โทษรุนแรงขึ้น แต่ก็ยังคงพยายามลักลอบ หายามาเสพให้ได้ดังเดิม ไม่งั้นจะลงแดงตาย ไม่สามารถลด ละ เลิกการเสพได้
เพราะการเลิกยาเสพติด เป็นเรื่องการบำบัดรักษา ไม่ใช่การลงโทษ
พูดง่ายๆ ว่า เป็นการผลักดันให้ผู้ติดยาแบบงอมแงมห่างไกลจากการบำบัดเยียวยามากยิ่งขึ้น แทนที่จะดึงให้เขาเข้ามาสู่การบำบัดรักษามากขึ้น
(2) กลุ่มผู้เสพยาทั่วไป กลุ่มนี้จะลดปริมาณการเสพลงไปบ้างเมื่อราคายาแพงขึ้น แต่เมื่อผู้ค้ายารายใหม่เข้ามาทำตลาด เพื่อแสวงหาส่วนต่างผลกำไรที่เพิ่มขึ้น คนกลุ่มนี้ก็จะกลับมาเสพยาดังเดิมอีก
และ (3) กลุ่มเสี่ยง เป็นกลุ่มคนที่กำลังอยากรู้อยากลอง อยากจะทดลองยาเสพติด การที่ราคายาสูงขึ้น จะมีผลต่อคนกลุ่มนี้มากที่สุด เพราะเหมือนถูกตั้งกำแพงราคา (คล้ายเรียกเก็บภาษีแพงๆ แต่ส่วนต่างเข้ากระเป๋าผู้ค้ายาที่มีเส้นสาย) ทำให้บางส่วนมีโอกาสทดลองเสพยาเสพติดน้อยลง (ซึ่งเป็นเรื่องดี)
5) การแก้ปัญหายาเสพติดจะแตกต่างออกไป หากรัฐเร่งดำเนินการเพื่อควบคุมดูแลในด้านผู้เสพยาเสพติดอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง
ไม่ว่าจะเป็น การส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มเสี่ยงให้มีทางเลือกอื่นๆ ที่หลากหลายมากกว่าจะไปพึ่งยาเสพติด การให้ความรู้ ส่งเสริมสนับสนุนสถาบันครอบครัวให้มีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหายาเสพติด การสร้างค่านิยมและมุมมองใหม่ต่อการเสพยาเสพติดว่าไม่ใช่เรื่องเท่ห์หรือบ่งบอกถึง “ความแน่” ของผู้เสพ เป็นต้น
ในขณะเดียวกัน ก็หามาตรการดึงดูด จูงใจ ทำให้ผู้เสพยาเสพติดสมัครใจเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาให้มากที่สุด ง่ายที่สุด และดำเนินการบำบัดรักษา โดยถือหลักว่า “ผู้เสพคือผู้ป่วย” อย่างจริงจัง ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
การลดปริมาณความต้องการใช้ยาเสพติดในด้านของผู้เสพเช่นนี้ จะทำให้ปริมาณการค้าขายยาเสพติดลดลงตามไปด้วย (ผู้ซื้อลดลง และปริมาณการซื้อลดลง)
ยิ่งถ้าดำเนินการด้านปราบปราม เป็นมาตรการเสริม สำทับเข้าไปอีก ก็ยิ่งจะทำให้ขบวนการผู้ค้ายาเสพติด ไม่ได้ผุดได้เกิด ทั้งในแง่ความไม่คุ้มค่าที่จะทำมาค้าขาย และความเสี่ยงที่จะถูกจับกุมดำเนินคดี ติดคุก และยึดทรัพย์ให้ตกเป็นของแผ่นดินอีกด้วย
6) กรณีศึกษาที่ประเทศออสเตรเลีย บริเวณถนนคิงครอส มีการดำเนินโครงการบำบัดรักษาและเยียวยาที่น่าสนใจ ในลักษณะคล้ายๆ คลีนิคนิรนาม
เป็นตึกแถว ข้างในมีห้องสำหรับให้ผู้ติดยาเสพติดสามารถจะเข้าไปใช้สถานที่เพื่อจะเสพยาอย่างปลอดภัย ภายใต้การดูแลของหมอ
ไม่ถูกจับดำเนินคดี
โดยผู้เข้าไปใช้บริการจะต้องเตรียมยาเสพติดมาเอง (คลีนิคมีอุปกรณ์การเสพที่สะอาด ปลอดภัย และจัดการที่ทิ้งขยะอย่างปลอดภัยไว้บริการ เช่น เข็มฉีดยา สายรัดข้อมือ เป็นต้น) เมื่อเดินเข้าไปผู้ใช้บริการจะต้องแจ้งชื่อต่อเจ้าหน้าที่ประจำคลีนิค ซึ่งอาจจะเป็นชื่อจริงหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการเก็บรักษาประวัติผู้ป่วย สามารถดูความคืบหน้าหรือความเปลี่ยนแปลงของตัวผู้ป่วย
จากนั้น ภายในคลีนิคจะมีที่กั้น บังตา แบ่งเป็นช่องๆ เพื่อให้ผู้เข้ามาใช้บริการได้เข้าไปเสพยาด้วยตนเอง เมื่อเสพแล้วก็ทิ้งอุปกรณ์ในที่ๆ เจ้าหน้าที่จัดเตรียมไว้ให้ จากนั้น สามารถจะนั่งอ่านหนังสือพิมพ์ ดื่มกาแฟ และพูดคุยสนทนากับจิตแพทย์และนักสังคมที่ประจำอยู่ในคลีนิคได้อย่างเป็นกันเอง ไม่เคอะเขิน ไม่หงุดหงิด ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสได้ระบาย ได้คุย ได้แลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้สึกและข้อมูล
กระบวนการดังกล่าวทำให้เจ้าหน้าที่สามารถจะมีข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสพยาเสพติดในพื้นที่ได้อย่างลึกซึ้ง
และในกระบวนการดังกล่าว ก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบำบัดรักษาไปในตัว
ข้อดีของคลีนิคนิรนามดังกล่าว มีทั้งต่อผู้ป่วยที่เป็นผู้ติดยาเสพติดแบบงอมแงม คือ ไม่ต้องไปหลบๆ ซ่อนๆ เสพยาตามมุมตึก ซอกถนน ซึ่งมักจะไม่ถูกสุขลักษณะ และไม่ปลอดภัย เช่น ใช้เข็มฉีดยาซ้ำซ้อน เป็นต้น ทั้งยังมักจะทิ้งเข็มฉีดยาที่ใช้แล้วเรี่ยราด ไม่ปลอดภัย อันตรายต่อเด็กและผู้คนทั่วไป การจัดพื้นที่เป็นสัดส่วนและการดูแลคนติดยาแบบงอมแงมดังกล่าว จึงช่วยคุ้มครองชีวิตผู้ป่วย และปกป้องสังคมส่วนรวมให้ปลอดภัยจากการเสพยาของคนกลุ่มนี้ด้วย
การดำเนินการดังกล่าว เป็นการจัดการดูแลผู้ติดยาเสพติดชนิดที่ติดแบบงอมแงม สะท้อนชัดถึงวิธีคิดที่มองว่า ผู้ติดยาเป็นผู้ป่วย ที่จะต้องได้รับการบำบัดรักษา
แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับแนวทางที่สะท้อนผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยของบ้านเรา
น่าคิดว่า... หากยืนยันว่าจะให้โอกาสผู้ติดยาได้บำบัดไม่เกิน 2 ครั้ง และถ้าไม่หายป่วยก็จะลงโทษเด็ดขาดดังเช่นผู้ค้ายานั้น ต้องสงสัยว่ารัฐมนตรีทั้งสองอาศัยความรู้เรื่องการบำบัดรักษาผู้ติดยาจากสำนักใด จึงกล้าวินิจฉัยชี้ขาดว่า ผู้ป่วยที่ติดยาเสพติดจะต้องหายภายในการรักษาครั้งสองครั้งเท่านั้น โดยหยิบยื่นโทษร้ายแรงถึงขั้นเอาชีวิตคนป่วยเป็นเดิมพัน
ทั้งๆ ที่ กระบวนการในการรักษา บำบัดการติดยานั้น เป็นงานการแพทย์ ที่ละเอียดอ่อน และต้องค่อยๆ ใช้เวลาในการดูแล
สุดท้าย... มุมมองของนักการเมืองดังกล่าว อาจจะสะท้อน “ความป่วยไข้” หรือ“อาการเสพติดของตัวนักการเมืองเอง” ที่มีอาการ “ติดความรุนแรง” หรือ “กระหายความรุนแรง” ซึ่งเคยเสพอย่างงอมแงม มาตั้งแต่เมื่อครั้งที่มีการฆ่าประชาชนกว่า 2,500 ศพ ในสงครามยาเสพติดยุคทักษิณ
ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต
นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กำลังล่ารายชื่ออย่างน้อย 10,000 ชื่อ เพื่อดำเนินการแก้กฎหมาย เพิ่มโทษคดียาเสพติด โดยเฉพาะผู้ค้ายาเสพติด
จากโทษจำคุกตลอดชีวิต เป็นประหารชีวิต
และขยายขอบเขตของผู้เข้าข่ายว่าเป็น “ผู้ค้า” ให้กว้างขวางขึ้น ถ้าครอบครองเพียง 5 เม็ด ก็จะถือเป็นผู้ค้า (จากเดิม 10 เม็ด)
พูดง่ายๆ แนวคิดของ รมช.มหาดไทย คือ เน้นการลงโทษให้หนักขึ้น และทำให้กลุ่มเป้าหมายที่จะต้องถูกลงโทษกว้างขวางขึ้น
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แสดงความคิดเห็นสนับสนุนไปในทางเดียวกัน แถมบอกว่า จะให้ประชาชนที่เห็นด้วยร่วมลงชื่อ อ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “มหาดไทย CLEAN & SEAL ทำความดีเพื่อแผ่นดิน กวาดล้างให้สิ้นยาเสพติด”
ยิ่งกว่านั้น สำหรับผู้เสพยาเสพติด ซึ่งมีการดำเนินการในลักษณะว่าเป็นผู้ป่วยที่จะต้องเข้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพตามกฎหมายปัจจุบัน แต่กฏหมายใหม่ดังกล่าวจะให้โอกาสกระทำความผิดได้ไม่เกิน 2 ครั้ง จากนั้น จะถือเป็นผู้ค้า และถูกลงโทษอย่างเด็ดขาดตามกฎหมาย
ซึ่งหมายความว่า มีสิทธิจะถูกประหารชีวิต
การดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว มีข้อควรพิจารณาไตร่ตรอง ดังนี้
1) หากต้องการป้องปรามมิให้คนกระทำผิดกฎหมาย วิธีที่จะได้ผลดียิ่งกว่าการเพิ่มบทลงโทษให้รุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต คือ การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เด็ดขาด และถึงที่สุด
หากเข้มงวดกวดขัน จนถึงขั้นทำให้คนรู้สึกว่า เมื่อใดกระทำผิดก็จะต้องถูกลงโทษแน่ๆ เช่น หากไม่ใส่หมวกกันน็อค หรือข้ามถนนนอกทางม้าลาย แม้ว่าบทลงโทษนั้นจะไม่สูงนัก เช่น สมมติว่า ปรับเพียง 200 บาท แต่ถ้าบังคับใช้อย่างจริงจัง สม่ำเสมอ ก็จะพบว่ามีผลทำให้คนเคารพยำเกรงกฎหมายมากกว่าการกำหนดบทลงโทษสูงกว่านั้น เช่น สมมติว่า ปรับ 100,000 (อ้างว่าเอาไว้ขู่) แต่ตำรวจจับบ้างไม่จับบ้างเสียอีก
ตราบใดที่ในความเป็นจริง เวลาคนตัดสินใจลงมือลักลอบกระทำผิด ยังคิดเข้าข้างตัวเองเสมอว่า จะไม่ถูกจับได้ และจะไม่ถูกลงโทษตามบทลงโทษสูงสุดนั้น ตราบนั้น แม้มีโทษรุนแรง หากยังมีโอกาสรอดตัวสูง ก็มักจะยังมีการลับลอบกระทำผิดอยู่ต่อไปเรื่อยๆ
จึงเห็นว่า การกระทำความผิดหลายอย่าง แม้กฎหมายจะกำหนดบทลงโทษไว้รุนแรงมาก แต่ก็ยังมีคนทำผิดอยู่เนืองๆ เช่น ขายประเวณี ร่วมประเวณีกับเด็ก หรือแม้แต่การทุจริตคอรัปชั่น เป็นต้น
2) การกำหนดบทลงโทษไว้สูงๆ และให้โอกาสเจ้าหน้าที่ได้ใช้ดุลพินิจในการบังคับใช้กฎหมาย หลายกรณี พบว่า มีผลทำให้ผู้กระทำผิด แทนที่จะถูกใช้บังคับกฎหมายอย่างตรงไปตรงมา กลับทำให้ถูกรีดไถ ข่มขู่ หรือถูกใช้บทลงโทษสูงๆ ดังกล่าวมาเป็นเครื่องมือต่อรอง เรียกรับผลประโยชน์
3) การเพิ่มโทษเรื่องยาเสพติดดังกล่าว อาจมีผลทำให้ปริมาณการค้ายาเสพติดลดลงในช่วงแรกๆ บางรายก็คงจะถูกจับ และประหารชีวิตไปจริงๆ แต่เมื่อปริมาณยาเสพติดน้อยลง ราคายาเสพติดก็แพงขึ้นเป็นธรรมดา อันจะเป็นแรงดึงดูดสำคัญที่ทำให้ผู้ค้ายารายใหม่ หรือผู้ค้ายาที่มีเส้นสาย จะเข้ามาแสวงหาผลกำไร หรือส่วนต่างราคาดังกล่าวในที่สุด
4) การเพิ่มโทษเรื่องยาเสพติดดังกล่าว อาจมีผลทำให้ปริมาณการเสพยาเสพติดลดลงไปด้วยเช่นกัน แต่เมื่อพิจารณาลึกลงไปในรายละเอียดข้อเท็จจริง จะเห็นว่า ในบรรดากลุ่มเป้าหมายของยาเสพติดและกลุ่มเสี่ยงนั้น จำแนกได้ 3 กลุ่ม และการที่ราคายาเสพติดแพงขึ้น ก็จะมีผลต่อคนแต่ละกลุ่ม แตกต่างกัน
(1) กลุ่มผู้ติดยาเสพติดอย่างงอมแงม แม้ราคายาจะแพงขึ้น โทษรุนแรงขึ้น แต่ก็ยังคงพยายามลักลอบ หายามาเสพให้ได้ดังเดิม ไม่งั้นจะลงแดงตาย ไม่สามารถลด ละ เลิกการเสพได้
เพราะการเลิกยาเสพติด เป็นเรื่องการบำบัดรักษา ไม่ใช่การลงโทษ
พูดง่ายๆ ว่า เป็นการผลักดันให้ผู้ติดยาแบบงอมแงมห่างไกลจากการบำบัดเยียวยามากยิ่งขึ้น แทนที่จะดึงให้เขาเข้ามาสู่การบำบัดรักษามากขึ้น
(2) กลุ่มผู้เสพยาทั่วไป กลุ่มนี้จะลดปริมาณการเสพลงไปบ้างเมื่อราคายาแพงขึ้น แต่เมื่อผู้ค้ายารายใหม่เข้ามาทำตลาด เพื่อแสวงหาส่วนต่างผลกำไรที่เพิ่มขึ้น คนกลุ่มนี้ก็จะกลับมาเสพยาดังเดิมอีก
และ (3) กลุ่มเสี่ยง เป็นกลุ่มคนที่กำลังอยากรู้อยากลอง อยากจะทดลองยาเสพติด การที่ราคายาสูงขึ้น จะมีผลต่อคนกลุ่มนี้มากที่สุด เพราะเหมือนถูกตั้งกำแพงราคา (คล้ายเรียกเก็บภาษีแพงๆ แต่ส่วนต่างเข้ากระเป๋าผู้ค้ายาที่มีเส้นสาย) ทำให้บางส่วนมีโอกาสทดลองเสพยาเสพติดน้อยลง (ซึ่งเป็นเรื่องดี)
5) การแก้ปัญหายาเสพติดจะแตกต่างออกไป หากรัฐเร่งดำเนินการเพื่อควบคุมดูแลในด้านผู้เสพยาเสพติดอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง
ไม่ว่าจะเป็น การส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มเสี่ยงให้มีทางเลือกอื่นๆ ที่หลากหลายมากกว่าจะไปพึ่งยาเสพติด การให้ความรู้ ส่งเสริมสนับสนุนสถาบันครอบครัวให้มีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหายาเสพติด การสร้างค่านิยมและมุมมองใหม่ต่อการเสพยาเสพติดว่าไม่ใช่เรื่องเท่ห์หรือบ่งบอกถึง “ความแน่” ของผู้เสพ เป็นต้น
ในขณะเดียวกัน ก็หามาตรการดึงดูด จูงใจ ทำให้ผู้เสพยาเสพติดสมัครใจเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาให้มากที่สุด ง่ายที่สุด และดำเนินการบำบัดรักษา โดยถือหลักว่า “ผู้เสพคือผู้ป่วย” อย่างจริงจัง ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
การลดปริมาณความต้องการใช้ยาเสพติดในด้านของผู้เสพเช่นนี้ จะทำให้ปริมาณการค้าขายยาเสพติดลดลงตามไปด้วย (ผู้ซื้อลดลง และปริมาณการซื้อลดลง)
ยิ่งถ้าดำเนินการด้านปราบปราม เป็นมาตรการเสริม สำทับเข้าไปอีก ก็ยิ่งจะทำให้ขบวนการผู้ค้ายาเสพติด ไม่ได้ผุดได้เกิด ทั้งในแง่ความไม่คุ้มค่าที่จะทำมาค้าขาย และความเสี่ยงที่จะถูกจับกุมดำเนินคดี ติดคุก และยึดทรัพย์ให้ตกเป็นของแผ่นดินอีกด้วย
6) กรณีศึกษาที่ประเทศออสเตรเลีย บริเวณถนนคิงครอส มีการดำเนินโครงการบำบัดรักษาและเยียวยาที่น่าสนใจ ในลักษณะคล้ายๆ คลีนิคนิรนาม
เป็นตึกแถว ข้างในมีห้องสำหรับให้ผู้ติดยาเสพติดสามารถจะเข้าไปใช้สถานที่เพื่อจะเสพยาอย่างปลอดภัย ภายใต้การดูแลของหมอ
ไม่ถูกจับดำเนินคดี
โดยผู้เข้าไปใช้บริการจะต้องเตรียมยาเสพติดมาเอง (คลีนิคมีอุปกรณ์การเสพที่สะอาด ปลอดภัย และจัดการที่ทิ้งขยะอย่างปลอดภัยไว้บริการ เช่น เข็มฉีดยา สายรัดข้อมือ เป็นต้น) เมื่อเดินเข้าไปผู้ใช้บริการจะต้องแจ้งชื่อต่อเจ้าหน้าที่ประจำคลีนิค ซึ่งอาจจะเป็นชื่อจริงหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการเก็บรักษาประวัติผู้ป่วย สามารถดูความคืบหน้าหรือความเปลี่ยนแปลงของตัวผู้ป่วย
จากนั้น ภายในคลีนิคจะมีที่กั้น บังตา แบ่งเป็นช่องๆ เพื่อให้ผู้เข้ามาใช้บริการได้เข้าไปเสพยาด้วยตนเอง เมื่อเสพแล้วก็ทิ้งอุปกรณ์ในที่ๆ เจ้าหน้าที่จัดเตรียมไว้ให้ จากนั้น สามารถจะนั่งอ่านหนังสือพิมพ์ ดื่มกาแฟ และพูดคุยสนทนากับจิตแพทย์และนักสังคมที่ประจำอยู่ในคลีนิคได้อย่างเป็นกันเอง ไม่เคอะเขิน ไม่หงุดหงิด ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสได้ระบาย ได้คุย ได้แลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้สึกและข้อมูล
กระบวนการดังกล่าวทำให้เจ้าหน้าที่สามารถจะมีข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสพยาเสพติดในพื้นที่ได้อย่างลึกซึ้ง
และในกระบวนการดังกล่าว ก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบำบัดรักษาไปในตัว
ข้อดีของคลีนิคนิรนามดังกล่าว มีทั้งต่อผู้ป่วยที่เป็นผู้ติดยาเสพติดแบบงอมแงม คือ ไม่ต้องไปหลบๆ ซ่อนๆ เสพยาตามมุมตึก ซอกถนน ซึ่งมักจะไม่ถูกสุขลักษณะ และไม่ปลอดภัย เช่น ใช้เข็มฉีดยาซ้ำซ้อน เป็นต้น ทั้งยังมักจะทิ้งเข็มฉีดยาที่ใช้แล้วเรี่ยราด ไม่ปลอดภัย อันตรายต่อเด็กและผู้คนทั่วไป การจัดพื้นที่เป็นสัดส่วนและการดูแลคนติดยาแบบงอมแงมดังกล่าว จึงช่วยคุ้มครองชีวิตผู้ป่วย และปกป้องสังคมส่วนรวมให้ปลอดภัยจากการเสพยาของคนกลุ่มนี้ด้วย
การดำเนินการดังกล่าว เป็นการจัดการดูแลผู้ติดยาเสพติดชนิดที่ติดแบบงอมแงม สะท้อนชัดถึงวิธีคิดที่มองว่า ผู้ติดยาเป็นผู้ป่วย ที่จะต้องได้รับการบำบัดรักษา
แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับแนวทางที่สะท้อนผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยของบ้านเรา
น่าคิดว่า... หากยืนยันว่าจะให้โอกาสผู้ติดยาได้บำบัดไม่เกิน 2 ครั้ง และถ้าไม่หายป่วยก็จะลงโทษเด็ดขาดดังเช่นผู้ค้ายานั้น ต้องสงสัยว่ารัฐมนตรีทั้งสองอาศัยความรู้เรื่องการบำบัดรักษาผู้ติดยาจากสำนักใด จึงกล้าวินิจฉัยชี้ขาดว่า ผู้ป่วยที่ติดยาเสพติดจะต้องหายภายในการรักษาครั้งสองครั้งเท่านั้น โดยหยิบยื่นโทษร้ายแรงถึงขั้นเอาชีวิตคนป่วยเป็นเดิมพัน
ทั้งๆ ที่ กระบวนการในการรักษา บำบัดการติดยานั้น เป็นงานการแพทย์ ที่ละเอียดอ่อน และต้องค่อยๆ ใช้เวลาในการดูแล
สุดท้าย... มุมมองของนักการเมืองดังกล่าว อาจจะสะท้อน “ความป่วยไข้” หรือ“อาการเสพติดของตัวนักการเมืองเอง” ที่มีอาการ “ติดความรุนแรง” หรือ “กระหายความรุนแรง” ซึ่งเคยเสพอย่างงอมแงม มาตั้งแต่เมื่อครั้งที่มีการฆ่าประชาชนกว่า 2,500 ศพ ในสงครามยาเสพติดยุคทักษิณ