ASTVผู้จัดการรายวัน-รัฐบาลหน้าบาน โครงการประกันรายได้เวิร์กสุดๆ ประหยัดงบแผ่นดินได้สูงถึง 7 หมื่นล้านบาท จ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว มันสำปะหลังและข้าวโพด รวมแล้วแค่ 2.79 หมื่นล้านบาท แต่หากรับจำนำคาดว่าจะต้องจ่ายสูงถึงแสนล้านบาท “พาณิชย์”เผยเป็นเพราะผลผลิตเกษตรทั่วโลกเสียหายจากภัยธรรมชาติ เลยดันราคาพุ่งไม่หยุด
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า หลังจากที่รัฐบาลเปิดดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรรอบแรกให้กับสินค้าเกษตรทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ ข้าวเปลือกนาปี มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฤดูกาลผลิตปี 2551/52 พบว่ามีการใช้เงินในโครงการแทรกแซงสินค้าเกษตรรวมทั้งสิ้น 2.79 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น ข้าวเปลือกนาปี 2.11 หมื่นล้านบาท มันสำปะหลัง 1,415 ล้านบาท และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 5,396 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลพอใจกับผลดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรเป็นอย่างมาก เพราะเพียงแค่ปีแรกสามารถประหยัดงบประมาณเกือบ 7 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ เฉพาะข้าวจากเดิมที่ต้องใช้งบประมาณในการเปิดรับจำนำมากถึง 8 หมื่นล้านบาท แต่ใช้งบประมาณในการประกันรายได้เกษตรกร 2.79 หมื่นล้านบาท เท่ากับว่าลดงบประมาณไปได้เกือบ 6 หมื่นล้านบาท แต่สามารถช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวได้ถึง 2.23 ล้านราย ในการจ่ายเงินชดเชยประกันราคาข้าวจำนวน 23 ล้านตัน ซึ่งขณะนี้เหลือเกษตรกรอีก 1 ล้านรายที่อยู่ระหว่างการจ่ายเงินชดเชย แต่คาดว่าไม่ต้องใช้งบประมาณมาก เพราะขณะนี้ราคาอ้างอิงข้าวสูงกว่าราคาประกันที่รัฐบาลกำหนด
ขณะที่มันสำปะหลังสามารถประหยัดงบประมาณลงได้ 1.35 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่ต้องใช้งบประมาณในโครงการรับจำนำมันสำปะหลังมากถึง 1.5 หมื่นล้านบาท แต่ใช้งบประมาณในโครงการประกันรายได้เพียง 1,415 ล้านบาท สามารถช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังได้ถึง 2.01 แสนราย ส่วนการประกันรายได้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ใช้งบใกล้เคียงกับโครงการรับจำนำเดิม แต่สามารถช่วยเหลือเกษตรได้มากถึง 3.62 แสนราย
“เป็นผลสำเร็จของโครงการประกันรายได้ เพราะลดงบประมาณการใช้เงินลงได้อย่างมาก ต่างจากระบบรับจำนำที่ต้องใช้เงินแทรกแซงเกือบแสนล้านบาท” แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า สำหรับโครงการประกันรายได้เกษตรกรรอบ 2 ที่จะเปิดประกันราคาเฉพาะข้าวเปลือกนาปรัง ฤดูกาล 2553 นั้น ขณะนี้รัฐบาลได้สั่งให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเริ่มดำเนินการแล้ว โดยอยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ซึ่งราคาประกันข้าวเปลือกนาปรังส่วนใหญ่กำหนดราคาเท่ากับการประกันข้าวเปลือกนาปี ยกเว้นข้าวเปลือกปทุมธานีเพิ่มราคาประกันจาก 1 หมื่นบาท/ตัน เป็น 1.1 หมื่นบาท/ตัน หรือเพิ่มขึ้น 1,000 บาท/ตัน โดยคาดว่าจะมีปริมาณผลผลิตข้าวเปลือกนาปรังถึง 5.7 ล้านตัน ส่วนข้าวเปลือกเจ้าราคาคงเดิม 1 หมื่นบาท/ตัน และข้าวเปลือกเหนียว 9,500 บาท/ตัน
“เกษตรกรจะต้องขึ้นทะเบียนรอบใหม่กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และทำสัญญากับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร แต่คาดว่าจะใช้งบประมาณในการชดเชยไม่มากนัก เพราะราคาตลาดอ้างอิงในช่วง 3 สัปดาห์ล่าสุด ได้ปรับสูงขึ้นจนรัฐบาลไม่ได้จ่ายชดเชยเลย” แหล่งข่าวกล่าว
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า สาเหตุที่รัฐบาลใช้งบประมาณในการชดเชยโครงการประกันรายได้ไม่ถึง 3 หมื่นล้านบาท เป็นผลมาจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดปรับตัวสูงขึ้น ตามภาวะความต้องการของตลาดโลก ที่เกิดปัญหาภัยธรรมชาติในหลายประเทศทั่วโลก ส่งผลให้ราคาอ้างอิงทั้งข้าว มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าราคาประกัน ทำให้รัฐบาลไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย โดยเฉพาะในช่วง 2 เดือนล่าสุด คือ เดือนธ.ค.2552-ม.ค.2553 ราคาสินค้าเกษตรทุกชนิดปรับตัวสูงขึ้นหมด
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า หลังจากที่รัฐบาลเปิดดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรรอบแรกให้กับสินค้าเกษตรทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ ข้าวเปลือกนาปี มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฤดูกาลผลิตปี 2551/52 พบว่ามีการใช้เงินในโครงการแทรกแซงสินค้าเกษตรรวมทั้งสิ้น 2.79 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น ข้าวเปลือกนาปี 2.11 หมื่นล้านบาท มันสำปะหลัง 1,415 ล้านบาท และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 5,396 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลพอใจกับผลดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรเป็นอย่างมาก เพราะเพียงแค่ปีแรกสามารถประหยัดงบประมาณเกือบ 7 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ เฉพาะข้าวจากเดิมที่ต้องใช้งบประมาณในการเปิดรับจำนำมากถึง 8 หมื่นล้านบาท แต่ใช้งบประมาณในการประกันรายได้เกษตรกร 2.79 หมื่นล้านบาท เท่ากับว่าลดงบประมาณไปได้เกือบ 6 หมื่นล้านบาท แต่สามารถช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวได้ถึง 2.23 ล้านราย ในการจ่ายเงินชดเชยประกันราคาข้าวจำนวน 23 ล้านตัน ซึ่งขณะนี้เหลือเกษตรกรอีก 1 ล้านรายที่อยู่ระหว่างการจ่ายเงินชดเชย แต่คาดว่าไม่ต้องใช้งบประมาณมาก เพราะขณะนี้ราคาอ้างอิงข้าวสูงกว่าราคาประกันที่รัฐบาลกำหนด
ขณะที่มันสำปะหลังสามารถประหยัดงบประมาณลงได้ 1.35 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่ต้องใช้งบประมาณในโครงการรับจำนำมันสำปะหลังมากถึง 1.5 หมื่นล้านบาท แต่ใช้งบประมาณในโครงการประกันรายได้เพียง 1,415 ล้านบาท สามารถช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังได้ถึง 2.01 แสนราย ส่วนการประกันรายได้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ใช้งบใกล้เคียงกับโครงการรับจำนำเดิม แต่สามารถช่วยเหลือเกษตรได้มากถึง 3.62 แสนราย
“เป็นผลสำเร็จของโครงการประกันรายได้ เพราะลดงบประมาณการใช้เงินลงได้อย่างมาก ต่างจากระบบรับจำนำที่ต้องใช้เงินแทรกแซงเกือบแสนล้านบาท” แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า สำหรับโครงการประกันรายได้เกษตรกรรอบ 2 ที่จะเปิดประกันราคาเฉพาะข้าวเปลือกนาปรัง ฤดูกาล 2553 นั้น ขณะนี้รัฐบาลได้สั่งให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเริ่มดำเนินการแล้ว โดยอยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ซึ่งราคาประกันข้าวเปลือกนาปรังส่วนใหญ่กำหนดราคาเท่ากับการประกันข้าวเปลือกนาปี ยกเว้นข้าวเปลือกปทุมธานีเพิ่มราคาประกันจาก 1 หมื่นบาท/ตัน เป็น 1.1 หมื่นบาท/ตัน หรือเพิ่มขึ้น 1,000 บาท/ตัน โดยคาดว่าจะมีปริมาณผลผลิตข้าวเปลือกนาปรังถึง 5.7 ล้านตัน ส่วนข้าวเปลือกเจ้าราคาคงเดิม 1 หมื่นบาท/ตัน และข้าวเปลือกเหนียว 9,500 บาท/ตัน
“เกษตรกรจะต้องขึ้นทะเบียนรอบใหม่กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และทำสัญญากับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร แต่คาดว่าจะใช้งบประมาณในการชดเชยไม่มากนัก เพราะราคาตลาดอ้างอิงในช่วง 3 สัปดาห์ล่าสุด ได้ปรับสูงขึ้นจนรัฐบาลไม่ได้จ่ายชดเชยเลย” แหล่งข่าวกล่าว
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า สาเหตุที่รัฐบาลใช้งบประมาณในการชดเชยโครงการประกันรายได้ไม่ถึง 3 หมื่นล้านบาท เป็นผลมาจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดปรับตัวสูงขึ้น ตามภาวะความต้องการของตลาดโลก ที่เกิดปัญหาภัยธรรมชาติในหลายประเทศทั่วโลก ส่งผลให้ราคาอ้างอิงทั้งข้าว มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าราคาประกัน ทำให้รัฐบาลไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย โดยเฉพาะในช่วง 2 เดือนล่าสุด คือ เดือนธ.ค.2552-ม.ค.2553 ราคาสินค้าเกษตรทุกชนิดปรับตัวสูงขึ้นหมด