คณะกรรมการเปรียบเทียบสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ได้มีการประชุมเปรียบเทียบครั้งที่1/2553 โดยมีคำสั่งเปรียบเทียบปรับ นายอานนท์ชัย วีระประวัติ จำนวน 500,000 บาท เนื่องจาก ใน วันที่ 9 มิถุนายน 2552 ระหว่างเวลา 15.44 น. – 15.57 น. เนื่องจาก นายอานนท์ชัย ได้ซื้อขายหลักทรัพย์ บริษัทสิงห์ พาราเทค จำกัด (มหาชน) หรือ SINGHA ในลักษณะต่อเนื่องกัน อันเป็นผลให้สภาพการซื้อหรือขายหุ้น SINGHA ผิดไปจากสภาพปกติของตลาด เพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปเข้าทำการซื้อหรือขายหุ้น SINGHA จึงเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนมาตรา 243(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ
นอกจากนี้ได้มีการสั่งเปรียบเทียบปรับนาย นายโอฬาร วีรวรรณ จำนวน 500,000 บาท เมื่อวันที่ 11 - 12 มิถุนายน 2550 เพราะ นายโอฬาร ซึ่งเป็นประธานกรรมการตรวจสอบ PHA ได้ซื้อหุ้น บริษัทภัทรประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ PHA จำนวน 2,000 หุ้น และจำนวน 3,000 หุ้น ตามลำดับ ผ่านบัญชีหลักทรัพย์ของบุคคลรายหนึ่ง ซึ่งน่าจะเป็นการเอาเปรียบต่อบุคคลภายนอก โดยอาศัยข้อมูลภายในที่มีนัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหุ้น PHA ที่ยังไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณชน เกี่ยวกับแผนการควบรวมกิจการระหว่าง PHA กับบริษัทเมืองไทยประกันภัย จำกัด หรือ MTI เป็นบริษัทใหม่ และการจ่ายเงินปันผลพิเศษให้กับผู้ถือหุ้น PHA ในอัตรา 50 บาทต่อหุ้น อันเป็นข้อมูลที่นายโอฬาร รู้มาเนื่องจากการเป็นประธานกรรมการตรวจสอบ PHA ซึ่งการกระทำดังกล่าว จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 241 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ
สำหรับนายโอฬาร นั้น ก่อนหน้านี้ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจสอบให้แก่มี PHA มาแล้วหลายวาระ โดยเมื่อ 21 เม.ย. 2548 คณะกรรมการของบริษัท ภัทรประกันภัย ได้มีมติให้กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจสอบอีกวาระ และนั่งเก้าอี้ประธานคณะกรรมการตรวจสอบด้วย ซึ่งสมาชิกคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทประกอบด้วยขณะนั้น ประกอบด้วย นายโอฬาร วีรวรรณ โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี ส่วนกรรมการตรวจสอบ ได้แก่ นางภรณี ชัยกิตติศิลป์, นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ และ นายบรรยง พงษ์พานิช โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี
ด้าน นายอานนท์ชัย นั้น เป็นลูกค้ารายใหญ่ บล.บีฟิท และมีชื่อติดกลุ่มที่ได้รับจัดสรรหุ้นไอพีโอจำนวนมากอันดับต้นๆหลายบริษัท เช่น บริษัท ชูไก (CRANE) และถือหุ้นใหญ่บริษัทเอส.อี.ซี.ออโต้เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส (SECC) รวมถึงหุ้นที่มีข้อพิพาทกรณีอย่าง บริษัท ไทยโพลีคอนส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TPOLY ซึ่งบล.บีฟิท ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน(อันเดอร์ไรต์) เทขายหุ้นที่ถืออยู่ทั้งหมด 24 ล้านหุ้น ออกมาตั้งแต่วันแรกของการซื้อขายทำให้ราคาหุ้นร่วงจนต่ำกว่าจอง 2.80 บาท จนล่าสุดปิดที่ 1.59 บาท
ส่วนผลดำเนินงานล่าสุดของ บมจ.สิงห์ พาราเทค ที่จำกัด (มหาชน) ที่แจ้งตลาดหลักทรัพย์ไว้คือผลดำเนินงานไตรมาส3/2552 ซึ่งพบว่า บริษัทฯ มีผลขาดทุนสุทธิในไตรมาส 3 ของปี 2552 จำนวน 39.91 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราขาดทุนที่เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนอัตราร้อยละ 196.10 สาเหตุหลักที่สำคัญเนื่องจากรายได้จากการขายลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 48.79 ล้านบาท หรือลดลงในอัตราร้อยละ33.55
นอกจากนี้ได้มีการสั่งเปรียบเทียบปรับนาย นายโอฬาร วีรวรรณ จำนวน 500,000 บาท เมื่อวันที่ 11 - 12 มิถุนายน 2550 เพราะ นายโอฬาร ซึ่งเป็นประธานกรรมการตรวจสอบ PHA ได้ซื้อหุ้น บริษัทภัทรประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ PHA จำนวน 2,000 หุ้น และจำนวน 3,000 หุ้น ตามลำดับ ผ่านบัญชีหลักทรัพย์ของบุคคลรายหนึ่ง ซึ่งน่าจะเป็นการเอาเปรียบต่อบุคคลภายนอก โดยอาศัยข้อมูลภายในที่มีนัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหุ้น PHA ที่ยังไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณชน เกี่ยวกับแผนการควบรวมกิจการระหว่าง PHA กับบริษัทเมืองไทยประกันภัย จำกัด หรือ MTI เป็นบริษัทใหม่ และการจ่ายเงินปันผลพิเศษให้กับผู้ถือหุ้น PHA ในอัตรา 50 บาทต่อหุ้น อันเป็นข้อมูลที่นายโอฬาร รู้มาเนื่องจากการเป็นประธานกรรมการตรวจสอบ PHA ซึ่งการกระทำดังกล่าว จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 241 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ
สำหรับนายโอฬาร นั้น ก่อนหน้านี้ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจสอบให้แก่มี PHA มาแล้วหลายวาระ โดยเมื่อ 21 เม.ย. 2548 คณะกรรมการของบริษัท ภัทรประกันภัย ได้มีมติให้กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจสอบอีกวาระ และนั่งเก้าอี้ประธานคณะกรรมการตรวจสอบด้วย ซึ่งสมาชิกคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทประกอบด้วยขณะนั้น ประกอบด้วย นายโอฬาร วีรวรรณ โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี ส่วนกรรมการตรวจสอบ ได้แก่ นางภรณี ชัยกิตติศิลป์, นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ และ นายบรรยง พงษ์พานิช โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี
ด้าน นายอานนท์ชัย นั้น เป็นลูกค้ารายใหญ่ บล.บีฟิท และมีชื่อติดกลุ่มที่ได้รับจัดสรรหุ้นไอพีโอจำนวนมากอันดับต้นๆหลายบริษัท เช่น บริษัท ชูไก (CRANE) และถือหุ้นใหญ่บริษัทเอส.อี.ซี.ออโต้เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส (SECC) รวมถึงหุ้นที่มีข้อพิพาทกรณีอย่าง บริษัท ไทยโพลีคอนส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TPOLY ซึ่งบล.บีฟิท ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน(อันเดอร์ไรต์) เทขายหุ้นที่ถืออยู่ทั้งหมด 24 ล้านหุ้น ออกมาตั้งแต่วันแรกของการซื้อขายทำให้ราคาหุ้นร่วงจนต่ำกว่าจอง 2.80 บาท จนล่าสุดปิดที่ 1.59 บาท
ส่วนผลดำเนินงานล่าสุดของ บมจ.สิงห์ พาราเทค ที่จำกัด (มหาชน) ที่แจ้งตลาดหลักทรัพย์ไว้คือผลดำเนินงานไตรมาส3/2552 ซึ่งพบว่า บริษัทฯ มีผลขาดทุนสุทธิในไตรมาส 3 ของปี 2552 จำนวน 39.91 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราขาดทุนที่เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนอัตราร้อยละ 196.10 สาเหตุหลักที่สำคัญเนื่องจากรายได้จากการขายลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 48.79 ล้านบาท หรือลดลงในอัตราร้อยละ33.55