เอเอฟพี – การบอกตรงไปตรงมาว่าคิดอย่างไรกับเจ้านายมีผลดีต่อสุขภาพของตัวคุณเอง ทั้งยังช่วยให้เจ้านายปรับปรุงตัวและสไตล์การบริหาร
ผลศึกษาที่มีการเปิดเผยต่อที่ประชุมบริติช ไซโคโลจิคัล โซไซตี้เมื่อเร็วๆ นี้ระบุว่า บริษัทต่างๆ ควรส่งเสริมให้พนักงานจัดอันดับผู้จัดการในสายงาน เพื่อให้พนักงาน ‘มีความสุข สุขภาพดี และปลอดความเครียด’
นักวิจัยได้แบ่งผู้บังคับบัญชา 150 คนออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกได้รับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับทักษะการบริหารของตนเองจากพนักงาน 500 คน แต่อีกกลุ่มไม่ได้รู้เลยว่าผู้ใต้บังคับบัญชารู้สึกอย่างไรกับตนเอง
“เมื่อได้รับความคิดเห็นจากพนักงาน มีแนวโน้มมากขึ้นว่าผู้จัดการจะเปลี่ยนสไตล์การบริหารของตัวเอง ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น” รายงานระบุ และว่าพัฒนาการดังกล่าวส่งผลดีแก่พนักงานเช่นเดียวกัน
“ผลพวงจากความเครียดมีให้เห็นอยู่ทั่วไป คนที่เครียดอาจมีอาการทางจิต เช่น กังวล หรือซึมเศร้า อาการทางจิตยังทำให้อัตราการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ ความดันโลหิตสูง รวมทั้งอาจมีความบกพร่องด้านการรับรู้ เช่น สมรรถภาพจิตใจเสื่อมถอย
“ความเครียดยังเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการลาป่วย และเพิ่มความกดดันให้แก่ผู้ที่ต้องทำงานแทน กลายเป็นวงจรความกดดันอันน่าอึดอัดที่ส่งผลทั้งต่อพนักงานและบริษัท” เอ็มมา โดนัลด์สัน-ฟิลเดอร์ แถลงผลการวิจัยต่อที่ประชุมดังกล่าวในเมืองไบรตัน อังกฤษ
โดนัลด์สัน-ฟิลเดอร์และนักวิจัยคนอื่นๆ ในที กำลังพัฒนาเครื่องมือต่างๆ ซึ่งรวมถึงแบบสอบถามที่พนักงานสามารถจัดอันดับผู้จัดการในสายงาน รวมถึงอุปกรณ์การเรียนรู้สำหรับผู้จัดการที่สามารถเข้าถึงได้ในระบบออนไลน์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
“ถ้าไม่ยื่นกระจกให้ส่อง คนๆ นั้นอาจมีจุดบอดเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น และถ้าคิดว่าตัวเองดีพอแล้ว เขาคงไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง”
ผลศึกษาที่มีการเปิดเผยต่อที่ประชุมบริติช ไซโคโลจิคัล โซไซตี้เมื่อเร็วๆ นี้ระบุว่า บริษัทต่างๆ ควรส่งเสริมให้พนักงานจัดอันดับผู้จัดการในสายงาน เพื่อให้พนักงาน ‘มีความสุข สุขภาพดี และปลอดความเครียด’
นักวิจัยได้แบ่งผู้บังคับบัญชา 150 คนออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกได้รับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับทักษะการบริหารของตนเองจากพนักงาน 500 คน แต่อีกกลุ่มไม่ได้รู้เลยว่าผู้ใต้บังคับบัญชารู้สึกอย่างไรกับตนเอง
“เมื่อได้รับความคิดเห็นจากพนักงาน มีแนวโน้มมากขึ้นว่าผู้จัดการจะเปลี่ยนสไตล์การบริหารของตัวเอง ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น” รายงานระบุ และว่าพัฒนาการดังกล่าวส่งผลดีแก่พนักงานเช่นเดียวกัน
“ผลพวงจากความเครียดมีให้เห็นอยู่ทั่วไป คนที่เครียดอาจมีอาการทางจิต เช่น กังวล หรือซึมเศร้า อาการทางจิตยังทำให้อัตราการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ ความดันโลหิตสูง รวมทั้งอาจมีความบกพร่องด้านการรับรู้ เช่น สมรรถภาพจิตใจเสื่อมถอย
“ความเครียดยังเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการลาป่วย และเพิ่มความกดดันให้แก่ผู้ที่ต้องทำงานแทน กลายเป็นวงจรความกดดันอันน่าอึดอัดที่ส่งผลทั้งต่อพนักงานและบริษัท” เอ็มมา โดนัลด์สัน-ฟิลเดอร์ แถลงผลการวิจัยต่อที่ประชุมดังกล่าวในเมืองไบรตัน อังกฤษ
โดนัลด์สัน-ฟิลเดอร์และนักวิจัยคนอื่นๆ ในที กำลังพัฒนาเครื่องมือต่างๆ ซึ่งรวมถึงแบบสอบถามที่พนักงานสามารถจัดอันดับผู้จัดการในสายงาน รวมถึงอุปกรณ์การเรียนรู้สำหรับผู้จัดการที่สามารถเข้าถึงได้ในระบบออนไลน์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
“ถ้าไม่ยื่นกระจกให้ส่อง คนๆ นั้นอาจมีจุดบอดเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น และถ้าคิดว่าตัวเองดีพอแล้ว เขาคงไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง”